คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 122

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6450/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการล้มละลายต่อสิทธิของเจ้าหนี้และการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้
การล้มละลายของจำเลยที่ 3 มีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 62 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 เก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่จำเลยที่ 3หรือซึ่งจำเลยที่ 3 จะได้รับจากผู้อื่น ประนีประนอมยอมความหรือฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 22 เมื่อจำเลยที่ 3 ต้องคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 จึงตกอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์ซึ่งมีสิทธิตามสัญญาซื้อขายที่ดินแปลงพิพาทที่มีต่อจำเลยที่ 3 จะดำเนินการได้ก็แต่โดยวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 122 และหากโจทก์ได้รับความเสียหาย โดยเหตุที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาดังกล่าว โจทก์มีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายได้
โจทก์ไม่ได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 122 ทั้งโจทก์ก็มิใช่เจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่จำเลยที่ 3ต้องคำพิพากษาให้ล้มละลายด้วย การที่โจทก์กลับนำสิทธิตามสัญญามาฟ้องจำเลยที่ 3หลังจากศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 3 เป็นบุคคลล้มละลายและยังไม่พ้นภาวะจากการล้มละลาย โดยจำเลยที่ 3 ไม่มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนเองในขณะนั้น ประกอบกับที่ดินพิพาทได้โอนไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแล้วและหากที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 3 ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทให้กลับคืนสู่กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ต่อไปตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทที่จะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งได้โอนขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 ในขณะที่จำเลยที่ 1 ต้องคำพิพากษาให้ล้มละลายได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6450/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในคดีซื้อขายเมื่อจำเลยล้มละลาย โจทก์ต้องดำเนินการตามพ.ร.บ.ล้มละลาย ไม่เช่นนั้นไม่มีอำนาจฟ้อง
การล้มละลายของจำเลยที่ 3 มีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 62เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 3เก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่จำเลยที่ 3 หรือซึ่งจำเลยที่ 3 จะได้รับจากผู้อื่น ประนีประนอมยอมความหรือฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 เมื่อจำเลยที่ 3ต้องคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 จึงตกอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์ซึ่งมีสิทธิตามสัญญาซื้อขายที่ดินแปลงพิพาทที่มีต่อจำเลยที่ 3จะดำเนินการได้ก็แต่โดยวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 122 และหากโจทก์ได้รับความเสียหาย โดยเหตุที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาดังกล่าว โจทก์มีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายได้ โจทก์ไม่ได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 122 ทั้งโจทก์ก็มิใช่เจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่จำเลยที่ 3 ต้องคำพิพากษาให้ล้มละลายด้วย การที่โจทก์กลับนำสิทธิตามสัญญามาฟ้องจำเลยที่ 3 หลังจากศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 3 เป็นบุคคลล้มละลายและยังไม่พ้นภาวะจากการล้มละลายโดยจำเลยที่ 3 ไม่มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนเองในขณะนั้น ประกอบกับที่ดินพิพาทได้โอนไปยังจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแล้วและหากที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 3 ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทให้กลับคืนสู่กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ต่อไปตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทที่ยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งได้โอนขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 ในขณะที่จำเลยที่ 1 ต้องคำพิพากษาให้ล้มละลายได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3241/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าอาคารราชพัสดุ: สัญญาจองเซ้งไม่ทำให้โอนสิทธิการเช่าได้ ผู้ล้มละลายทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าให้เจ้าหนี้ชอบ
จำเลยทำสัญญาให้ ท.จองเซ้งอาคารพิพาทที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างขึ้นในที่ดินราชพัสดุแล้วมีสิทธิให้บุคคลอื่นเช่า ก่อนที่จำเลยจะทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทกับกระทรวงการคลังผู้ให้เช่านั้น จำเลยหาได้มีสิทธิการเช่าที่จะโอนให้แก่ ท.ได้ไม่ แม้สัญญาระหว่างจำเลยกับ ท.จะระบุว่าเป็นสัญญาจองเซ้งอาคารพร้อมสิทธิการเช่า ก็เป็นเพียงสัญญาจองเซ้งอาคารพิพาทเท่านั้น หาใช่เป็นสัญญาโอนสิทธิการเช่าไม่ เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทเสร็จและได้ทำสัญญาเช่ากับกระทรวงการคลังแล้วจำเลยก็ไม่ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทให้แก่ ท.เงินที่ท.ชำระให้แก่จำเลยจึงเป็นเงินค่าจองเซ้งอาคารพิพาทซึ่งคาดว่าจะได้สิทธิการเช่าต่อไปเท่านั้น หาใช่เป็นการชำระค่าโอนสิทธิการเช่าไม่ การที่ ท. เข้าอยู่ในอาคารพิพาทและชำระค่าเช่าให้แก่กระทรวงการคลังจึงเป็นการอยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลยและทำแทนจำเลย ท. จึงไม่ได้สิทธิการเช่าอาคารพิพาท เมื่อจำเลยได้นำสิทธิการเช่าอาคารพิพาทไปวางเป็นประกันหนี้ไว้แก่ผู้ร้อง โดยได้รับความยินยอมจากกระทรวงการคลังและต่อมาจำเลยได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวตีใช้หนี้ให้แก่ผู้ร้องโดยชอบแล้ว สิทธิการจองเซ้งอาคารพิพาทระหว่างจำเลยกับท.จึงมิใช่สิทธิตามสัญญาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องยอมปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้โอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทให้แก่ ท.โดยให้ ท. ชำระเงินแก่กองทรัพย์สินของจำเลยเพิ่มขึ้นอีกบางส่วนนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ซึ่งได้รับความเสียหายย่อมมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวเสียได้ตามมาตรา 146.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3241/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าที่จำกัด: สิทธิการจองเซ้งไม่ผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
การที่จำเลยทำสัญญาให้ ท.จองเซ้งอาคารพิพาทที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างขึ้นในที่ดินราชพัสดุแล้วมีสิทธิให้บุคคลอื่นเช่า ก่อนที่จำเลยจะทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทกับกระทรวงการคลังผู้ให้เช่านั้น จำเลยหาได้มีสิทธิการเช่าที่จะโอนให้แก่ ท.ได้ไม่ แม้สัญญาระหว่างจำเลยกับ ท.จะระบุว่าเป็นสัญญาจองเซ้งอาคารพร้อมสิทธิการเช่า ก็เป็นเพียงสัญญาจองเซ้งอาคารพิพาทเท่านั้น หาใช่เป็นสัญญาโอนสิทธิการเช่าไม่ เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทเสร็จและได้ทำสัญญาเช่ากับกระทรวงการคลังแล้ว จำเลยก็ไม่ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทให้แก่ ท. เงินที่ ท.ชำระให้แก่จำเลยจึงเป็นเงินค่าจองเซ้งอาคารพิพาทซึ่งคาดว่าจะได้สิทธิการเช่าต่อไปเท่านั้น หาใช่เป็นการชำระค่าโอนสิทธิการเช่าไม่ การที่ ท.เข้าอยู่ในอาคารพิพาทและชำระค่าเช่าให้แก่กระทรวงการคลัง จึงเป็นการอยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลยและทำแทนจำเลย ท.จึงไม่ได้สิทธิการเช่าอาคารพิพาท เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้นำสิทธิการเช่าอาคารพิพาทไปวางเป็นประกันหนี้ไว้แก่ผู้ร้อง โดยได้รับความยินยอมจากกระทรวงการคลัง และต่อมาจำเลยได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวตีใช้หนี้ให้แก่ผู้ร้องโดยชอบแล้ว สิทธิการจองเซ้งอาคารพิพาทระหว่างจำเลยกับ ท.จึงมิใช่สิทธิตามสัญญาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องยอมปฏิบัติ ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 122 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้โอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทให้แก่ ท.โดยให้ ท.ชำระเงินแก่กองทรัพย์สินของจำเลยเพิ่มขึ้นอีกบางส่วนนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ซึ่งได้รับความเสียหายย่อมมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวเสียได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2634/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: สิทธิเรียกร้องหนี้และการยอมรับสิทธิโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความ หรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(3) ลูกหนี้ไม่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับเจ้าหนี้ ทั้งนี้โดย ไม่ต้องคำนึงว่าเจ้าหนี้จะได้ทราบว่าลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วหรือไม่ หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ลูกหนี้ได้ทำขึ้นหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วจึงไม่สมบูรณ์ เพราะเกิดขึ้นโดย ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตามมาตรา 94(1)เจ้าหนี้จึงขอรับชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวไม่ได้ เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่จะบังคับให้ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่เจ้าหนี้ได้นั้น หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาภายในกำหนดเวลา3 เดือน นับแต่วันที่ทราบตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 122 แล้ว เจ้าหนี้จึงจะมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับราคาที่ดินที่ได้ชำระแก่ลูกหนี้ไปแล้วและค่าเสียหายที่ได้รับตามมาตรา 92 เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 91 ก่อนพ้นกำหนดดังกล่าวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2634/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทำสัญญาหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่มีอำนาจ
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 22 (3) ลูกหนี้หามีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับเจ้าหนี้ไม่ ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่าเจ้าหนี้จะได้ทราบว่าลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วหรือไม่
หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ลูกหนี้ได้ทำขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วจึงไม่สมบูรณ์ เพราะเกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 94 (1) เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่ได้
กรณีที่เจ้าหนี้มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่จะบังคับให้ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่เจ้าหนี้ หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาดังกล่าวภายในกำหนดเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่ทราบ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 122 เจ้าหนี้จึงจะมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับราคาที่ดินที่ได้ชำระให้แก่ลูกหนี้ไปแล้ว และค่าเสียหายที่ได้รับ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 92 เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ทันทีตามมาตรา 91 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4432/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสัญญาเช่าซื้อมีภาระเกินควรในคดีล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจไม่ยอมรับได้
สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อบ้านและที่ดินระหว่างผู้ร้องทั้งหมดกับจำเลยที่ 1 นั้นเป็นสิทธิที่ผู้ร้องทั้งหมดและจำเลยที่ 1 จะพึงได้รับทั้งสองฝ่าย หาใช่เป็นสิทธิตามสัญญาที่ผู้ร้องทั้งหมดจะพึงได้รับไปแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้นไม่ เมื่อปรากฏว่าที่ดินดังกล่าวติดจำนอง ธนาคาร ท. เจ้าหนี้มีประกันได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้จำนวนเงิน 166,527,203.70 บาท โดยขอให้ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนเงินที่ยังขาดอยู่ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 96(3) และยังมีเจ้าหนี้รายอื่นอีกจำนวนมากยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นจำนวนถึง 1,271,317,509.34 บาทแต่สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 จะได้รับค่าเช่าซื้ออีกบางส่วนจากผู้ร้องทั้งหมดเพียงรายละ 180,000 บาท เท่านั้น ดังนี้สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 จะได้รับเงินจากผู้ร้องทั้งหมดเป็นเงินจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับความยุ่งยากหรือภาระที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญา จึงเป็นกรณีที่สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญานั้นได้ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 122.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4432/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ล้มละลาย: สิทธิเจ้าหนี้, การปฏิเสธการยอมรับสิทธิสัญญาเมื่อภาระเกินประโยชน์
ความในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122 ที่ว่าทรัพย์สินของลูกหนี้หรือสิทธิตามสัญญามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้นั้น หมายถึงทรัพย์สินของลูกหนี้หรือสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับมามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้ สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อบ้านและที่ดินเป็นสิทธิที่ผู้ร้องผู้เช่าซื้อและจำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าซื้อจะพึงได้รับทั้งสองฝ่ายหาใช่สิทธิตามสัญญาที่ผู้ร้องจะพึงได้รับไปแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้นไม่ เพราะในขณะที่ผู้ร้องในฐานะผู้เช่าซื้อจะได้รับโอนบ้านและที่ดินตามสัญญาเช่าซื้อ เมื่อปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญาจำเลยในฐานะผู้ให้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิจะได้รับเงินค่าเช่าซื้ออีกบางส่วนซึ่งขาดอยู่ตามสัญญานั้นเช่นกัน บ้านและที่ดินแปลงย่อยที่ผู้ร้องทั้งหมดขอปฏิบัติตามสัญญาอยู่ในที่ดินแปลงใหญ่ซึ่งติดจำนองธนาคาร ท.เจ้าหนี้มีประกันที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้จำนวนเงิน 166 ล้านบาทเศษ โดยขอให้ขายทอดตลาดทรัพย์อันเป็นหลักประกันแล้ว ขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนเงินที่ยังขาดอยู่ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 96(3) แม้จะนำสิ่งปลูกสร้างพร้อมที่ดินแปลงย่อยขายทอดตลาดเงินที่ได้ก็ไม่พอชำระหนี้ดังกล่าวเมื่อสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยจะได้รับค่าเช่าซื้ออีกบางส่วนจากผู้ร้องเห็นได้ชัดว่าเป็นเงินจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับความยุ่งยากหรือภาระที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญาคือได้ไม่เท่าเสีย แทนที่กองทรัพย์สินของจำเลยจะเพิ่มพูนขึ้น แต่กลับทำให้ลดน้อยลงเพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องไม่ถอนที่ดินแปลงใหญ่เมื่อนำมาโอนให้ผู้ร้องกับพวกที่เช่าซื้อทั้งหมดเมื่อปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญา การที่เจ้าหนี้มีประกันขอให้ขายทอดตลาดทรัพย์อันเป็นหลักประกันดังกล่าวเป็นสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพียงแต่มีหน้าที่ขายทรัพย์โดยปลอดจำนองเพื่อนำเงินไปชำระหนี้จำนองเท่านั้น และการที่ต้องขายทอดตลาดทรัพย์อันเป็นหลักประกันแสดงให้เห็นว่ากองทรัพย์สินของจำเลยไม่พอไถ่ถอนจำนองซึ่งเป็นจำนวนมากได้ ประกอบกับยังมีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นเงินถึง 1,271 ล้านบาทเศษ เช่นนี้ จึงเป็นกรณีที่สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้ อันทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญานั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122 ข้ออ้างที่ว่าธนาคาร ท.ผู้รับจำนองได้รับชำระหนี้ไปแล้ว 30 ล้านบาท และจำเลยยังมีทรัพย์สินอื่นอีกมาก โดยคำนวณแล้วเมื่อนำออกขายทอดตลาดจะได้ไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาทนั้น ไม่เกี่ยวกับปัญหาที่ว่าสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้หรือไม่ซึ่งจะต้องพิจารณาเฉพาะสิทธิหรือประโยชน์และภาระตามสัญญาที่จะตกแก่กองทรัพย์สินของจำเลยเท่านั้น ที่ผู้ร้องฎีกาว่า ธนาคารท.ผู้รับจำนองไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ เนื่องจากหนี้จำนองเกิดจากการฉ้อฉลระหว่างจำเลยกับพวกและธนาคารท.จึงไม่ใช่เจ้าหนี้มีประกันหรือไม่มีประกันนั้น ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นเป็นประเด็นกล่าวอ้างไว้ในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ไม่มีข้อความบัญญัติให้ศาลพิจารณาและมีคำสั่งชี้ขาดเหมือนอย่างคดีธรรมดาดังเช่นที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 158 ฉะนั้น ศาลจะดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างไรย่อมแล้วแต่จะเห็นสมควรเป็นราย ๆ ไป เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อเท็จจริงในสำนวนเพียงพอ สมควรมีคำสั่งโดยไม่จำต้องไต่สวนคำร้องหรือสืบพยานผู้ร้องเสียก่อน ก็อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2369/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทน, การเช่าช่วง, ล้มละลาย, สิทธิการเช่า, การขับไล่
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นมจำกัด ลูกหนี้แล้ว อำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ รวมทั้งการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22 ดังนั้น เมื่อมีกรณีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของบริษัทลูกหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็มีอำนาจที่จะฟ้องคดีได้ เดิมจำเลยที่ 1 ออกทุนช่วยการก่อสร้างเป็นเงินประมาณ 3 ล้านบาท แล้วบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้ ตกลงให้จำเลยที่ 1เช่าตึกอาคารและโรงงานพิพาทมีกำหนด 20 ปี ซึ่งต่อมาได้มีการจดทะเบียนการเช่าไว้ตามหนังสือสัญญาเช่าลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2513ข้อตกลงให้จำเลยที่ 1 เช่ามีกำหนด 20 ปีดังกล่าว มีลักษณะเป็นการต่างตอบแทนนอกเหนือจากสัญญาเช่าที่ได้จดทะเบียนไว้ ความผูกพันระหว่างคู่กรณีจึงมิใช่เฉพาะที่ปรากฏในสัญญาเช่าเท่านั้น แต่ต้องผูกพันต่อกันในลักษณะของสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาดังนั้น ถึงแม้ต่อมาการจดทะเบียนการเช่าระหว่างบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้ กับจำเลยที่ 1 จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลบทะเบียนการเช่าในคดีที่ธนาคารกรุงไทย จำกัดฟ้องบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้และจำเลยที่ 1 เป็นจำเลยก็เป็นกรณีที่การเช่าที่จดทะเบียนไว้นั้นถูกลบไปเพื่อประโยชน์ของธนาคารกรุงไทย จำกัด เจ้าหนี้ผู้รับจำนอง ในการที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนอง ในทางที่มิให้มูลค่าของทรัพย์จำนองต้องลดลงเพราะมีภาระติดพันในเรื่องการเช่าที่จดทะเบียนไว้เท่านั้นไม่มีผลที่จะเป็นการยกเลิกหรือเพิกถอนข้อตกลงอันเป็นการต่างตอบแทนระหว่างบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้ กับจำเลยที่ 1การที่สัญญาต่างตอบแทนระหว่างคู่กรณียังมีอยู่ แม้ต่อมาบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งได้เข้ามาจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483ก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทนของลูกหนี้ผู้ล้มละลายที่มีอยู่เดิม และแม้ว่าพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาก็ตามแต่กรณีการฟ้องคดีนี้นั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ใช้อำนาจตามบทกฎหมายดังกล่าว คงอ้างสิทธิในการขับไล่จำเลยที่ 1โดยอาศัยผลของคำพิพากษาที่ถึงที่สุดให้ลบสิทธิการเช่าจากทะเบียนเท่านั้นซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจนำมาอ้างเพื่อลบล้างหรือยกเลิกข้อตกลงอันเป็นการต่างตอบแทนระหว่างบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้ผู้ล้มละลายกับจำเลยที่ 1 ได้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงยังไม่มีอำนาจที่จะฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1เพราะสิทธิที่จะอยู่ในที่พิพาทตามสัญญาต่างตอบแทนของจำเลยที่ 1นั้นยังมีผลบังคับอยู่ กรณีนี้ สำหรับจำเลยที่ 2 โจทก์จะขอให้ขับไล่ได้หรือไม่ก็อยู่ที่ว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิให้เช่าช่วงทรัพย์ที่ตนมีข้อตกลงเป็นการต่างตอบแทนกับบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้หรือไม่ซึ่งตามสัญญาต่อท้ายสัญญาเช่าที่จดทะเบียนไว้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า"ผู้เช่ารับว่าจะไม่เอาสถานที่เช่านี้ไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือโอนต่อไปอีกทอดหนึ่งเป็นอันขาด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ให้เช่าก่อน" อันเป็นการแสดงว่าข้อตกลงที่เป็นการต่างตอบแทนกันระหว่างบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้กับจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 1 จะนำทรัพย์ที่เช่าไปให้เช่าช่วงไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้ยินยอมให้เช่าช่วงตามสัญญาแล้วจำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะเข้ามาอยู่ในทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิจะอยู่โดยอาศัยสัญญาต่างตอบแทน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 ออกไปได้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นเรื่องค่าเสียหายไว้ว่า"ค่าเสียหายของโจทก์มีหรือไม่เพียงใด" ประเด็นที่กำหนดไว้ดังกล่าวจึงไม่มีข้อที่จะต้องวินิจฉัยว่ามีการปลดหนี้ค่าเช่าตามที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นมาในฎีกา เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งการกำหนดประเด็นของศาลชั้นต้นไว้ถือว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไว้เท่านั้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาข้อนี้ให้ สำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเช่าช่วงตึกอาคารและโรงงานพิพาทจากจำเลยที่ 2 อีกต่อหนึ่งนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิจะนำทรัพย์ของบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้ไปให้เช่าช่วง เมื่อมีการนำไปให้เช่าช่วงจึงเป็นการกระทำที่ไม่มีอำนาจ การที่จำเลยที่ 3เข้าไปอยู่ในอาคารอันเป็นทรัพย์ของบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัดลูกหนี้ จึงเป็นการเข้าไปอยู่โดยละเมิดตั้งแต่ต้น มิใช่จะเป็นละเมิดเมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 3 ออกจากอาคาร จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดในการที่ได้เข้าไปใช้ประโยชน์ในอาคารที่พิพาทด้วยส่วนเรื่องค่าเสียหายที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดเป็นหนี้รายเดียวกันกับที่จำเลยที่ 3 พิพาทกับโจทก์ในอีกคดีหนึ่งนั้น มิใช่ประเด็นที่ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาไม่เห็นสมควรที่จะรับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5783/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่แท้จริงของผู้เช่าซื้อ แม้จำนอง ผู้เช่าซื้อมีสิทธิไถ่ถอนเองได้
ที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง ลูกหนี้เพียงมีชื่อในโฉนดในฐานะผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนเท่านั้น แม้ลูกหนี้เอาที่พิพาทไปจำนองแล้วไม่ยอมไถ่ถอนก็ตาม ผู้ร้องก็มีสิทธิ์ที่จะไถ่ถอนเองได้เมื่อไถ่ถอนแล้วก็ชอบที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชดใช้ค่าไถ่ถอนได้ การที่ผู้ร้องได้ขอรับชำระหนี้ค่าไถ่ถอนจำนองไว้แล้วในสาขาคดีขอรับชำระหนี้แสดงว่าผู้ร้องมีเจตนาจะใช้สิทธิไถ่ถอนจำนองเอง และในสาขาคดีขอรับชำระหนี้ ศาลได้พิพากษาแล้วว่า หากผู้ร้องไถ่ถอนจำนองที่พิพาทเป็นเงินเท่าใด ก็ให้ได้รับชำระหนี้เป็นเงินเท่านั้น ซึ่งเท่ากับเป็นการพิพากษาให้ผู้ร้องเป็นผู้ไถ่ถอนจำนองเอง แต่ให้ได้รับชดใช้ค่าไถ่ถอนจำนองคืนจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ จึงไม่ชอบที่ผู้ร้องจะขอให้ศาลพิพากษาในคดีนี้ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ไถ่ถอนจำนองที่พิพาท หรือชดใช้ค่าไถ่ถอนจำนอง ศาลคงพิพากษาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โอนที่ดินพิพาทใส่ชื่อผู้ร้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เท่านั้น
of 7