คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1096

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4143/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากรและการจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัด
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปแล้ว หากจำเลยผู้รับแจ้งการประเมินไม่นำเงินค่าภาษีอากรไปชำระภายในกำหนด กฎหมายให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ที่จะสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาล ดังนั้นการแจ้งการประเมินภาษีอากรย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ไม่ใช่บทบัญญัติให้ผู้ถือหุ้นรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัท จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงไม่มีหน้าที่ชำระภาษีที่บริษัทจำเลยที่1 ค้างชำระต่อกรมสรรพากรโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 8 ไม่ชำระภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อโจทก์จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นค้างชำระแทนจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ในนามของโจทก์ได้ เพราะตามฟ้องไม่มีข้อเท็จจริงให้เห็นเช่นนั้นศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มิได้อุทธรณ์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจสมบูรณ์เมื่อลงลายมือชื่อตามอำนาจกรรมการที่สำนักงานทะเบียนระบุ แม้กรรมการบางคนไม่ได้ลงชื่อ
หนังสือมอบอำนาจระบุว่า บริษัทโจทก์โดย ว. และ ณ.กรรมการเป็นผู้มอบอำนาจให้ฟ้อง แต่ ตอนท้ายของหนังสือมอบอำนาจกลับปรากฏว่า ว. ร่วมกับ อ. กรรมการอีกคนหนึ่งของโจทก์เป็นผู้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจให้ฟ้อง เมื่อตาม หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครระบุว่า กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อแทนโจทก์คือ ว. ลงลายมือชื่อร่วมกับ ก.หรือคนใดคนหนึ่งในสองคนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการอีกคนหนึ่งและต้อง ประทับตราสำคัญของโจทก์ ดังนั้นการที่ ว. ลงลายมือชื่อร่วมกับ อ. กรรมการอีกคนหนึ่งของโจทก์และประทับตราสำคัญของโจทก์ จึงถือได้ว่าการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์สมบูรณ์แล้วแม้ ณ. จะไม่ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจก็ตาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้น/กรรมการ: ความเสียหายต้องเกิดต่อนิติบุคคลโดยตรง ไม่ใช่ผู้ถือหุ้น/กรรมการ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการของบริษัท ร. จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ออกคำสั่งให้ควบคุมบริษัทร. แล้วตั้งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นคณะกรรมการควบคุมซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 3 ถึงที่ 7ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเสนอรายงานต่อจำเลยที่ 8 ว่าบริษัท ร. ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จำเลยที่ 8ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้นจึงสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทร. ซึ่งเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้พิพากษาว่าคำสั่งที่ตั้งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นคณะกรรมการควบคุมบริษัท ร. และคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตไม่ชอบด้วยกฎหมายให้จำเลยเพิกถอนเสีย ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งแปดตามที่โจทก์กล่าวในฟ้องเป็นการกระทำต่อบริษัท ร. ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีสิทธิและหน้าที่ต่างหากจากโจทก์ทั้งสองผู้ที่ได้รับความเสียหายเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ก็คือบริษัทร. ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองในฐานะเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการของบริษัท ร. ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง: ผู้ถือหุ้น/กรรมการบริษัท ไม่มีสิทธิฟ้องแทนบริษัท
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการของบริษัท ร. จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ออกคำสั่งให้ควบคุมบริษัท ร. แล้วตั้งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นคณะกรรมการควบคุมซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเสนอรายงานต่อจำเลยที่ 8 ว่าบริษัท ร. ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จำเลยที่ 8 ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้นจึงสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทร. ซึ่งเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้พิพากษาว่าคำสั่งที่ตั้งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นคณะกรรมการควบคุมบริษัท ร. และคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตไม่ชอบด้วยกฎหมายให้จำเลยเพิกถอนเสีย ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งแปดตามที่โจทก์กล่าวในฟ้องเป็นการกระทำต่อบริษัท ร. ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีสิทธิและหน้าที่ต่างหากจากโจทก์ทั้งสองผู้ที่ได้รับความเสียหายเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ก็คือบริษัทร. ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองในฐานะเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการของบริษัท ร. ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินบริษัทโดยไม่ชำระหนี้ภาษี ผู้ถือหุ้นมี liability ต่อเจ้าหนี้
ผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 แบ่งทรัพย์สินของบริษัทคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นไป โดยยังไม่ได้ชำระหนี้ค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1269 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องบริษัทผู้ชำระบัญชีและผู้ถือหุ้นให้รับผิดต่อโจทก์ได้
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยชี้ขาดการประเมินภาษีของบริษัทจำเลยที่ 1 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวภายใน 30 วัน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) จึงหมดสิทธิที่จะรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินขึ้นโต้แย้งต่อศาลต่อไป
โจทก์ฟ้องให้จำเลยอื่นซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นให้ร่วมรับผิดในหนี้ภาษีเงินได้ของบริษัทจำเลยที่ 1 ที่ต้องชำระ มิได้ฟ้องให้รับผิดในหนี้ภาษีเงินได้ส่วนตัวของจำเลยอื่น จึงไม่จำเป็นต้องเรียกจำเลยอื่นให้ปฏิบัติหรือตอบคำถามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 21
การที่เจ้าหนี้ติดตามหนี้สินคืนจากผู้ถือหุ้นที่ได้รับแบ่งทรัพย์สินของบริษัทไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นกลับคืนนั้น มิใช่เป็นเรื่องเรียกให้ชำระมูลค่าของหุ้นที่ยังส่งให้ไม่ครบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1721/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถือหุ้นของรัฐในบริษัทจำกัดและการเป็นพนักงานหน่วยงานของรัฐเพื่อใช้บังคับกฎหมายอาญา
ผู้ถือหุ้นชนิดใดในบริษัทจำกัดย่อมถือว่าเป็นผู้ลงทุนในบริษัทเท่าจำนวนหุ้นที่ถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ฉะนั้นเมื่อรัฐถือหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้นทั้งหมดของธนาคารเกษตร จำกัด แล้ว ก็ถือว่าธนาคารเกษตร จำกัด มีทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบเป็นของรัฐ โดย ไม่ต้องคำนึงว่าหุ้นเหล่านั้นเป็นหุ้นที่ใช้ค่าหุ้นเป็นตัวเงินหรือเป็นหุ้นที่ออกให้เสมือนหนึ่งได้ใช้เต็มค่าแล้ว ฉะนั้นเมื่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานธนาคารเกษตร จำกัด ยักยอกเงินของธนาคาร จึงต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1721/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถือหุ้นของรัฐในบริษัทจำกัดและการเป็นพนักงานหน่วยงานของรัฐเพื่อใช้บังคับกฎหมายอาญา
ผู้ถือหุ้นชนิดใดในบริษัทจำกัดย่อมถือว่าเป็นผู้ลงทุนในบริษัทเท่าจำนวนหุ้นที่ถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1096. ฉะนั้นเมื่อรัฐถือหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้นทั้งหมดของธนาคารเกษตร จำกัด แล้ว. ก็ถือว่าธนาคารเกษตร จำกัด มีทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบเป็นของรัฐ. โดย.ไม่ต้องคำนึงว่าหุ้นเหล่านั้นเป็นหุ้นที่ใช้ค่าหุ้นเป็นตัวเงินหรือเป็นหุ้นที่ออกให้เสมือนหนึ่งได้ใช้เต็มค่าแล้ว. ฉะนั้นเมื่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานธนาคารเกษตร จำกัด ยักยอกเงินของธนาคาร จึงต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ.2502. (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2512).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1721/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถือหุ้นของรัฐในบริษัทจำกัด และความผิดของพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ผู้ถือหุ้นชนิดใดในบรษัทจำกัดย่อมถือว่าเป็นผู้ลงทุนในบริษัทเท่าจำนวนหุ้นที่ถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ฉะนั้นเมื่อรัฐถือหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิรวมกันเกินกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้นทั้งหมดของธนาคารเกษตร จำกัด แล้ว ก็ถือว่าธนาคารเกษตร จำกัด มีทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบเป็นของรัฐ โดยไม่ต้องคำนึงว่าหุ้นเหล่านั้นเป็นหุ้นที่ใช้ค่าหุ้นเป็นตัวเงินหรือเป็นหุ้นที่ออกให้เสมือนหนึ่งได้ใช้เต็มค่าแล้ว ฉะนั้นเมื่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานธนาคารเกษตร จำกัด ยักยอกเงินของธนาคาร จึงต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์หรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและแต่งทนายต้องเป็นไปตามข้อบังคับบริษัท หากไม่ถูกต้อง แม้จะยื่นคำร้องรับรองก็ไม่สมบูรณ์
เมื่อข้อบังคับของบริษัทระบุว่าในการลงชื่อทำการแทนบริษัทต้องมีกรรมการ 2 คนลงชื่อแต่บริษัทโจทก์ฟ้องโดยมีกรรมการคนเดียวลงชื่อแต่งทนายเมื่อจำเลยตัดฟ้องว่ากรรมการผู้เดียวไม่มีอำนาจกรรมการสองคนของบริษัทโจทก์ยื่นคำร้องขอให้สัตยาบันการกระทำของทนายโจทก์และเพียงแต่ขอให้ศาลทราบไว้เท่านั้นไม่แต่งทนายเข้ามาใหม่ให้ถูกต้องอำนาจดำเนินคดีของทนายโจทก์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยกรรมการผู้เดียวยังคงบกพร่องไม่สมบูรณ์อยู่เช่นเดิมศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีและการแต่งทนายที่ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับบริษัท ทำให้การดำเนินคดีเป็นโมฆะ
เมื่อข้อบังคับของบริษัทระบุว่า ในการลงชื่อทำการแทนบริษัทต้องมีกรรมการ 2 คนลงชื่อ แต่บริษัทโจทก์ฟ้องโดยมีกรรมการคนเดียวลงชื่อแต่งทนาย เมื่อจำเลยตัดฟ้องว่ากรรมการผู้เดียวไม่มีอำนาจ กรรมการสองคนของบริษัทโจทก์ยื่นคำร้องขอให้สัตยาบันการกระทำของทนายโจทก์และเพียงแต่ขอให้ศาลทราบไว้เท่านั้น ไม่แต่งทนายเข้ามาใหม่ให้ถูกต้อง อำนาจดำเนินคดีของทนายโจทก์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยกรรมการผู้เดียวยังคงบกพร่องไม่สมบูรณ์อยู่เช่นเดิม ศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้อง
of 4