คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1096

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สาขาบริษัทเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทใหญ่ ไม่ต้องจดทะเบียนแยกต่างหาก การฟ้องดำเนินคดีกับสาขาถือเป็นการฟ้องบริษัทใหญ่
อันบริษัทจำกัดนั้น นอกจากสำนักงานใหญ่แล้ว จะมีสำนักงานสาขาที่ใดอีกก็ได้ และสาขาบริษัทใดก็คือส่วนหนึ่งของบริษัทนั้นนั่นเองไม่ต้องมีการจดทะเบียนให้สาขาเป็นบริษัทขึ้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741-743/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ถือหุ้นจำกัด: เงินปันผล vs. เงินผลกำไร, สิทธิหลังการโอนหุ้น
ผู้ถือหุ้นบริษัทจำกัดจะฟ้องเรียกแบ่งเงินผลกำไรของบริษัทไม่ได้จะฟ้องเรียกได้ก็แต่เงินปันผลจากเงินกำไรนั้น
ผู้รับโอนหุ้นย่อมได้สิทธิของผู้โอนหุ้นไปทั้งหมดผู้โอนหุ้นจึงหลุดพ้นไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆ กับบริษัทอีกนับจากวันโอนนั้นเป็นต้นไป ผู้โอนหุ้นจะเรียกร้องเงินกำไรอันเกิดก่อนแต่ได้มาภายหลังการโอนหุ้นไม่ได้
จะนำกฎหมายลักษณะทั่วไปเรื่องดอกผลนิตินัยมาใช้บังคับกันเรื่องเงินผลกำไรของบริษัทจำกัดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741-743/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ถือหุ้นจำกัด: เงินปันผล vs. เงินผลกำไร และผลกระทบจากการโอนหุ้น
ผู้ถือหุ้นบริษัทจำกัดจะฟ้องเรียกแบ่งเงินผลกำไรของบริษัทไม่ได้จะฟ้องเรียกได้ก็แต่เงินปันผลจากเงินกำไรนั้น
ผู้รับโอนหุ้นย่อมได้สิทธิของผู้โอนหุ้นไปทั้งหมด ผู้โอนหุ้นจึงหลุดพ้นไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับบริษัทอีก นับจากวันโอนนั้นเป็นต้นไป ผู้โอนหุ้นจะเรียกร้องเงินกำไรอันเกิดก่อนแต่ได้มาภายหลังการโอนหุ้นไม่ได้
จะนำกฎหมายลักษณะทั่วไปเรื่องดอกผลนิตินัยมาใช้บังคับกับเรื่องเงินผลกำไรของบริษัทจำกัดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการบริษัทในการลงนามสัญญา แม้มีข้อจำกัดอำนาจกรรมการ และค่าเสียหายที่แท้จริง
แม้ข้อบังคับของบริษัทจะมีระบุไว้ว่ากรรมการผู้มีชื่อคนหนึ่งแต่ผู้เดียวมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราผูกพันบริษัทได้ก็ตาม ก็เป็นข้อบังคับในเรื่องอำนาจของกรรมการ ถ้าไม่มีข้อห้ามไว้เป็นอย่างอื่นแล้ว ผู้จัดการของบริษัทก็อาจที่จะลงนามในสัญญาผูกมัดบริษัทได้ ดังตัวอย่างฎีกาที่ 645/2486 และ 892/2486

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการ-ผู้จัดการ: แม้มีข้อบังคับจำกัดอำนาจกรรมการ ผู้จัดการก็ยังผูกพันบริษัทได้
แม้ข้อบังคับของบริษัทจะมีระบุไว้ว่ากรรมการผู้มีชื่อคนหนึ่งแต่ผู้เดียวมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราผูกพันบริษัทได้ก็ตาม ก็เป็นข้อบังคับในเรื่องอำนาจของกรรมการ ถ้าไม่มีข้อห้ามไว้เป็นอย่างอื่นแล้วผู้จัดการของบริษัทก็อาจที่จะลงนามในสัญญาผูกมัดบริษัทได้ ดังตัวอย่างฎีกาที่ 645/2486 และ 892/2486)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจลงนามกรรมการ, สัญญาประนีประนอมยอมความ และการบังคับคดี
ข้อบังคับของบริษัทมีความว่า 'กรรมการ 2 นาย มีอำนาจลงนามในสัญญาตราสารหรือเอกสารสำคัญแทนบริษัทแต่ต้องประทับตราของบริษัทด้วย'ดังนี้กรรมการของบริษัท 2 นายย่อมมีอำนาจลงนามและประทับตราของบริษัทในใบแต่งทนายเพื่อฟ้องคดีเรียกเงินจากลูกหนี้ของบริษัทได้โดยชอบ
สัญญาประนีประนอมยอมความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา851 นั้น มิได้บังคับไว้ว่าจะต้องลงลายมือชื่อของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายลงไว้ในหนังสือ ฉะนั้นเมื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดตามสัญญา ลงลายมือชื่อไว้ในหนังสือสัญญาเป็นหลักฐานแล้ว อีกฝ่ายหนึ่งย่อมฟ้องร้องให้บังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจลงนามกรรมการบริษัท, สัญญาประนีประนอมยอมความ, และการบังคับคดี
ข้อบังคับของบริษัทมีความว่า "กรรมการ 2 นาย มีอำนาจลงนามในสัญญาตราสารหรือเอกสารสำคัญแทนบริษัทแต่ต้องประทับตราของบริษัทด้วย" ดังนี้กรรมการของบริษัท 2 นายย่อมมีอำนาจลงนามและประทับตราของบริษัทในใบแต่งทนายเพื่อฟ้องคดีเรียกเงินจากลูกหนี้ของบริษัทได้โดยชอบ
สัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 851 นั้นมิได้บังคับไว้ว่าจะต้องลงลายมือชื่อของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายลงไว้ในหนังสือฉะนั้นเมื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดตามสัญญา ลงลายมือชื่อไว้ในหนังสือสัญญาเป็นหลักฐานแล้ว อีกฝ่ายหนึ่งย่อมฟ้องร้องให้บังคับคดีได้
of 4