พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10679/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความภาระจำยอม: การฉ้อฉลและการใช้สิทธิอุทธรณ์
ในการเจรจาต่อรองค่าตอบแทนการใช้ที่ดินภาระจำยอมระหว่างโจทก์และจำเลย เป็นธรรมดาอยู่เองที่โจทก์ย่อมต้องการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่จำเลยในจำนวนที่ต่ำ ในขณะที่จำเลยต้องการได้ค่าตอบแทนในจำนวนที่สูง จึงเป็นเรื่องที่แต่ละฝ่ายพึงต้องเตรียมข้อมูลมาให้พร้อมเพื่อรักษาประโยชน์ของตนเอง ที่โจทก์เสนอค่าตอบแทนแก่จำเลยในราคาตารางวาละ 1,250 บาท แม้สืบเนื่องมาจากจำเลยแถลงว่ามารดาจำเลยเคยขายที่ดินไปในราคาไร่ละ 500,000 บาท ก็ตาม แต่หากจำเลยยังไม่พอใจเพราะเห็นว่าเป็นราคาที่ต่ำเกินไป จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธข้อเสนอของโจทก์และเสนอราคาตามที่จำเลยต้องการได้อยู่แล้ว ทั้งในวันดังกล่าวทนายจำเลยก็เข้าร่วมเจรจาด้วยแล้ว จำเลยจึงหาได้เป็นผู้ด้อยปัญญาหรืออยู่ในภาวะที่ถูกกดดันจากสิ่งใดให้ต้องตกลงยอมความกับโจทก์ไม่ จำเลยมีเวลาในการเตรียมคดีนับแต่วันที่จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดี จนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ ซึ่งศาลไกล่เกลี่ยจนโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันนานถึงเกือบ 6 เดือน ย่อมมากเพียงพอต่อการที่จำเลยจะขอหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินจากสำนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา การไม่ทราบราคาประเมินที่ดินจึงต้องถือว่าเป็นความผิดพลาดบกพร่องของฝ่ายจำเลยเอง หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ฉวยโอกาสและปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับราคาประเมินที่ดินไม่ นอกจากนี้ไม่มีบทบัญญัติใดบังคับว่า ค่าตอบแทนการใช้ภาระจำยอมต้องเป็นไปตามราคาประเมินที่ดินอีกด้วย ข้อเท็จจริงตามที่จำเลยอ้างฟังไม่ได้ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความเกิดจากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายในการทำสัญญาประนีประนอม และข้อยกเว้นการอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์แต่งตั้งให้ทนายโจทก์มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันจำเลย ทนายโจทก์ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจเต็มที่ขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลว่าข้อความที่ตกลงกับจำเลยนั้นเหมาะสม ไม่ได้เสียเปรียบ โดยทนายโจทก์มีอำนาจต่อรองและจะไม่ยอมตกลงก็ได้ ถ้าเห็นว่าโจทก์เสียเปรียบ ทนายโจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องแจ้งให้โจทก์ทราบ และการดำเนินคดีอย่างรีบด่วนย่อมเป็นผลดีแก่โจทก์อีกด้วย หาใช่เป็นเหตุให้ทนายโจทก์ฉ้อฉลโจทก์แต่อย่างใดไม่ โจทก์จะอ้างว่าเป็นการทำไปโดยทนายโจทก์กับจำเลยฉ้อฉลโจทก์หาได้ไม่
ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 35ที่บัญญัติว่า ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์และที่ศาสนสมบัติกลางเป็นทรัพย์สินซึ่งไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี" ย่อมหมายถึงว่าเมื่อมีการบังคับคดีแล้วจะต้องมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่กฎหมายห้ามยึดหรืออายัด การที่ทนายโจทก์และจำเลยตกลงกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลว่าให้จำเลยจัดทำถนนในที่ดินพิพาทโดยจำเลยต้องแจ้งให้โจทก์ทราบ ข้อตกลงดังกล่าวหากโจทก์บิดพริ้วจำเลยไม่จำต้องยึดหรืออายัดที่ดินพิพาทเพื่อการบังคับคดีแต่อย่างใด ข้อตกลงของทนายโจทก์กับจำเลยข้อนี้จึงมิได้ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนและศาลชั้นต้นได้พิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้ว เมื่อข้ออ้างของโจทก์จึงมิได้เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง ในอันที่โจทก์จะใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์โจทก์จึงชอบแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ โดยให้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์เป็นพับนั้น ยังไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 151 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 35ที่บัญญัติว่า ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์และที่ศาสนสมบัติกลางเป็นทรัพย์สินซึ่งไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี" ย่อมหมายถึงว่าเมื่อมีการบังคับคดีแล้วจะต้องมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่กฎหมายห้ามยึดหรืออายัด การที่ทนายโจทก์และจำเลยตกลงกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลว่าให้จำเลยจัดทำถนนในที่ดินพิพาทโดยจำเลยต้องแจ้งให้โจทก์ทราบ ข้อตกลงดังกล่าวหากโจทก์บิดพริ้วจำเลยไม่จำต้องยึดหรืออายัดที่ดินพิพาทเพื่อการบังคับคดีแต่อย่างใด ข้อตกลงของทนายโจทก์กับจำเลยข้อนี้จึงมิได้ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนและศาลชั้นต้นได้พิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้ว เมื่อข้ออ้างของโจทก์จึงมิได้เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง ในอันที่โจทก์จะใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์โจทก์จึงชอบแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ โดยให้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์เป็นพับนั้น ยังไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 151 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายในการทำสัญญาประนีประนอม และข้อยกเว้นการอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์แต่งตั้งให้ทนายโจทก์มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันจำเลยทนายโจทก์ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจเต็มที่ขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลว่าข้อความที่่ตกลงกับจำเลยนั้นเหมาะสมไม่ได้เสียเปรียบโดยทนายโจทก์มีอำนาจต่อรองและจะไม่ยอมตกลงก็ได้ถ้าเห็นว่าโจทก์เสียเปรียบทนายโจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องแจ้งให้โจทก์ทราบและการดำเนินคดีอย่างรีบด่วนย่อมเป็นผลดีแก่โจทก์อีกด้วยหาใช่เป็นเหตุให้ทนายโจทก์ฉ้อฉลโจทก์แต่อย่างใดไม่โจทก์จะอ้างว่าเป็นการทำไปโดยทนายโจทก์กับจำเลยฉ้อฉลโจทก์หาได้ไม่ ตามมาตรา35แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.2505มาตรา35ที่บัญญัติว่าที่วัดที่่ธรณีสงฆ์และที่ศาสนสมบัติกลางเป็นทรัพย์สินซึ่งไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี"ย่อมหมายถึงว่าเมื่อมีการบังคับคดีแล้วจะต้องมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่กฎหมายห้ามยึดหรืออายัดการที่ทนายโจทก์และจำเลยตกลงกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลว่าให้จำเลยจัดทำถนนในที่ดินพิพาทโดยจำเลยต้องแจ้งให้โจทก์ทราบข้อตกลงดังกล่าวหากโจทก์บิดพริ้วจำเลยไม่จำต้องยึดหรืออายัดที่ดินพิพาทเพื่อการบังคับคดีแต่อย่างใดข้อตกลงของทนายโจทก์กับจำเลยข้อนี้จึงมิได้ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนและศาลชั้นต้นได้พิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้วเมื่อข้ออ้างของโจทก์จึงมิได้เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา138วรรคสองในอันที่โจทก์จะใช้สิทธิอุทธรณ์ได้การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์โจทก์จึงชอบแล้วแต่ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์โดยให้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์เป็นพับนั้นยังไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา151ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-ฟ้องซ้ำ: การพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ละเมิดกฎหมาย และข้อพิพาทไม่ซ้ำกับคดีอื่น
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันศาลชั้นต้นพิพากษาคดีตามยอมแล้วการที่จำเลยอุทธรณ์ว่าฟ้องคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่600/2537ของศาลชั้นต้นเพราะเป็นมูลคดีพิพาทเดียวกันอันเกิดจากการรับซื้อทรัพย์พิพาททั้งสองคดีเหมือนกันและคดีดังกล่าวโจทก์ได้ฟ้องจำเลยไว้ก่อนคดีนี้และขณะฟ้องคดีนี้คดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นนอกจากนี้พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลอายาธนบุรีเป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่813/2536ในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรโดยขอให้ศาลสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์จำนวน360,000บาทแก่โจทก์คดีนี้ด้วยและศาลอาญาธนบุรีอนุญาตให้โจทก์คดีนี้ในฐานะผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าวเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการในที่สุดศาลอาญาธนบุรีได้พิพากษายกฟ้องโจทก์จึงถือได้ว่าศาลอาญาธนบุรีได้มีคำพิพากษาชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีในส่วนแพ่งสิ้นสุดเด็ดขาดแล้วฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำนั้นเป็นการอุทธรณ์ว่าฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำและฟ้องซ้อนกับคดีอื่นอันเป็นการกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความของศาลชั้นต้นละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา138(2)ซึ่งจำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยนั้นจึงเป็นการไม่ชอบ ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่600/2537ของศาลชั้นต้นโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรมยี่ห้อจูกิ12เครื่องจักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้ 4เครื่องและเครื่องตัดผ้าอุตสาหกรรม2เครื่องของโจทก์ที่ลูกจ้างของโจทก์นำไปขายให้แก่จำเลยซึ่งพนักงานสอบสวนยังไม่ได้ยึดคืนมาจากจำเลยส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนจักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้าของโจทก์อีก2เครื่องที่พนักงานสอบสวนยึดได้จากจำเลยเป็นของกลางแต่จำเลยได้ติดต่อขอรับคืนไปจากพนักงานสอบสวนในคดีอายาหมายเลขแดงที่4052/2536ภายหลังจากศาลอาญาธนบุรีพิพากษายกฟ้องแล้วจักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้า ในคดีนี้กับจักรพ้งอุตสาหกรรมในคดีแพ่งหมายเลขดำที่600/2537ของศาลชั้นต้นเป็นทรัพย์ต่างรายกันประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีไม่ใช่ประเด็นเดียวกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่600/2537ของศาลชั้นต้น คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ขึ้นใหม่ภายหลังจากที่ศาลอาญาธนบุรีพิพากษาคดีอาญาหมายเลขแดงที่4052/2536แล้วโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าจักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้า 2เครื่องในคดีนี้ที่พนักงานสอบสวนได้ยึดไว้เป็นของกลางนั้นเป็นของโจทก์แต่จำเลยยังติดต่อขอรับเอาจักรพ้งอุตสาหกรรมดังกล่าวไปจากพนักงานสอบสวนเป็นการกระทำต่างคราวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่4052/2536ของศาลอาญาธนบุรีในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรจักรพ้งอุตสาหกรรมดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน/ฟ้องซ้ำ: ข้อพิพาทต่างคราวกัน แม้ทรัพย์สินบางส่วนเป็นของเดิม ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีตามยอมแล้ว การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าฟ้องคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 600/2537 ของศาลชั้นต้นเพราะเป็นมูลคดีพิพาทเดียวกันอันเกิดจากการรับซื้อทรัพย์พิพาททั้งสองคดีเหมือนกัน และคดีดังกล่าวโจทก์ได้ฟ้องจำเลยไว้ก่อนคดีนี้ และขณะฟ้องคดีนี้คดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นนอกจากนี้พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลอาญาธนบุรีเป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 813/2536 ในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจร โดยขอให้ศาลสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์จำนวน 360,000 บาท แก่โจทก์คดีนี้ด้วย และศาลอาญาธนบุรีอนุญาตให้โจทก์คดีนี้ในฐานะผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าวเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ ในที่สุดศาลอาญาธนบุรีได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงถือได้ว่าศาลอาญาธนบุรีได้มีคำพิพากษาชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีในส่วนแพ่งสิ้นสุดเด็ดขาดแล้วฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำนั้น เป็นการอุทธรณ์ว่าฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำและฟ้องซ้อนกับคดีอื่น อันเป็นการกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความของศาลชั้นต้นละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138 (2) ซึ่งจำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยนั้นจึงเป็นการไม่ชอบ
ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 600/2537 ของศาลชั้นต้น โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรมยี่ห้อจูกิ 12 เครื่อง จักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้า 4 เครื่อง และเครื่องตัดผ้าอุตสาหกรรม 2 เครื่อง ของโจทก์ที่ลูกจ้างของโจทก์นำไปขายให้แก่จำเลย ซึ่งพนักงานสอบสวนยังไม่ได้ยึดคืนมาจากจำเลยส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนจักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้าของโจทก์อีก2 เครื่อง ที่พนักงานสอบสวนยึดได้จากจำเลยเป็นของกลาง แต่จำเลยได้ติดต่อขอรับคืนไปจากพนักงานสอบสวน ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4052/2536 ภายหลังจากศาลอาญาธนบุรีพิพากษายกฟ้องแล้ว จักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้า ในคดีนี้กับจักรพ้งอุตสาหกรรมในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 600/2537 ของศาลชั้นต้น เป็นทรัพย์ต่างรายกัน ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีไม่ใช่ประเด็นเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 600/2537 ของศาลชั้นต้น
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ขึ้นใหม่ภายหลังจากที่ศาลอาญาธนบุรีพิพากษาคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4052/2536 แล้วโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าจักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้า 2 เครื่อง ในคดีนี้ที่พนักงานสอบสวนได้ยึดไว้เป็นของกลางนั้นเป็นของโจทก์ แต่จำเลยยังติดต่อขอรับเอาจักรพ้งอุตสาหกรรมดังกล่าวไปจากพนักงานสอบสวน เป็นการกระทำต่างคราวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4052/2536 ของศาลอาญาธนบุรี ในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรจักรพ้งอุตสาหกรรมดังกล่าว จึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 600/2537 ของศาลชั้นต้น โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรมยี่ห้อจูกิ 12 เครื่อง จักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้า 4 เครื่อง และเครื่องตัดผ้าอุตสาหกรรม 2 เครื่อง ของโจทก์ที่ลูกจ้างของโจทก์นำไปขายให้แก่จำเลย ซึ่งพนักงานสอบสวนยังไม่ได้ยึดคืนมาจากจำเลยส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนจักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้าของโจทก์อีก2 เครื่อง ที่พนักงานสอบสวนยึดได้จากจำเลยเป็นของกลาง แต่จำเลยได้ติดต่อขอรับคืนไปจากพนักงานสอบสวน ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4052/2536 ภายหลังจากศาลอาญาธนบุรีพิพากษายกฟ้องแล้ว จักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้า ในคดีนี้กับจักรพ้งอุตสาหกรรมในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 600/2537 ของศาลชั้นต้น เป็นทรัพย์ต่างรายกัน ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีไม่ใช่ประเด็นเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 600/2537 ของศาลชั้นต้น
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ขึ้นใหม่ภายหลังจากที่ศาลอาญาธนบุรีพิพากษาคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4052/2536 แล้วโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าจักรพ้งอุตสาหกรรมยี่ห้อซีรูบ้า 2 เครื่อง ในคดีนี้ที่พนักงานสอบสวนได้ยึดไว้เป็นของกลางนั้นเป็นของโจทก์ แต่จำเลยยังติดต่อขอรับเอาจักรพ้งอุตสาหกรรมดังกล่าวไปจากพนักงานสอบสวน เป็นการกระทำต่างคราวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4052/2536 ของศาลอาญาธนบุรี ในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรจักรพ้งอุตสาหกรรมดังกล่าว จึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการชุดใหม่ vs สัญญาประนีประนอมยอมความเดิม: การฉ้อฉลและการค้างชำระค่าจ้าง
ช. เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลย จำนวนร้อยละ 43.46 จึงมีอำนาจเรียกประชุมวิสามัญได้ เมื่อ ช. เรียกประชุมผู้ถือหุ้นทั้งหมดและมีการประชุมตามกำหนดจึงเป็นการประชุมใหญ่วิสามัญที่มีอำนาจลงมติแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการบริษัทจำเลยได้ ตามป.พ.พ. 1173,1174,1151 และเมื่อการประชุมใหญ่วิสามัญดังกล่าวที่ประชุมได้มีมติเอกฉันท์ให้ถอดถอนกรรมการชุดเดิมทั้งหมดและแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ 5 คน โดย ช.และว. เป็นกรรมการชุดใหม่มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันกระทำการแทนจำเลยได้ตามมติของที่ประชุมใหญ่วิสามัญได้ให้อำนาจไว้ ดังนี้ ช.กับว.จึงมีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันแต่งตั้งทนายความแทนบริษัทจำเลยได้ และทนายความดังกล่าวย่อมมีอำนาจอุทธรณ์แทนบริษัทจำเลย ศ. กรรมการของบริษัทจำเลยเป็นผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยกระทำการผูกพันจำเลยได้ การที่ ศ.เป็นโจทก์ร่วมกับลูกจ้างคนอื่นของจำเลยรวม 366 คน ฟ้องบริษัทจำเลยให้จ่ายค่าจ้างค้างชำระและดอกเบี้ยแก่ตนเอง โดยในระหว่างดำเนินคดี ศ. ได้กระทำการในฐานะผู้จัดการบริษัทจำเลยด้วยการแต่งตั้งทนายความเข้าทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ชำระเงินตามฟ้องให้แก่ ศ. และโจทก์อื่นทุกคน และศาลแรงงานกลางได้พิพากษาคดีตามยอม ดังนี้ ประโยชน์ทางได้ทางเสียระหว่างจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลกับ ศ. โจทก์ที่ 364 ซึ่งเป็นผู้จัดการของจำเลยเป็นปฏิปักษ์แก่กัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 80 ดังนั้นทนายความซึ่งแต่งตั้งโดย ศ. จึงไม่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระเงินให้แก่ ศ. โจทก์ที่ 364 ได้ และ ป.พ.พ. มาตรา 80 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำพิพากษาตามยอมของศาลแรงงานกลางระหว่าง ศ. กับจำเลยจึงขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 138(2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ส่วนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมของศาลแรงงานกลางระหว่างโจทก์อื่นกับบริษัทจำเลยไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 80จึงมีผลผูกพันจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลมีผลผูกพันจำเลย แม้เกินคำขอในฟ้อง ค่าทนายตกลงกันได้
สัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาตามยอมนั้นมิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอย่างคดีธรรมดาที่ต้องสืบพยานกันจึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142ซึ่งห้ามมิให้พิพากษาเกินคำขอหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง การที่คู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลตามมาตรา 138 คงบังคับไว้แต่เพียงต้องตกลงกันในประเด็นแห่งคดี ซึ่งรวมถึงที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นด้วย ถ้านอกประเด็น ศาลก็ไม่มีหน้าที่ทำยอมให้ และเมื่อปรากฏชัดว่า ข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือเห็นว่าชอบด้วยกฎหมายแล้ว. ก็ต้องพิพากษาคดีให้เสร็จไปตามยอมนั้น ไม่มีหน้าที่ต้องย้อนไปดูว่าเกินคำขอในฟ้องหรือไม่
ส่วนที่ทนายจำเลยตกลงยอมให้ค่าทนายโจทก์ 3,000 บาทเมื่อทนายจำเลยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับฝ่ายโจทก์ได้ตามใบแต่งทนายจำเลย. จำเลยจะมาปฏิเสธไม่ยอมรับผิดชอบไม่ได้และกรณีเช่นนี้คู่ความจะตกลงค่าทนายความมากน้อยเท่าใดก็ได้เพราะเป็นเรื่องตกลงกันให้จำเลยรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมอันได้แก่ค่าทนายความด้วย ไม่จำต้องถือตามบัญชีอัตราค่าทนายความตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพราะมิใช่เรื่องที่ศาลกำหนดค่าทนายความให้ฝ่ายแพ้ใช้แทน ข้อตกลงเกี่ยวกับค่าทนายความนี้ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 163 แล้ว
ส่วนที่ทนายจำเลยตกลงยอมให้ค่าทนายโจทก์ 3,000 บาทเมื่อทนายจำเลยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับฝ่ายโจทก์ได้ตามใบแต่งทนายจำเลย. จำเลยจะมาปฏิเสธไม่ยอมรับผิดชอบไม่ได้และกรณีเช่นนี้คู่ความจะตกลงค่าทนายความมากน้อยเท่าใดก็ได้เพราะเป็นเรื่องตกลงกันให้จำเลยรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมอันได้แก่ค่าทนายความด้วย ไม่จำต้องถือตามบัญชีอัตราค่าทนายความตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพราะมิใช่เรื่องที่ศาลกำหนดค่าทนายความให้ฝ่ายแพ้ใช้แทน ข้อตกลงเกี่ยวกับค่าทนายความนี้ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 163 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลมีผลผูกพัน ไม่ต้องติดข้อจำกัดคำขอในฟ้อง ค่าทนายตกลงกันได้
สัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาตามยอมนั้นมิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอย่างคดีธรรมดาที่ต้องสืบพยานกันจึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142ซึ่งห้ามมิให้พิพากษาเกินคำขอหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง การที่คู่ความตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลตามมาตรา 138คงบังคับไว้แต่เพียงต้องตกลงกันในประเด็นแห่งคดี ซึ่งรวมถึงที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นด้วย ถ้านอกประเด็น ศาลก็ไม่มีหน้าที่ทำยอมให้ และเมื่อปรากฏชัดว่า ข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย หรือเห็นว่าชอบด้วยกฎหมายแล้ว. ก็ต้องพิพากษาคดีให้เสร็จไปตามยอมนั้น ไม่มีหน้าที่ต้องย้อนไปดูว่าเกินคำขอในฟ้องหรือไม่
ส่วนที่ทนายจำเลยตกลงยอมให้ค่าทนายโจทก์ 3,000 บาทเมื่อทนายจำเลยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับฝ่ายโจทก์ได้ตามใบแต่งทนายจำเลย. จำเลยจะมาปฏิเสธไม่ยอมรับผิดชอบไม่ได้และกรณีเช่นนี้คู่ความจะตกลงค่าทนายความมากน้อยเท่าใดก็ได้เพราะเป็นเรื่องตกลงกันให้จำเลยรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมอันได้แก่ค่าทนายความด้วย ไม่จำต้องถือตามบัญชีอัตราค่าทนายความตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพราะมิใช่เรื่องที่ศาลกำหนดค่าทนายความให้ฝ่ายแพ้ใช้แทน ข้อตกลงเกี่ยวกับค่าทนายความนี้ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 163 แล้ว
ส่วนที่ทนายจำเลยตกลงยอมให้ค่าทนายโจทก์ 3,000 บาทเมื่อทนายจำเลยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับฝ่ายโจทก์ได้ตามใบแต่งทนายจำเลย. จำเลยจะมาปฏิเสธไม่ยอมรับผิดชอบไม่ได้และกรณีเช่นนี้คู่ความจะตกลงค่าทนายความมากน้อยเท่าใดก็ได้เพราะเป็นเรื่องตกลงกันให้จำเลยรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมอันได้แก่ค่าทนายความด้วย ไม่จำต้องถือตามบัญชีอัตราค่าทนายความตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพราะมิใช่เรื่องที่ศาลกำหนดค่าทนายความให้ฝ่ายแพ้ใช้แทน ข้อตกลงเกี่ยวกับค่าทนายความนี้ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 163 แล้ว