พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4215/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชัดแจ้ง-ไม่รับวินิจฉัย: โจทก์ฎีกาเฉพาะส่วนอำนาจฟ้องโจทก์ที่ 2 โดยไม่โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เรื่องโจทก์ที่ 1
ฎีกาของโจทก์ทั้งสองที่ว่า โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าการจัดประชุมใหญ่วิสามัญเจ้าของร่วมของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ตกเป็นโมฆะ และจำเลยทั้งห้าดำเนินการจดทะเบียนตามมติที่ประชุมใหญ่อันเป็นโมฆะดังกล่าว โจทก์ทั้งสองไม่จำต้องฟ้องนิติบุคคลอาคารชุดเป็นจำเลยด้วย ฟ้องโจทก์ทั้งสองเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะส่วนที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 2 โดยไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 1 ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ถูกต้องอย่างไร ถือว่าฎีกาในส่วนของโจทก์ที่ 1 เป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนฎีกาในเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 2 นั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ถูกต้องแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่รับไว้พิจารณาพิพากษา ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13605/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการสวมสิทธิเรียกร้องหลังโอนหนี้: บรรษัทบริหารสินทรัพย์สามารถสวมสิทธิได้ตามกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า เมื่อบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยผู้สวมสิทธิแทนโจทก์เดิมโอนสินทรัพย์รวมทั้งมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องแล้วให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาโดยบทบัญญัติของ พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 และเป็นการเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาโดยผลของกฎหมาย ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ ส่วนจำเลยที่ 1 จะมีหนี้อยู่กับโจทก์เดิมในเรื่องใด จำนวนเท่าไร และจำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวจนเสร็จสิ้นแล้วหรือไม่ เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะว่ากล่าวกับจำเลยที่ 1 ในการดำเนินการบังคับคดีเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละกรณีกับสิทธิในการยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนในคดีนี้ ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยดำเนินการแก้ไขเกี่ยวกับหนี้ของจำเลยที่ 1 เสร็จสิ้นและหนี้ระงับแล้ว ผู้ร้องไม่อาจเข้ามาสวมสิทธิได้นั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ถูกต้องแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่รับคดีไว้พิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13603/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับรองการปลอดหนี้อาคารชุด: ความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนกลางของผู้ซื้อ และผลกระทบต่อการออกหนังสือ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ และให้ใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดรายได้แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ห้องชุดแก่โจทก์ โดยมีเงื่อนไขว่าโจทก์ต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางของห้องชุดพิพาทนับแต่วันที่ 16 มีนาคม 2553 แก่จำเลย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา กับให้จำเลยยกเลิกการระงับการให้บริการส่วนรวมและการใช้ทรัพย์ส่วนกลางแก่โจทก์ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ศาลอุทธรณ์เห็นว่า หนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางดังกล่าวเป็นหนี้ที่เจ้าของห้องชุดต้องชำระ โจทก์ซื้อห้องชุดมาถือว่าโจทก์เป็นเจ้าของร่วม ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 18 โจทก์จึงต้องชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วย ทางนำสืบไม่ปรากฏว่าจำเลยขัดขวางไม่ให้โจทก์เข้าครอบครองใช้ประโยชน์ในห้องชุด โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย พิพากษายืน ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยออกหนังสือปลอดหนี้แล้ว จำเลยเพิกเฉย ถือว่าโจทก์ไม่มีหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางค้างชำระ จำเลยจึงต้องออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ให้แก่โจทก์ การที่จำเลยไม่ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้เป็นเหตุให้โจทก์เสียหายนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ชอบด้วยเหตุผลแล้ว ศาลฎีกาไม่รับคดีไว้พิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10754/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีภาระจำยอมซ้ำกับคดีเดิมที่อยู่ระหว่างการพิจารณา แม้คดีเดิมจำหน่ายไปแล้ว ก็ไม่ทำให้ฟ้องซ้อนเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่โดยอ้างเหตุว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลง ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจำหน่ายคดีในคดีก่อนเพียง 6 วัน เป็นการยื่นภายในระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 และโจทก์ทั้งเจ็ดยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ขณะนั้นระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ของจำเลยยังไม่สิ้นสุดลงถือได้ว่า โจทก์ยื่นคำฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณา และเมื่อพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งเจ็ดกล่าวอ้างว่า ที่ดินของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ดที่อยู่ติดกันเช่นเดียวกันกับคำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในคดีก่อน แม้คำขอบังคับในส่วนที่เกี่ยวกับความกว้างยาวของทางพิพาทแตกต่างกัน แต่ก็เป็นการขอให้รับรองว่าทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ดเช่นเดียวกัน คำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในคดีนี้กับคำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในคดีก่อนจึงเป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน และการพิจารณาว่าคำฟ้องคดีหลังเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนหรือไม่ ต้องพิจารณาในวันยื่นคำฟ้องคดีหลังเป็นสำคัญ เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ทั้งเจ็ดยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ คดีก่อนอยู่ระหว่างการพิจารณา คำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในคดีก่อน แม้ต่อมาศาลฎีกาในคดีก่อนจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุฎีกาของจำเลยไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรแก่การพิจารณา ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 วรรคหนึ่ง ก็หาทำให้คำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในคดีนี้ซึ่งเป็นฟ้องซ้อนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ กรณีข้อพิพาทเรื่องชำระราคาสัญญาขายฝากที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
ก่อนคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา มีคดีซึ่งจำเลยคดีนี้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นเป็นอีกคดีหนึ่งว่า จำเลย (โจทก์คดีนี้) ขายฝากที่ดินแปลงเดียวกับคดีนี้แก่โจทก์ (จำเลยคดีนี้) ในราคา 8,500,000 บาท กำหนดไถ่คืนภายใน 1 ปี ตามสัญญาขายฝากฉบับเดียวกับคดีนี้ จำเลย (โจทก์คดีนี้) ได้รับเงินค่าขายฝากครบถ้วน แล้วจำเลย (โจทก์คดีนี้) ไม่ไถ่คืนภายในกำหนด และไม่ออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ขายฝากดังกล่าว ขอให้ขับไล่และเรียกค่าขาดประโยชน์ โจทก์คดีนี้ให้การต่อสู้คดีดังกล่าวทำนองเดียวกับที่ฟ้องคดีนี้ว่า โจทก์ (จำเลยคดีนี้) ชำระเงินค่าขายฝากไม่ครบ ขาดอยู่ 1,500,000 บาท กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังโจทก์ ศาลชั้นต้นคดีดังกล่าววินิจฉัยว่า จำเลย (โจทก์คดีนี้) ได้รับเงินค่าขายฝากครบจำนวนตามข้อความที่ระบุในสัญญาขายฝาก และมีคำพิพากษาให้ขับไล่จำเลย (โจทก์คดีนี้) พร้อมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ (จำเลยคดีนี้) จำเลย (โจทก์คดีนี้) อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน จำเลย (โจทก์คดีนี้) ฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งคดีดังกล่าวว่า ฎีกาของจำเลย (โจทก์คดีนี้) เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้วินิจฉัยไว้ถูกต้องแล้ว ศาลฎีกาไม่รับคดีไว้พิจารณาพิพากษาตาม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 วรรคหนึ่ง และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลฎีกา เช่นนี้ เป็นกรณีที่ศาลในคดีดังกล่าวมีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยชี้ขาดคดีว่า จำเลยคดีนี้ชำระเงินค่าขายฝากให้แก่โจทก์คดีนี้ครบถ้วนแล้ว มิได้ผิดสัญญาต่อโจทก์ ฎีกาของโจทก์คดีนี้จึงตกอยู่ภายใต้บังคับเรื่องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 จึงไม่อาจวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยคดีนี้จะมิได้ยกเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลล้มละลายที่ไม่ครบองค์คณะเป็นโมฆะ และศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้เอง
พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา149ระบุว่าศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมเว้นแต่ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลายและพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา23วรรคหนึ่งระบุว่าศาลชั้นต้นนอกจากศาลแขวงต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวงดังนั้นคำสั่งศาลชั้นต้นของผู้พิพากษานายเดียวที่ให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ตามความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา107จึงถือว่าไม่ครบองค์คณะเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142 (5)ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะผู้พิพากษาคดีล้มละลาย: คำสั่งศาลชั้นต้นต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 149 ระบุว่า ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม เว้นแต่ศาลแขวง มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลาย และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 วรรคหนึ่งระบุว่า ศาลชั้นต้น นอกจากศาลแขวงต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน จึงเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวง ดังนั้น คำสั่งศาลชั้นต้นของผู้พิพากษานายเดียวที่ให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ตามความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 107 จึงถือว่าไม่ครบองค์คณะ เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153