คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 163

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 309 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้อง, การรับฟังพยานหลักฐาน, ความชัดเจนของฟ้อง, การตกลงเล่นการพนัน, การยืนยันเอกสารของกลาง
(1) ขอแก้ฟ้องเกี่ยวกับจำนวนเงินของกลางที่จับได้เป็นการแก้ไขรายละเอียดเรื่องของกลางซึ่งต้องแถลงในฟ้อง
(2) ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าพยานเบิกความว่าวันเกิดเหตุเวลา 8 นาฬิกาได้รับแจ้งจากสายลับว่าที่บ้านจำเลยเล่นการพนัน แต่ศาลอุทธรณ์ฟังว่ามีสายลับมาแจ้งพยานเมื่อเวลา 4 โมงเช้า ถือว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวน แต่กล่าวรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องเวลาซึ่งคลาดเคลื่อนกันเล็กน้อยเท่านั้น
(3) ฟ้องโจทก์กล่าวเพียงว่าจำเลยเป็นเจ้ามือรับแทงสลากกินรวบจากผู้เล่นทั่วไป ไม่กล่าวให้ชัดว่ารับแทงจากใคร ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
(4) จำเลยเป็นเจ้ามือรับเงินที่แทงจากผู้แทงไป ถือว่าได้ตกลงเล่นการพนันกันแล้ว
(5) ภายหลังที่โจทก์ถามติงพยานโจทก์แล้วโจทก์ขอให้พยานดูเอกสารที่ส่งศาลไว้แล้ว พยานดูแล้วว่าใช่ของกลางที่จับได้จากจำเลยตามที่เบิกความแล้วดังนี้ ไม่ใช่เรื่องถามติง เป็นแต่เพียงให้พยานยืนยันเอกสารที่พยานเบิกความถึงมาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังศาลสั่งจำหน่ายคดีบางส่วนและการใช้ดุลพินิจของศาลในการอนุญาต
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 ให้โอกาสแก่โจทก์จำเลยที่จะขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้อง หรือคำให้การได้ก่อนศาลพิพากษา ในเมื่อมีเหตุอันสมควรแต่ถึงแม้จะมีเหตุอันสมควรดังที่โจทก์หรือจำเลยอ้างแล้วกฎหมายยังให้อยู่ในดุลพินิจของศาลอีกชั้นหนึ่งว่าสมควรจะอนุญาตหรือไม่
จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพทั้งในชั้นสอบสวนและชั้นศาล ศาลชั้นต้นเห็นว่าเพื่อให้คดีเสร็จโดยรวดเร็วจึงจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 2 ที่ปฏิเสธและนัดตัดสินเนิ่นนานไปถึง 7 วัน เพื่อประสานกับคดีที่ให้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ใหม่ ซึ่งถ้าศาลไม่สั่งเช่นนั้น จำเลยที่ 1 ก็จะถูกศาลพิพากษาลงโทษโดยไม่อาจยื่นคำให้การใหม่ ดังนี้เมื่อพิเคราะห์ประกอบกับความผิดและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ไม่อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การ(อ้างนัยฎีกาที่ 555/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การภายหลังการดำเนินกระบวนพิจารณาคดี ศาลมีดุลพินิจอนุมัติหรือไม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 ให้โอกาสแก่โจทก์จำเลยที่จะขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้อง หรือคำให้การได้ก่อนศาลพิพากษา ในเมื่อมีเหตุอันสมควร แต่ถึงแม้จะมีเหตุอันสมควรดังที่โจทก์หรือจำเลยอ้างแล้วกฎหมายยังให้อยู่ในดุลพินิจของศาลอีกชั้นหนึ่งว่าสมควรจะอนุญาตหรือไม่
จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพทั้งในชั้นสอบสวนและชั้นศาล ศาลชั้นต้นเห็นว่าเพื่อให้คดีเสร็จโดยรวดเร็ว จึงจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 2 ที่ปฏิเสธ และนัดตัดสินเนิ่นนานไปถึง 7 วัน เพื่อประสานกับคดีที่ให้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ใหม่ ซึ่งถ้าศาลไม่สั่งเช่นนั้น จำเลยที่ 1 ก็จะถูกศาลพิพากษาลงโทษโดยไม่อาจยื่นคำให้การใหม่ ดังนี้ เมื่อพิเคราะห์ประกอบกับความผิดและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ไม่อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การ (อ้างนัยฎีกาที่ 555/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 300/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาต้องมีลายมือชื่อโจทก์เอง แม้มีมอบอำนาจทนายก็ไม่สมบูรณ์
ทนายความซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นทนายโจทก์ และให้มีอำนาจ 'ดำเนินกระบวนพิจารณา ประนีประนอมยอมความ ถอนฟ้องสละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา' ได้ลงลายมือชื่อในฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับคดีอาญาแทนโจทก์ เช่นนี้คำฟ้องคดีส่วนอาญาจึงเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7) โจทก์ชอบที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 163,164 จะถือว่าการที่โจทก์ได้สาบานตัวเบิกความต่อศาลยืนยันว่าโจทก์เป็นผู้ฟ้องจำเลยและในชั้นอุทธรณ์โจทก์ลงชื่อในท้ายอุทธรณ์นั้น เป็นการให้สัตยาบันว่า โจทก์มอบอำนาจให้ทนายความฟ้องคดีส่วนอาญาแล้วไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 300/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงลายมือชื่อในฟ้องคดีอาญา: ทนายไม่สามารถลงแทนโจทก์ได้ แม้มีมอบอำนาจ
ทนายความซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นทนายโจทก์และให้มีอำนาจ "ดำเนินกระบวนพิจารณา ประนีประนอมยอมความ ถอนฟ้อง สละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา" ได้ลงลายมือชื่อในฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาแทนโจทก์ เช่นนี้ คำฟ้องคดีส่วนอาญาจึงเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(7) โจทก์ชอบที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 163,164 จะถือว่าการที่โจทก์ได้สาบานตัวเบิกความต่อศาลยืนยันว่าโจทก์เป็นผู้ฟ้องจำเลยและในชั้นอุทธรณ์โจทก์ลงชื่อในท้ายอุทธรณ์นั้น เป็นการให้สัตยาบันว่า โจทก์มอบอำนาจให้ทนายความฟ้องคดีส่วนอาญาแล้วไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 143/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนของกลาง: ศาลอนุญาตแก้ไขคำร้องได้ และไม่จำกัดเวลาการขอคืนก่อนคดีถึงที่สุด
คำร้องขอคืนของกลางนั้นไม่ใช่เป็นการฟ้องกล่าวหาผู้ใดกระทำผิดกฎหมาย และไม่ใช่คำร้องในทางแพ่ง ศาลจึงอนุญาตให้แก้ไขได้โดยไม่ต้องสอบถามคู่ความก่อน
คำร้องขอคืนของกลางไม่จำต้องอ้างตัวบทกฎหมาย ศาลยกขึ้นปรับวินิจฉัยเองได้
ร้องขอคืนทรัพย์ของกลางก่อนคดีถึงที่สุดได้ เพราะตามมาตรา 33 แห่งประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติเพียงว่า ในการที่เจ้าของแท้จริงจะร้องขอต่อศาลให้สั่งคืนทรัพย์สินในกรณีที่ศาลสั่งริบตามมาตรา 33 นั้น จะต้องร้องขอคืนต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดเท่านั้น หาได้บัญญัติห้ามไม่ให้ร้องขอคืนก่อนกำหนดดังกล่าวนี้ไม่ แต่ถ้าร้องขอคืนเกินกว่าหนึ่งปีนับจากวันมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วก็ตกอยู่ในเกณฑ์ถูกบัญญัติห้ามตามมาตรานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบกพร่องในฟ้องอาญา: วันที่ผิดพลาดทำให้จำเลยหลงข้อต่อสู้ ศาลต้องยกฟ้องหากไม่ขอแก้ฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดวันที่ 35 เห็นได้ชัดว่าจำเลยจะกระทำผิดในวันที่โจทก์กล่าวหานั้นไม่ได้ หากโจทก์มิได้ขอแก้ฟ้องเสียให้ถูกต้องก่อน ศาลชั้นต้นพิพากษา ศาลก็ต้องยกฟ้อง และศาลจะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องเสียให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161 ก็ไม่ได้ เพราะฟ้องของโจทก์กล่าวความครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 เป็นฟ้องที่ถูกต้องตามกฎหมายอยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่ครบองค์ความผิด ศาลไม่รับพิจารณา แม้แก้ไขเพิ่มเติมภายหลังก็ไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องไม่ครบองค์ความผิดนั้นถือว่าฟ้องของโจทก์ไม่เป็นฟ้องที่ถูกต้องตามกฎหมายมาแต่ต้นแล้ว โจทก์จึงจะมาขอแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นฟ้องขึ้นหาได้ไม่ ส่วนการร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องเกี่ยวกับฐานความผิดหรือรายละเอียด ซึ่งต้องแถลงในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 164 นั้น ฟ้องของโจทก์จะต้องเป็นฟ้องที่ถูกต้องมาแต่ต้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขวันต้องขังในหมายจำคุกที่ไม่กระทบคำพิพากษา: เป็นเรื่องการบังคับตามคำพิพากษา ไม่ใช่การแก้ฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับวันถูกควบคุมตัวของจำเลยมาไม่ตรงกับความเป็นจริง จนกระทั่งศาลออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุด โดยนับวันต้องขังตามวันที่โจทก์บรรยายในฟ้อง ดังนี้ โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขอแก้วันต้องขังของจำเลยให้ตรงกับความเป็นจริงได้ เพราะไม่ใช่เป็นการขอแก้ฟ้อง และไม่ทำให้ศาลต้องแก้ไขคำพิพากษาแต่อย่างใด เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบังคับตามคำพิพากษาเท่านั้น (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 18/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขวันต้องขังตามหมายจำคุก: ไม่ใช่การแก้ฟ้อง แต่เป็นการบังคับตามคำพิพากษา
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับวันถูกควบคุมตัวของจำเลยมาไม่ตรงกับความเป็นจริง จนกระทั่งศาลออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุด โดยนับวันต้องขังตามวันที่โจทก์บรรยายในฟ้อง ดังนี้ โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขอแก้วันต้องขังของจำเลยให้ตรงกับความเป็นจริงได้ เพราะไม่ใช่เป็นการขอแก้ฟ้อง และไม่ทำให้ศาลต้องแก้ไขคำพิพากษาแต่อย่างใดเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบังคับตามคำพิพากษาเท่านั้น(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 18/2503)
of 31