พบผลลัพธ์ทั้งหมด 309 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำให้การรับสารภาพในคดีอาญาต้องเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย หากไม่ปฏิบัติตาม ศาลมีสิทธิไม่รับฟัง
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจะบัญญัติรับรองสิทธิพื้นฐานของบุคคลผู้ตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาไว้หลายประการกล่าวคือให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้บริสุทธิ์ รวมทั้งให้สิทธิแก่จำเลยที่จะให้การต่อศาลหรือไม่ให้การก็ได้ แต่ในกรณีที่จำเลยให้การต่อศาลแล้วหากประสงค์จะขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การนั้น จำเลยจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 163 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งนี้ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้ โดยพิจารณาถึงเหตุผลที่จำเลยอ้างว่าเป็นเหตุผลอันสมควรหรือไม่
จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นได้บันทึกคำให้การของจำเลยไว้ และได้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาหลายครั้ง เพื่อให้โอกาสจำเลยบรรเทาผลร้ายโดยชดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ แต่จำเลยกลับผัดผ่อนตลอดมา จนในที่สุดจำเลยได้ยื่นคำให้การขอให้การใหม่เป็นปฏิเสธฟ้อง โดยมิได้ยื่นคำร้องขอแก้คำให้การ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคสองดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การ จึงต้องถือว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์ เมื่อข้อหาตามฟ้อง ไม่ใช่คดีที่มีข้อหาในความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ซึ่งต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตามมาตรา 176 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปจึงชอบแล้ว
จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นได้บันทึกคำให้การของจำเลยไว้ และได้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาหลายครั้ง เพื่อให้โอกาสจำเลยบรรเทาผลร้ายโดยชดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ แต่จำเลยกลับผัดผ่อนตลอดมา จนในที่สุดจำเลยได้ยื่นคำให้การขอให้การใหม่เป็นปฏิเสธฟ้อง โดยมิได้ยื่นคำร้องขอแก้คำให้การ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคสองดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การ จึงต้องถือว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์ เมื่อข้อหาตามฟ้อง ไม่ใช่คดีที่มีข้อหาในความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ซึ่งต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตามมาตรา 176 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8187/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมฟ้องแก้ฐานความผิดของจำเลยที่เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ และการใช้พยานหลักฐานจากการล่อซื้อยาเสพติด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า "เมื่อมีเหตุอันควร โจทก์มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น" และมาตรา 164 บัญญัติว่า"คำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องนั้น ถ้าจะทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี ห้ามมิให้ศาลอนุญาต แต่การแก้ฐานความผิด การเพิ่มเติมฐานความผิด ไม่ว่าจะทำเช่นนี้ในระยะใดระหว่างการพิจารณาในศาลชั้นต้นมิให้ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบ เว้นแต่จำเลยได้หลงต่อสู้ในข้อที่ผิดหรือที่มิได้กล่าวไว้นั้น" เมื่อโจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องว่าจำเลยเป็นพนักงานองค์การรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นการแก้ฐานความผิด ทั้งเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับฐานะและอาชีพของจำเลยซึ่งจำเลยทราบดีอยู่แล้วไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบและหลงต่อสู้ ถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรและโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา โจทก์จึงขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคหนึ่ง และมาตรา 164
การที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้สายลับนำเงินไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยซึ่งมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอยู่แล้ว เป็นวิธีการแสวงหาพยานหลักฐานในการกระทำความผิดของจำเลยที่ได้กระทำอยู่แล้ว มิได้ล่อหรือชักจูงใจให้จำเลยกระทำความผิดอาญาที่จำเลยไม่ได้กระทำความผิดมาก่อน การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย ไม่เป็นการกระทำที่ดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของจำเลย ไม่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และไม่เข้าข้อต้องห้ามอ้างเป็นพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 226
ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำผิดขณะเป็นพนักงานขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งเป็นองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐจึงต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดดังกล่าวตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100 และพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 10 แต่กลับไม่ได้ปรับบทลงโทษตามกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
การที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้สายลับนำเงินไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยซึ่งมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอยู่แล้ว เป็นวิธีการแสวงหาพยานหลักฐานในการกระทำความผิดของจำเลยที่ได้กระทำอยู่แล้ว มิได้ล่อหรือชักจูงใจให้จำเลยกระทำความผิดอาญาที่จำเลยไม่ได้กระทำความผิดมาก่อน การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย ไม่เป็นการกระทำที่ดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของจำเลย ไม่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และไม่เข้าข้อต้องห้ามอ้างเป็นพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 226
ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำผิดขณะเป็นพนักงานขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งเป็นองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐจึงต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดดังกล่าวตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100 และพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 10 แต่กลับไม่ได้ปรับบทลงโทษตามกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8187/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมฟ้อง, พยานหลักฐานจากการล่อซื้อ, และการปรับบทลงโทษสำหรับความผิดของเจ้าพนักงานรัฐวิสาหกิจ
หลังจากสืบพยานจำเลยเสร็จแล้วโจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องโดยแก้ฐานความผิดว่าจำเลยเป็นพนักงานองค์การรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับฐานะและอาชีพของจำเลยซึ่งจำเลยทราบดีอยู่แล้ว ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบและหลงต่อสู้ ถือได้ว่ามีเหตุอันสมควร และโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา โจทก์จึงขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคหนึ่ง และมาตรา 164
การที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้สายลับนำเงินไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยซึ่งมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอยู่แล้วเป็นวิธีการแสดงหาพยานหลักฐานในการกระทำความผิดของจำเลยที่ได้กระทำอยู่แล้ว มิได้ล่อหรือชักจูงใจให้จำเลยกระทำความผิดอาญาที่จำเลยไม่ได้กระทำความผิดมาก่อน การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย ไม่เป็นการกระทำที่ดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของจำเลยและไม่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และไม่เข้าข้อต้องห้ามอ้างเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226
ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำผิดขณะเป็นพนักงานขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งเป็นองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ จึงต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 และ พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 แต่กลับไม่ได้ปรับบทลงโทษตามกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
การที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้สายลับนำเงินไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยซึ่งมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอยู่แล้วเป็นวิธีการแสดงหาพยานหลักฐานในการกระทำความผิดของจำเลยที่ได้กระทำอยู่แล้ว มิได้ล่อหรือชักจูงใจให้จำเลยกระทำความผิดอาญาที่จำเลยไม่ได้กระทำความผิดมาก่อน การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย ไม่เป็นการกระทำที่ดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของจำเลยและไม่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และไม่เข้าข้อต้องห้ามอ้างเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226
ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำผิดขณะเป็นพนักงานขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งเป็นองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ จึงต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 และ พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 แต่กลับไม่ได้ปรับบทลงโทษตามกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8887/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีเช็ค และการนับโทษต่อหลังรับสารภาพ
++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ++
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คลงวันที่เท่าใด ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินในวันใด ถึงแม้จะมิได้กล่าวว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเวลาใด ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) เพราะเป็นที่เห็นได้ว่า ปฏิเสธการจ่ายเงินในเวลากลางวันอันเป็นเวลาทำการของธนาคาร และแม้โจทก์ไม่ได้ระบุไว้ด้วยว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าอะไร และบังคับได้ตามกฎหมายอย่างไร ก็เป็นการเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าอะไรและบังคับได้ตามกฎหมายอย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา
ความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4 เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการใช้เงินตามเช็ค มิใช่เกิดในวันออกเช็ค โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายถึงสถานที่ที่จำเลยออกเช็คให้แก่ผู้เสียหาย
ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น เดิมจำเลยให้การปฏิเสธต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า จำเลยเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้น หากมีคำพิพากษาจำคุกจำเลย ก็ขอให้นับโทษต่อด้วย จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องดังกล่าวว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยอนุญาต จำเลยไม่เคยคัดค้านโต้แย้งคำสั่งดังกล่าว ต่อมาจำเลยขอถอนคำให้การเดิมเป็นให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ การที่จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องขอให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในอีกคดีหนึ่งดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าจำเลยรับในข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างมาในคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องด้วย เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในอีกคดีหนึ่งนั้นชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คลงวันที่เท่าใด ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินในวันใด ถึงแม้จะมิได้กล่าวว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเวลาใด ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) เพราะเป็นที่เห็นได้ว่า ปฏิเสธการจ่ายเงินในเวลากลางวันอันเป็นเวลาทำการของธนาคาร และแม้โจทก์ไม่ได้ระบุไว้ด้วยว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าอะไร และบังคับได้ตามกฎหมายอย่างไร ก็เป็นการเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าอะไรและบังคับได้ตามกฎหมายอย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา
ความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4 เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการใช้เงินตามเช็ค มิใช่เกิดในวันออกเช็ค โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายถึงสถานที่ที่จำเลยออกเช็คให้แก่ผู้เสียหาย
ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น เดิมจำเลยให้การปฏิเสธต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า จำเลยเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้น หากมีคำพิพากษาจำคุกจำเลย ก็ขอให้นับโทษต่อด้วย จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องดังกล่าวว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยอนุญาต จำเลยไม่เคยคัดค้านโต้แย้งคำสั่งดังกล่าว ต่อมาจำเลยขอถอนคำให้การเดิมเป็นให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ การที่จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องขอให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในอีกคดีหนึ่งดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าจำเลยรับในข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างมาในคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องด้วย เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในอีกคดีหนึ่งนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4220/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตให้แก้ฟ้องคดีอาญา: เหตุผลความจำเป็น, รายละเอียดของกลาง, และผลกระทบต่อจำเลย
คำร้องขอแก้ฟ้องโจทก์ อ้างเหตุว่า คำฟ้องของโจทก์มีข้อบกพร่องคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับน้ำหนักเฮโรอีนของกลาง ขอแก้ไขน้ำหนักเฮโรอีนของกลางจาก 1.52 กรัม เป็น0.05 กรัม เนื่องจากพนักงานสอบสวนส่งรายงานการตรวจพิสูจน์ของกลางมาให้ผิดพลาด ถือได้ว่าเป็นเหตุอันควรอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้ และการที่โจทก์ขอแก้ฟ้องเกี่ยวกับจำนวนน้ำหนักเฮโรอีนของกลางให้ลดลงจากเดิมเป็นการแก้ไขรายละเอียดเรื่องของกลางซึ่งต้องแถลงในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158จึงไม่ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 164 ทั้งคดีนี้จำเลยเพียงแต่ให้การปฏิเสธลอย แม้โจทก์จะระบุน้ำหนักเฮโรอีนในฟ้องผิด แต่โจทก์ได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับของกลาง คือบรรยายว่า ของกลางที่ยึดได้เป็นเฮโรอีน ทั้งการขอแก้ฟ้องได้กระทำก่อนสืบพยานโจทก์เสร็จและจำเลยยังมิได้สืบพยาน จำเลยย่อมมีโอกาสต่อสู้คดีได้เต็มที่ จำเลยไม่มีทางหลงต่อสู้ในข้อที่ผิดไปนี้ได้ จึงชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4220/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องคดีอาญา: เหตุอันควร, ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ, ก่อนสืบพยาน
คำร้องขอแก้ฟ้องโจทก์ อ้างเหตุว่า คำฟ้องของโจทก์มีข้อบกพร่องคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับน้ำหนักเฮโรอีนของกลาง ขอแก้ไขน้ำหนักเฮโรอีนของกลางจาก 1.52 กรัม เป็น 0.05 กรัม เนื่องจากพนักงานสอบสวนส่งรายงานการตรวจพิสูจน์ของกลางมาให้ผิดพลาด ถือได้ว่าเป็นเหตุอันควรอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้ และการที่โจทก์ขอแก้ฟ้องเกี่ยวกับจำนวนน้ำหนักเฮโรอีนของกลางให้ลดลงจากเดิมเป็นการแก้ไขรายละเอียดเรื่องของกลางซึ่งต้องแถลงในฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 จึงไม่ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 164ทั้งคดีนี้จำเลยเพียงแต่ให้การปฏิเสธลอย แม้โจทก์จะระบุน้ำหนักเฮโรอีนในฟ้องผิดแต่โจทก์ได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับของกลาง คือบรรยายว่า ของกลางที่ยึดได้เป็นเฮโรอีน ทั้งการขอแก้ฟ้องได้กระทำก่อนสืบพยานโจทก์เสร็จและจำเลยยังมิได้สืบพยาน จำเลยย่อมมีโอกาสต่อสู้คดีได้เต็มที่ จำเลยไม่มีทางหลงต่อสู้ในข้อที่ผิดไปนี้ได้ จึงชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4220/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตแก้ฟ้องคดีอาญา: เหตุผลความคลาดเคลื่อนของน้ำหนักของกลางไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
คำร้องขอแก้ฟ้อง โจทก์อ้างเหตุว่า คำฟ้องของโจทก์มีข้อบกพร่องคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับน้ำหนักเฮโรอีนของกลาง ขอแก้ไขน้ำหนักเฮโรอีนของกลางจาก 1.52 กรัม เป็น 0.05 กรัม เนื่องจากพนักงานสอบสวนส่งรายงานการตรวจพิสูจน์ของกลางมาให้ผิดพลาด ถือได้ว่าเป็นเหตุอันควรอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้ และการที่โจทก์ขอแก้ฟ้องเกี่ยวกับจำนวนน้ำหนักเฮโรอีนของกลางให้ลดลงจากเดิม เป็นการแก้ไขรายละเอียดเรื่องของกลางซึ่งต้องแถลงในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 จึงไม่ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 164 ทั้งคดีนี้จำเลยเพียงแต่ให้การปฏิเสธลอย แม้โจทก์จะระบุน้ำหนักเฮโรอีนในฟ้องผิดแต่โจทก์ได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับของกลาง คือ บรรยายว่า ของกลางที่ยึดได้เป็นเฮโรอีน ทั้งการขอแก้ฟ้องได้กระทำก่อนสืบพยานโจทก์เสร็จและจำเลยยังมิได้สืบพยาน จำเลยย่อมมีโอกาสต่อสู้คดีได้เต็มที่ จำเลยไม่มีทางหลงต่อสู้ในข้อที่ผิดไปนี้ได้ จึงชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2254/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอ: โจทก์ต้องขอให้นับโทษจำคุกในคำฟ้อง มิเช่นนั้น ศาลพิพากษาเกินเลย
คดีทั้งสามสำนวนนี้โจทก์ได้ขอรวมการพิจารณาพิพากษา เข้าด้วยกัน และจำเลยไม่ได้คัดค้านทั้งสามสำนวน ดังนั้น คำขอท้ายฟ้องคดีทั้งสามสำนวนนี้จึงถือเป็นข้อเท็จจริงและ เป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เมื่อโจทก์มีความประสงค์มาแต่ต้น โดยต้องการให้ศาลชั้นต้นนับโทษจำคุกจำเลยต่อกับคดีอื่น โจทก์ต้องระบุหรือกล่าวไว้ในคำฟ้องหรือขอแก้ไขเพิ่มเติม ฟ้องในภายหลังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 เสียก่อนที่จะมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เมื่อคำฟ้องของโจทก์ ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวและไม่มีคำขอให้นับโทษจำคุกจำเลย ต่อกันไว้การที่โจทก์ขอรวมพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสามสำนวน ด้วยกันก็เพื่อประโยชน์ในการนำสืบพยานหลักฐานชุดเดียวกัน ของคู่ความเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติม ฟ้องทำนองขอให้นับโทษในคดีต่อกันดังที่โจทก์แก้ฎีกา ด้วยเหตุนี้ การที่ศาลล่างพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดรวมทั้งสิ้น 11 กระทง และให้นับโทษจำคุกจำเลยต่อกันจึงเป็นการพิพากษา เกินคำขอของโจทก์ที่มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2650/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองไม้หวงห้ามเพื่อแปรรูปให้ผู้อื่นถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ การรับสารภาพรวมถึงการแปรรูปในเขตควบคุม
คำว่า "ครอบครอง" ตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 หมายความรวมถึงครอบครองเพื่อตนเองและครอบครองแทนผู้อื่นด้วย เพราะไม่มีบทกฎหมายใดจำกัดว่าต้องเป็นการครอบครองเพื่อตนเองเท่านั้นจึงจะเป็นความผิดอีกทั้งในทางอาญา การร่วมกันครอบครองไม้หวงห้ามก็เป็นความผิดเช่นเดียวกันดังนั้นการที่จำเลยครอบครองไม้ยูง ซึ่งเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. เพื่อแปรรูปให้ผู้ว่าจ้างจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ เดิมจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทุกข้อหา ก่อนสืบพยานโจทก์จำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธฟ้องโจทก์ทุกข้อหา เป็นขอให้การรับสารภาพในข้อหาร่วมกับพวกแปรรูปไม้ยูงโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนข้อหาอื่นคงให้การปฏิเสธเมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้กล่าวในฟ้องตอนต้นแล้วว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศให้กำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตลอดเขตท้องที่จังหวัดทุกจังหวัด โดยประกาศดังกล่าวทางราชการได้คัดสำเนาประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการกำนันและที่สาธารณสถานในท้องที่ที่เกี่ยวข้อง และในท้องที่ที่เกิดเหตุคดีนี้ให้ทราบโดยทั่วกัน และกล่าวในฟ้องต่อไปว่า จำเลยกับพวกร่วมกันแปรรูปไม้ยูงโดยร่วมกันเลื่อยเพื่อ เปิดปักไม้อันเป็นการทำให้ไม้เปลี่ยนรูปและขนาดไปจากเดิม ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ โดยไม่ได้รับอนุญาต จากพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ในข้อหาร่วมกับพวกแปรรูปไม้ยูงโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้อง ย่อมเป็นการรับสารภาพตามข้อความที่โจทก์กล่าวในฟ้อง คำให้การรับสารภาพของจำเลยจึงรวมถึงการแปรรูปไม้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้และรวมถึงการคัดสำเนาประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอและที่ทำการกำนันหรือที่สาธารณสถานในท้องที่ที่เกี่ยวข้องและในท้องที่ที่เกิดเหตุคดีนี้ด้วย โจทก์จึงไม่จำต้องสืบพยานถึงการปิดสำเนาประกาศดังกล่าว ความผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484มาตรา 48 วรรคหนึ่ง,73 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพ้นบาทถึงสองแสนบาท เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องศาลย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานในข้อหาความผิดนี้ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2650/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.ป่าไม้: ครอบครอง/แปรรูปไม้หวงห้ามในเขตควบคุม แม้รับสารภาพเฉพาะบางข้อหา ศาลใช้ประโยชน์จากคำรับสารภาพทั้งหมดได้
คำว่า "ครอบครอง" ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484หมายความรวมถึงครอบครองเพื่อตนเองและครอบครองแทนผู้อื่นด้วย เพราะไม่มีบทกฎหมายใดจำกัดว่าต้องเป็นการครอบครองเพื่อตนเองเท่านั้นจึงจะเป็นความผิดอีกทั้งในทางอาญา การร่วมกันครอบครองไม้หวงห้ามก็เป็นความผิดเช่นเดียวกันดังนั้นการที่จำเลยครอบครองไม้ยูงซึ่งเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.เพื่อแปรรูปให้ผู้ว่าจ้างจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
เดิมจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทุกข้อหา ก่อนสืบพยานโจทก์จำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธฟ้องโจทก์ทุกข้อหา เป็นขอให้การรับสารภาพในข้อหาร่วมกับพวกแปรรูปไม้ยูงโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนข้อหาอื่นคงให้การปฏิเสธเมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้กล่าวในฟ้องตอนต้นแล้วว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร-และสหกรณ์ได้ออกประกาศให้กำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตลอดเขตท้องที่จังหวัดทุกจังหวัด โดยประกาศดังกล่าวทางราชการได้คัดสำเนาประกาศไว้ ณ ที่ว่าการ-อำเภอ ที่ทำการกำนัน และที่สาธารณสถานในท้องที่ที่เกี่ยวข้อง และในท้องที่ที่เกิดเหตุคดีนี้ให้ทราบโดยทั่วกัน และกล่าวในฟ้องต่อไปว่า จำเลยกับพวกร่วมกันแปรรูปไม้ยูงโดยร่วมกันเลื่อยเพื่อเปิดปีกไม้อันเป็นการทำให้ไม้เปลี่ยนรูปและขนาดไปจากเดิมภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงาน-เจ้าหน้าที่ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาร่วมกับพวกแปรรูปไม้ยูงโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้อง ย่อมเป็นการรับสารภาพตามข้อความที่โจทก์กล่าวในฟ้อง คำให้การรับสารภาพของจำเลยจึงรวมถึงการแปรรูปไม้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้และรวมถึงการคัดสำเนาประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอและที่ทำการกำนันหรือที่สาธารณสถานในท้องที่ที่เกี่ยวข้องและในท้องที่ที่เกิดเหตุคดีนี้ด้วย โจทก์จึงไม่จำต้องสืบพยานถึงการปิดสำเนาประกาศดังกล่าว
ความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง,73 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องศาลย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานในข้อหาความผิดนี้ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
เดิมจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทุกข้อหา ก่อนสืบพยานโจทก์จำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธฟ้องโจทก์ทุกข้อหา เป็นขอให้การรับสารภาพในข้อหาร่วมกับพวกแปรรูปไม้ยูงโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนข้อหาอื่นคงให้การปฏิเสธเมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้กล่าวในฟ้องตอนต้นแล้วว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร-และสหกรณ์ได้ออกประกาศให้กำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตลอดเขตท้องที่จังหวัดทุกจังหวัด โดยประกาศดังกล่าวทางราชการได้คัดสำเนาประกาศไว้ ณ ที่ว่าการ-อำเภอ ที่ทำการกำนัน และที่สาธารณสถานในท้องที่ที่เกี่ยวข้อง และในท้องที่ที่เกิดเหตุคดีนี้ให้ทราบโดยทั่วกัน และกล่าวในฟ้องต่อไปว่า จำเลยกับพวกร่วมกันแปรรูปไม้ยูงโดยร่วมกันเลื่อยเพื่อเปิดปีกไม้อันเป็นการทำให้ไม้เปลี่ยนรูปและขนาดไปจากเดิมภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงาน-เจ้าหน้าที่ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาร่วมกับพวกแปรรูปไม้ยูงโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้อง ย่อมเป็นการรับสารภาพตามข้อความที่โจทก์กล่าวในฟ้อง คำให้การรับสารภาพของจำเลยจึงรวมถึงการแปรรูปไม้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้และรวมถึงการคัดสำเนาประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอและที่ทำการกำนันหรือที่สาธารณสถานในท้องที่ที่เกี่ยวข้องและในท้องที่ที่เกิดเหตุคดีนี้ด้วย โจทก์จึงไม่จำต้องสืบพยานถึงการปิดสำเนาประกาศดังกล่าว
ความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง,73 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องศาลย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานในข้อหาความผิดนี้ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 176 วรรคหนึ่ง