คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 163

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 309 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6314/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการแก้ไขคำให้การก่อนศาลพิพากษา และการปรับบทลงโทษอาวุธปืนไม่มีทะเบียน
ในคดีอาญา จำเลยย่อมยื่นคำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยก่อนศาลพิพากษา ศาลมีอำนาจจะอนุญาตหรือไม่ก็ได้สุดแต่ศาลจะเห็นสมควร ในตอนแรกจำเลยให้การปฏิเสธหลังจากศาลชั้นต้นได้สืบพยานโจทก์ไปแล้ว 2 ปาก จำเลยก็ขอเพิกถอนคำให้การเดิมและให้การใหม่เป็นรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ โจทก์จึงแถลงไม่ติดใจสืบพยานที่เหลืออีกต่อไปและศาลชั้นต้นสั่งว่าคดีเสร็จการพิจารณา ให้รอฟังคำพิพากษาในวันเดียวกัน แต่ต่อมาจำเลยกลับขอให้การใหม่อีก เป็นรับสารภาพเพียงข้อหาเดียวเท่านั้น ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์บรรยายฟ้องในข้อหามีอาวุธปืนว่า จำเลยได้มีอาวุธปืนสั้นขนาด .38 ไม่ปรากฏว่ามีเครื่องหมายทะเบียนประจำอาวุธปืนของเจ้าพนักงานประทับไว้หรือไม่จำนวน 1 กระบอก ไว้ในครอบครองของจำเลยโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมายจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยฟังคำรับสารภาพของจำเลย ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามคำฟ้องของโจทก์ซึ่งไม่เป็นการแน่นอนว่า อาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองนั้นเป็นอาวุธปืนมีหมายเลขทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้หรือไม่ จึงต้องฟังข้อเท็จจริงในส่วนนี้ให้เป็นคุณแก่จำเลยว่าอาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองและพาไปโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นเป็นอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน, บุกรุก, ข่มขืนใจ, ชิงทรัพย์ และการแก้ไขโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
ความผิดฐานฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่มีโทษสถานเดียวคือประหารชีวิต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 เมื่อจำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษดังกล่าวตามมาตรา 80 เท่ากับลดโทษลงมาหนึ่งในสามนั่นเอง ซึ่งคงเหลือเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตสถานเดียว ตามมาตรา 52(1) หลังจากจำเลยใช้อาวุธปืนยิง ท.แล้ว จำเลยได้ใช้อาวุธปืนจี้เอารถจักรยานยนต์ของ ร.ขับหลบหนีไป แล้วนำรถจักรยานยนต์นั้นไปทิ้งไว้ข้างทางห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 20 กิโลเมตร ไม่ได้นำรถจักรยานยนต์ไปเป็นประโยชน์ของตนหรือผู้อื่น แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่มีเจตนาประสงค์จะเอาทรัพย์คือรถจักรยานยนต์นั้น คงมีเจตนาเพียงต้องการใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อหลบหนีเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้อง แต่การกระทำของจำเลยเป็นการใช้อาวุธปืนข่มขืนใจ ร. ให้มอบรถจักรยานยนต์โดย ทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย อันเป็นความผิดต่อเสรีภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสอง ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามทางพิจารณาที่ได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคท้าย โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกานับโทษจำเลยต่อจากคดีอื่น ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้มีคำขอมาท้ายฟ้องหรือขอแก้เพิ่มเติมฟ้องในเรื่องขอให้นับโทษต่อเสียก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพิ่งจะขอมาหลังจากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาและจำเลยฎีกาต่อมา จึงไม่อาจนับโทษจำเลยต่อจากคดีอื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องเพิ่มข้อหาขับรถประมาทจนถึงแก่ความตาย และการโต้แย้งข้อเท็จจริงหลังรับสารภาพ
เดิมโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายสาหัส ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300ระหว่างพิจารณา โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า ผู้เสียหายถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากการขับรถโดยประมาทของจำเลย ขอให้ลงโทษฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 โดยมีเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนเพิ่มเติมมาท้ายฎีกาด้วยว่า เมื่อโจทก์ทราบว่าผู้เสียหายถึงแก่ความตายอันเป็นผลสืบเนื่องจากการขับโดยประมาทของจำเลยโจทก์ได้มีหนังสือลงวันที่ 10 มกราคม 2534 และแจ้งข้อหาขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เพิ่มเติมจากที่ได้ทำการสอบสวนไว้แล้วแก่จำเลย และจำเลยได้ทราบข้อหาแล้วปรากฏตามบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมลงวันที่ 15 มกราคม 2534กรณีจึงมีเหตุอันควร โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในความผิดฐานขับรถยนต์โดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ได้ และศาลมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวได้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำผิดตามฟ้องดังกล่าวข้างต้นแล้ว จำเลยจะฎีกาว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคประจำตัวมิใช่เกิดจากการขับรถโดยประมาทของจำเลย ทั้งจำเลยมิได้ขับรถโดยประมาท แต่เหตุเกิดขึ้นเพราะความผิดของฝ่ายผู้ตายเองหาได้ไม่เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพไว้แล้วทั้งยังเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องคดีอาญาจากประมาททำให้บาดเจ็บสาหัสเป็นประมาททำให้ถึงแก่ความตาย ศาลอนุญาตได้หากมีเหตุอันควร
เดิมโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายสาหัส ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 300 ระหว่างพิจารณาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่าผู้เสียหายถึงแก่ความตายในเวลาต่อมาอันเนื่องมาจากการขับรถโดยประมาทของจำเลย ขอให้ลงโทษฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 โดยมีการสอบสวนเพิ่มเติมและแจ้งข้อหาขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเพิ่มเติมจากที่ได้ทำการสอบสวนไว้แก่จำเลยแล้วจึงมีเหตุอันควรที่โจทก์จะขอแก้ไขเพิ่มเติมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องเพิ่มข้อหาขับรถประมาทจนผู้อื่นถึงแก่ความตาย และการรับสารภาพที่ผูกพันตามกฎหมาย
เดิมโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายสาหัส ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ระหว่างพิจารณา โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า ผู้เสียหายถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากการขับรถโดยประมาทของจำเลย ขอให้ลงโทษฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 โดยมีเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนเพิ่มเติมมาท้ายฎีกาด้วยว่า เมื่อโจทก์ทราบว่าผู้เสียหายถึงแก่ความตายอันเป็นผลสืบเนื่องจากการขับโดยประมาทของจำเลย โจทก์ได้มีหนังสือลงวันที่ 10 มกราคม 2534 และแจ้งข้อหาขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเพิ่มเติมจากที่ได้ทำการสอบสวนไว้แล้วแก่จำเลย และจำเลยได้ทราบข้อหาแล้วปรากฏตามบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมลงวันที่ 15 มกราคม 2534 กรณีจึงมีเหตุอันควร โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในความผิดฐานขับรถยนต์โดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ได้ และศาลมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวได้
เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำผิดตามฟ้องดังกล่าวข้างต้นแล้วจำเลยจะฎีกาว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคประจำตัว มิใช่เกิดจากการขับรถโดยประมาทของจำเลย ทั้งจำเลยมิได้ขับรถโดยประมาท แต่เหตุเกิดขึ้นเพราะความผิดของฝ่ายผู้ตายเองหาได้ไม่เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพไว้แล้ว ทั้งยังเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2519/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อเมื่อคำฟ้องไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริงชัดเจน แม้จำเลยจะรับสารภาพ
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต่อมาได้ขอแก้ไขคำฟ้องว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอื่นหลายคดีรวมทั้งคดีหมายเลขแดงที่ 2510/2533 ของศาลอาญาธนบุรีขอให้นับโทษจำเลยต่อจากคดีดังกล่าว แต่ภายหลังโจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับหมายเลขคดีที่ขอให้นับโทษต่ออีก ซึ่งหลังจากศาลอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องครั้งหลังแล้ว คำฟ้องโจทก์ไม่มีข้อความระบุว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2510/2533ของศาลอาญาธนบุรี คงมีแต่คำขอท้ายฟ้องขอให้นับโทษจำเลยต่อจากคดีดังกล่าว ถือว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวดังนี้ ศาลจะนับโทษจำเลยต่อจากโทษในคดีดังกล่าวตามคำขอท้ายฟ้องโดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวในคำบรรยายฟ้องไม่ได้ แม้จำเลยให้การรับสารภาพและรับว่าเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีอาญาต่าง ๆตามที่โจทก์ฟ้องและขอแก้ไขคำฟ้อง ก็หมายความเพียงว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำบรรยายฟ้องเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2519/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องคดีอาญาและการนับโทษต่อเนื่อง จำเป็นต้องบรรยายฟ้องระบุตัวบุคคลให้ชัดเจน
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต่อมาได้ขอแก้ไขคำฟ้องว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอื่นหลายคดีรวมทั้งคดีหมายเลขแดงที่2510/2533 ของศาลอาญาธนบุรี ขอให้นับโทษจำเลยต่อจากคดีดังกล่าว แต่ภายหลังโจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับหมายเลขคดีที่ขอให้นับโทษต่ออีก ซึ่งหลังจากศาลอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องครั้งหลังแล้ว คำฟ้องโจทก์ไม่มีข้อความระบุว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2510/2533 ของศาลอาญาธนบุรี คงมีแต่คำขอท้ายฟ้องขอให้นับโทษจำเลยต่อจากคดีดังกล่าว ถือว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว ดังนี้ ศาลจะนับโทษจำเลยต่อจากโทษในคดีดังกล่าวตามคำขอท้ายฟ้องโดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวในคำบรรยายฟ้องไม่ได้ แม้จำเลยให้การรับสารภาพและรับว่าเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีอาญาต่าง ๆ ตามที่โจทก์ฟ้องและขอแก้ไขคำฟ้อง ก็หมายความเพียงว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำบรรยายฟ้องเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดทางอาญา, อำนาจฟ้อง, การปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ, การตรวจค้น, เหตุสมควร
คำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงองค์ประกอบอันเป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 200 การเพิ่มเติมเฉพาะบทมาตรา 200 ในคำขอท้ายฟ้อง จึงไม่มีผลทำให้ศาลลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้ กรณีไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมฟ้องได้
จำเลยละเว้นไม่จับกุมผู้ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรแม้เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่จำเลยมิได้กระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ส.บอกจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจว่าโจทก์หยิบอาวุธปืนสั้นออกมาจากรถ การที่จำเลยตรวจค้นรถโจทก์จึงเป็นการกระทำโดยมีเหตุอันสมควรที่จะตรวจค้น มิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังและทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อหาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงาน การตรวจค้น การหน่วงเหนี่ยวกักขัง และการแจ้งความเท็จ
คำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงองค์ประกอบอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 การเพิ่มเติมเฉพาะบทมาตรา 200 ในคำขอท้ายฟ้อง จึงไม่มีผลทำให้ศาลลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้กรณีไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมฟ้องได้ จำเลยละเว้นไม่จับกุมผู้ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรแม้เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่จำเลยมิได้กระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ส.บอกจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจว่าโจทก์หยิบอาวุธปืนสั้นออกมาจากรถ การที่จำเลยตรวจค้นรถโจทก์จึงเป็นการกระทำโดยมีเหตุอันสมควรที่จะตรวจค้น มิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังและทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อหาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน ไม่อุทธรณ์ได้จนกว่ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญ
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่เพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นจนกว่าศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญ และมีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196.
of 31