คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 124

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10861/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการมูลนิธิ ต้องเป็นไปตามข้อบังคับ หากไม่เป็นไปตามข้อบังคับ การแต่งตั้งเป็นโมฆะ
ตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ข้อ 6 กำหนดให้คณะกรรมการของจำเลยที่ 1 ประกอบด้วยบุคคลไม่น้อยกว่า 20 คน และไม่เกิน 25 คน ซึ่งเป็นสมาชิกสโมสรไลออนส์สากลภาครวม 310 ประเทศไทย และได้รับการเลือกตั้งจากการประชุมใหญ่ประจำปีของสมาชิกสมาคมสโมสรไลออนส์สากลภาครวม 310 ประเทศไทย และข้อ 7 กำหนดให้อำนาจคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 มีอำนาจที่จะเชิญบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ได้รับการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งจากสมาคมสโมสรไลออนส์สากลภาครวม 310 ประเทศไทย ตามตำแหน่งต่างๆที่กำหนดไว้ในข้อ 6 เข้าเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 แทนตำแหน่งที่ได้ว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระได้ เป็นที่เห็นได้ว่า โดยหลักแล้วคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 จะต้องมีคุณสมบัติตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ข้อ 6 และได้รับการเลือกตั้งจากการประชุมใหญ่ประจำปีของสมาชิก โดยมีวาระอยู่คราวละ 3 ปี ตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ข้อ 10 การแต่งตั้งกรรมการที่ครบกำหนดออกตามวาระจึงรู้กำหนดแน่นอน การแต่งตั้งกรรมการที่กำหนดออกตามวาระจึงต้องกระทำตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ข้อ 6 ดังกล่าว จึงไม่ใช่กรณีไม่มีข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ที่จะนำมาใช้แต่งตั้งกรรมการที่ครบกำหนดออกตามวาระและไม่อาจนำข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ข้อที่ 7 ซึ่งใช้เฉพาะกรณีกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่นไม่ใช่ครบกำหนดตามวาระมาใช้ได้เช่นกัน ดังนั้นที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 15 เข้าร่วมประชุมกันแล้วมีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบและรับรองให้เลือกจำเลยที่ 16 ถึง ที่ 20 เป็นกรรมการแทนกรรมการที่ว่างลงเพราะเหตุถึงคราวออกตามวาระจึงเป็นการมิชอบ หากกรรมการของจำเลยที่ 1 ที่เหลืออยู่ไม่สามารถดำเนินการตามหน้าที่ได้ กรณีต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 125 วรรคสาม ที่ให้กรรมการมูลนิธิที่พ้นจากตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่านายทะเบียนจะได้แจ้งการรับจดทะเบียนกรรมการของมูลนิธิที่ตั้งใหม่ ซึ่งหมายถึงกรรมการมูลนิธิที่ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งโดยชอบตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ข้อ 6 หรือข้อ 7 ดังกล่าว แม้จำเลยที่ 16 ถึงที่ 20 จะเป็นกรรมการโดยมิชอบ แต่ ป.พ.พ. มาตรา 124 บัญญัติว่า บรรดากิจการที่คณะกรรมการมูลนิธิได้กระทำไป แม้จะปรากฏในภายหลังว่ามีข้อบกพร่องเกี่ยวกับการแต่งตั้งหรือคุณสมบัติของกรรมการมูลนิธิ กิจการนั้นย่อมมีผลสมบูรณ์ ดังนี้ การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 20 ลงมติรับรองการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของจำเลยที่ 1 และต่อมาจำเลยที่ 1 โดยผู้กระทำการแทน นำมติดังกล่าวนั้นไปจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับและอาศัยอำนาจตามข้อบังคับที่ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงมีมติให้ปิดการใช้ที่ทำการอาคารมูลนิธิไลออนส์ในประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 1/3-4 ซอยเอกมัย 2 ถนนสุขุมวิท 63 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร เพื่อย้ายไปที่ทำการแห่งใหม่เลขที่ 300 ซอยพงษ์เวชอนุสรณ์ ซอยสุขุมวิท 64 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร จึงมีผลสมบูรณ์ ไม่อาจเพิกถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย - การมอบอำนาจ - กลฉ้อฉล - ดอกเบี้ยเงินมัดจำ - ค่าฤชาธรรมเนียม
การนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงอันจะถือว่าเป็นกลฉ้อฉลนั้นจะต้องเป็นการนิ่งในพฤติการณ์ที่คู่กรณีมีหน้าที่ควรจะบอกความจริงหรือเป็นการนิ่งประกอบพฤติการณ์อันแสดงออกซึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่งหลง แต่ในกรณีที่จะมีโครงการตัดถนนผ่านที่ดินพิพาทหรือไม่ ไม่ใช่หน้าที่ของผู้จะซื้อที่ดินจะต้องบอกความจริงดังกล่าว หากแต่เป็นหน้าที่ของผู้จะขายที่ดินพิพาทจะต้องขวนขวายแสวงหาความจริงเอาเอง การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นกลฉ้อฉล
กรณีต้องคืนเงินมัดจำเพราะฝ่ายผู้รับมัดจำผิดสัญญาละเลยไม่ชำระหนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 378(3) นั้นผู้วางมัดจำมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยจากเงินมัดจำดังกล่าวนับแต่วันที่ผู้รับมัดจำผิดนัดเป็นต้นไปด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉลในการซื้อขายที่ดิน:หน้าที่เปิดเผยความจริงของผู้ขายและผลของการนิ่งเสีย
การนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงอันจะถือว่าเป็นกลฉ้อฉลตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124 นั้น จะต้องเป็นการนิ่งในพฤติการณ์ที่คู่กรณีมีหน้าที่ควรจะบอกความจริง หรือเป็นการนิ่งประกอบด้วยพฤติการณ์อันแสดงออกซึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่งหลง กรณีที่จะมีโครงการตัดถนนผ่านที่ดินที่จะซื้อขายหรือไม่ไม่ใช่หน้าที่ของผู้จะซื้อ ที่จะบอกข้อความจริงดังกล่าว หากแต่เป็นหน้าที่ของผู้จะขายที่ดินพิพาทจะต้องขวนขวายแสวงหาความจริงเอาเอง แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าผู้จะซื้อจงใจนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงเกี่ยวกับโครงการจะตัดถนนผ่านที่ดินดังกล่าวซึ่งผู้จะขายมิได้รู้มาก่อนและถ้าฝ่ายผู้จะซื้อมิได้นิ่งเสีย สัญญาจะซื้อขายที่ดินก็จะมิได้ทำขึ้นนั้น การกระทำของผู้จะซื้อก็ไม่เป็นกลฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124 แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อ และได้แจ้งให้โจทก์รับเงินมัดจำคืน และโจทก์ไม่ยอมรับคืน แต่เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายที่จะไม่ยอมรับเงินมัดจำคืนในขณะนั้นได้และเมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยโจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญา หากจำเลยจะต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ จำเลยก็ต้องชำระดอกเบี้ยด้วย นับแต่วันฟ้องซึ่งถือว่าเป็นวันที่จำเลยผิดนัด ประเด็นที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเป็นเรื่องขอให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยขอให้บังคับจำเลยให้โอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ และรับเงินตามราคาที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันไปจากโจทก์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉลในการซื้อขายที่ดิน, หน้าที่ผู้ขายในการเปิดเผยข้อเท็จจริง, การคิดดอกเบี้ยเงินมัดจำ
การนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงอันจะถือว่าเป็นกลฉ้อฉลตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124 นั้น จะต้องเป็นการนิ่งในพฤติการณ์ที่คู่กรณีมีหน้าที่ควรจะบอกความจริง หรือเป็นการนิ่งประกอบด้วยพฤติการณ์อันแสดงออกซึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่งหลง กรณีที่จะมีโครงการตัดถนนผ่านที่ดินที่จะซื้อขายหรือไม่ไม่ใช่หน้าที่ของผู้จะซื้อที่จะบอกข้อความจริงดังกล่าว หากแต่เป็นหน้าที่ของผู้จะขายที่ดินพิพาทจะต้องขวนขวายแสวงหาความจริงเอาเองแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าผู้จะซื้อจงใจนิ่งเสีย ไม่ไขข้อความจริงเกี่ยวกับโครงการจะตัดถนนผ่านที่ดินดังกล่าว ซึ่งผู้จะขายมิได้รู้มาก่อน และถ้าฝ่ายผู้จะซื้อมิได้นิ่งเสีย สัญญาจะซื้อขายที่ดินก็จะมิได้ทำขึ้นนั้น การกระทำของผู้จะซื้อก็ไม่เป็นกลฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124 แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อ และได้แจ้งให้โจทก์รับเงินมัดจำคืน และโจทก์ไม่ยอมรับคืน แต่เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายที่จะไม่ยอมรับเงินมัดจำคืนในขณะนั้นได้ และเมื่อปรากฎว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยโจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญาหากจำเลยจะต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ จำเลยก็ต้องชำระดอกเบี้ยด้วย นับแต่วันฟ้องซึ่งถือว่าเป็นวันที่จำเลยผิดนัด ประเด็นที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเป็นเรื่องขอให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยขอให้บังคับจำเลยให้โอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ และรับเงินตามราคาที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันไปจากโจทก์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์อันเป็นสาระสำคัญ สัญญาเป็นโมฆียะ
ที่ดินของจำเลยถูกจำกัดสิทธิห้ามปลูกสร้างอาคารเพราะถูกสายไฟฟ้าแรงสูงผ่าน ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2511 จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์โดยมิได้แจ้งเรื่องนี้ให้โจทก์ทราบ ทำให้โจทก์เข้าใจผิดในคุณสมบัติของที่ดินซึ่งเป็นสารสำคัญเพราะโจทก์ซื้อที่พิพาทเพื่อปลูกสร้างโรงงาน การแสดงเจตนาของโจทก์เป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์บอกล้างแล้วสัญญาจะซื้อขายจึงเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก จำเลยต้องคืนเงินที่รับไว้ให้โจทก์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปกปิดความจริง เป็นกลฉ้อฉล จึงบอกล้างและฟ้องเรียกราคาที่ดินที่ชำระแล้วคืนจากจำเลย การที่จำเลยนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงในคุณสมบัติของทรัพย์ อันโจทก์ไม่รู้นั้นย่อมทำให้โจทก์สำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ไปในตัวที่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทโดยเข้าใจผิดในคุณสมบัติของที่ดินจึงไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น (อ้างฎีกาที่ 1034/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินที่มีข้อจำกัดสิทธิ การปกปิดข้อเท็จจริงทำให้การแสดงเจตนาเป็นโมฆียะ
ที่ดินของจำเลยถูกจำกัดสิทธิห้ามปลูกสร้างอาคารเพราะถูกสายไฟฟ้าแรงสูงผ่าน ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์โดยมิได้แจ้งเรื่องนี้ ให้โจทก์ทราบ ทำให้โจทก์เข้าใจผิดในคุณสมบัติของที่ดินซึ่งเป็นสารสำคัญเพราะโจทก์ซื้อที่พิพาทเพื่อปลูกสร้างโรงงาน การแสดงเจตนาของโจทก์เป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์บอกล้างแล้วสัญญาจะซื้อขายจึงเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก จำเลยต้องคืนเงินที่รับไว้ให้โจทก์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปกปิดความจริง เป็นกลฉ้อฉล จึงบอกล้างและฟ้องเรียกราคาที่ดินที่ชำระแล้วคืนจากจำเลย การที่จำเลยนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงในคุณสมบัติของทรัพย์ อันโจทก์ไม่รู้นั้นย่อมทำให้โจทก์สำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ไปในตัวที่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทโดยเข้าใจผิดในคุณสมบัติของที่ดินจึงไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น (อ้างฎีกาที่ 1034/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1569/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉลในการทำสัญญาจ้างว่าความ ทำให้สัญญาตกเป็นโมฆะ
การที่โจทก์ปกปิดความจริงโดยนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงที่ควรแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าภรรยาและญาติของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ว่าความไว้แล้วเป็นเงิน 10,000 บาท ทำให้จำเลยที่ 1 หลงเข้าใจผิดว่ายังไม่มีสัญญาจ้างว่าความให้ตน จึงยอมทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ว่าความอีกเป็นเงิน 25,000 บาท หากโจทก์บอกความจริง จำเลยที่ 1 ก็คงไม่ยอมทำสัญญาให้อีก ถือว่าเป็นกลฉ้อฉลที่มีสาระสำคัญถึงขนาดสัญญาจ้างว่าความที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ตกเป็นโมฆียะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121,124 จำเลยที่ 1 มีสิทธิบอกล้างได้ และเมื่อจำเลยที่ 1 บอกล้างโมฆียะกรรมยังไม่พ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ทราบถูกโจทก์ทำกลฉ้อฉล สัญญาจ้างว่าความดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137, 138 ทำให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันตามสัญญานั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าจ้างว่าความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1569/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉลในการทำสัญญาจ้างว่าความ สัญญาเป็นโมฆียะ หากบอกล้างภายใน 1 ปี
การที่โจทก์ปกปิดความจริงโดยนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงที่ควรแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าภรรยาและญาติของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ว่าความไว้แล้วเป็นเงิน 10,000 บาท ทำให้จำเลยที่ 1 หลงเข้าใจผิดว่ายังไม่มีสัญญาจ้างว่าความให้ตน จึงยอมทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ว่าความอีกเป็นเงิน 25,000 บาท หากโจทก์บอกความจริง จำเลยที่ 1 ก็คงไม่ยอมทำสัญญาให้อีก ถือว่าเป็นกลฉ้อฉลที่มีสาระสำคัญถึงขนาด สัญญาจ้างว่าความที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ตกเป็นโมฆียะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121,124 จำเลยที่ 1 มีสิทธิบอกล้างได้ และเมื่อจำเลยที่ 1 บอกล้างโมฆียะกรรมยังไม่พ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ทราบถูกโจทก์ทำกลฉ้อฉลสัญญาจ้างว่าความดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 137,138 ทำให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันตามสัญญานั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าจ้างว่าความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้โฉนดยังมิได้เปลี่ยนชื่อ
ซื้อขายที่ดินมีโฉนดแก่กันได้มอบที่ดินและโฉนดให้ผู้ซื้อยึดถือครอบครองแล้ว ฝ่ายผู้ซื้อก็ชำระราคาแล้ว สัญญาว่าจะไปโอนทะเบียนกันภายใน 1 เดือน แต่แล้วก็ไม่ได้ไปโอนกัน ฝ่ายผู้ซื้ก็คงครอบครอง
ที่ดินโดยเจตนาเป็นเจ้าของด้วยความสงบแลเปิดเผยมาถึง 24 ปี ดังนี้ ฝ่ายผู้ซื้อขายกันนี้ แล้ว ฉะนั้นแม้ภายหลังผู้ซื้อและผู้ขายได้ถึงแก่กรรมทั้งสองฝ่าย ทายาทของผู้ซื้อก็มีสิทธิฟ้องให้ถอนชื่อในโฉนดโอนทะเบียนใส่ชื่อทายาทผู้ซื้อได้ ไม่ใช่เรื่องขาดอายุความและสิทธิเรียกร้องตามป.ม.แพ่งฯมาตรา 163, 164, 169