พบผลลัพธ์ทั้งหมด 233 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องและการหลงต่อสู้: ศาลอนุญาตแก้ไขได้หากไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้
ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดสุดท้าย โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับเดือนที่จำเลยกระทำผิดจากเดือนกรกฎาคม 2530เป็นเดือนพฤษภาคม 2530 ซึ่งเป็นเดือนที่เกิดเหตุจริงตามที่พยานโจทก์เบิกความ เมื่อปรากฏว่าจำเลยให้การปฏิเสธลอย แม้จำเลยจะนำสืบว่าเดือนกรกฎาคม 2530 จำเลยถูกขังอยู่ในเรือนจำก็เป็นการถูกขังระหว่างสอบสวนในคดีนี้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยหลงต่อสู้ ชอบที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 286/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากข้อเท็จจริงยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาโจทก์ในความผิดฐานฉ้อโกงเพราะเป็นปัญหาข้อเท็จจริง คงรับเฉพาะฎีกาโจทก์เกี่ยวกับคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ชอบ โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่ยอมรับฎีกาในความผิดฐานฉ้อโกง ข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้กระทำผิดฐานฉ้อโกงตามที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่มีประโยชน์แก่คดีที่จะวินิจฉัยฎีกาโจทก์ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 286/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากข้อเท็จจริงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และการไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาโจทก์ในความผิดฐานฉ้อโกง เพราะเป็นปัญหาข้อเท็จจริง คงรับเฉพาะฎีกาโจทก์เกี่ยวกับคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ชอบ โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นที่ไม่ยอมรับฎีกาในความผิดฐานฉ้อโกงข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2ไม่ได้กระทำผิดฐานฉ้อโกงตามที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่มีประโยชน์แก่คดีที่จะวินิจฉัยฎีกาโจทก์ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 286/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเรื่องฉ้อโกง, ข้อเท็จจริงยุติ, ไม่มีประโยชน์ต่อคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาโจทก์ในความผิดฐานฉ้อโกงเพราะเป็นปัญหาข้อเท็จจริง คงรับเฉพาะฎีกาโจทก์เกี่ยวกับคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ชอบ โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่ยอมรับฎีกาในความผิดฐานฉ้อโกง ข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้กระทำผิดฐานฉ้อโกงตามที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่มีประโยชน์แก่คดีที่จะวินิจฉัยฎีกาโจทก์ต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมฟ้องคดีเช็ค: รายละเอียดวันปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นรายละเอียดการกระทำ ไม่ใช่ขาดองค์ประกอบความผิด
คดีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คนั้น การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นการกระทำผิดอย่างหนึ่งที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ส่วนวันที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินนั้นเป็นวันที่มีการกระทำผิดซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำที่อ้างว่าเป็นความผิด ดังนั้นเมื่อโจทก์กล่าวในฟ้องว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโดยมิได้ระบุว่าปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันใด จึงเป็นฟ้องที่ขาดรายละเอียดที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีเท่านั้น มิใช่ฟ้องที่บรรยายข้อเท็จจริงขาดองค์ประกอบความผิด โจทก์จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องได้ในเมื่อจำเลยมิได้เสียเปรียบในการต่อสู้คดีหรือหลงข้อต่อสู้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163,164.
หมายเหตุ ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2530
หมายเหตุ ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2530
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระบุวันกระทำผิดในฟ้องคดีเช็ค: รายละเอียดสำคัญที่จำเลยต้องเข้าใจ ไม่ใช่ขาดองค์ประกอบความผิด
คดีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คนั้นการที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นการกระทำอย่างหนึ่งที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ส่วนวันที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินนั้นเป็นวันที่มีการกระทำผิดซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำที่อ้างว่าเป็นความผิด ดังนั้นเมื่อโจทก์กล่าวในฟ้องว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโดยมิได้ระบุว่าปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันใด จึงเป็นฟ้องที่ขาดรายละเอียดที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีเท่านั้น มิใช่ฟ้องที่บรรยายข้อเท็จจริงขาดองค์ประกอบความผิด โจทก์จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ หรือเพิ่มเติมฟ้องได้ในเมื่อจำเลยมิได้เสียเปรียบในการต่อสู้คดีหรือหลงข้อต่อสู้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163,164.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเช็ค: วันที่ปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นรายละเอียดของข้อหา โจทก์ขอแก้ฟ้องได้หากจำเลยไม่เสียเปรียบ
คดีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คนั้น การที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นการกระทำผิดอย่างหนึ่งที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ส่วนวันที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินนั้นเป็นวันที่มีการกระทำผิดซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำที่อ้างว่าเป็นความผิด ดังนั้นเมื่อโจทก์กล่าวในฟ้องว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโดยมิได้ระบุว่าปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันใด จึงเป็นฟ้องที่ขาดรายละเอียดที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีเท่านั้น มิใช่ฟ้องที่บรรยายข้อเท็จจริงขาดองค์ประกอบความผิด โจทก์จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องได้ในเมื่อจำเลยมิได้เสียเปรียบในการต่อสู้คดีหรือหลงข้อต่อสู้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163,164
หมายเหตุ ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2530
หมายเหตุ ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2530
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3593/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องและการมีอำนาจฟ้องในคดีฉ้อโกง: ผู้เสียหายคือบริษัทฯ ไม่ใช่นายบุญมา
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องจากข้อความที่ว่า 'นายบุญมา พึ่งทอง ผู้เสียหายซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทบุญมาคาร์โก้ จำกัด เป็น นายบุญมา พึ่งทอง ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทบุญมาคาร์โก้ จำกัด ผู้เสียหาย' ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องของโจทก์ว่า 'สำเนาให้จำเลย ศาลจะสั่งคำร้องนี้ในคำพิพากษาของศาล' แต่ในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมิได้กล่าวถึงคำร้องขอแก้ฟ้องของโจทก์ เมื่อพิเคราะห์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งมีข้อความว่า '.......คำพยานโจทก์ คือ นายบุญมา พึ่งทอง กรรมการผู้จัดการบริษัทบุญมาคาร์โก้ จำกัด ผู้เสียหาย.........' แล้ว แสดงว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์ได้แก้คำฟ้องตามคำร้องแล้วโดยปริยาย ดังนั้นผู้เสียหายตามฟ้องคือบริษัทบุญมาคาร์โก้ จำกัด มิใช่นายบุญมา พึ่งทอง และบริษัทบุญมาคาร์โก้ จำกัด ได้ร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือน พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3593/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกง: ผู้เสียหายคือบริษัทฯ ไม่ใช่กรรมการผู้จัดการ และการแก้ไขคำฟ้อง
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องจากข้อความที่ว่า'นายบุญมาพึ่งทองผู้เสียหายซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทบุญมาคาร์โก้จำกัดเป็นนายบุญมาพึ่งทองซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทบุญมาคาร์โก้จำกัดผู้เสียหาย'ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องของโจทก์ว่า'สำเนาให้จำเลยศาลจะสั่งคำร้องนี้ในคำพิพากษาของศาล'แต่ในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมิได้กล่าวถึงคำร้องขอแก้ฟ้องของโจทก์เมื่อพิเคราะห์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งมีข้อความว่า'.......คำพยานโจทก์คือนายบุญมาพึ่งทองกรรมการผู้จัดการบริษัทบุญมาคาร์โก้จำกัดผู้เสียหาย.........'แล้วแสดงว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์ได้แก้คำฟ้องตามคำร้องแล้วโดยปริยายดังนั้นผู้เสียหายตามฟ้องคือบริษัทบุญมาคาร์โก้จำกัดมิใช่นายบุญมาพึ่งทองและบริษัทบุญมาคาร์โก้จำกัดได้ร้องทุกข์ภายในกำหนด3เดือนพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดสถานที่รับส่งผู้โดยสารรถประจำทางตามกฎหมายขนส่งทางบก การใช้ประกาศกระทรวงที่ยังไม่ถูกยกเลิก
เมื่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 19 ยังไม่ได้กำหนดให้สถานีขนส่งสายเหนือเป็นสถานที่หยุดหรือจอดรถเพื่อรับส่งผู้โดยสารไว้เป็นการต่างหาก จึงต้องนำประกาศของกระทรวงคมนาคมและกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดสถานที่ใช้เป็นสถานีขนส่งซึ่งประกาศโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ.2497 มาใช้ตามมาตรา 164 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 จึงมิใช่การนำกฎหมายที่ถูกยกเลิกแล้วมาใช้บังคับและลงโทษแก่จำเลย
รถประจำทางปรับอากาศต้องหยุดหรือจอดรถเพื่อรับส่งผู้โดยสารณ สถานที่ซึ่งคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดหรือสถานที่หยุดหรือจอดรถตามที่มาตรา 164 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 บัญญัติไว้เท่านั้น การที่จำเลยหยุดหรือจอดรถรับส่งผู้โดยสารที่ศูนย์รถแห่งอื่นจึงเป็นความผิดตามมาตรา 156 แล้ว แม้จำเลยจะนำรถเข้าหยุดหรือจอดรับผู้โดยสารที่สถานีขนส่งสายเหนือซึ่งเป็นสถานที่ซึ่งคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดในภายหลังก็ตาม ก็ไม่เป็นการลบล้างการกระทำความผิดของจำเลยซึ่งได้กระทำมาแล้วให้หมดสิ้นไป
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำความผิดของจำเลยซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 156 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522ครบถ้วนแล้ว แต่เนื่องจากสถานที่หยุดหรือจอดรถยังคงเป็นไปตามประกาศกระทรวงคมนาคมและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดสถานที่ใช้เป็นสถานีขนส่งซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2503 ตามที่มาตรา 164 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ได้บัญญัติไว้ว่าให้นำมาใช้ได้ การที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องระบุว่าสถานีขนส่งสายเหนือเป็นสถานีขนส่งตามที่กำหนดไว้และขอระบุประกาศดังกล่าวเป็นพยานเพิ่มเติม ภายหลังจากที่โจทก์สืบพยานหมดไปแล้ว แต่ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาคดี จึงกระทำได้ตาม มาตรา 163 และมาตรา 164 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และการขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าวไม่ได้ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีหรือหลงข้อต่อสู้เพราะจำเลยก็ทราบว่า จำเลยจะต้องหยุดหรือจอดรถรับส่งคนโดยสารที่สถานีขนส่งอยู่แล้ว และการที่โจทก์นำพยานมาสืบเพิ่มเติมภายหลังที่โจทก์ได้แถลงหมดพยานแล้วนั้นก็เป็นเวลาก่อนที่จำเลยจะสืบพยาน จึงไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี
รถประจำทางปรับอากาศต้องหยุดหรือจอดรถเพื่อรับส่งผู้โดยสารณ สถานที่ซึ่งคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดหรือสถานที่หยุดหรือจอดรถตามที่มาตรา 164 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 บัญญัติไว้เท่านั้น การที่จำเลยหยุดหรือจอดรถรับส่งผู้โดยสารที่ศูนย์รถแห่งอื่นจึงเป็นความผิดตามมาตรา 156 แล้ว แม้จำเลยจะนำรถเข้าหยุดหรือจอดรับผู้โดยสารที่สถานีขนส่งสายเหนือซึ่งเป็นสถานที่ซึ่งคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดในภายหลังก็ตาม ก็ไม่เป็นการลบล้างการกระทำความผิดของจำเลยซึ่งได้กระทำมาแล้วให้หมดสิ้นไป
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำความผิดของจำเลยซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 156 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522ครบถ้วนแล้ว แต่เนื่องจากสถานที่หยุดหรือจอดรถยังคงเป็นไปตามประกาศกระทรวงคมนาคมและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดสถานที่ใช้เป็นสถานีขนส่งซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2503 ตามที่มาตรา 164 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ได้บัญญัติไว้ว่าให้นำมาใช้ได้ การที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องระบุว่าสถานีขนส่งสายเหนือเป็นสถานีขนส่งตามที่กำหนดไว้และขอระบุประกาศดังกล่าวเป็นพยานเพิ่มเติม ภายหลังจากที่โจทก์สืบพยานหมดไปแล้ว แต่ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาคดี จึงกระทำได้ตาม มาตรา 163 และมาตรา 164 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และการขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าวไม่ได้ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีหรือหลงข้อต่อสู้เพราะจำเลยก็ทราบว่า จำเลยจะต้องหยุดหรือจอดรถรับส่งคนโดยสารที่สถานีขนส่งอยู่แล้ว และการที่โจทก์นำพยานมาสืบเพิ่มเติมภายหลังที่โจทก์ได้แถลงหมดพยานแล้วนั้นก็เป็นเวลาก่อนที่จำเลยจะสืบพยาน จึงไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี