คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 588

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11044/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของ vs. เช่าทรัพย์: ความรับผิดจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติงาน
แม้คู่ความจะรับกันว่า สัญญาระหว่างบริษัท ท. กับจำเลยเป็นการเช่าทรัพย์ตามข้อความที่ระบุในสำเนาหนังสือขอเสนอราคาค่าเช่าและใบรับงานเช่า แต่ ข. คนขับรถเครนคันเกิดเหตุเป็นพนักงานบริษัทจำเลยเป็นผู้ควบคุมปั้นจั่นรถเครนในการยกเครื่องจักรขึ้นลงตามความชำนาญงานของตน ส่วน ก. พนักงานบริษัท ท. เป็นเพียงผู้กำหนดจุดที่ตั้งเครื่องจักร ก. ไม่มีอำนาจกำหนดวิธีการใช้อุปกรณ์หรือปั้นจั่นของรถเครน ดังนี้ การงานที่ทำดังกล่าวมีลักษณะสำคัญเป็นการงานที่จำเลยตกลงรับทำให้บริษัท ท. ผู้ว่าจ้างจนสำเร็จและผู้ว่าจ้างตกลงให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น โดยจำเลยเป็นผู้จัดหาเครื่องมือคือรถเครน สัญญาระหว่างบริษัท ท. กับจำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 เพราะมุ่งเน้นเอาผลสำเร็จของการงานที่ทำเป็นสำคัญ หาใช่เป็นสัญญาเช่าทรัพย์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 537 จำเลยรวมทั้งพนักงานของจำเลยมิได้ใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบปั้นจั่นรถเครนคันเกิดเหตุให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยก่อนนำไปใช้ทำการงานที่รับจ้าง เป็นเหตุให้เครื่องจักรรูดตกลงไปกระแทกพื้นได้รับความเสียหาย เป็นผลที่สืบเนื่องมาจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยและพนักงานขับรถบริษัทจำเลย จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บริษัท ฮ. ผู้ซื้อเครื่องจักร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: สิทธิเรียกร้องค่าจ้างและภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้รับเหมา, การบอกเลิกสัญญา, และความรับผิด
การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาจ้างแก่จำเลยก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่จำเลยไม่ว่าจะพิจารณาในแง่ใด ด้วยเหตุนี้ แม้พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบจะได้ความไม่แจ้งชัดก็ดีหรือบางรายการโจทก์เรียกร้องค่าเครื่องมือเครื่องใช้ หรือค่าก่อสร้างไม่ได้ อันเนื่องมาจากโจทก์ต้องเป็นผู้จัดหาเครื่องมือต่าง ๆ สำหรับใช้ทำงานให้สำเร็จในแต่ละอย่าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 588 หรือเพราะมิได้กำหนดกันไว้ในสัญญา เป็นต้นว่าค่าปรับปรุงซ่อมแซมถนนก็ดี แต่เมื่อคำนึงถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งเอกสารสรุปผลงานของพนักงานจำเลยก่อนวันโจทก์หยุดงานในวันที่ 23 ตุลาคม 2535 เป็นเวลา 18 วัน ซึ่งก็ปรากฏว่างานที่จ้างได้ดำเนินการไปถึงงวดที่ 6 โดยงานวางท่อในงวดที่ 3 และที่ 5 สำเร็จ 45 เปอร์เซนต์ และ 2 เปอร์เซ็นต์ งานบ่อพักในงวดที่ 6 สำเร็จ 35 เปอร์เซ็นต์ จึงสมควรกำหนดค่างานก่อสร้างตลอดจนค่าวัสดุส่วนที่โจทก์ได้ทำขึ้นแล้ว นอกเหนือจากงานในงวดที่ 1 และที่ 2 และที่ 4 ให้โจทก์อีก เท่าจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับไปจากจำเลยก่อนงวดการจ่ายเงินในงวดต่าง ๆ ดังกล่าวตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม
ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยหรือไม่ ศาลฎีกาได้ส่งสำนวนให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 10 วรรคสอง ซึ่งประธานศาลฎีกา ได้ตรวจสำนวนแล้วเห็นเป็นกรณีสืบเนื่องจากข้อพิพาทว่าผู้ใดผิดสัญญาจ้าง ไม่มีคดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องภาษีอากร ตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 วินิจฉัยว่า คดีของโจทก์ไม่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลภาษีอากร ดังนั้นศาลฎีกาจึงเห็นสมควรจะได้วินิจฉัยปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยหรือไม่ไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาปัญหาข้อนี้ใหม่
ผู้ที่มีอำนาจเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการได้จะต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ดังความในมาตรา 82/4 และมาตรา 77/1 (6) อันเป็นคนละส่วนกันกับผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งกฎหมายบัญญัติ ไว้เฉพาะแต่ผู้ประกอบการเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อมาตรา 82/4 และมาตรา 77/1 (6) บัญญัติวางเงื่อนไขไว้เช่นนี้ โจทก์ก็ต้องดำเนินการให้ครบถ้วนตามนั้น จึงจะก่อให้เกิดอำนาจแก่โจทก์ในข้อที่จะมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายดังกล่าวได้ ทั้งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกเรื่องนี้ขึ้นวินิจฉัยได้ และด้วยเหตุดังกล่าวตามคำฟ้องของโจทก์ก็ดี หรือตามทางนำสืบของโจทก์ก็ดี ความไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85 หรือมาตรา 85/1 หรือที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว ตามมาตรา 85/3 แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิและเงื่อนไขตามกฎหมายดังกล่าวเพื่อเรียกให้จำเลย ชำระหนี้ดังกล่าว
จำเลยตกเป็นผู้ผิดสัญญาแก่โจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136-146/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับเหมาชั้นต้นมีหน้าที่รับผิดร่วมกับผู้รับเหมาช่วงในค่าจ้างลูกจ้าง แม้จ่ายค่าจ้างให้ผู้รับเหมาช่วงแล้วก็ตาม
การที่จำเลยที่2รับเหมาตกแต่งห้องพักของโรงแรมโดยใช้วัสดุและอุปกรณ์ของจำเลยที่2นั้นเป็นสัญญาจ้างทำของต่อมาจำเลยที่2ว่าจ้างจำเลยที่1ตกแต่งห้องพักก็เป็นกรณีจ้างทำของเช่นเดียวกันจำเลยที่2และจำเลยที่1ย่อมเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นและผู้รับเหมาช่วงตามลำดับจำเลยที่2ในฐานะผู้รับเหมาชั้นต้นต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1ซึ่งเป็นผู้รับเหมาช่วงในฐานะลูกหนี้ร่วมชำระค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างแม้จำเลยที่2ได้จ่ายค่าจ้างให้จำเลยที่1และจำเลยที่1มิได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตามจำเลยที่2ก็คงต้องรับผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่103ข้อ7.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136-146/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับเหมาชั้นต้นต้องรับผิดค่าจ้างลูกจ้างของผู้รับเหมาช่วง แม้จะจ่ายค่าจ้างให้ผู้รับเหมาช่วงแล้ว
การที่จำเลยที่ 2 รับเหมาตกแต่งห้องพักของโรงแรมโดยใช้วัสดุและอุปกรณ์ของจำเลยที่ 2 นั้น เป็นสัญญาจ้างทำของ ต่อมาจำเลยที่ 2 ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ตกแต่งห้องพักก็เป็นกรณีจ้างทำของเช่นเดียวกัน จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นและผู้รับเหมาช่วงตามลำดับ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับเหมาชั้นต้นต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาช่วงในฐานะลูกหนี้ร่วมชำระค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง แม้จำเลยที่ 2 ได้จ่ายค่าจ้างให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 มิได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็คงต้องรับผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องชอบด้วยกฎหมาย และความรับผิดในสัญญาจัดหาวัสดุ
โจทก์นำสำเนาหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครซึ่งออกให้จำเลยมาติดไว้ท้ายคำฟ้อง หนังสือดังกล่าวนั้นรับรองว่า ป. และ อ. มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทโจทก์ได้ ดังนี้ การที่ ป. และ อ. ลงชื่อแต่งทนายความให้ฟ้องคดีแทนบริษัทโจทก์ จึงเป็นการแต่งทนายความโดยชอบ ทนายความที่ได้รับแต่งตั้งลงชื่อเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยได้ ส่วนโจทก์จะมีสิทธินำสำเนาหนังสือของจำเลยไปใช้ได้หรือไม่ เป็นอีกปัญหาหนึ่งไม่เป็นเหตุให้อำนาจฟ้องของโจทก์เสียไป
จำเลยจ้างโจทก์ขึงสายไฟฟ้า โดยจำเลยเป็นผู้จัดหาวัสดุดึงสายไฟฟ้าให้เป็นม้วน ๆ พันอยู่ที่ล้อไม้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยต้องจัดหาสายไฟฟ้าซึ่งพันอยู่กับล้อไม้เป็นม้วน ๆ ให้โจทก์ล้อไม้จึงไม่ใช่เครื่องมือที่โจทก์มีหน้าที่ต้องจัดหาตามสัญญา ดังที่จำเลยให้การต่อสู้ เมื่อล้อไม้ขาดไป และโจทก์ได้ซื้อล้อไม้สำหรับพันสายไฟฟ้าแทนจำเลย จำเลยต้องรับผิดชำระเงินค่าล้อไม้ให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727-1728/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างติดตั้งเครื่องปรับอากาศ: จ้างทำของ ไม่ใช่ทำเพื่ออุตสาหกรรม
การที่ผู้รับจ้างทำการติดตั้งเครื่องปรับอากาศโดยมิได้อยู่ในความควบคุมของผู้ว่าจ้าง เครื่องมือต่าง ๆ สำหรับใช้ทำการติดตั้งให้สำเร็จผู้รับจ้างก็เป็นผู้จัดหา เมื่อติดตั้งสำเร็จแล้วจะได้สินจ้างจากผู้ว่าจ้างนั้น เป็นการจ้างทำของและแม้การติดตั้งเครื่องปรับอากาศดังกล่าวจะได้ติดตั้งในโรงแรมของผู้ว่าจ้าง ก็ไม่ใช่เป็นการที่ได้ทำเพื่ออุตสาหกรรมของผู้ว่าจ้าง เพราะคำว่า "อุตสาหกรรม" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) ตอนท้ายนั้น หมายถึงการประดิษฐ์หรือผลิตหรือทำสิ่งของขึ้นให้เป็นสินค้าเพื่อจำหน่ายขายสินค้านั้น ๆ ไป การติดตั้งเครื่องปรับอากาศเป็นเพียงเพื่อปล่อยความเย็นเข้าไปในห้องหรือสถานที่ของโรงแรมเท่านั้น หาได้มีการประดิษฐ์หรือผลิตหรือทำสิ่งของขึ้นจากเครื่องปรับอากาศให้เป็นสินค้าหรือจำหน่ายขายสินค้านั้น ๆ ไปไม่ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าจ้างติดตั้งเครื่องปรับอากาศดังกล่าวจึงมีกำหนด 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727-1728/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างติดตั้งเครื่องปรับอากาศ: จ้างทำของ 2 ปี ไม่ใช่ทำเพื่ออุตสาหกรรม
การที่ผู้รับจ้างทำการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ โดยมิได้อยู่ในความควบคุมของผู้ว่าจ้าง เครื่องมือต่าง ๆ สำหรับใช้ทำการติดตั้งให้สำเร็จผู้รับจ้างก็เป็นผู้จัดหา เมื่อติดตั้งสำเร็จแล้วจะได้สินจ้างจากผู้ว่าจ้างนั้น เป็นการจ้างทำของ และแม้การติดตั้งเครื่องปรับอากาศดังกล่าวจะได้ติดตั้งในโรงแรมของผู้ว่าจ้าง ก็ไม่ใช่เป็นการที่ได้ทำเพื่ออุตสาหกรรมของผู้ว่าจ้าง เพราะคำว่า "อุตสาหกรรม" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)ตอนท้ายนั้นหมายถึงการประดิษฐ์หรือผลิตหรือทำสิ่งของขึ้นให้เป็นสินค้าเพื่อจำหน่ายขายสินค้านั้น ๆ ไป การติดตั้งเครื่องปรับอากาศเป็นเพียงเพื่อปล่อยความเย็นเข้าไปในห้องหรือสถานที่ของโรงแรมเท่านั้น หาได้มีการประดิษฐ์หรือผลิตหรือทำสิ่งของขึ้นจากเครื่องปรับอากาศให้เป็นสินค้าหรือจำหน่ายขายสินค้านั้น ๆ ไปไม่ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าจ้างติดตั้งเครื่องปรับอากาศดังกล่าวจึงมีกำหนด 2 ปี
of 3