คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1397

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระงับสิทธิภารจำยอม ผู้รับโอนที่ดินย่อมผูกพันตามสัญญา
เดิมจำเลยได้เป็นโจทก์ฟ้อง ด. เจ้าของเดิมของที่พิพาทว่า ในที่พิพาทมีทางจำเป็น ด. ยอมให้จำเลยใช้มากว่าสิบปี ตกเป็นภารจำยอม ด. ต่อสู้ว่าทางในที่พิพาทไม่ใช่ทางภารจำยอมหรือทางจำเป็น คดียังไม่มีการสืบพยานจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ ด. มีข้อความว่าด. ยอมให้จำเลยเช่าทางพิพาทตามสภาพเดิม ในอัตราค่าเช่าเดือนละ 100 บาท จำเลยตกลงเช่า.ดังนี้ ข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ก่อนทำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นย่อมระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 ครั้นต่อมา ด.ขายที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์บอกเลิกการเช่า แล้วโจทก์มาฟ้องขอให้ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่พิพาท จำเลยจะอ้างสิทธิอันมีมาก่อนทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นข้อต่อสู้ฟ้องแย้งขอแสดงว่ามีทางอันเป็นภารจำยอมในที่พิพาทอีกหาได้ไม่
สิทธิในภารจำยอมอาจสิ้นสุดลงได้ด้วยเหตุหลายประการ ไม่เฉพาะที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1397,1399 เท่านั้น ภารจำยอมอาจสิ้นสุดลงโดยนิติกรรมระหว่างเจ้าของสามยทรัพย์และภารยทรัพย์ตกลงกันให้ภารจำยอมที่มีอยู่ระงับสิ้นไปก็ได้ โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1299 และ1301 เมื่อจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทเรื่องภารจำยอมกับ ด. เจ้าของที่พิพาทเดิม จนศาลมีคำพิพากษาไปแล้ว จำเลยและ ด. ย่อมจะต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีนั้น เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอ้างทางภารจำยอมมายัน ด.จำเลยย่อมจะอ้างทางภารจำยอมมายันโจทก์ผู้รับโอนที่พิพาทจาก ด. ไม่ได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1426/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินบางส่วนไม่ทำให้ภารจำยอมเดิมสิ้นสุดลง หากยังถือครองกรรมสิทธิ์ร่วมกัน
เจ้าของที่ดินซึ่งมีทางภารจำยอมโดยอายุความอยู่ก่อนแล้วโอนขายที่ดินบางส่วนให้แก่ผู้ซื้อโดยเติมชื่อผู้ซื้อลงในโฉนดร่วมกับตนดังนี้ ไม่เป็นเหตุทำให้ภารจำยอมซึ่งมีอยู่แต่เดิมสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมไม่สิ้นสุดแม้ผู้รับโอนได้กรรมสิทธิ์โดยสุจริต หากภารยทรัพย์ยังอยู่และมีการใช้สิทธิอย่างต่อเนื่อง
ภาระจำยอมจะสิ้นไปก็แต่เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1397,1399 และในลักษณะซื้อขายตาม มาตรา 480 ก็ยังบัญญัติว่า"ถ้าอสังหาริมทรัพย์ต้องแสดงว่าตกอยู่ในบังคับแห่งภาระจำยอมโดยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิด เว้นแต่ผู้ขายจะได้รับรองไว้ในสัญญาว่าทรัพย์นั้นปลอดจากภาระจำยอมอย่างใดๆ ทั้งสิ้นหรือปลอดจากภาระจำยอมอันนั้น"
ตาม มาตรา 1299 หมายถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพย์สิทธิอันเดียวกันกับสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีภาระจำยอมติดอยู่ หาได้สิทธิในภาระจำยอมไปด้วยแต่อย่างไรไม่ สำหรับที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์นั้น ภาระจำยอมที่มีอยู่เป็นแต่การรอนสิทธิตาม มาตรา 480 เท่านั้น ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมไม่สิ้นสุดแม้ผู้รับโอนซื้อโดยสุจริต หากภารยทรัพย์ยังคงอยู่และมีการใช้ต่อเนื่อง
ภาระจำยอมจะสิ้นไปก็แต่เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1397, 1399 และในลักษณะซื้อขายตาม มาตรา 480 ก็ยังบัญญัติว่า "ถ้าอสังหาริมทรัพย์ต้องแสดงว่าตกอยู่ในบังคับแห่งภาระจำยอมโดยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิด เว้นแต่ผู้ขายจะได้รับรองไว้ในสัญญาว่า ทรัพย์นั้นปลอดจากภาระจำยอมอย่างใด ๆ ทั้งสิ้นหรือปลอดจากภาระจำยอมอันนั้น"
ตาม มาตรา 1299 หมายถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพย์สิทธิอันเดียวกันกับสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีภาระจำยอมติดอยู่ หาได้สิทธิในภาระจำยอมไปด้วย แต่อย่างไรไม่ สำหรับที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์นั้น ภาระจำยอมที่มีอยู่เป็นแต่การรอนสิทธิตาม มาตรา 480 เท่านั้น ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปหาได้ไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 335/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมเกิดขึ้นได้จากคันนาที่ใช้ประโยชน์ต่อเนื่องกว่า 10 ปี และผูกพันกับที่ดิน
คันนาซึ่งผู้อื่นเดินผ่านมานานกว่า 10 ปี ย่อมเกิดเป็นภารจำยอมขึ้น. ภารจำยอมย่อมเกี่ยวเนื่องกับที่ดิน มิใช่เป็นการส่วนตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 335/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมเกิดขึ้นเมื่อมีการใช้ทางต่อเนื่องเกิน 10 ปี และเป็นประโยชน์ต่อที่ดิน ไม่ใช่ตัวบุคคล
คันนาซึ่งผู้อื่นเดินผ่านมานานกว่า 10 ปี ย่อมเกิดเป็นภาระจำยอมขึ้น. ภาระจำยอมย่อมเกี่ยวเนื่องกับที่ดิน มิใช่เป็นการส่วนตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของ.
of 2