คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 17

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4624/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในการแต่งตั้งแพทย์เพื่อตรวจสอบข้อพิพาท และความยินยอมของคู่ความ
รายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานในส่วนการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ซึ่งเกิดขึ้นจากการท้ากันระหว่างโจทก์จำเลย โดยตกลงกันกำหนดประเด็นเสนอศาลเพื่อให้กระบวนพิจารณาเป็นไปโดยรวดเร็ว ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจดำเนินการตามที่คู่ความร้องขอได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138 ประกอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คู่ความยอมรับข้อเท็จจริงกันในศาล โดยมีเงื่อนไขว่าให้ถือเอาความเห็นของคณะกรรมการแพทย์ซึ่งแต่งตั้งโดยแพทยสภาไม่น้อยกว่า 3 คน ตรวจสอบเวชระเบียนแล้วทำความเห็นว่าโจทก์เจ็บป่วยด้วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังจากการทำงานหรือไม่ หากโจทก์ไม่ได้เจ็บป่วยด้วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังจากการทำงาน โจทก์ยอมแพ้ให้ศาลพิพากษายกฟ้อง หากคณะกรรมการแพทย์เห็นว่าโจทก์เจ็บป่วยด้วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังจากการทำงาน จำเลยยอมแพ้ และยอมให้โจทก์ชนะคดี การที่ศาลแรงงานมีหนังสือถึงแพทยสภาขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ และแพทยสภามีประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ในเวลาต่อมา จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวน-พิจารณาให้อย่างครบถ้วนตรงตามคำขอของโจทก์จำเลยโดยแท้ หาใช่กรณีที่ศาลแรงงานกลางใช้อำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์โดยพลการไม่ ทั้งนับแต่ศาลแรงงานบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาในเรื่องดังกล่าวฉบับลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2539จนกระทั่งคณะกรรมการแพทย์ทำรายงานเสนอความเห็นต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2539 ก็เป็นระยะเวลายาวนานพอที่โจทก์มีโอกาสติดตามตรวจสอบเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับคณะกรรมการแพทย์ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยแพทยสภาได้ แต่โจทก์หาได้ดำเนินการและแถลงคัดค้านต่อศาลแต่อย่างใดไม่ ส่วนข้อที่โจทก์อ้างว่าโจทก์และทนายโจทก์ลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาเพราะไม่อาจขัดขืนอำนาจศาลที่จะให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ขึ้นนั้น เป็นข้ออ้างที่ไม่ชัดแจ้งว่าศาลแรงงานกลางใช้อำนาจโดยมิชอบอย่างใด ทั้งการดำเนินการให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ขึ้นก็เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์ที่ร้องขอต่อศาลทั้งสิ้น ดังนี้กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้หนังสือที่ศาลแรงงานกลางที่มีไปถึงแพทยสภาเพื่อขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ลงลายมือชื่อโดยผู้พิพากษาคนเดียวก็ตาม แต่หนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือที่ศาลแรงงานกลางได้มีไปถึงแพทยสภาเพื่อขอความร่วมมือให้แต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ทำการตรวจสอบเวชระเบียนของโจทก์แล้วทำความเห็นส่งศาลเท่านั้นซึ่งเป็นการดำเนินการเพื่อให้ได้ความเห็นของคณะกรรมการแพทย์ตามประเด็นที่โจทก์จำเลยกำหนดไว้ การแพ้ชนะคดีของโจทก์ขึ้นอยู่กับความเห็นของคณะกรรมการแพทย์ตามที่โจทก์ตกลงท้ากับจำเลย ศาลหาได้มีส่วนร่วมออกความเห็นด้วยไม่ หนังสือนี้จึงไม่ใช่เป็นคำสั่งไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี ซึ่งเป็นหนังสือที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่ทำให้การแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ รวมทั้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลางต้องกลายเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดจากหน้าที่สัญญาจ้างแรงงาน, การนั่งพิจารณาคดีของศาลแรงงาน, ความประมาทเลินเล่อของลูกจ้าง
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคท้ายอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดี โดยไม่มีผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างร่วมเป็นองค์คณะในการนั่งพิจารณา อันเป็นการผิดระเบียบ จำเลยซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่เสียหายมิได้คัดค้านเสียภายใน 8 วัน จำเลยจะอุทธรณ์โต้แย้งว่าการพิจารณาของศาลแรงงานกลางไม่ชอบหาได้ไม่ คำฟ้องกล่าวว่า จำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ จำเลยทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ดังนั้น เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน กรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะศาลแรงงาน, อายุความสัญญาจ้าง, การฟ้องแย้ง, สิทธิในการนำสืบ, ความรับผิดจากละเลยหน้าที่
การนั่งพิจารณาคดีแรงงาน ศาลแรงงานต้องมีผู้พิพากษาผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละเท่า ๆ กัน เป็นองค์คณะพิจารณาตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 และมาตรา 31แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานโดยอนุโลม ดังนั้น ถ้าจำเลยเห็นว่าศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดี อันเป็นการผิดระเบียบ จำเลยจะต้องยื่นคัดค้านเสียภายใน 8 วัน ตามมาตรา 27แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลแรงงานกลางได้นั่งพิจารณาในวันที่ 21 สิงหาคม 2533 และนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 17 กันยายน 2533 ถ้าผู้พิพากษาสมทบมิได้นั่งพิจารณาและลงลายมือชื่อในวันนั่งพิจารณานั้นจำเลยย่อมทราบแล้วว่าเป็นการผิดระเบียบควรคัดค้านเสียภายใน 8 วัน เมื่อจำเลยมิได้คัดค้าน จะอุทธรณ์โต้แย้งว่าการพิจารณาไม่ชอบหาได้ไม่ ตามฟ้องโจทก์กล่าวว่า จำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างโจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงมาฟ้องบังคับจำเลยทั้งสอง เช่นนี้เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในการที่จำเลยทั้งสองปฏิบัติงานฝ่าฝืนระเบียบทำให้โจทก์เสียหาย เป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ส่วนคดีก่อน จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ว่า จำเลยที่ 1ถูกโจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรม ให้โจทก์รับจำเลยที่ 1 กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม กับขอให้ใช้ค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเงินบำเหน็จซึ่งเป็นคนละประเด็นกับคดีนี้ การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ วันนัดพิจารณา ศาลบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 3ตุลาคม 2532 ว่า โจทก์ให้การปฏิเสธฟ้องแย้ง และได้กำหนดประเด็นข้อพิพาท ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม 2532 โจทก์ยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ศาลอนุญาตและรับคำให้การ สำเนาให้จำเลยจำเลยที่ 2 รับสำเนาแล้ว มิได้โต้แย้งคำสั่งศาลดังกล่าวซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำให้การเกี่ยวกับรายละเอียดต่อสู้ฟ้องแย้งแต่ในฟ้องโจทก์มีรายละเอียดตามประเด็นที่พิพาทกัน คำให้การแก้ฟ้องแย้งก็เป็นเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 โจทก์ย่อมมีสิทธิสืบในรายละเอียดว่าไม่ต้องรับผิดตามฟ้องแย้งได้ จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานคุมยาสูบตรี มีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบในการบรรทุกบุหรี่และควบคุมรถบรรทุกบุหรี่ระหว่างเดินทางจนถึงผู้รับปลายทาง จำเลยที่ 2 ละทิ้งหน้าที่ไม่เฝ้าบุหรี่ เป็นเหตุให้คนร้ายลักรถและบุหรี่ไป โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายค่าบุหรี่แก่โรงงานยาสูบเป็นเงิน 1,512,394.81 บาท ทั้งต้องซ่อมรถที่คนร้ายงัดอีก 7,820 บาทนับได้ว่าเกิดความเสียหายแก่โจทก์อย่างร้ายแรงในผลการกระทำของจำเลยที่ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทแรงงาน: การพิจารณาคดีไม่ชอบ, อายุความสัญญาจ้าง, คำให้การแก้ฟ้องแย้ง
การนั่งพิจารณาคดีแรงงาน ศาลแรงงานต้องมีผู้พิพากษา ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละเท่า ๆ กัน เป็นองค์คณะพิจารณาตามมาตรา 17แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานโดยอนุโลม ดังนั้น ถ้าจำเลยเห็นว่าศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดี อันเป็นการผิดระเบียบ จำเลยจะต้องยื่นคัดค้านเสียภายใน 8 วัน ตามมาตรา 27แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลแรงงานกลางได้นั่งพิจารณาในวันที่ 21 สิงหาคม 2533 และนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 17 กันยายน 2533 ถ้าผู้พิพากษาสมทบมิได้นั่งพิจารณาและลงลายมือชื่อในวันนั่งพิจารณานั้นจำเลยย่อมทราบแล้วว่าเป็นการผิดระเบียบควรคัดค้านเสียภายใน 8 วัน เมื่อจำเลยมิได้คัดค้าน จะอุทธรณ์โต้แย้งว่าการพิจารณาไม่ชอบหาได้ไม่
ตามฟ้องโจทก์กล่าวว่า จำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างโจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงมาฟ้องบังคับจำเลยทั้งสอง เช่นนี้เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในการที่จำเลยทั้งสองปฏิบัติงานฝ่าฝืนระเบียบทำให้โจทก์เสียหาย เป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ส่วนคดีก่อน จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ถูกโจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรม ให้โจทก์รับจำเลยที่ 1 กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม กับขอให้ใช้ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเงินบำเหน็จซึ่งเป็นคนละประเด็นกับคดีนี้ การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
วันนัดพิจารณา ศาลบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2532ว่า โจทก์ให้การปฏิเสธฟ้องแย้ง และได้กำหนดประเด็นข้อพิพาท ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม 2532 โจทก์ยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ศาลอนุญาตและรับคำให้การ สำเนาให้จำเลย จำเลยที่ 2 รับสำเนาแล้ว มิได้โต้แย้งคำสั่งศาลดังกล่าวซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำให้การเกี่ยวกับรายละเอียดต่อสู้ฟ้องแย้ง แต่ในฟ้องโจทก์มีรายละเอียดตามประเด็นที่พิพาทกัน คำให้การแก้ฟ้องแย้งก็เป็นเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2โจทก์ย่อมมีสิทธิสืบในรายละเอียดว่าไม่ต้องรับผิดตามฟ้องแย้งได้
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานคุมยาสูบตรี มีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบในการบรรทุกบุหรี่และควบคุมรถบรรทุกบุหรี่ระหว่างเดินทางจนถึงผู้รับปลายทาง จำเลยที่ 2 ละทิ้งหน้าที่ไม่เฝ้าบุหรี่ เป็นเหตุให้คนร้ายลักรถและบุหรี่ไป โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายค่าบุหรี่แก่โรงงานยาสูบเป็นเงิน 1,512,394.81บาท ทั้งต้องซ่อมรถที่คนร้ายงัดอีก 7,820 บาท นับได้ว่าเกิดความเสียหายแก่โจทก์อย่างร้ายแรงในผลการกระทำของจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลแรงงานที่อาศัยเหตุไม่มีอำนาจฟ้อง ถือเป็นการพิพากษาคดี ต้องมีองค์คณะครบถ้วน
แม้ศาลแรงงานกลางเพียงแต่ตรวจคำฟ้องและเอกสารประกอบคำฟ้องแล้วมีคำสั่งให้ยกฟ้อง โดยมิได้กระทำในรูปคำพิพากษาก็ตาม แต่เมื่อคำสั่งนั้นอาศัยเหตุที่ว่าข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามที่ปรากฏในคำฟ้องพอให้เห็นได้แล้วว่า โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาสู่ศาลเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2) มีผลเป็นการพิพากษาคดีแล้ว และการพิพากษาคดีนั้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 17,18 ผู้พิพากษาศาลแรงงานจะกระทำไปโดยไม่มีผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างร่วมเป็นองค์คณะด้วยหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าคำสั่งดังกล่าวมีแต่ผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางลงลายมือชื่อ จึงไม่เป็นคำสั่งคำพิพากษาอันชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำสั่งศาลแรงงานกลางให้ศาลนั้นพิพากษาใหม่ให้ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลแรงงานที่ขัดต่อกฎหมายองค์คณะ: การพิจารณาคดีต้องมีผู้พิพากษาสมทบ
แม้ศาลแรงงานกลางเพียงแต่ตรวจคำฟ้องและเอกสารประกอบคำฟ้องแล้วมีคำสั่งให้ยกฟ้อง โดยมิได้กระทำในรูปคำพิพากษาก็ตาม แต่เมื่อคำสั่งนั้นอาศัยเหตุที่ว่า ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามที่ปรากฏในคำฟ้องพอให้เห็นได้แล้วว่า โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาสู่ศาล เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131 (2) มีผลเป็นการพิพากษาคดีแล้ว และการพิพากษาคดีนั้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 17, 18 ผู้พิพากษาศาลแรงงานจะกระทำไปโดยไม่มีผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้างรวมเป็นองค์คณะด้วยหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าคำสั่งดังกล่าวมีแต่ผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางลงลายมือชื่อจึงไม่เป็นคำสั่งคำพิพากษาอันชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำสั่งศาลแรงงานกลางให้ศาลนั้นพิพากษาใหม่ให้ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
of 8