คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1546

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12502/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในครอบครัว: การดูแลบุตรหลังการจดทะเบียนรับรองบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จำเลยได้ดำเนินการจดทะเบียนผู้เยาว์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1548 แล้ว ผู้เยาว์จึงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของทั้งโจทก์และจำเลย ตามมาตรา 1546 และ 1547
ศาลล่างทั้งสองยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาว่าผู้เยาว์สมควรจะอยู่กับโจทก์หรือจำเลย เพราะข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์เพิ่งจะปรากฏขึ้นในชั้นฎีกา แต่เมื่อคดีเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัวไม่ต้องห้ามอุทธรณ์และฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 และ 248 ทั้งข้อเท็จจริงปรากฏในสำนวนเพียงพอที่จะให้ศาลฎีกาวินิจฉัยไปได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนลงไปให้ศาลล่างวินิจฉัยก่อน ศาลฎีกาสมควรวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ไปเลย
โจทก์และจำเลยต่างเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ มีอำนาจปกครองและเลี้ยงดูผู้เยาว์ด้วยกัน แต่เมื่อโจทก์และจำเลยมิได้อยู่ด้วยกัน กรณีจึงพิจารณาความเหมาะสมว่าผู้เยาว์อยู่กับผู้ใดจะเป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์สูงสุด เมื่อโจทก์เพิ่งจะประกอบอาชีพค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ ส่วนจำเลยทำงานมีความมั่นคง ทั้งผู้เยาว์อยู่อาศัยกับจำเลยมาโดยตลอด ผู้เยาว์เข้ารับการศึกษาในโรงเรียน มีเพื่อน มีความอบอุ่นอยู่แล้ว ทั้งไม่มีข้อบกพร่องในการดูแลของจำเลย การจะให้ผู้เยาว์ไปอยู่กับโจทก์ เป็นการให้ผู้เยาว์ไปเผชิญสภาพแวดล้อมใหม่ หาโรงเรียนใหม่ เข้าสู่สังคมใหม่ ที่ไม่ปรากฏว่าจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้เยาว์หรือผู้เยาว์จะได้รับประโยชน์หรือไม่ กรณีไม่มีความเหมาะสมที่จะให้ผู้เยาว์ไปอยู่กับโจทก์ การที่ผู้เยาว์อยู่อาศัยกับจำเลยจึงมีความเหมาะสมกว่า ทั้งนี้ ให้จำเลยเปิดโอกาสให้โจทก์ได้พบผู้เยาว์ได้ตามสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3290/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย และการกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูที่เหมาะสม
เด็กหญิง อ. เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 กับจำเลย แม้มิได้จดทะเบียนสมรสกัน เด็กหญิง อ. ก็เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 แม้เด็กหญิง อ. จะอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของ น. กับ ป. ซึ่งเป็นบิดามารดาของโจทก์ที่ 1 หรือต่อมาหลังจากฟ้องคดีนี้แล้วน. กับ ป. จะไปจดทะเบียนรับเด็กหญิง อ. เป็นบุตรบุญธรรมก็ตามก็หากระทบกระทั่งถึงสิทธิของเด็กหญิง อ. โจทก์ที่ 2 โดยโจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมในการนำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยจดทะเบียนรับรองเด็กหญิง อ. เป็นบุตรตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1556 ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะไม่ เพราะการฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรตามมาตรานี้ระบุให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องแทนผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อาจกระทำในนามส่วนตัวได้ แต่กระทำการในฐานะผู้ฟ้องแทนได้ ดังนั้น โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9614/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก และกรรมสิทธิ์ในเงินฝากเพื่อการศึกษาบุตร
การที่โจทก์จำเลยซึ่งเคยอยู่กินกันฉันสามีภริยาตกลงฝากเงินไว้ในธนาคารเพื่อการศึกษาของบุตรเป็นการทำสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก ตามป.พ.พ. มาตรา 374 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองทั้งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยไปลงลายมือชื่อร่วมถอนเงินจากบัญชีเงินฝากดังกล่าวก่อนฟ้องคดีนี้แล้ว จึงถือได้ว่าบุตรได้แสดงเจตนาแก่จำเลยในฐานะลูกหนี้ว่าจะถือเอาเงินฝากตามสัญญาอันเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยแล้ว ตามป.พ.พ. มาตรา 374 วรรคสอง ดังนั้น เงินในบัญชีเงินฝากจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุตรก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ จำเลยหาได้มีกรรมสิทธิ์ในเงินฝากดังกล่าวไม่
โจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลย เมื่อจำเลยประพฤติผิดสัญญากล่าวคือจำเลยไม่ยอมไปลงลงลายมือชื่อถอนเงินฝากในบัญชีธนาคารให้แก่บุตร แม้จะเป็นการฟ้องคดีภายหลังจากที่บุตรได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากข้อสัญญานั้นก็ตาม โจทก์ในฐานะคู่สัญญากับจำเลยเป็นส่วนตัวจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
โจทก์บรรยายฟ้องมาชัดแจ้งว่า จำเลยไม่ยอมลงลายมือชื่อถอนเงินฝากจากบัญชีธนาคารร่วมกับโจทก์ ทั้งก่อนฟ้องคดีโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยไปธนาคารเพื่อถอนเงินให้แก่บุตรหรือยินยอมให้โจทก์จัดการได้เพียงผู้เดียว แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องโดยขอให้ถอนชื่อจำเลยออกจากบัญชีเงินฝากก็ตาม แต่คงมีผลเท่ากับว่าเป็นการขอให้จำเลยร่วมลงลายมือชื่อกับโจทก์ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารให้แก่บุตรตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องนั่นเอง หาใช่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ ตามป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรเมื่อมิได้จดทะเบียนสมรส และสิทธิในการส่งมอบบุตรคืนแก่ผู้มีอำนาจปกครอง
โจทก์จำเลยอยู่กินด้วยกันโดยไม่จดทะเบียนสมรสซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1546 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น ดังนั้น จึงถือได้ว่าเด็กชาย จ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ดังนั้นอำนาจปกครองเด็กชาย จ. นั้น ต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 1566 วรรคหนึ่ง คือต้องอยู่กับโจทก์ซึ่งเป็นมารดาฝ่ายเดียว เมื่อจำเลยมิได้เป็นบิดาตามความหมายของมาตรา 1566 ดังกล่าว การตกลงระหว่างโจทก์จำเลยที่ให้เด็กชาย จ. อยู่ในความปกครองของจำเลยจึงไม่มีผลผูกพันเป็นเหตุให้จำเลยมีอำนาจปกครองเด็กชาย จ. ตามมาตรา 1566 วรรคสอง (6) จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของเด็กชาย จ. ให้อยู่กับตนตามมาตรา 1567 (1) ได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยส่งมอบเด็กชาย จ. คืนจากจำเลยตามมาตรา 1567 (4)
คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเพียงคำให้การแก้ฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตเท่านั้น ข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างมิใช่ข้อเท็จจริงที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นจึงไม่เป็นคำฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ดังนั้น ข้อเท็จจริงส่วนนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องแย้ง แม้โจทก์จะไม่ได้แก้ข้อเท็จจริงที่จำเลยได้ให้การไว้ก็ไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงนี้ตามที่จำเลยได้ให้การได้ เพราะโจทก์ไม่มีหน้าที่จะต้องยื่นคำให้การแก้คำให้การของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3484/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของมารดา แม้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นดูแล และสิทธิการฟ้องแย้งของบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์เป็นภริยาจำเลยโดยมิได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรผู้เยาว์ด้วยกัน 1 คน คือเด็กหญิง ธ. ผู้เยาว์จึงเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1546 โจทก์จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กหญิง ธ. ตามกฎหมาย แต่เพียงผู้เดียว ส่วนจำเลยเป็นบิดามิชอบด้วยกฎหมายจึงไม่มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ การที่โจทก์ทำบันทึกระบุข้อความมอบผู้เยาว์ให้อยู่ในความปกครองของพี่สาวจำเลยจึงเป็นการตั้งผู้ปกครองกันเองย่อมไม่มีผล เพราะการตั้งผู้ปกครองตามกฎหมายจะมีได้เฉพาะด้วยคำสั่งศาลหรือบิดามารดาตกลงกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1566 (6) เท่านั้น ข้อความตามบันทึกดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดที่อยู่ของบุตรผู้เยาว์ให้อยู่กับพี่สาวจำเลยเท่านั้น และกรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ผู้เป็นมารดาได้สละการใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้บิดาหรือมารดาสามารถสละการใช้อำนาจปกครองให้แก่บุคคลอื่นได้ ทั้งมิใช่กรณีที่บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1566 (6) เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นมารดายังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์อยู่ จำเลยซึ่งเป็นบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงมีหน้าที่ต้องส่งผู้เยาว์ให้แก่โจทก์
เมื่อจำเลยมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกโจทก์ผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์โต้แย้งสิทธิ จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งให้ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้เยาว์แต่ผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8256/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน, สัญญาประนีประนอมยอมความ, อายุความ, อำนาจฟ้อง, สิทธิเรียกร้อง
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีแต่ไม่ชำระค่าขึ้นศาลภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีคำสั่งไม่รับ โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ยื่นอุทธรณ์คัดค้าน คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์การที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 มายื่นฟ้องจำเลยคดีนี้ต่อศาลแพ่งในระหว่างที่คดีก่อนค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173วรรคสอง
จำเลยเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ พ. ตกลงกับ ล.โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และ พ.เพื่อแบ่งที่พิพาทส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของ พ.ออกไปเพื่อจะนำไปแบ่งให้แก่ทายาท พ.ต่อไป จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.จึงมีสิทธิทำสัญญาดังกล่าวได้ เมื่อคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันอันอาจมีขึ้นในภายหน้าให้เสร็จไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 850จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสอง
โจทก์ที่ 1 ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 168เดิม
แม้ พ.จะมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็เป็นเรื่องที่ พ.จะต้องเรียกร้องจากจำเลยเอง โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกร้องแทน พ.และเมื่อฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นฟ้องซ้อน จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ได้
การที่ศาลยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่ามีอยู่จริงหรือไม่ จึงสมควรไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8252/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน, สัญญาประนีประนอมยอมความ, อายุความ, อำนาจฟ้อง, การเรียกร้องสิทธิ
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีแต่ไม่ชำระค่าขึ้นศาลภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีคำสั่งไม่รับ โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ยื่นอุทธรณ์คัดค้าน คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์การที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 มายื่นฟ้องจำเลยคดีนี้ต่อศาลแพ่งในระหว่างที่คดีก่อนค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173วรรคสอง
จำเลยเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ พ. ตกลงกับ ล.โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และ พ.เพื่อแบ่งที่พิพาทส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของ พ.ออกไปเพื่อจะนำไปแบ่งให้แก่ทายาท พ.ต่อไป จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ.จึงมีสิทธิทำสัญญาดังกล่าวได้ เมื่อคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันอันอาจมีขึ้นในภายหน้าให้เสร็จไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 850จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสอง
โจทก์ที่ 1 ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 168เดิม
แม้ พ.จะมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็เป็นเรื่องที่ พ.จะต้องเรียกร้องจากจำเลยเอง โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกร้องแทน พ.และเมื่อฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นฟ้องซ้อน จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ได้
การที่ศาลยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่ามีอยู่จริงหรือไม่ จึงสมควรไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8252/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน สัญญาประนีประนอมยอมความ อายุความ และการแบ่งทรัพย์สินมรดก
โจทก์ที่2ถึงที่4ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีแต่ไม่ชำระค่าขึ้นศาลภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีคำสั่งไม่รับโจทก์ที่2ถึงที่4ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์การที่โจทก์ที่2ถึงที่4มายื่นฟ้องจำเลยคดีนี้ต่อศาลแพ่งในระหว่างที่คดีก่อนค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง จำเลยเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของพ. ตกลงกับล.โจทก์ที่2ถึงที่4และพ. เพื่อแบ่งที่พิพาทส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของพ. ออกไปเพื่อจะนำไปแบ่งให้แก่ทายาทพ.ต่อไปจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของพ. จึงมีสิทธิทำสัญญาดังกล่าวได้เมื่อคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันอันอาจมีขึ้นในภายหน้าให้เสร็จไปจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสอง โจทก์ที่1ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา168เดิม แม้พ. จะมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็เป็นเรื่องที่พ. จะต้องเรียกร้องจากจำเลยเองโจทก์ที่1ไม่มีสิทธิเรียกร้องแทนพ. และเมื่อฟ้องโจทก์ที่2ถึงที่4เป็นฟ้องซ้อนจึงไม่อาจบังคับให้จำเลยแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ที่2ถึงที่4ได้ การที่ศาลยกฟ้องโจทก์ที่2ถึงที่4ในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ที่2ถึงที่4ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่ามีอยู่จริงหรือไม่จึงสมควรไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7473/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิปกครองดูแลบุตรเกิดจากสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียน: สิทธิเกิดเฉพาะบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
โจทก์จำเลยซึ่งอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสได้ตกลงแยกกันอยู่และร่วมกันทำบันทึกข้อตกลงผลัดกันดูแลบุตรผู้เยาว์ โจทก์ซึ่งมิได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ในฐานะที่เป็นบิดาของบุตรผู้เยาว์ ข้อพิพาทอันเกี่ยวกับการปกครองดูแลบุตรผู้เยาว์ระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่มี จึงไม่อาจทำบันทึกข้อตกลงเพื่อระงับข้อพิพาทอันเกี่ยวกับบุตรผู้เยาว์ได้บันทึกข้อตกลงดังกล่าวไม่มีผลเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1594/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: การปิดบังข้อมูลทายาทเพื่อฉ้อฉลทรัพย์มรดก และการวินิจฉัยสถานะความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
การที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอเข้าเป็นผู้จัดการมรดกของ ป.โดยมิได้ระบุว่าผู้ร้องเป็นทายาทและได้ให้ความยินยอมด้วย และบัญชีเครือญาติท้ายคำร้องมีข้อความเพียงว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรของป. กับ อ. เท่านั้น ยังมิใช่กรณีปิดบังทรัพย์มรดกเพื่อฉ้อฉลทายาทอื่น แม้ในคดีที่ผู้คัดค้านพิพาทกับบุคคลอื่นศาลอุทธรณ์จะพิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วว่าผู้คัดค้านไม่ได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ป.แต่ในคดีดังกล่าวไม่มีประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยชี้ขาดว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ป. เพราะเหตุที่ ป.จดทะเบียนสมรสกับ อ. มารดาผู้คัดค้านในภายหลังหรือไม่ ดังนั้นในคดีนี้ศาลชอบที่จะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวซึ่งผู้ร้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โดยตรงได้.
of 11