คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1546

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 553/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมของผู้เยาว์ในการกู้เงินและจำนองทรัพย์สิน: สิทธิของเจ้าหนี้ในการยึดทรัพย์
โจทก์ทั้งสองเป็นผู้เยาว์ บิดาตายไปแล้ว มารดาโจทก์ไปกู้เงินจำเลยและได้นำโฉนดที่ดินของโจทก์ไปให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกันโดยโจทก์รู้เห็นยินยอมกรณีเช่นนี้ไม่อยู่ใต้บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 และตามพฤติการณ์ถือได้ว่ามารดาผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์ได้ให้ความยินยอมในการกระทำดังกล่าวนั้น ถึงแม้ว่าโจทก์มิใช่ผู้กู้เงินจากจำเลยจำเลยก็มีสิทธิที่จะยึดโฉนดของโจทก์ไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 553/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมของผู้เยาว์ในการกู้เงินและการยึดที่ดินเป็นประกัน จำเลยมีสิทธิเรียกร้องได้
โจทก์ทั้งสองเป็นผู้เยาว์บิดาตายไปแล้ว มารดาโจทก์ไปกู้เงินจำเลยและได้นำโฉนดที่ดินของโจทก์ไปให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกันโดยโจทก์รู้เห็นยินยอม กรณีเช่นนี้ไม่อยู่ใต้บัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 และตามพฤติการณ์ถือได้ว่ามารดาผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์ได้ให้ความยินยอมในการกระทำดังกล่าวนั้น ถึงแม้ว่าโจทก์มิใช่ผู้กู้เงินจากจำเลย จำเลยก็มีสิทธิที่จะยึดโฉนดของโจทก์ไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้อนุบาลทำนิติกรรมเกี่ยวกับสินสมรสและผลผูกพันของนิติกรรมยกให้เมื่อสามีไร้ความสามารถ
กรณีภริยาเป็นผู้อนุบาลสามีซึ่งเป็นผู้ไร้ความสามารถตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1457 นั้นมาตรา 1581 ไม่ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยความปกครองมาบังคับจึงจะนำมาตรา 1561, 1562, 1563. ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความปกครองมาบังคับแก่ภริยาซึ่งเป็นผู้อนุบาลสามีหาได้ไม่
ภริยาซึ่งเป็นผู้อนุบาลสามี มีสิทธิทำนิติกรรมขายสินบริคณห์ได้โดยลำพัง หากกระทำไปเพื่อประโยชน์ของสามีตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 710/2490 แต่การที่ภริยาเอาที่ดินสินบริคณห์ไปยกให้แก่บุตรคนหนึ่งโดยเสน่หา มิใช่กระทำไปเพื่อประโยชน์ของสามีแต่อย่างใด ภริยาในฐานะผู้อนุบาลจึงไม่มีสิทธิเอาที่ดินส่วนที่เป็นของสามีไปยกให้แก่บุตรโดยเสน่หาได้ คงมีสิทธิกระทำได้ในฐานะที่เป็นภริยา ซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินสินบริคณห์นั้นด้วย โดยมิพักต้องได้รับอนุญาตจากสามี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 39 นิติกรรมการให้ที่ดินโดยเสน่หาดังกล่าว จึงผูกพันส่วนที่เป็นของภริยา แต่ไม่ผูกพันส่วนของสามี เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าที่ดินสินบริคณห์นั้นสามีกับภริยามีส่วนคนละเท่าใด และภริยาก็ทำนิติกรรมให้บุตรมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกับสามีอันมีผลเท่ากับภริยายอมสละส่วนของตนให้แก่บุตรเท่านั้น นิติกรรมรายนี้จึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการทำนิติกรรมของผู้อนุบาลในสินบริคณห์: การยกที่ดินให้บุตรโดยเสน่หาไม่ผูกพันส่วนของผู้ไร้ความสามารถ
กรณีภริยาเป็นผู้อนุบาลสามีซึ่งเป็นผู้ไร้ความสามารถตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1457 นั้น มาตรา 1581ไม่ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยความปกครองมาบังคับจึงจะนำมาตรา 1561,1562,1563. ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความปกครองมาบังคับแก่ภริยาซึ่งเป็นผู้อนุบาลสามีหาได้ไม่
ภริยาซึ่งเป็นผู้อนุบาลสามี มีสิทธิทำนิติกรรมขายสินบริคณห์ได้โดยลำพัง หากกระทำไปเพื่อประโยชน์ของสามีตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 710/2490 แต่การที่ภริยาเอาที่ดินสินบริคณห์ไปยกให้แก่บุตรคนหนึ่งโดยเสน่หา มิใช่กระทำไปเพื่อประโยชน์ของสามีแต่อย่างใด ภริยาในฐานะผู้อนุบาลจึงไม่มีสิทธิเอาที่ดินส่วนที่เป็นของสามีไปยกให้แก่บุตรโดยเสน่หาได้ คงมีสิทธิกระทำได้ในฐานะที่เป็นภริยา ซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินสินบริคณห์นั้นด้วย โดยมิพักต้องได้รับอนุญาตจากสามี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 39 นิติกรรมการให้ที่ดินโดยเสน่หาดังกล่าว จึงผูกพันส่วนที่เป็นของภริยา แต่ไม่ผูกพันส่วนของสามี เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าที่ดินสินบริคณห์นั้น สามีกับภริยามีส่วนคนละเท่าใด และภริยาก็ทำนิติกรรมให้บุตรมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกับสามีอันมีผลเท่ากับภริยายอมสละส่วนของตนให้แก่บุตรเท่านั้น นิติกรรมรายนี้จึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3376/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินเด็กต้องได้รับอนุญาตจากศาลคดีเด็กและเยาวชนก่อน จึงจะมีผลผูกพัน
การทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สินของเด็กตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลก่อน และศาลดังกล่าวนั้นจะต้องเป็นศาลที่มีอำนาจอนุญาตด้วย
ขณะที่ผู้ใช้อำนาจปกครองทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สินของเด็กในศาลแพ่ง ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางเปิดดำเนินการแล้ว ผู้ใช้อำนาจปกครองจึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 8 ก่อนมิฉะนั้นเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวและคำพิพากษาตามยอม ไม่ผูกพันเด็ก ไม่ว่าเด็กจะรู้เห็นยินยอมหรือไม่
โจทก์ฟ้องคดีขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างบิดาผู้ใช้อำนาจปกครองกับจำเลยร่วมเป็นโมฆะ และให้เพิกถอนเสีย การที่ศาลพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีผลผูกพันเด็กนั้น ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142
คดีที่พนักงานอัยการฟ้องเพื่อประโยชน์ของเด็กในฐานะโจทก์มิใช่ฐานะทนายความ ศาลไม่สั่งให้ค่าทนายความแก่พนักงานอัยการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3376/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินเด็ก ต้องได้รับอนุญาตจากศาลคดีเด็กและเยาวชนก่อน จึงจะมีผลผูกพัน
การทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สินของเด็กตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลก่อน และศาลดังกล่าวนั้นจะต้องเป็นศาลที่มีอำนาจอนุญาตด้วย
ขณะที่ผู้ใช้อำนาจปกครองทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สินของเด็กในศาลแพ่ง ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางเปิดดำเนินการแล้วผู้ใช้อำนาจปกครองจึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 8 ก่อนมิฉะนั้นเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวและคำพิพากษาตามยอมไม่ผูกพันเด็ก ไม่ว่าเด็กจะรู้เห็นยินยอมหรือไม่
โจทก์ฟ้องคดีขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างบิดาผู้ใช้อำนาจปกครองกับจำเลยร่วมเป็นโมฆะ และให้เพิกถอนเสียการที่ศาลพิพากษาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีผลผูกพันเด็กนั้นไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142
คดีที่พนักงานอัยการฟ้องเพื่อประโยชน์ของเด็กในฐานะโจทก์มิใช่ฐานะทนายความ ศาลไม่สั่งให้ค่าทนายความแก่พนักงานอัยการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2783/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเก็บกิน vs. สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์: เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิขายได้ แม้มีภาระสิทธิเก็บกิน
ผู้ทรงสิทธิเก็บกินย่อมมีอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1417 เพียงมีสิทธิครอบครอง ใช้ ถือเอาซึ่งประโยชน์ และมีอำนาจจัดการทรัพย์สินนั้นเท่านั้น หามีอำนาจห้ามมิให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ขายทรัพย์สินนั้นไป โดยไม่เป็นที่เสื่อมสิทธิของตนไม่ บุตรผู้ร้องเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาท ย่อมมีอำนาจที่จะขายทรัพย์สินนั้นได้ตามมาตรา 1336 และสิทธิเก็บกินเป็นทรัพย์สิทธิประเภทหนึ่ง ย่อมใช้ยันบุคคลภายนอกได้ทั่วไป บุคคลภายนอกผู้รับโอนหาอาจทำให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินเสื่อมสิทธิที่มีอยู่ได้ไม่
ผู้คัดค้านโอนที่พิพาทซึ่งมีเรือน 2 หลังปลูกอยู่บนที่พิพาทให้แก่บุตรผู้ร้องไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยมิได้ระบุแยกให้ชัดเจนว่า เรือน 2 หลังมิได้โอนยกให้ไปด้วยแล้ว ย่อมหมายความว่าผู้คัดค้านได้โอนยกให้ที่พิพาทพร้อมเรือน 2 หลังนั้นด้วย เพราะเรือนดังกล่าวเป็นส่วนควบของที่ดินนั้น
เจ้าของกรรมสิทธิ์จะขายที่ดินของตนแปลงใดก็ได้ ในเมื่อไม่ทำให้เสื่อมสิทธิแก่ผู้ทรงสิทธิเหนือที่ดินแปลงนั้น ๆ ถ้ามี การที่บุตรผู้ร้องจะขายที่ดินพิพาทโดยมีภาระสิทธิเก็บกินติดไปด้วยก็ย่อมกระทำได้ตามสิทธิของตนที่มีอยู่ จะถือว่ามีเจตนาไม่สุจริตหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2783/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเก็บกิน vs. สิทธิขายทรัพย์สิน: เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิขายได้ แม้มีภาระสิทธิเก็บกิน
ผู้ทรงสิทธิเก็บกินย่อมมีอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1417 เพียงมีสิทธิครอบครอง ใช้ ถือเอาซึ่งประโยชน์ และมีอำนาจจัดการทรัพย์สินนั้นเท่านั้น หามีอำนาจห้ามมิให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ขายทรัพย์สินนั้นไป โดยไม่เป็นที่เสื่อมสิทธิของตนไม่ บุตรผู้ร้องเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาท ย่อมมีอำนาจที่จะขายทรัพย์สินนั้นได้ตามมาตรา 1336 และสิทธิเก็บกินเป็นทรัพย์สิทธิประเภทหนึ่ง ย่อมใช้ยันบุคคลภายนอกได้ทั่วไป บุคคลภายนอกผู้รับโอนหาอาจทำให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินเสื่อมสิทธิที่มีอยู่ได้ไม่
ผู้คัดค้านโอนที่พิพาทซึ่งมีเรือน 2 หลังปลูกอยู่บนที่พิพาทให้แก่บุตรผู้ร้องไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยมิได้ระบุแยกให้ชัดเจนว่า เรือน 2 หลังมิได้โอนยกให้ไปด้วยแล้ว ย่อมหมายความว่าผู้คัดค้านได้โอนยกให้ที่พิพาทพร้อมเรือน 2 หลังนั้นด้วย เพราะเรือนดังกล่าวเป็นส่วนควบของที่ดินนั้น
เจ้าของกรรมสิทธิ์จะขายที่ดินของตนแปลงใดก็ได้ ในเมื่อไม่ทำให้เสื่อมสิทธิแก่ผู้ทรงสิทธิเหนือที่ดินแปลงนั้น ๆ ถ้ามี การที่บุตรผู้ร้องจะขายที่ดินพิพาทโดยมีภาระสิทธิเก็บกินติดไปด้วยก็ย่อมกระทำได้ตามสิทธิของตนที่มีอยู่ จะถือว่ามีเจตนาไม่สุจริตหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2604/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองและการใช้เงินของบุตรผู้เยาว์: สิทธิของบิดามารดาและเจตนายกเงิน
บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาแต่อำนาจปกครองโดยแท้จริงคงอยู่ที่บิดา บิดาจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและผู้ใช้อำนาจปกครองเท่านั้นที่มีสิทธิเอาเงินของบุตรมาใช้ได้ตามสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1545 มารดาหามีสิทธิไม่
บิดาเปิดบัญชีเงินฝากประจำที่ธนาคารให้บุตรผู้เยาว์ โดยมอบหมายให้มารดาเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ถอนเงินจากธนาคารมาใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของบุตร แล้วบิดามารดาต่างได้นำเงินเข้าฝากในบัญชีดังกล่าวระคนปนกับเงินได้ของบุตร โดยมีเจตนายกเงินที่นำเข้าฝากนั้นให้แก่บุตรดังนี้ เงินในบัญชีเงินฝากจึงเป็นของบุตรทั้งสิ้น หาใช่เป็นเงินที่บิดามารดาฝากไว้เป็นของตนเอง โดยฝากไว้ในนามของบุตรทำนองลงชื่อบุตรเป็นนามแฝงไม่ แม้จะมีข้อตกลงกับธนาคารว่าผู้ใดจะเป็นผู้ลงชื่อถอนเงินจากธนาคารได้นั้น ก็เป็นเรื่องระเบียบและวิธีการตามธรรมดาของธนาคารซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1545 และ 1546 ก็บัญญัติให้อำนาจและวิธีการแก่ผู้ใช้อำนาจปกครองที่จะนำเงินของบุตรไปใช้จ่ายได้ ย่อมจำเป็นที่จะต้องระบุชื่อผู้มีอำนาจหน้าที่ในการถอนเงินของบุตรจากธนาคารไว้ด้วย มิฉะนั้นจะเกิดความยุ่งยากในกรณีที่จะต้องนำเงินมาใช้จ่ายตามอำนาจ ที่บิดามอบหมายให้มารดาเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ถอนเงินจากธนาคารมาใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของบุตรจึงเป็นเรื่องการมอบหมายให้มารดาทำหน้าที่แทนบิดาตามธรรมดานั่นเองมารดาหามีสิทธิถอนเงินของบุตรไปใช้สอยส่วนตัวไม่
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีอุทลุมในนามของตนเองแทนเด็กตามอำนาจและหน้าที่ในกฎหมาย โดยไม่มีการแต่งตั้งทนาย ศาลไม่สั่งให้ค่าทนายความ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2516 แต่ไม่ลงมติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2604/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองและการใช้จ่ายเงินบุตรผู้เยาว์: บิดาใช้อำนาจปกครอง เงินบุตรต้องใช้เพื่อประโยชน์บุตร
บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาแต่อำนาจปกครองโดยแท้จริงคงอยู่ที่บิดา บิดาจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและผู้ใช้อำนาจปกครองเท่านั้นที่มีสิทธิเอาเงินของบุตรมาใช้ได้ตามสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1545 มารดาหามีสิทธิไม่
บิดาเปิดบัญชีเงินฝากประจำที่ธนาคารให้บุตรผู้เยาว์ โดยมอบหมายให้มารดาเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ถอนเงินจากธนาคารมาใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของบุตร แล้วบิดามารดาต่างได้นำเงินเข้าฝากในบัญชีดังกล่าวระคนปนกับเงินได้ของบุตร โดยมีเจตนายกเงินที่นำเข้าฝากนั้นให้แก่บุตรดังนี้ เงินในบัญชีเงินฝากจึงเป็นของบุตรทั้งสิ้น หาใช่เป็นเงินที่บิดามารดาฝากไว้เป็นของตนเอง โดยฝากไว้ในนามของบุตรทำนองลงชื่อบุตรเป็นนามแฝงไม่ แม้จะมีข้อตกลงกับธนาคารว่าผู้ใดจะเป็นผู้ลงชื่อถอนเงินจากธนาคารได้นั้น ก็เป็นเรื่องระเบียบและวิธีการตามธรรมดาของธนาคารซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1545 และ 1546 ก็บัญญัติให้อำนาจและวิธีการแก่ผู้ใช้อำนาจปกครองที่จะนำเงินของบุตรไปใช้จ่ายได้ ย่อมจำเป็นที่จะต้องระบุชื่อผู้มีอำนาจหน้าที่ในการถอนเงินของบุตรจากธนาคารไว้ด้วย มิฉะนั้นจะเกิดความยุ่งยากในกรณีที่จะต้องนำเงินมาใช้จ่ายตามอำนาจ ที่บิดามอบหมายให้มารดาเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ถอนเงินจากธนาคารมาใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของบุตรจึงเป็นเรื่องการมอบหมายให้มารดาทำหน้าที่แทนบิดาตามธรรมดานั่นเองมารดาหามีสิทธิถอนเงินของบุตรไปใช้สอยส่วนตัวไม่
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีอุทลุมในนามของตนเองแทนเด็กตามอำนาจและหน้าที่ในกฎหมาย โดยไม่มีการแต่งตั้งทนายศาลไม่สั่งให้ค่าทนายความ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2516 แต่ไม่ลงมติ)
of 11