พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,437 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078-1079/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนนัดพิจารณาคดีและการพิสูจน์เจตนาขาดนัด ศาลอุทธรณ์ให้พิจารณาใหม่ได้
ขอเลื่อนการสืบพยานโจทก์นัดแรกซึ่งโจทก์มีหน้าที่สืบก่อนโดยวิทยุมาแจ้งให้ศาลทราบก่อนวันนัด 1 วัน ความว่าทนายโจทก์ขอเลื่อนคดีเพราะไม่มีรถมา มาศาลไม่ทัน ตัวโจทก์มาศาลในตอนสายวันนั้นหลังจากศาลสั่งให้โจทก์ขาดนัดพิจารณาแล้ว แถลงว่ารอทนายอยู่ที่บ้าน แม้การขอเลื่อนของทนายทางวิทยุจะไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่ก็แสดงว่าทนายและโจทก์มิได้จงใจขาดนัดพิจารณาหากแต่มีความจำเป็นเกิดขึ้นที่ทนายไม่อาจมาศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินโดยแลกเปลี่ยนกับการออกค่าใช้จ่ายแต่งงาน แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็มีผลผูกพันได้หากมีการชำระหนี้แล้ว
จำเลยตกลงจะโอนขายที่ดินส่วนของตนให้แก่โจทก์ตอบแทนในการที่โจทก์ออกเงินแต่งงานให้จำเลย แม้ข้อตกลงนี้จะไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือ แต่เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้คือออกเงินแต่งงานให้แก่จำเลยไปตามที่ได้ตกลงกันแล้วย่อมถือว่าจำเลยให้คำมั่นจะขายที่ดินส่วนของจำเลยให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์ย่อมฟ้องร้องขอให้บังคับคดีตามที่จำเลยตกลงไว้นั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินโดยมีค่าตอบแทนเป็นเงินแต่งงาน แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็มีผลผูกพันได้ หากมีการชำระค่าตอบแทนแล้ว
จำเลยตกลงจะโอนขายที่ดินส่วนของตนให้แก่โจทก์ตอบแทนในการที่โจทก์ออกเงินแต่งงานให้จำเลย แม้ข้อตกลงนี้จะไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือ แต่เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้คือออกเงินแต่งงานให้แก่จำเลยไปตามที่ได้ตกลงกันแล้วย่อมถือว่าจำเลยให้คำมั่นจะขายที่ดินส่วนของจำเลยให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาโจทก์ย่อมฟ้องร้องขอให้บังคับคดีตามที่จำเลยตกลงไว้นั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057-1058/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินโดยผู้ซื้อทราบว่ามีผู้อื่นครอบครองก่อน การฟ้องขับไล่ทำไม่ได้
ผู้ที่ซื้อที่ดินมีโฉนดมาโดยเสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนสิทธิแล้วมีการรังวัด จึงปรากฏว่าที่ดินส่วนหนึ่งมีคนครอบครองมาเกิน 10 ปีได้กรรมสิทธิ์ทั้งก่อนที่จะซื้อที่ดินแปลงนั้นตนก็รู้ว่าเขาครอบครองที่ดินส่วนนั้นอยู่ ดังนี้ ถือว่า ผู้ซื้อซื้อไว้โดยไม่สุจริต จึงหามีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้ที่ครอบครองที่ดินส่วนนั้นจนได้กรรมสิทธิ์แล้วไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057-1058/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินโดยผู้ขายรู้ว่ามีผู้อื่นครอบครองก่อนแล้ว ทำให้ผู้ซื้อไม่สุจริต และไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่
ผู้ที่ซื้อที่ดินมีโฉนดมาโดยเสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนสิทธิแล้วมีการรังวัด จึงปรากฎว่าที่ดินส่วนหนึ่งมีคนครอบครองมาเกิน 10 ปีได้กรรมสิทธิ์ทั้งก่อนที่จะซื้อที่ดินแปลงนั้นตนก็รู้ว่าเขาครอบครองที่ดินส่วนนั้นอยู่ ดังนี้ ถือว่า ผู้ซื้อซื้อไว้โดยไม่สุจริต จึงหามีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้ที่ครอบครองที่ดินส่วนนั้นจนได้กรรมสิทธิแล้วไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายต้องมีองค์ประกอบครบถ้วน การมีหนี้สินเพียงอย่างเดียวไม่พอ
หลักกฎหมายในการที่จะฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายได้ จะต้องประกอบพร้อมทั้ง 3 ประการตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย ม.9 มิใช่เพียงข้อใดข้อหนึ่งเพียงข้อเดียวเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามข้อสันนิษฐานในม.8 โดยโจทก์ได้ทวงถามหลายครั้ง จำเลยก็ไม่ชำระหนี้แต่จำเลยนำสืบได้ว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้ใครและจำเลยมีทรัพย์สมบัติมาก เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว จะฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามข้อสันนิษฐานในม.8 โดยโจทก์ได้ทวงถามหลายครั้ง จำเลยก็ไม่ชำระหนี้แต่จำเลยนำสืบได้ว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้ใครและจำเลยมีทรัพย์สมบัติมาก เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว จะฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายต้องมีองค์ประกอบครบถ้วนตามกฎหมาย การมีหนี้สินเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ
หลักกฎหมายในการที่จะฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายได้ จะต้องประกอบพร้อมทั้ง 3 ประการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา9 มิใช่เพียงข้อใดข้อหนึ่งเพียงข้อเดียวเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามข้อสันนิษฐานใน มาตรา 8 โดยโจทก์ได้ทวงถามหลายครั้ง จำเลยก็ไม่ชำระหนี้แต่จำเลยนำสืบได้ว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้ใครและจำเลยมีทรัพย์สมบัติมาก เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว จะฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามข้อสันนิษฐานใน มาตรา 8 โดยโจทก์ได้ทวงถามหลายครั้ง จำเลยก็ไม่ชำระหนี้แต่จำเลยนำสืบได้ว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้ใครและจำเลยมีทรัพย์สมบัติมาก เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว จะฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน พิจารณาจากความโกรธเคืองและการเตรียมการ
ใช้ปืนยิงคนโดยมีความโกรธเคืองอันเนื่องจากสาเหตุไม่พอใจที่เกิดขึ้นก่อนเพียง 2 ชั่วโมง ถือว่าเป็นการกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน พิจารณาจากระยะเวลาห่างจากเหตุการณ์กระตุ้น
ใช้ปืนยิงคนโดยมีความโกรธเคืองอันเนื่องจากสาเหตุไม่พอใจที่เกิดขึ้นก่อนเพียง 2 ชั่งโมง ถือว่าเป็นการกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจสอบภาษีและอำนาจสั่งให้ชำระเงินเพิ่ม กรณีผู้เสียภาษีชำระภาษีน้อยเกินจริง
โจทก์ชำระภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ไว้ที่อำเภอเป็นจำนวนน้อยผิดสังเกต เจ้าหน้าที่สรรพากรตรวจพบเข้ามีความสงสัย จึงได้สั่งให้หมายเรียกโจทก์มาชี้แจงและนำบัญชีมาให้ตรวจสอบ โจทก์รู้ตัว จึงทำบัญชีขึ้นใหม่และนำภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ที่ยังชำระขาดอยู่ไปชำระต่ออำเภอ ซึ่งถ้าเจ้าพนักงานไม่ออกหมายเรียกดังกล่าว โจทก์ก็คงไม่นำเงินภาษีที่ขาดอยู่ไปชำระให้ เช่นนี้เรียกได้ว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบพบว่า โจทก์ยังชำระเงินภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ขาดอยู่ตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา191แล้ว ทางสรรพากรย่อมมีอำนาจสั่งให้โจทก์เสียเงินเพิ่มอีก 5 เท่าของภาษีที่ชำระขาดไว้ได้