คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มนูภันย์วิมลสาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,437 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1702/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายสำมะโนครัวกับการคุ้มครองสัญญาเช่า: การนำสืบข้อเท็จจริงเพื่อพิสูจน์การอยู่อาศัยจริง
แม้จะปรากฎตามทะเบียนสำมะโนครัวว่าจำเลยได้ย้ายจากห้องพิพาทไปตั้งร้านจำหน่ายเครื่องเรือนอยู่ที่อีกจังหวัดหนึ่งแล้วก็ตาม จำเลยก็ยังมีสิทธิที่จะนำสืบว่าความจริงมิได้เป็นเช่นว่านั้นได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง ม.94 เพราะบทกฎหมายมาตรานี้มิได้บัญญัติห้ามในกรณีเช่นนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาท: อายุความสละที่ดิน 9/10 ปีใช้บังคับก่อน พ.ร.บ.ออกโฉนดฯ และข้อจำกัดการนำข้อเท็จจริงจากคดีอาญามาใช้ในคดีแพ่ง
ที่พิพาทแม้โจทก์จะได้เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาว่าจำเลยบุกรุกมาแล้ว และในคดีอาญานั้นแม้ศาลจะได้พิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นผิดทางอาญาโดยมิได้กล่าวถึงสิทธิในทางแพ่งแต่อย่างใด ต่อมาโจทก์จึงฟ้องคดีแพ่งขอให้ศาลบังคับจำเลยและบริวารออกจากที่พิพาท ดังนี้การที่จะวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือจำเลยต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 47
เมื่อที่พิพาทเป็นที่บ้านที่สวนมาก่อนประกาศใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 และ พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2479 แล้ว ดังนี้แม้ที่พิพาทจะเป็นที่มือเปล่าก็ตาม ก็ต้องนำกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จบทที่42 มาใช้บังคับคดี โดยถืออายุความสละที่ดิน 9 ปี10 ปี ไม่ใช่อายุความ 1 ปี ตามนัยฎีกาที่ 759/2494 (ฎีกาที่ 759/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: การพิจารณาอายุความตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จและกฎหมายปัจจุบันเมื่อที่ดินมีประวัติครอบครองก่อนมีการออกกฎหมาย
ที่พิพาทแม้โจทก์จะได้เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาว่าจำเลยบุกรุกมาแล้ว และในดคีอาญานั้นแม้ศาลจะได้พิจารณายกฟ้องโจทก์เพราะเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นผิดทางอาญาโดยมิได้กล่าวถึงสิทธิในทางแพ่งแต่อย่างใด ต่อมาโจทก์จึงฟ้องคดีแพ่งขอให้ศาลบังคับจำเลยและบริวารออกจากที่พิพาท ดังนี้การที่จะวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือจำเลยต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 47
เมื่อที่พิพาทเป็นที่บ้านที่สวนมาก่อนประกาศใช้ ป.พ.พ.บรรพ 4 และ พ.ร.บ. ออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2479 แล้ว ดังนี้แม้ที่พิพาทจะเป็นที่มือเปล่าก็ตาม ก็ต้องนำกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จบทที่ 42 มาใช้บังคับคดีโดยถืออายุความสละที่ดิน 9 ปี 10 ปีไม่ใช่อายุความ 1 ปี ตามนัยฎีกาที่ 759/2494.
(ฎีกาที่ 759/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำเกี่ยวกับการแบ่งมรดก ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นสำคัญ โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีใหม่ได้
เกี่ยวกับที่ดินแปลงเดียวกันทุกคดี
คดีแรกถึงที่สุดเพียงศาลชั้นต้น ซึ่งพิพากษาให้แบ่งที่ดินเฉพาะส่วนที่โจทก์จะได้รับตามพินัยกรรม ข้อ 1. เพราะโจทก์ขอรับเพียงส่วนตามพินัยกรรมเท่านั้น
คดีที่ 2. ถึงที่สุดชั้นศาลอุทธรณ์ โดยให้ยกคำชี้ขาดของศาลชั้นต้นที่ชี้ขาดไว้ว่าโจทก์จำเลยปกครองที่พิพาทร่วมกัน
โจทก์จึงมาฟ้องขอแบ่งที่ดินซึ่งเป็นกองกลางตามพินัยกรรม ข้อ 3. เช่นนี้ การฟ้องคดีใหม่นี้ ไม่เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีแรกและคดีที่ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแบ่งที่ดินซ้ำ: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการฟ้องใหม่ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ หากศาลยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นตามที่ฟ้องในคดีก่อน
เกี่ยวกับที่ดินแปลงเดียวกันทุกคดี
คดีแรกถึงที่สุดเพียงศาลชั้นต้น ซึ่งพิพากษาให้แบ่งที่ดินเฉพาะส่วนที่โจทก์จะได้รับตามพินัยกรรมข้อ 1. เพราะโจทก์ขอรับเพียงส่วนตามพินัยกรรมเท่านั้น
คดีที่ 2 ถึงที่สุดชั้นศาลอุทธรณ์ โดยให้ยกคำชี้ขาดของศาลชั้นต้นที่ชี้ขาดไว้ว่า โจทก์จำเลยปกครองที่พิพาทร่วมกัน
โจทก์จึงมาฟ้องขอแบ่งที่ดินซึ่งเป็นกองกลางตามพินัยกรรมข้อ 3. เช่นนี้ การฟ้องคดีใหม่นี้ ไม่เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีแรกและคดีที่ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1537/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว, การฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกหลังสิทธิเดิมระงับ, ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องต้องยกขึ้นในชั้นต้น
สามีเช่าเคหะ เมื่อสามีตาย ภริยาซึ่งอยู่ร่วมกันเช่าเป็นเคหะต่อไปดังนี้ เมือบุตรเลี้ยงซึ่งเป็นผู้อาศัยแสดงตนเป็นปฏิปักษ์ต่อการครอบครองเคหะ ภริยาหรือมารดาเลี้ยงนั้นฟ้องขับไล่ได้
ข้ออ้างที่ว่าโจทก์มิได้บอกกล่าวเลิกสิทธิอาศัยก่อนฟ้องจึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยมิได้อ้างไว้ในศาลชั้นต้น จึงมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าตายก็ย่อมระงับไปไม่เป็นมรดกตกทอดไปยังทายาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1537/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว การครอบครองปรปักษ์ และอำนาจฟ้องคดีขับไล่
สามีเช่าเคหะ เมื่อสามีตาย ภริยาซึ่งอยู่ร่วมกันเช่าเป็นเคหะต่อไปดังนี้ เมื่อบุตรเลี้ยงซึ่งเป็นผู้อาศัยแสดงตนเป็นปฏิปักษ์ต่อการครอบครองเคหะภริยาหรือมารดาเลี้ยงนั้นฟ้องขับไล่ได้
ข้ออ้างที่ว่าโจทก์มิได้บอกกล่าวเลิกสิทธิอาศัยก่อนฟ้องจึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยมิได้อ้างไว้ในศาลชั้นต้น จึงมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าตายก็ย่อมระงับไป ไม่เป็นมรดกตกทอดไปยังทายาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1515/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำเลยจากประวัติโทษเดิม: ศาลแก้ไขโทษตามกฎหมายใหม่และพระราชบัญญัติล้างมลทิน
จำเลยบางคนฎีกา ปรากฏว่าจำเลยที่ไม่ฎีกาไม่ควรถูกเพิ่มโทษ เพราะกฎหมายใหม่เป็นคุณแก่จำเลย และมีพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ แล้ว ศาลฎีกาก็แก้ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางเรือต่อความเสียหายของสินค้า หากพิสูจน์เหตุสุดวิสัยไม่ได้
การที่จำเลยรับจ้างขนสิ่งของทางเรือไปส่งโจทก์ แล้วเรือที่บรรทุกของ ๆ โจทก์ล่มลง ข้าวของ ๆ โจทก์ เสียหายเช่นนี้ จำเลยจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ เว้นแต่จำเลยจะพิศูจน์ได้ว่าการเสียหายนี้ได้เกิดขึ้นเพราะเหตุสุดวิสัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางเรือ กรณีสินค้าเสียหายจากเรือล่ม ผู้ขนส่งต้องพิสูจน์เหตุสุดวิสัยเพื่อไม่ต้องรับผิด
การที่จำเลยรับจ้างขนสิ่งของทางเรือไปส่งโจทก์ แล้วเรือที่บรรทุกของของโจทก์ล่มลง ข้าวของของโจทก์เสียหายเช่นนี้ จำเลยจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ เว้นแต่จำเลยจะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนี้ได้เกิดขึ้นเพราะเหตุสุดวิสัย
of 344