คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มนูภันย์วิมลสาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,437 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในสัญญาซื้อขายเมื่ออ้างตัวเป็นตัวการ: จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบหนี้ด้วยตนเอง
เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 2 ไปอ้างต่อโจทก์ว่าเป็นตัวการของจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดชอบในการที่จำเลยที่ 2 ซื้อเครื่องก่อสร้างจากโจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าของรถเมื่อบุตรขับรถชนผู้อื่น และการพิพากษาค่าเสียหายจากความเสียหายทางร่างกายและสมอง
เจ้าของรถยนต์ป่วย บุตรของเจ้าของรถอาสาขับรถไปส่งน้อง ไปโรงเรียนแทนโดยความยินยอมของเจ้าของรถ ดังนี้ ถือ ว่าบุตรเจ้าของรถขับรถไปเพื่อกิจธุระของเจ้าของรถ เมื่อบุตรเจ้าของรถขับรถนั้นไปชนผู้อื่นโดยประมาท ทำให้เขาได้รับบาดเจ็บดังนี้ เจ้าของรถต้องรับผิดร่วมกับบุตรของตนชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้บาดเจ็บ
ฟ้องของโจทก์กล่าวว่า การที่โจทก์ถูกรถของจำเลยชนนี้ ทำให้ร่างกายโจทก์ทุพลภาพสมองเสื่อม ความทรงจำและการศึกษาของโจทก์เสื่อมมาก แพทย์ลงความเห็นว่าประสาทสมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างแรง เป็นเหตุให้โจทก์หย่อนสมรรถภาพในการศึกษาและในการประกอบอาชีพในเวลาต่อไป เป็นการทำลายอาชีพและความก้าวหน้าของโจทก์ตลอดชีวิต ดังนี้เป็นการบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 แล้ว
ศาลกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ 20,000 บาทโดยกำหนดให้ตามพฤติการณ์ และความร้ายแรงแห่งการละเมิด เพราะโจทก์ถูกรถจำเลยชนขาหัก ต้องรับการผ่าตัดเอาเหล็กยึดกระดูกใส่ไว้ในขา หลังจากนั้นต้องใช้ไม้ยันและมีคนพยุงอยู่ 3 - 4 เดือน โจทก์ต้องเจ็บป่วยรับทุกข์ทรมานอยู่ถึง 1 ปี นอกจากนั้นโจทก์ยัง ได้รับอันตรายเกี่ยวกับสมองอีก เพราะทำให้ปวดศรีษะอยู่เสมอ ความจำก็เสื่อมลง การศึกษาก็เลวลง โจทก์เคยหารายได้พิเศษจากการสอนหนังสือเดือนละ 500 บาท ก็ทำไม่ได้ นับว่าเป็นการสมควรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าของรถกรณีบุตรขับรถชนผู้อื่น และการกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
เจ้าของรถยนต์ป่วย บุตรของเจ้าของรถอาสาขับรถไปส่งน้องไปโรงเรียนแทนโดยความยินยอมของเจ้าของรถดังนี้ ถือว่าบุตรเจ้าของรถขับรถไปเพื่อกิจธุระของเจ้าของรถเมื่อบุตรเจ้าของรถขับรถนั้นไปชนผู้อื่นโดยประมาท ทำให้เขาได้รับบาดเจ็บดังนี้ เจ้าของรถต้องรับผิดร่วมกับบุตรของตนชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้บาดเจ็บ
ฟ้องของโจทก์กล่าวว่า การที่โจทก์ถูกรถของจำเลยชนนี้ทำให้ร่างกายโจทก์ทุพพลภาพ สมองเสื่อมความทรงจำและการศึกษาของโจทก์เสื่อมมากแพทย์ลงความเห็นว่าประสาทสมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างแรงเป็นเหตุให้โจทก์หย่อนสมรรถภาพในการศึกษาและในการประกอบอาชีพในเวลาต่อไปเป็นการทำลายอาชีพและความก้าวหน้าของโจทก์ตลอดชีวิตดังนี้ เป็นการบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา172 แล้ว
ศาลกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ 20,000 บาท โดยกำหนดให้ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการละเมิดเพราะโจทก์ถูกรถจำเลยชนขาหัก ต้องรับการผ่าตัดเอาเหล็กยึดกระดูกใส่ไว้ในขาหลังจากนั้นต้องใช้ไม้ยันและมีคนพยุงอยู่ 3-4 เดือน โจทก์ต้องเจ็บป่วยรับทุกข์ทรมานอยู่ถึง 1 ปีนอกจากนั้นโจทก์ยังได้รับอันตรายเกี่ยวกับสมองอีก เพราะทำให้ปวดศีรษะอยู่เสมอ ความจำก็เสื่อมลงการศึกษาก็เลวลงโจทก์เคยหารายได้พิเศษจากการสอนหนังสือเดือนละ 500 บาท ก็ทำไม่ได้นับว่าเป็นการสมควรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ร้องขัดทรัพย์ต้องนำสืบก่อนหากอ้างทรัพย์เป็นของตนเอง แม้โจทก์อ้างเป็นของจำเลย
คดีร้องขัดทรัพย์ เมื่อผู้ร้องอ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดนั้นเป็นของผู้ร้องไม่ใช่ของจำเลยดังนี้ผู้ร้องมีหน้าที่นำสืบก่อน(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ในคดีขัดทรัพย์: ผู้อ้างทรัพย์เป็นของตนต้องนำสืบก่อน
คดีร้องขัดทรัพย์ เมื่อผู้ร้องอ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดนั้นเป็นของผู้ร้องไม่ใช่ของจำเลย ดังนี้ผู้ร้องมีหน้าที่นำสืบก่อน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8 / 2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 608/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งกรรมสิทธิ์บ้านตามพินัยกรรม: ประเด็นอายุความและการต่อสู้เรื่องการซื้อขาย
โจทก์ฟ้องเรียกบ้านพิพาทโดยอ้างกรรมสิทธิ์ตามพินัยกรรมของบิดาโจทก์จำเลยต่อสู้ว่าได้ซื้อบ้านพิพาทไว้จากบิดาโจทก์ มิได้ต่อสู้อ้างเหตุว่าจำเลยเป็นภรรยาทายาทผู้รับมรดกของบิดาโจทก์อันเป็นประเด็นเกี่ยวกับอายุความฟ้องเกิน 1 ปีเช่นนี้ คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับอายุความมรดกเพราะคนภายนอกมายกอายุความมรดกต่อสู้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 608/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีมรดกและการยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความโดยจำเลยที่ไม่ใช่ทายาท
โจทก์ฟ้องเรียกบ้านพิพาทโดยอ้างกรรมสิทธิ์ตามพินัยกรรมของบิดาโจทก์ จำเลยต่อสู้ว่าได้ซื้อบ้านพิพาทไว้จากบิดาโจทก์ มิได้ต่อสู้อ้างเหตุว่าจำเลยเป็นภรรยาทายาทผู้รับมรดกของบิดาโจทก์อันเป็นประเด็นเกี่ยวกับอายุความฟ้องเกิน 1 ปี เช่นนี้ คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับอายุความมรดก เพราะคนภายนอกมายกอายุความมรดกต่อสู้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองเกินจำนวนหนี้จริง การเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาจำนองเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่
จำเลยจะขอนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความจำนวนหนี้ในเอกสารสัญญาจำนองหาได้ไม่ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนหนี้ในสัญญาจำนองเกินข้อตกลงเดิม เป็นการขัดต่อหลักการนำสืบพยาน
จำเลยจะขอนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความจำนวนหนี้ในเอกสารสัญญาจำนองหาได้ไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษยักยอกทรัพย์: เกณฑ์อัตราโทษต่ำสุด 5 ปีตาม ป.วิ.อ. และการใช้บทบัญญัติที่กฎหมายอาญา
ป.วิ.อ. มาตรา 176 เดิมบัญญัติถึงกรณีที่จะต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยให้ถือเกณฑ์อัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป แต่ที่แก้ไขใหม่ได้เปลี่ยนหลักเดิมเป็นถือเกณฑ์อัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น แม้ตามกฎหมายลักษณะอาญา ม. 131 ที่แก้ไข มีโทษขั้นสูงจำคุกตลอดชีวิตหรือ 20 ปี แต่ก็มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เมื่อจำเลยรับสารภาพก็ไม่ต้องสืบพยานประกอบ
โจทก์ฟ้องและอ้างประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าหมายความถึงประมวลกฎหมายอาญาซึ่งประกาศใช้โดย พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมาย อาญา พ.ศ. 2499 นั่นเอง
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 147 เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดกว่ากฎหมายลักษณะอาญา ม. 131 ที่แก้ไข (เฉพาะข้อนี้โดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2502 ควรเทียบดูกับฎีกาที่ 1292/2500 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่และฎีกาที่ 1814/2500)
of 344