คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 47

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 153 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8875/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับคดีแพ่ง: ศาลพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนได้
ผู้ร้องเป็นผู้เสียหายในคดีส่วนอาญาได้ยื่นคำร้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาให้เลื่อนนัดสืบพยานโจทก์จำเลยไป ส่วนการสืบพยานส่วนแพ่งให้รอไว้หลังจากสืบพยานโจทก์จำเลยในคดีอาญาเสร็จแล้วนั้น หมายถึงว่า เมื่อสืบพยานโจทก์จำเลยในคดีส่วนอาญาเสร็จแล้ว หากคู่ความฝ่ายใดประสงค์จะสืบพยานเพิ่มเติมตามประเด็นแห่งคดีในส่วนแพ่งซึ่งยังไม่ได้นำสืบตามประเด็นในคดีส่วนอาญา ศาลจะพิจารณาสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้คู่ความนำสืบตามขอหรือไม่ โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบไปแล้วในคดีส่วนอาญาว่าเพียงพอจะวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นในคดีส่วนแพ่งหรือไม่ ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 47 บัญญัติว่า คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง... ป.พ.พ. มาตรา 438 บัญญัติว่า ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแต่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด... ศาลจึงมีอำนาจกำหนดจำนวนค่าสินไหมทดแทนให้ได้โดยวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญาโดยไม่จำต้องสืบพยานเพิ่มเติมอีก ส่วนที่สั่งว่าให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การในส่วนแพ่งภายใน 14 วัน มิฉะนั้นถือว่าไม่ติดใจนั้น หมายถึงจำเลยไม่ติดใจให้การแก้คดี ไม่ใช่ผู้ร้องไม่ติดใจเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน และเมื่อสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จแล้วศาลสอบผู้ร้องในส่วนของการสืบพยานเพิ่มเติม ผู้ร้องแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ศาลมีคำสั่งว่าคดีเสร็จการพิจารณา หมายความว่า ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานในสำนวนที่ได้สืบมาแล้วเพียงพอที่จะวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้แล้วจึงไม่ได้มีคำสั่งให้ผู้ร้องนำพยานมาสืบเพิ่มเติม จึงไม่มีกรณีที่จะถือว่าผู้ร้องทิ้งคำร้อง และคำพิพากษาในส่วนค่าสินไหมทดแทนไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9209/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: คำพิพากษาคดีอาญาเป็นข้อจำกัดในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในคดีแพ่ง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันบุกรุกและขุดต้นยูคาลิปตัสของโจทก์ ขอให้ลงโทษและเรียกค่าเสียหาย 81,000 บาท ซึ่งความรับผิดทางแพ่งเกิดจากการกระทำผิดอาญาอันมีมูลคดีเดียวกัน จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อคำพิพากษาคดีส่วนอาญายุติแล้วว่า พยานหลักฐานตามทางนำสืบของโจทก์ยังไม่เพียงพอให้รับฟังลงโทษจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีแล้วว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำความผิดฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ ดังนี้จะฟังข้อเท็จจริงใหม่เป็นอย่างอื่นหาได้ไม่
แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 47 จะบัญญัติว่าคำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดหรือไม่ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไปกลับข้อเท็จจริงที่จำต้องรับฟังตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ศาลจึงไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงในส่วนแพ่งขัดกับข้อเท็จจริงที่ปรากฎในคำพิพากษาส่วนอาญาได้ จึงต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 มิได้ทำละเมิดอันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9209/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางแพ่งต้องสอดคล้องข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีอาญา ศาลไม่สามารถฟังข้อเท็จจริงใหม่ขัดแย้งกับคำพิพากษาอาญาได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันบุกรุกและร่วมกันขุดต้นยูคาลิปตัสที่โจทก์ปลูกไว้ออกจากที่ดินของโจทก์ทั้งแปลงและเรียกค่าเสียหายจำนวน 81,000 บาท ซึ่งความรับผิดทางแพ่งเกิดจากการกระทำผิดอาญาอันมีมูลคดีเดียวกัน จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อคำพิพากษาส่วนอาญายุติแล้วว่าพยานหลักฐานตามทางนำสืบของโจทก์ยังไม่เพียงพอให้รับฟังลงโทษจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีแล้วว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำความผิดฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ดังนี้ จะฟังข้อเท็จจริงใหม่เป็นอย่างอื่นหาได้ไม่ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้าง ฮ. นำรถแบ็คโฮไปขุดถอนต้นยูคาลิปตัสในที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์แล้ว ฮ. ให้คนงานนำรถแบ็คโฮไปทำงานตามที่ตนรับจ้างโดยที่จำเลยที่ 1 ไม่ชี้แนวเขตที่ดินของตนถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 428 จึงไม่ชอบนอกจากนี้ข้อเท็จจริงดังกล่าวโจทก์ก็ไม่ได้บรรยายมาในฟ้องจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่งอีกด้วย แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 47 จะบัญญัติว่าคำพิพากษาส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดหรือไม่ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไปกลับข้อเท็จจริงที่จำต้องรับฟังตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ศาลจึงไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงในส่วนแพ่งขัดกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญาได้จึงต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 มิได้ทำละเมิดอันจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8414/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของข้าราชการในการอนุมัติเงินกู้โดยมิชอบ และการสนับสนุนการทำสัญญาปลอมแปลงเอกสารเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้อื่น
ในการพิพากษาคดี ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องของโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับจำเลยที่ 6 และที่ 7 ไม่เป็นฟ้องซ้อนหรือฟ้องซ้ำ และวินิจฉัยประเด็นพิพาทประการต่อไปว่า คดีของโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับจำเลยทั้งเจ็ดขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง แล้ว จึงพิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นพิพากษาข้ออื่นๆ อีก โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ว่า คดีของโจทก์ทั้งสองไม่ขาดอายุความ และขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันรับผิดฐานละเมิดแก่โจทก์ทั้งสองตามฟ้อง ดังนี้เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความ แม้ว่าคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองจะมิได้อุทธรณ์คัดค้านประเด็นพิพาทข้ออื่นๆ ไว้ เนื่องจากศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยให้ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 เห็นว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งเจ็ดได้สืบพยานมาจนเสร็จสิ้นเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นๆ ที่ยังมิได้วินิจฉัยให้เสร็จสิ้นไปเสียทีเดียวได้ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทอื่นๆ ที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยให้คดีเสร็จไปเสียทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยตามลำดับชั้นศาลก็ได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้แทนของกระทรวงมหาดไทยโจทก์ที่ 1 มีคำสั่งลงโทษทางวินัยแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2533 แต่คำสั่งดังกล่าวสรุปการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ว่า ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นการทุจริต หากแต่เป็นเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ราชการบกพร่องเท่านั้น โจทก์ที่ 2 จึงได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาหาตัวผู้รับผิดทางแพ่ง แต่ผลการสอบสวนก็ยังไม่ปรากฏชัดแจ้ง ต่อมาวันที่ 12 ตุลาคม 2538 อธิบดีกรมการปกครองมีบันทึกเสนอปลัดกระทรวงมหาดไทยสรุปความได้ว่า กองการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครองมีความเห็นว่า ผลการสอบสวนมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะดำเนินคดีอาญาและฟ้องคดีแพ่งเรื่องละเมิดแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 และที่ 3 และผู้เกี่ยวข้องได้และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยลงนามรับทราบวันที่ 14 ตุลาคม 2538 ส่วนโจทก์ที่ 2 ได้รับหนังสือแจ้งเรื่องดังกล่าวจากปลัดกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2538 จึงต้องถือว่า โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เพิ่งรู้ตังผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันดังกล่าว ซึ่งเมื่อนับถึงวันฟ้องคือวันที่ 11 ตุลาคม 2539 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีของโจทก์ทั้งสองจึงยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
การสอบสวนทางวินัยเพราะเหตุบกพร่องต่อหน้าที่ราชการเป็นคนละเรื่องกับการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่ง เพราะหลักเกณฑ์ความรับผิดทางวินัยกับความรับผิดทางแพ่งเป็นคนละกรณีกัน การบกพร่องต่อหน้าที่ราชการซึ่งต้องรับผิดทางวินัยอาจไม่เข้าเกณฑ์ความรับผิดทางแพ่งฐานละเมิดก็ได้ เมื่อผลของคำสั่งลงโทษทางวินัยยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชอบทางแพ่งหรือไม่ โจทก์ที่ 2 ชอบที่จะตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่งอีกได้ มิใช่เป็นการกระทำโดยไม่ชอบหรือมีเจตนากระทำเพื่อขยายอายุความฟ้องคดีละเมิด
บทบัญญัติของกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางอาญาและในทางแพ่ง เป็นคนละส่วนแยกออกต่างหากจากกันดังนั้น แม้พนักงานอัยการจะมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 แล้วโจทก์ทั้งสองก็ฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดทางแพ่งต่อโจทก์ทั้งสองได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องของโจทก์ทั้งสองโดยเห็นว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความและได้วินิจฉัยด้วยว่าฟ้องของโจทก์ทั้งสองไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว จำเลยที่ 1 และที่ 5 ต่างมิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ตั้งประเด็นเรื่องฟ้องซ้ำไว้ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 5แพ้คดีในชั้นอุทธรณ์แล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 5 หวนกลับมาหยิบยกประเด็นเรื่องฟ้องซ้ำขึ้นกล่าวอ้างอีก จึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 บรรยายไว้ชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นข้าราชการด้วยกัน และจำเลยที่ 6 กับที่ 7 ซึ่งเป็นเอกชน จงใจปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต หรือปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหาย และขอให้บังคับจำเลยทุกคนชำระเงินค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง โดยระบุรายละเอียดด้วยว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 แต่ละคนมีตำแหน่งหน้าที่ราชการอะไร และจำเลยแต่ละคนมีส่วนปฏิบัติหน้าที่ในโครงการแทรกแซงตลาดข้าวเปลือกนาปี ในฤดูการผลิตปี 2528/2529 และ 2529/2530 ด้วย ความประมาทเลินเล่อไม่ตรวจสอบหลักทรัพย์ที่จำเลยที่ 6 และที่ 7 นำมาเป็นหลักประกันให้ดี ไม่เรียกหลักทรัพย์ประกันเงินกู้ให้เพียงพอและไม่รักษาผลประโยชน์ของทางราชการ เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงพอที่จำเลยที่ 1 จะเข้าใจข้อหา และสามารถให้การต่อสู้คดีของโจทก์ทั้งสองได้ จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
สัญญากู้เป็นเพียงเครื่องมือที่จำเลยทั้งเจ็ดใช้ในการฉ้อฉลกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองก็มิได้ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้เงิน หากแต่เป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันรับผิดฐานกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงไม่ชอบที่จะนำข้อตกลงในสัญญากู้มาอ้างว่าโจทก์ทั้งสองอาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี โดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งตอนท้ายได้ คงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันรับผิดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามมาตรา 224 วรรคหนึ่งตอนต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2615/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้ไม่มีเจตนาฉ้อโกง แต่ศาลยังต้องพิจารณาเรื่องเงินที่ได้รับจากผู้เช่า และให้ฟ้องคดีแพ่งใหม่เพื่อความชัดเจน
สัญญาเช่าอาคารพาณิชย์ที่ตกลงว่าหากผู้เช่าจะให้เช่าช่วงต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ให้เช่า ไม่ใช่สาระสำคัญที่คู่สัญญาจำต้องปฏิบัติ การที่บริษัท จ. ผู้เช่าเข้าใจโดยสุจริตว่าสามารถนำอาคารพาณิชย์ที่เช่าไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงได้ โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ให้เช่า ประกอบกับการเช่าทรัพย์สินผู้ให้เช่าไม่จำต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่า การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท จ. และเป็นผู้ค้ำประกันสัญญาเช่านำอาคารพาณิชย์ไปให้โจทก์ร่วมเช่าและได้เงินต่างๆ ไปจากโจทก์ร่วม จึงเป็นการกระทำโดยขาดเจตนาทุจริตที่จะฉ้อโกงโจทก์ร่วม จึงไม่มีความผิดฐานฉ้อโกง
ศาลพิพากษายกฟ้องคดีส่วนอาญาเพราะว่าจำเลยไม่ได้ฉ้อโกงโจทก์ร่วมเนื่องจากขาดเจตนาทุจริต แต่ศาลต้องวินิจฉัยคดีส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่าจำเลยได้รับเงินค่าเช่าบางส่วน เงินค่าประกันอาคารและอุปกรณ์ เงินค่าเซ้ง และเงินมัดจำค่าน้ำค่าไฟไปจากโจทก์ร่วม แต่ทางนำสืบของโจทก์ร่วมและจำเลยไม่ชัดเจนว่าโจทก์ร่วมได้ชำระค่าเช่านอกจากค่าเช่าล่วงหน้าเท่าใด อาคารและอุปกรณ์เสียหายเพียงใด เงินค่าน้ำและค่าไฟฟ้ามีการค้างชำระหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด และโจทก์ร่วมอยู่ในอาคารพาณิชย์ที่เช่านานเท่าใด ศาลไม่อาจที่จะวินิจฉัยจำนวนเงินที่จะต้องรับผิดในส่วนคดีแพ่งได้ว่ามีเพียงใด หากจะเรียกพยานหลักฐานมาสืบเพิ่มเติมตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง ก็จะทำให้คดีอาญาเนิ่นช้าศาลฎีกาเห็นสมควรให้โจทก์ร่วมไปฟ้องคดีแพ่งใหม่ ตามมาตรา 41

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2615/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในคดีฉ้อโกงและการวินิจฉัยคดีแพ่งควบคู่คดีอาญา ศาลให้ฟ้องคดีแพ่งใหม่
ป.วิ.อ. มาตรา 47 บัญญัติว่า คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่า จำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดหรือไม่ คดีนี้แม้ศาลจะยกฟ้องคดีส่วนอาญาว่าจำเลยไม่ได้ฉ้อโกงโจทก์ร่วม เนื่องจากขาดเจตนาทุจริต แต่ศาลต้องวินิจฉัยคดีส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมตามกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อข้อเท็จจริงไม่ชัดเจนว่าโจทก์ร่วมได้ชำระค่าเช่านอกจากค่าเช่าล่วงหน้าเท่าใด อาคารและอุปกรณ์เสียหายเพียงใด เงินค่าน้ำและค่าไฟฟ้ามีการค้างชำระหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด และโจทก์ร่วมอยู่ในอาคารพาณิชย์ที่เช่านานเท่าใด ศาลไม่อาจที่จะวินิจฉัยจำนวนเงินที่จะต้องรับผิดในส่วนคดีแพ่งว่ามีเพียงใด หากจะเรียกพยานหลักฐานมาสืบเพิ่มเติมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 42 วรรคหนึ่ง ก็จะทำให้คดีอาญาเนิ่นช้า ศาลฎีกาเห็นสมควรให้โจทก์ร่วมไปฟ้องคดีแพ่งใหม่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 41

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5391/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยความประมาทในคดีแพ่งหลังมีคำพิพากษาคดีอาญา ศาลแพ่งมีอำนาจพิจารณาความรับผิดชอบเพิ่มเติมได้
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ปรากฏว่า ข้อเท็จจริงที่ฟังยุติในคดีส่วนอาญามีแต่เพียงว่าทั้งโจทก์และจำเลยต่างกระทำโดยประมาท แต่ผู้ใดประมาทมากกว่ากันไม่ปรากฏ ดังนั้น ในการดำเนินคดีแพ่งทั้งโจทก์และจำเลยย่อมสามารถนำสืบให้เห็นได้ว่าใครประมาทมากกว่ากัน และควรจะได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากอีกฝ่ายหนึ่ง หรือไม่ เพียงใด เพราะคำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดหรือไม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 วรรคหนึ่ง และบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งในกรณีต่างฝ่ายต่างประมาททำให้เกิดเป็นมูลหนี้ละเมิดขึ้นนี้ ป.พ.พ. มาตรา 442 ให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 223 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งมาตรา 223 วรรคหนึ่ง มีข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร และมาตรา 438 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลวินิจฉัยเรื่องค่าสินไหมทดแทนตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ดังนั้น การที่จะสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้จำเป็นที่โจทก์ต้องพิสูจน์ว่าฝ่ายจำเลยประมาทมากกว่าและโจทก์เสียหายจากการประมาทมากกว่านั้นอย่างไร เพียงใด ศาลชั้นต้นจึงเป็นศาลในคดีส่วนแพ่งมีอำนาจวินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยใครเป็นฝ่ายประมาทมากกว่ากัน ไม่ขัดต่อคำพิพากษาในคดีส่วนอาญา ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยประมาทมากกว่า และเปรียบเทียบความร้ายแรงแห่งละเมิดที่โจทก์จำเลยต่างก่อขึ้นแล้วกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงินรวม 29,500 บาท เป็นการดำเนินการตามอำนาจที่มีอยู่โดยชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความระหว่างผู้เสียหายและจำเลยในคดีฉ้อโกง ทำให้สิทธิฟ้องอาญาและคำขอเรียกค่าเสียหายในคดีแพ่งระงับ
ผู้เสียหายและจำเลยยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของพนักงานอัยการโจทก์ที่ให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายตกไปด้วย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฎีกาในคดีอาญา: โจทก์ฟ้องฐานใด ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษฐานนั้น ย่อมถือว่าโจทก์ได้รับความยุติธรรมแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรฐานใดฐานหนึ่ง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยฐานรับของโจรต้องถือว่าศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยเต็มตามความประสงค์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เพื่อให้ลงโทษจำเลยเป็นอย่างอื่นได้อีก
คดีเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร จำเลยจึงต้องรับผิดคืนเงินที่จำเลยรับไว้ในการกระทำผิดฐานรับของโจรและยังไม่ได้คืนให้แก่ผู้เสียหายเท่านั้น หาใช่ต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตามฟ้องไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินจำนวนเต็มตามฟ้องให้แก่ผู้เสียหายนั้นยังไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการลงโทษในคดีลักทรัพย์/รับของโจร ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้คืนเงินเฉพาะส่วนที่รับมา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรฐานใดฐานหนึ่ง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยฐานรับของโจร ต้องถือว่าศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยเต็มตามความประสงค์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เพื่อให้ลงโทษจำเลยเป็นอย่างอื่นได้อีก
คดีเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร จำเลยจึงต้องรับผิดคืนเงินที่จำเลยรับไว้ในการกระทำผิดฐานรับของโจรและยังไม่ได้คืนให้แก่ผู้เสียหายเท่านั้น หาใช่ต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ตามฟ้องไม่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินจำนวนเต็มตามฟ้องให้แก่ผู้เสียหายนั้นยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
of 16