คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 47

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 153 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2106/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลต้องใช้ข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาคดีอาญาเป็นหลัก หากจำเลยไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญา ศาลต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่นำสืบ
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เคยถูกพนักงานอัยการฟ้องตามที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีดังกล่าวร้องทุกข์ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและฉ้อโกง กับขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงินแก่โจทก์ คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาได้มีคำพิพากษา ยกฟ้องเมื่อโจทก์และจำเลยที่ 2 และที่ 1 ในคดีนี้เป็นผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีอาญาดังกล่าวตามลำดับ ทั้งความรับผิดทางแพ่งคดีนี้ เกิดจากการ กระทำความผิดอาญาดังกล่าว จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลจำต้อง ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเป็นหลักในการพิพากษาคดี ส่วนแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 โดยต้องฟังว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 นั้น ไม่ได้เป็นคู่ความ ในคดีอาญาดังกล่าว ศาลจะรับฟังข้อวินิจฉัยส่วนอาญาดังกล่าวมาเป็นข้อเท็จจริงอันคดีแพ่ง ต้องถือตามหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2106/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลต้องยึดตามข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีอาญา
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เคยถูกพนักงานอัยการฟ้องตามที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีดังกล่าวร้องทุกข์ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและฉ้อโกงกับขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงินแก่โจทก์ คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาได้มีคำพิพากษายกฟ้อง เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 2 และที่ 1 ในคดีนี้เป็นผู้เสียหายและจำเลยที่ 1และที่ 2 ในคดีอาญาดังกล่าวตามลำดับ ทั้งความรับผิดทางแพ่งคดีนี้เกิดจากการกระทำความผิดอาญาดังกล่าว จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเป็นหลักในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งตาม ป.วิ.อ มาตรา 46 โดยต้องฟังว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 นั้น ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าว ศาลจะรับฟังข้อวินิจฉัยส่วนอาญาดังกล่าวมาเป็นข้อเท็จจริงอันคดีแพ่งต้องถือตามหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และความรับผิดจากละเลยหน้าที่ยาม
จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกลักทรัพย์โจทก์ไปครั้งเดียวข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งพนักงานอัยการมีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 และมาตรา 44 และในการพิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งดังกล่าว ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 40 และมาตรา 47กำหนดว่าต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง เมื่อศาลสั่งให้จำเลยที่ 1และที่ 2 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 50 ให้ถือว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและมีอำนาจดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 249ฉะนั้น การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2เป็นคดีอาญาและในคดีส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาได้มีคำขอให้ศาลสั่งคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้โจทก์ในฐานะผู้เสียหาย จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาแทนโจทก์โจทก์จึงมีฐานะเป็นคู่ความและต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีส่วนอาญาดังกล่าวด้วย ดังนั้นโจทก์จะรื้อร้องฟ้องคดีแพ่งในประเด็นที่ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอีกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 จำเลยที่ 3ละทิ้งหน้าที่เฝ้ายามไปเป็นเวลานาน เป็นเหตุให้คนร้ายถือโอกาสเข้าไปลักทรัพย์ของโจทก์ จึงเป็นการประมาทเลินเล่อ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาของศาลชั้นต้นจำเลยที่ 3 จึงไม่ได้เป็นคู่ความ ทั้งคดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 3 กระทำละเมิดโดยประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และความรับผิดจากละเมิดของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกลักทรัพย์โจทก์ไปครั้งเดียวข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งพนักงานอัยการมีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนโจทก์ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 43 และมาตรา 44 และในการพิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งดังกล่าวป.วิ.อ.มาตรา 40 และมาตรา 47 กำหนดว่าต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.และกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง เมื่อศาลสั่งให้จำเลยที่ 1และที่ 2 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์ ป.วิ.อ.มาตรา 50 ให้ถือว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและมีอำนาจดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ตามป.วิ.อ.มาตรา 249 ฉะนั้น การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีอาญาและในคดีส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาได้มีคำขอให้ศาลสั่งคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้โจทก์ในฐานะผู้เสียหาย จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาแทนโจทก์ โจทก์จึงมีฐานะเป็นคู่ความและต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีส่วนอาญาดังกล่าวด้วย ดังนั้น โจทก์จะรื้อร้องฟ้องคดีแพ่งในประเด็นที่ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอีกไม่ได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 148 จำเลยที่ 3 ละทิ้งหน้าที่เฝ้ายามไปเป็นเวลานาน เป็นเหตุให้คนร้ายถือโอกาสเข้าไปลักทรัพย์ของโจทก์ จึงเป็นการประมาทเลินเล่อ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 3 มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาของศาลชั้นต้นจำเลยที่ 3 จึงไม่ได้เป็นคู่ความ ทั้งคดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 3 กระทำละเมิดโดยประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ จึงไม่ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4881/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการสั่งให้ชดใช้เงินในคดีอาญา แม้ไม่เข้าข่ายความผิดฐานยักยอก
โจทก์เป็นพนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา352และให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินที่จำเลยยักยอกแก่โจทก์ร่วมด้วยตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา43ดังนี้แม้คดีส่วนอาญาศาลเห็นว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดฐานยักยอกศาลก็ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วมตามที่พนักงานอัยการโจทก์ขอได้หาจำต้องให้โจทก์ร่วมไปฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากจำเลยเป็นคดีแพ่งอีกไม่ (หมายเหตุ:ศาลฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยรับเงินของโจทก์ร่วมไว้แต่เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4881/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการสั่งให้ชดใช้เงิน แม้คดีอาญาไม่เข้าข่ายความผิด
โจทก์เป็นพนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 และให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินที่จำเลยยักยอกแก่โจทก์ร่วมด้วยตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43ดังนี้ แม้คดีส่วนอาญาศาลเห็นว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดฐานยักยอก ศาลก็ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วมตามที่พนักงานอัยการโจทก์ขอได้ หาจำต้องให้โจทก์ร่วมไปฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากจำเลยเป็นคดีแพ่งอีกไม่(หมายเหตุ : ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยรับเงินของโจทก์ร่วมไว้ แต่เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4881/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหายในคดีอาญา แม้ไม่เข้าข่ายความผิดฐานยักยอก
โจทก์เป็นพนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 และให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินที่จำเลยยักยอกแก่โจทก์ร่วมด้วยตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ดังนี้ แม้คดีส่วนอาญาศาลเห็นว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดฐานยักยอก ศาลก็ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วมตามที่พนักงานอัยการโจทก์ขอได้ หาจำต้องให้โจทก์ร่วมไปฟ้องเรียกเงินดังกล่าวจากจำเลยเป็นคดีแพ่งอีกไม่ (หมายเหตุ : ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยรับเงินของโจทก์ร่วมไว้แต่เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3774/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายทรัพย์สิน: หน้าที่ไถ่ถอนภาระหนี้สิน & การผิดสัญญา
ตามสัญญาประกอบด้วยคำแปล คำรับรองที่จำเลยให้ไว้เพียงเป็นผู้รับประโยชน์และเป็นเจ้าของอย่างถูกต้องตามกฎหมายแห่งประเทศที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิในทรัพย์สินดังกล่าวโดยมีภาระหนี้สินจะต้องไถ่ถอนหรือปฏิบัติบางประเภทเท่านั้น คำรับรองของจำเลยที่ปรากฏจึงมิอาจถือเป็นความเท็จได้ ส่วนสัญญาข้อ 2 ซึ่งเป็นข้อความที่จำเลยให้การรับรองว่า ทรัพย์สินที่ซื้อขายจะปลอดจากข้อผูกพันและพันธกรณีต่าง ๆ โดยสิ้นเชิง ณ วันครบกำหนดนั้นแสดงได้ว่าในขณะทำสัญญาทรัพย์สินยังมีข้อผูกพันหรือพันธกรณีอยู่ แต่จำเลยมีหน้าที่จะต้องจัดการให้ปลอดจากข้อผูกพันหรือพันธกรณีหลังจากวันทำสัญญา ชี้ชัดได้ว่าจำเลยมิได้ปิดบังความจริงแต่ประการใด ที่ผู้เสียหายเข้าทำสัญญาจึงมิได้มีความหลงเชื่อแต่ประการใด
สำหรับในส่วนแพ่ง สัญญาในข้อ 2 กำหนดหน้าที่ของจำเลยจะต้องจัดการให้ทรัพย์สินปลอดจากข้อผูกพันหรือพันธกรณีพร้อมที่จะโอนให้แก่ผู้เสียหายในวันครบกำหนดซึ่งเป็นวันเดียวกับที่จะรับเงินจากผู้เสียหาย แต่จำเลยรับว่าจำเลยรับเงินจากผู้เสียหายไปแล้วประมาณ 10 วัน จึงได้จัดการนำเงินไปชำระตามข้อผูกพัน จึงถือว่าจำเลยผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีมูลที่จะอาศัยอ้างเพื่อยึดถือเงินที่ได้จากผู้เสียหายตามสัญญาไว้ต่อไป ต้องคืนให้แก่ผู้เสียหายตามที่โจทก์ขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3774/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาซื้อขายทรัพย์สินที่มีภาระผูกพัน และการผิดสัญญาโอนกรรมสิทธิ์
ตามสัญญาประกอบด้วยคำแปลคำรับรองที่จำเลยให้ไว้เพียงเป็นผู้รับประโยชน์และเป็นเจ้าของอย่างถูกต้องตามกฎหมายแห่งประเทศที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิในทรัพย์สินดังกล่าวโดยมีภาระหนี้สินจะต้องไถ่ถอนหรือปฏิบัติบางประเภทเท่านั้นคำรับรองของจำเลยที่ปรากฏจึงมิอาจถือเป็นความเท็จได้ส่วนสัญญาข้อ2ซึ่งเป็นข้อความที่จำเลยให้การรับรองว่าทรัพย์สินที่ซื้อขายจะปลอดจากข้อผูกพันและพันธกรณีต่างๆโดยสิ้นเชิงณวันครบกำหนดนั้นแสดงได้ว่าในขณะทำสัญญาทรัพย์สินยังมีข้อผูกพันหรือพันธกรณีอยู่แต่จำเลยมีหน้าที่จะต้องจัดการให้ปลอดจากข้อผูกพันหรือพันธกรณีหลังจากวันทำสัญญาชี้ชัดได้ว่าจำเลยมิได้ปิดบังความจริงแต่ประการใดที่ผู้เสียหายเข้าทำสัญญาจึงมิได้มีความหลงเชื่อแต่ประการใด สำหรับในส่วนแพ่งสัญญาในข้อ2กำหนดหน้าที่ของจำเลยจะต้องจัดการให้ทรัพย์สินปลอดจากข้อผูกพันหรือพันธกรณีพร้อมที่จะโอนให้แก่ผู้เสียหายในวันครบกำหนดซึ่งเป็นวันเดียวกับที่จะรับเงินจากผู้เสียหายแต่จำเลยรับว่าจำเลยรับเงินจากผู้เสียหายไปแล้วประมาณ10วันจึงได้จัดการนำเงินไปชำระตามข้อผูกพันจึงถือว่าจำเลยผิดสัญญาจำเลยจึงไม่มีมูลที่จะอาศัยอ้างเพื่อยึดถือเงินที่ได้จากผู้เสียหายตามสัญญาไว้ต่อไปต้องคืนให้แก่ผู้เสียหายตามที่โจทก์ขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: คำพิพากษาคดีอาญาผูกพันโจทก์ในคดีแพ่ง
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 8 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล คงได้ความแต่เพียงว่าจำเลยที่ 8 เป็นที่ทำการสาขาของจำเลยที่ 7 จำเลยที่ 8 จึงมิได้เป็นนิติบุคคลอันอาจถูกฟ้องให้รับผิดได้
จำเลยที่ 7 เป็นธนาคาร มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามเช็คที่ผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตน เช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 นำไปขอเบิกเงินไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 991 ที่จำเลยที่ 7 จะไม่จ่ายเงินให้ และไม่ใช่กรณีที่หน้าที่และอำนาจของจำเลยที่ 7 ที่จะจ่ายเงินตามเช็คสิ้นสุดลงตามมาตรา 992 จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่ 7 จะปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปขอเบิกเงิน เช็คเป็นตราสารที่ออกใช้แทนเงินสดเพื่อความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยและคล่องตัวในการประกอบธุรกิจดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็คได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ-ระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่ที่ผู้ประกอบธุรกิจเช่นที่จะพึงปฏิบัติก็นับว่าเป็นการ-เพียงพอแล้ว จำเลยที่ 9 ถึงที่ 11 ลูกจ้างของจำเลยที่ 7 ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้จำเลยที่ 1 ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่แล้วจะถือว่าจำเลยที่ 7 จ่ายเงินตามเช็คด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้
พนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาในข้อหาเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ซึ่งเป็นเงินตามเช็คพิพาทในคดีนี้ ขอให้ลงโทษและให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปยังไม่ได้คืน เป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อคดีอาญาถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1กับให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปส่วนที่ยังไม่ได้คืน คำพิพากษาดังกล่าวผูกพันโจทก์-ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของเงินเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา เพราะถือว่าพนักงาน-อัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องคดีแทนโจทก์ทั้งสาม จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งสามนำคดีมารื้อร้องฟ้องจำเลยที่ 1 อีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัย
of 16