พบผลลัพธ์ทั้งหมด 153 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-หน้าที่ธนาคารจ่ายเช็ค-ความรับผิดข้าราชการ-ประมาทเลินเล่อ
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่8จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลคงได้ความแต่เพียงว่าจำเลยที่8เป็นที่ทำการสาขาของจำเลยที่7จำเลยที่8จึงมิได้เป็นนิติบุคคลอันอาจถูกฟ้องให้รับผิดได้ จำเลยที่7เป็นธนาคารมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามเช็คที่ผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตนเช็คพิพาทที่จำเลยที่1นำไปขอเบิกเงินไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา991ที่จำเลยที่7จะไม่จ่ายเงินให้และไม่ใช่กรณีที่หน้าที่และอำนาจของจำเลยที่7ที่จะจ่ายเงินตามเช็คสิ้นสุดลงตามมาตรา992จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่7จะปฎิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คที่จำเลยที่1นำไปขอเบิกเงินเช็คเป็นตราสารที่ออกใช้แทนเงินสดเพื่อความสะดวกรวดเร็วปลอดภัยและคล่องตัวในการประกอบธุรกิจดังนั้นเมื่อจำเลยที่7ซึ่งเป็นธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็คได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่ที่ผู้ปฎิบัติธุรกิจเช่นที่จะพึงปฎิบัติก็นับว่าเป็นการเพียงพอแล้วจำเลยที่9ถึงที่11ลูกจ้างของจำเลยที่7ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้จำเลยที่1ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่แล้วจะถือว่าจำเลยที่7จ่ายเงินตามเช็คด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้ พนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องจำเลยที่1เป็นคดีอาญาในข้อหา เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ซึ่งเป็นเงินตามเช็คพิพาทในคดีนี้ขอให้ลงโทษและให้จำเลยที่1คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปยังไม่ได้คืนเป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเมื่อคดีอาญาถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่1กับให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปส่วนที่ยังไม่ได้คืนคำพิพากษาดังกล่าวผูกพันโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของเงินเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาเพราะถือว่าพนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องคดีแทนโจทก์ทั้งสามจึงต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งสามนำคดีมารื้อร้องฟ้องจำเลยที่1อีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6420/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของจำเลยร่วมและการบังคับคดีชดใช้เงินเฉพาะจำเลยที่ถูกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยกับพวกร่วมกันคืนหรือชดใช้เงินจำนวน 104,390 บาท แก่ผู้เสียหายซึ่งได้จ่ายเงินไป โดยไม่ปรากฏว่าพวกของจำเลยได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วย จึงไม่อาจบังคับให้พวกของจำเลยคืนหรือชดใช้เงินตามคำขอของโจทก์ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6420/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนของการชดใช้ค่าเสียหาย เนื่องจากจำเลยอื่นมิได้ถูกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยกับพวกร่วมกันคืนหรือชดใช้เงินจำนวน 104,390 บาท แก่ผู้เสียหายซึ่งได้จ่ายเงินไปโดยไม่ปรากฏว่าพวกของจำเลยได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วย จึงไม่อาจบังคับให้พวกของจำเลยคืนหรือชดใช้เงินตามคำขอของโจทก์ได้ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5324/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: การพิจารณาหนี้สินต้องแยกจากความผิดฐานทำลายเอกสาร
ในคดีอาญาโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันฉีกเอกสาร ตรง ที่มีข้อความและลายมือชื่อผู้รับของในใบส่งของชั่วคราวซึ่ง เป็นความผิดฐานทำลายเอกสารของโจทก์ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลย ทั้งสองได้ร่วมกันซื้อสินค้าของโจทก์ไปตามรายการในเอกสารที่ ถูกทำลายแล้วไม่ยอมชำระค่าสินค้าให้โจทก์ ซึ่งเป็นเรื่องฟ้อง ขอให้ชำระหนี้ค่าสินค้าประเด็นในคดีทั้งสองจึงเป็นคนละประเด็นกัน หาใช่ประเด็นในคดีนี้เป็นประเด็นที่ได้วินิจฉัยไว้แล้วโดยตรง ในคดีอาญาไม่คำพิพากษาศาลฎีกาที่พิพากษายกฟ้องโจทก์ก็เป็น เรื่องที่ฟังว่าจำเลยทั้งสองมิได้กระทำผิดฐานทำลายเอกสาร โดย มิได้หมายความว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระค่าสินค้าตามรายการในเอกสาร ที่ถูกทำลายให้แก่โจทก์แล้วเพราะเอกสารดังกล่าวเป็นแต่เพียง หลักฐานแห่งหนี้หาใช่หลักฐานแห่งการชำระหนี้ไม่ การที่จะถือว่า คดีใดเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาข้อสำคัญต้องเป็นเรื่อง เรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการ กระทำ ความผิดอาญาของจำเลยซึ่งเป็น ข้อเท็จจริงเฉพาะที่เป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาเท่านั้น คดีนี้ จึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังนั้น การพิจารณาพิพากษา คดีนี้จึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดี ส่วนอาญาโดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5324/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งชำระหนี้ค่าสินค้า ไม่ผูกพันกับคดีอาญาทำลายเอกสาร การพิจารณาคดีแพ่งต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงเฉพาะคดี
ในคดีอาญาโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันฉีกเอกสารตรงที่มีข้อความและลายมือชื่อผู้รับของในใบส่งของชั่วคราวซึ่งเป็นความผิดฐานทำลายเอกสารของโจทก์ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันซื้อสินค้าของโจทก์ไปตามรายการในเอกสารที่ถูกทำลายแล้วไม่ยอมชำระค่าสินค้าให้โจทก์ ซึ่งเป็นเรื่องฟ้องขอให้ชำระหนี้ค่าสินค้า ประเด็นในคดีทั้งสองจึงเป็นคนละประเด็นกันหาใช่ประเด็นในคดีนี้เป็นประเด็นที่ได้วินิจฉัยไว้แล้วโดยตรงในคดีอาญาไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่พิพากษายกฟ้องโจทก์ก็เป็นเรื่องที่ฟังว่าจำเลยทั้งสองมิได้กระทำผิดฐานทำลายเอกสาร โดยมิได้หมายความว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระค่าสินค้าตามรายการในเอกสารที่ถูกทำลายให้แก่โจทก์แล้ว เพราะเอกสารดังกล่าวเป็นแต่เพียงหลักฐานแห่งหนี้ หาใช่หลักฐานแห่งการชำระหนี้ไม่ การที่จะถือว่าคดีใดเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ข้อสำคัญต้องเป็นเรื่องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำความผิดอาญาของจำเลยซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาเท่านั้น คดีนี้จึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ดังนั้น การพิจารณาพิพากษาคดีนี้จึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาโดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดหรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4273-4274/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง: การปลอมเอกสารและการละเมิด
โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในความผิดฐานปลอมเอกสารเมื่อคดีอาญาดังกล่าวถึงที่สุดโดยศาลฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้ปลอมเอกสาร ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งที่ว่าจำเลยได้ปลอมเอกสารหรือไม่ ซึ่งเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา โจทก์จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าว คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหากข้อเท็จจริงไม่ปรากฏผลของคดีในส่วนอาญาว่าเป็นประการใด ศาลจะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏจากพยานหลักฐานในสำนวน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4273-4274/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง: การถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาอาญา และการวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐาน
โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในความผิดฐานปลอมเอกสาร เมื่อคดีอาญาดังกล่าวถึงที่สุดโดยศาลฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้ปลอมเอกสาร ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งที่ว่าจำเลยได้ปลอมเอกสารหรือไม่ ซึ่งเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา โจทก์จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าว
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหากข้อเท็จจริงไม่ปรากฏผลของคดีในส่วนอาญาว่าเป็นประการใด ศาลจะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏจากพยานหลักฐานในสำนวน
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหากข้อเท็จจริงไม่ปรากฏผลของคดีในส่วนอาญาว่าเป็นประการใด ศาลจะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏจากพยานหลักฐานในสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งจากการชิงทรัพย์, การลดโทษ, และความผิดฐานมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ ขอให้ลงโทษจำเลยกับให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหาย เฉพาะคดีส่วนแพ่งในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานี้ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้องโจทก์ ก็เป็นการรับสารภาพในคดีส่วนอาญาเท่านั้น หาได้มีผลเป็นการยอมรับว่าจำเลยได้เอาเงินจำนวน 9,100 บาท ของผู้ตายอันเป็นข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งด้วยไม่จำเลยจะต้องรับผิดในคดีส่วนแพ่งมากน้อยเพียงใดนั้นก็ต้องพิจารณาตามกฎหมายในทางแพ่งและความเสียหายที่จำเลยก่อขึ้นจริง เมื่อปรากฏตามบันทึกคำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนและบันทึกการชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพว่าจำเลยกับพวกค้นเอาเงิน 200 บาท ของผู้ตายจากกระจาด เก็บเงินไปเช่นนี้ จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหาย โทษจำคุก 6 เดือน เมื่อลดโทษหนึ่งในสามแล้ว คงเหลือโทษจำคุก4 เดือน มิใช่ 3 เดือน และเมื่อจำเลยมีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา 7,72 วรรคสอง และวรรคสาม เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท โทษตามมาตรา 72 วรรคสอง มีโทษจำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ถือว่าเป็นบทที่มีมาตรา 72 วรรคสาม ที่มีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท การลงโทษปรับตามมาตรา72 วรรคสาม ที่มีโทษเบากว่าจึงเป็นการไม่ชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพในคดีอาญาไม่ผูกพันในคดีแพ่ง และการลงโทษบทหนักในคดีอาญา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ ขอให้ลงโทษจำเลยกับให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหาย เฉพาะคดีส่วนแพ่งในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานี้ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้องโจทก์ ก็เป็นการรับสารภาพในคดีส่วนอาญาเท่านั้น หาได้มีผลเป็นการยอมรับว่าจำเลยได้เอาเงินจำนวน 9,100 บาท ของผู้ตายอันเป็นข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งด้วยไม่ จำเลยจะต้องรับผิดในคดีส่วนแพ่งมากน้อยเพียงใดนั้นก็ต้องพิจารณาตามกฎหมายในทางแพ่งและความเสียหายที่จำเลยก่อขึ้นจริง เมื่อปรากฏตามบันทึกคำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนและบันทึกการชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพว่าจำเลยกับพวกค้นเอาเงิน200 บาท ของผู้ตายจากกระจาดเก็บเงินไปเช่นนี้ จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหาย
โทษจำคุก 6 เดือน เมื่อลดโทษหนึ่งในสามแล้ว คงเหลือโทษจำคุก 4 เดือนมิใช่ 3 เดือน และเมื่อจำเลยมีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ มาตรา 7, 72 วรรคสอง และวรรคสาม เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท โทษตามมาตรา 72 วรรคสอง มีโทษจำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ถือว่าเป็นบทที่มีโทษหนักกว่ามาตรา 72 วรรคสาม ที่มีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท การลงโทษปรับตามมาตรา 72 วรรคสาม ที่มีโทษเบากว่าจึงเป็นการไม่ชอบ
โทษจำคุก 6 เดือน เมื่อลดโทษหนึ่งในสามแล้ว คงเหลือโทษจำคุก 4 เดือนมิใช่ 3 เดือน และเมื่อจำเลยมีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ มาตรา 7, 72 วรรคสอง และวรรคสาม เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท โทษตามมาตรา 72 วรรคสอง มีโทษจำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ถือว่าเป็นบทที่มีโทษหนักกว่ามาตรา 72 วรรคสาม ที่มีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท การลงโทษปรับตามมาตรา 72 วรรคสาม ที่มีโทษเบากว่าจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ค่าเสียหายในคดีอาญา, การรับสารภาพ, และการแก้ไขโทษบทอาวุธปืน
พยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า จำเลยเอาเงินของผู้ตายไปจำนวน 9,100 บาท แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพว่าได้กระทำผิดตามฟ้องโจทก์ ก็เป็นการรับสารภาพในคดีส่วนอาญาเท่านั้น หาใช่มีผลเป็นการยอมรับว่าจำเลยได้เอาเงินจำนวน9,100 บาท ของผู้ตายไปอันเป็นข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งด้วยไม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 จำเลยจะต้องรับผิดในคดีส่วนแพ่งมากน้อยเพียงใดนั้น ต้องพิจารณาตามกฎหมายในทางแพ่งและตามความเสียหายที่จำเลยเป็นผู้ก่อขึ้นจริง เมื่อปรากฏตามบันทึกคำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวน และบันทึกการชี้ ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพได้ความว่าจำเลยกับพวกค้นเอาเงินจำนวน 200 บาท ของผู้ตายจากกระจาด เก็บเงินไป เช่นนี้ จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหาย ความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสอง มีโทษจำคุกไม่เกินสิบปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถือว่าเป็นบทที่มีโทษหนักกว่ามาตรา 72 วรรคสาม ที่มีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท.