พบผลลัพธ์ทั้งหมด 153 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2584/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแพ่ง: ผู้เสียหายต้องเป็นเจ้าของเงินที่ถูกยักยอก หากไม่ใช่ไม่มีอำนาจฟ้อง
กองบังคับการตำรวจรถไฟเป็นหน่วยงานราชการในสังกัดของกรมตำรวจโจทก์ แต่บรรดาค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของกองบังคับการตำรวจรถไฟ เช่น เงินเดือน ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตรของเจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟนั้นการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นผู้มีหน้าที่จ่ายจากเงินงบประมาณของการรถไฟแห่งประเทศไทยทั้งสิ้น โดยกรมตำรวจโจทก์ไม่มีหน้าที่จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อการนี้ให้แก่กองบังคับการตำรวจรถไฟแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นผู้จ่ายเงินตามฎีกาเบิกเงินค่าเบี้ยเลี้ยง เงินต่าง ๆ รวม 33 ครั้งจำนวน 168 ฎีกาตามที่กองบังคับการตำรวจรถไฟเป็นผู้ตั้งฎีกาเบิกเพื่อนำไปจ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟตามสิทธิ แต่ร้อยตำรวจเอก บ. สมุห์บัญชีของกองบังคับการตำรวจรถไฟได้ทุจริตเบียดบังยักยอกเงินตามฎีกาทั้งหมดไปเป็นประโยชน์ส่วนตนเสียเช่นนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเจ้าของเงินงบประมาณที่เบิกจ่ายเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงหรือเงินต่าง ๆ ดังกล่าวจึงถือว่าเป็นผู้เสียหายในเรื่องนี้ไม่ใช่กรมตำรวจโจทก์ แม้ฎีกาเบิกเงินได้แนบใบเบิกเงินค่าเบี้ยเลี้ยงของเจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟผู้ขอเบิกและตามหลักฐานระบุว่าได้รับเงินไปครบถ้วนโดยลงนามรับเงินแล้วก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟผู้ขอเบิกยังมิได้รับเงินที่เบิกไปตามที่ ลงนามไว้ในใบเบิกเพราะเงินนั้นถูกยักยอกไปเสียก่อนการรถไฟแห่งประเทศไทยจึงยังมิได้จ่ายเงินให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟผู้ขอเบิกแม้จะมีการตั้งฎีกาเบิกและสมุห์บัญชีกองบังคับการตำรวจรถไฟรับเงินจำนวนที่เบิกไปจากกองคลังเงินการรถไฟแล้ว เงินจำนวนนั้นก็ยังคงเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่ หาใช่เงินของกรมตำรวจโจทก์ไม่ เมื่อมีการเบียดบังไปเป็นประโยชน์ส่วนตน จึงไม่ใช่เป็นการเบียดบังเอาเงินของกรมตำรวจโจทก์ โจทก์ไม่ใช่เจ้าของเงิน จึงไม่ถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายอันจะมีอำนาจฟ้องเรียกคืนเงินดังกล่าวจากจำเลยได้
กรณีนี้แม้ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาที่ร้อยตำรวจเอกบ.เป็นจำเลยให้ร้อยตำรวจเอก บ. คืนหรือใช้เงินจำนวนที่ยักยอกไปให้แก่กองบังคับการตำรวจรถไฟ กรมตำรวจก็ตาม แต่คำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาดังกล่าว หามีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้ซึ่งมิใช่เป็นคู่ความในคดีอาญาให้จำต้องถือตามไม่ เมื่อข้อเท็จจริงในคดีแพ่งนี้รับฟังได้ว่า เงินจำนวนตามฟ้องที่ถูกร้อยตำรวจเอก บ.สมุห์บัญชีกองบังคับการ ตำรวจรถไฟทุจริตเบียดบัง ยักยอกไปเป็นประโยชน์ส่วนตนมิใช่เป็นเงินงบประมาณของกรมตำรวจโจทก์ โจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องร้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ร่วมรับผิดในเงินจำนวนนี้กับร้อยตำรวจเอกบ. จำเลยในคดีอาญานั้นได้
กรณีนี้แม้ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาที่ร้อยตำรวจเอกบ.เป็นจำเลยให้ร้อยตำรวจเอก บ. คืนหรือใช้เงินจำนวนที่ยักยอกไปให้แก่กองบังคับการตำรวจรถไฟ กรมตำรวจก็ตาม แต่คำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาดังกล่าว หามีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้ซึ่งมิใช่เป็นคู่ความในคดีอาญาให้จำต้องถือตามไม่ เมื่อข้อเท็จจริงในคดีแพ่งนี้รับฟังได้ว่า เงินจำนวนตามฟ้องที่ถูกร้อยตำรวจเอก บ.สมุห์บัญชีกองบังคับการ ตำรวจรถไฟทุจริตเบียดบัง ยักยอกไปเป็นประโยชน์ส่วนตนมิใช่เป็นเงินงบประมาณของกรมตำรวจโจทก์ โจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องร้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ร่วมรับผิดในเงินจำนวนนี้กับร้อยตำรวจเอกบ. จำเลยในคดีอาญานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2584/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแพ่ง: เงินถูกยักยอกไม่ใช่เงินงบประมาณของกรมตำรวจ, กรมตำรวจจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย
กองบังคับการตำรวจรถไฟเป็นหน่วยงานราชการในสังกัดของกรมตำรวจโจทก์แต่บรรดาค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของกองบังคับการตำรวจรถไฟ เช่น เงินเดือน ค่าเบี้ยเลี้ยงค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตรของเจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟนั้นการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นผู้มีหน้าที่จ่ายจากเงินงบประมาณของการรถไฟแห่งประเทศไทยทั้งสิ้นโดยกรมตำรวจโจทก์ไม่มีหน้าที่จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อการนี้ให้แก่กองบังคับการตำรวจรถไฟแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นผู้จ่ายเงินตามฎีกาเบิกเงินค่าเบี้ยเลี้ยง เงินต่าง ๆ รวม 33 ครั้งจำนวน 168 ฎีกาตามที่กองบังคับการตำรวจรถไฟเป็นผู้ตั้งฎีกาเบิกเพื่อนำไปจ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟตามสิทธิแต่ร้อยตำรวจเอก บ. สมุห์บัญชีของกองบังคับการตำรวจรถไฟได้ทุจริตเบียดบังยักยอกเงินตามฎีกาทั้งหมดไปเป็นประโยชน์ส่วนตนเสียเช่นนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเจ้าของเงินงบประมาณที่เบิกจ่ายเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงหรือเงินต่าง ๆ ดังกล่าวจึงถือว่าเป็นผู้เสียหายในเรื่องนี้ไม่ใช่กรมตำรวจโจทก์ แม้ฎีกาเบิกเงินได้แนบใบเบิกเงินค่าเบี้ยเลี้ยงของเจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟผู้ขอเบิกและตามหลักฐานระบุว่าได้รับเงินไปครบถ้วนโดยลงนามรับเงินแล้วก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟผู้ขอเบิกยังมิได้รับเงินที่เบิกไปตามที่ ลงนามไว้ในใบเบิกเพราะเงินนั้นถูกยักยอกไปเสียก่อนการรถไฟแห่งประเทศไทยจึงยังมิได้จ่ายเงินให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจรถไฟผู้ขอเบิกแม้จะมีการตั้งฎีกาเบิกและสมุห์บัญชีกองบังคับการตำรวจรถไฟรับเงินจำนวนที่เบิกไปจากกองคลังเงินการรถไฟแล้วเงินจำนวนนั้นก็ยังคงเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่ หาใช่เงินของกรมตำรวจโจทก์ไม่เมื่อมีการเบียดบังไปเป็นประโยชน์ส่วนตน จึงไม่ใช่เป็นการเบียดบังเอาเงินของกรมตำรวจโจทก์โจทก์ไม่ใช่เจ้าของเงิน จึงไม่ถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายอันจะมีอำนาจฟ้องเรียกคืนเงินดังกล่าวจากจำเลยได้ กรณีนี้แม้ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาที่ร้อยตำรวจเอกบ.เป็นจำเลยให้ร้อยตำรวจเอก บ. คืนหรือใช้เงินจำนวนที่ยักยอกไปให้แก่กองบังคับการตำรวจรถไฟ กรมตำรวจก็ตามแต่คำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาดังกล่าว หามีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้ซึ่งมิใช่เป็นคู่ความในคดีอาญาให้จำต้องถือตามไม่เมื่อข้อเท็จจริงในคดีแพ่งนี้รับฟังได้ว่า เงินจำนวนตามฟ้องที่ถูกร้อยตำรวจเอก บ.สมุห์บัญชีกองบังคับการ ตำรวจรถไฟทุจริตเบียดบัง ยักยอกไปเป็นประโยชน์ส่วนตนมิใช่เป็นเงินงบประมาณของกรมตำรวจโจทก์โจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องร้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ร่วมรับผิดในเงินจำนวนนี้กับร้อยตำรวจเอกบ. จำเลยในคดีอาญานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2394/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จในคดีแพ่ง ไม่ถือเป็นเท็จโดยอัตโนมัติ โจทก์ต้องพิสูจน์ความเท็จเอง
ในคดีอาญาที่ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยได้เบิกความเท็จในคดีแพ่งนั้น แม้ศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีแพ่งจะไม่เชื่อข้อเท็จจริงที่พยานจำเลยนำสืบและพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีและคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม ก็จะนำเอาผลของคำพิพากษานั้นมาฟังว่าคำเบิกความของจำเลยเป็นเท็จหาได้ไม่ เพราะประเด็นในการวินิจฉัยในคดีแพ่งกับปัญหาวินิจฉัยในคดีอาญาแตกต่างกัน คำพิพากษาในคดีแพ่งก็มีผลผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีแพ่งเท่านั้น ไม่ใช่เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไปหรือไม่อาจโต้แย้งได้ เพราะมิฉะนั้นคู่ความหรือพยานฝ่ายที่แพ้คดีก็จะต้องมีความผิดฐานเบิกความเท็จเสมอไป เมื่อโจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยเบิกความเท็จ โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องพิสูจน์ให้ได้ความว่าคำเบิกความของจำเลยเป็นเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2394/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาคดีแพ่งไม่ผูกพันคดีอาญา การเบิกความเท็จต้องมีพยานหลักฐานสนับสนุน
ในคดีอาญาที่ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยได้เบิกความเท็จในคดีแพ่ง นั้นแม้ศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีแพ่งจะไม่เชื่อข้อเท็จจริงที่พยานจำเลยนำสืบและพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีและคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม ก็จะนำเอาผลของคำพิพากษานั้นมาฟังว่าคำเบิกความของจำเลยเป็นเท็จหาได้ไม่เพราะประเด็นในการวินิจฉัยในคดีแพ่งกับปัญหาวินิจฉัยในคดีอาญาแตกต่างกันคำพิพากษาในคดีแพ่งก็มีผลผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีแพ่งเท่านั้น ไม่ใช่เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไปหรือไม่อาจโต้แย้งได้ เพราะมิฉะนั้นคู่ความหรือพยานฝ่ายที่แพ้คดีก็จะต้องมีความผิดฐานเบิกความเท็จเสมอไปเมื่อโจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยเบิกความเท็จ โจทก์ก็มีหน้าที่ต้อง พิสูจน์ให้ได้ความว่าคำเบิกความของจำเลยเป็นเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการผูกพันคำพิพากษาคดีแพ่งในคดีอาญา: ศาลอาญาต้องพิจารณาพยานหลักฐานด้วยตนเอง
ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดให้ศาลที่พิจารณาคดีอาญาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนแพ่ง เพราะหลักการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักคำพยานในคดีแพ่งและคดีอาญาไม่เหมือนกัน ในคดีแพ่งศาลจะชั่งน้ำหนักคำพยานว่าฝ่ายใดมีน้ำหนักน่าเชื่อถือยิ่งกว่ากัน แต่ในคดีอาญาศาลจะต้องใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงจนกว่าจะแน่ใจว่าพยานโจทก์พอรับฟังลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่ง แม้จะผูกพันโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีแพ่งนั้น ก็เป็นการผูกพันเฉพาะในทางแพ่งเท่านั้น และเป็นเพียงพยานหลักฐานที่ศาลจะนำมาชั่งน้ำหนักประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ในคดีอาญาว่า ข้อเท็จจริงมีน้ำหนักพอรับฟังว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงหรือไม่เท่านั้นแต่จะรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเพียงอย่างเดียวมาวินิจฉัยชี้ขาดคดีอาญา โดยมิได้สืบพยานโจทก์จำเลยให้สิ้นกระแสความเสียก่อนย่อมเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่ง แม้จะผูกพันโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีแพ่งนั้น ก็เป็นการผูกพันเฉพาะในทางแพ่งเท่านั้น และเป็นเพียงพยานหลักฐานที่ศาลจะนำมาชั่งน้ำหนักประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ในคดีอาญาว่า ข้อเท็จจริงมีน้ำหนักพอรับฟังว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงหรือไม่เท่านั้นแต่จะรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเพียงอย่างเดียวมาวินิจฉัยชี้ขาดคดีอาญา โดยมิได้สืบพยานโจทก์จำเลยให้สิ้นกระแสความเสียก่อนย่อมเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผูกพันคำพิพากษาคดีแพ่งในคดีอาญา: ศาลอาญาต้องพิจารณาพยานหลักฐานอย่างอิสระ
ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดให้ศาลที่พิจารณาคดีอาญาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนแพ่ง เพราะหลักการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักคำพยานในคดีแพ่งและคดีอาญาไม่เหมือนกัน ในคดีแพ่งศาลจะชั่งน้ำหนักคำพยานว่าฝ่ายใดมีน้ำหนักน่าเชื่อถือยิ่งกว่ากัน แต่ในคดีอาญาศาลจะต้องใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงจนกว่าจะแน่ใจว่าพยานโจทก์พอรับฟังลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่ง แม้จะผูกพันโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีแพ่งนั้น ก็เป็นการผูกพันเฉพาะในทางแพ่งเท่านั้น และเป็นเพียงพยานหลักฐานที่ศาลจะนำมาชั่งน้ำหนักประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ในคดีอาญาว่า ข้อเท็จจริงมีน้ำหนักพอรับฟังว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงหรือไม่เท่านั้น แต่จะรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเพียงอย่างเดียวมาวินิจฉัยชี้ขาดคดีอาญา โดยมิได้สืบพยานโจทก์จำเลยให้สิ้นกระแสความเสียก่อน ย่อมเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่ง แม้จะผูกพันโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีแพ่งนั้น ก็เป็นการผูกพันเฉพาะในทางแพ่งเท่านั้น และเป็นเพียงพยานหลักฐานที่ศาลจะนำมาชั่งน้ำหนักประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ในคดีอาญาว่า ข้อเท็จจริงมีน้ำหนักพอรับฟังว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงหรือไม่เท่านั้น แต่จะรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเพียงอย่างเดียวมาวินิจฉัยชี้ขาดคดีอาญา โดยมิได้สืบพยานโจทก์จำเลยให้สิ้นกระแสความเสียก่อน ย่อมเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3137/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลอาญาในข้อหาว่ายักยอกเวชภัณฑ์และยาจำนวนเดียวกันกับคดีนี้ ขอให้ลงโทษและให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้ราคายา เป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ยักยอกเอายาที่เบิกไปจากคลังเวชภัณฑ์อนามัยภาค 6 ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2520 เพียงครั้งเดียว พิพากษาให้ลงโทษจำเลยที่ 1กับให้คืนหรือใช้ราคายา คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาเพราะถือว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ ทั้งโจทก์ต้องห้ามมิให้นำคดีมารื้อร้องฟ้องจำเลยที่ 1 อีก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเอายาที่เบิกครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2520 แต่พิพากษายกฟ้องเพราะฟังไม่ได้ว่านายธำรง รองผู้ว่าราชการมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าว ทั้งยังได้กล่าวในคำแก้อุทธรณ์ว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นชอบแล้วปะเด็นที่จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในการที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเอายาที่เบิกเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2520 ไป จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่านายธำรง รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้แทนโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมายในการฟ้องคดีนี้ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ สำหรับยาและเวชภัณฑ์ที่จำเลยที่ 1 เบิกจากคลังเวชภัณฑ์ภาค 6 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2520 แล้วยักยอกเอาไป
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเอายาที่เบิกครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2520 แต่พิพากษายกฟ้องเพราะฟังไม่ได้ว่านายธำรง รองผู้ว่าราชการมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าว ทั้งยังได้กล่าวในคำแก้อุทธรณ์ว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นชอบแล้วปะเด็นที่จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในการที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเอายาที่เบิกเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2520 ไป จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่านายธำรง รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้แทนโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมายในการฟ้องคดีนี้ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ สำหรับยาและเวชภัณฑ์ที่จำเลยที่ 1 เบิกจากคลังเวชภัณฑ์ภาค 6 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2520 แล้วยักยอกเอาไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3137/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ยักยอกทรัพย์ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญา
การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลอาญาในข้อหาว่ายักยอกเวชภัณฑ์และยาจำนวนเดียวกันกับคดีนี้ ขอให้ลงโทษและให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้ราคายาเป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ยักยอกเอายาที่เบิกไปจากคลังเวชภัณฑ์อนามัยภาค 6 ในวันที่17 กุมภาพันธ์ 2520 เพียงครั้งเดียว พิพากษาให้ลงโทษจำเลยที่ 1 กับให้คืนหรือใช้ราคายา คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาเพราะถือว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ ทั้งโจทก์ต้องห้ามมิให้นำคดีมารื้อร้องฟ้องจำเลยที่ 1 อีก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเอายาที่เบิกครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2520 แต่พิพากษายกฟ้องเพราะฟังไม่ได้ว่านายธำรง รองผู้ว่าราชการมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าว ทั้งยังได้กล่าวในคำแก้อุทธรณ์ว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นชอบแล้ว ปะเด็นที่จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในการที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเอายาที่เบิกเมื่อวันที่ 17กุมภาพันธ์ 2520 ไป จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่านายธำรง รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้แทนโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมายในการฟ้องคดีนี้ จำเลยที่ 2ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ สำหรับยาและเวชภัณฑ์ที่จำเลยที่1เบิกจากคลังเวชภัณฑ์ภาค 6 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2520 แล้วยักยอกเอาไป
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเอายาที่เบิกครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2520 แต่พิพากษายกฟ้องเพราะฟังไม่ได้ว่านายธำรง รองผู้ว่าราชการมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าว ทั้งยังได้กล่าวในคำแก้อุทธรณ์ว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นชอบแล้ว ปะเด็นที่จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในการที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเอายาที่เบิกเมื่อวันที่ 17กุมภาพันธ์ 2520 ไป จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่านายธำรง รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้แทนโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมายในการฟ้องคดีนี้ จำเลยที่ 2ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ สำหรับยาและเวชภัณฑ์ที่จำเลยที่1เบิกจากคลังเวชภัณฑ์ภาค 6 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2520 แล้วยักยอกเอาไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3282/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการสั่งให้จำเลยออกจากที่ดินที่บุกรุกในคดีอาญา: ศาลสั่งได้เฉพาะโทษอาญา
ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานบุกรุกและมีคำขอให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินที่บุกรุกด้วย แม้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานบุกรุก ก็ต้องยกคำขอที่ให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินที่บุกรุก เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจศาลสั่งตามคำขอเช่นนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การแบ่งความรับผิดตามส่วน และผลของคำพิพากษาคดีอาญา
ในคดีส่วนแพ่ง ปัญหาที่ว่าคนขับรถของฝ่ายใดประมาทนั้นคู่ความตกลงกันให้ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา หากศาลสูงพิจารณาคดีถึงที่สุดว่า จำเลยที่ 1 คนขับรถของจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายผิด จำเลยที่ 2 ยอมใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีถึงที่สุดว่าทั้งสองฝ่ายมีความผิดและลงโทษจำคุก แม้คดีส่วนอาญาศาลพิพากษาว่าเคยขับรถทั้งสองฝ่ายมีความผิด ก็ยังแสดงว่า จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดด้วยอยู่นั่นเอง ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามที่คู่ความตกลงกันแต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 424 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 47 บัญญัติไว้ว่าในการพิพากษาคดีข้อความรับผิดเพื่อละเมิดและกำหนดค่าสินไหมทดแทนในคดีส่วนแพ่ง ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วย ความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งโดยไม่จำต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้อง คำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดทางอาญาหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 และคนขับรถของโจทก์ที่ 2 ต่างมีส่วนกระทำความผิดกรณีต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 และ มาตรา 223 ซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนสูงต่ำตามส่วน แห่งความยิ่งหย่อนของผู้มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายโดยอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ แม้ในคดีส่วนอาญาพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1และคนขับรถของโจทก์ที่ 2 เท่ากัน ก็เป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษในความผิดทางอาญา จะถือเป็นหลักในการวินิจฉัยความรับผิดทางแพ่งว่าทั้งสองประมาทเท่ากันหาได้ไม่