พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9402/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยรถยนต์: วงเงินคุ้มครอง, การไล่เบี้ย, และดอกเบี้ยค้างชำระ
บ. ซึ่งนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์คันที่บริษัท ว. เป็นผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต โดยเหตุเกิดจากจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยด้วยความประมาทเลินเล่อ โจทก์ที่ 1 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ บ. ผู้ประสบภัยจึงมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง บริษัท ว. จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 50,000 บาท แล้ว เมื่อเหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 บริษัท ว. มีสิทธิเรียกเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับ ตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว เช่นนี้จำเลยที่ 2 ชอบที่จะกันเงิน 50,000 บาท ไว้เพื่อคืนแก่บริษัท ว. ดังนั้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ที่ 1 ตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจึงเหลือเพียง 50,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 2 วางเงินชำระต่อศาลชั้นต้นไว้แล้ว 50,000 บาท เมื่อรวมกับเงิน 50,000 บาท ที่ต้องกันไว้เพื่อคืนบริษัท ว. แล้ว เป็นเงิน 100,000 บาท เต็มวงเงินคุ้มครองผู้ประสบภัย 100,000 บาท ต่อหนึ่งคน สำหรับการเสียชีวิตแล้ว จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระเงิน 50,000 บาท แก่โจทก์ที่ 1 ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 อีก แต่เนื่องจากจำเลยที่ 2 วางเงินต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระแก่โจทก์ที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2550 ช่วงเวลาก่อนหน้านั้น จำเลยที่ 2 ยังคงมีความรับผิดในดอกเบี้ยของต้นเงิน 50,000 บาท จนกว่าจะชำระหนี้เสร็จ จำเลยที่ 2 จึงต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 50,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่ 27 พฤษภาคม 2550
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13191/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของบริษัทประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ กรณีผู้ตายไม่ได้อยู่ในรถที่เอาประกัน
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่รถตั้งแต่สองคันขึ้นไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถ ให้บริษัทที่รับประกันภัยรถแต่ละคันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถคันที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัท" เมื่อรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับชนกับรถที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ผู้ตายมิได้เป็นผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่โจทก์ ทายาทของผู้ตายต้องไปเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทที่รับประกันภัยรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับ
เมื่อรถจักรยานยนต์คันที่ผู้ตายขับไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และไม่ปรากฏว่าเจ้าของรถจักรยานยนต์คันที่ผู้ตายขับได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว จึงเป็นกรณีที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ มาตรา 23 (1) ซึ่งกฎหมายบังคับให้สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเป็นผู้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย เมื่อโจทก์ได้รับเงินค่าเสียหายเบื้องต้นจากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ ครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นได้อีก
เมื่อรถจักรยานยนต์คันที่ผู้ตายขับไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และไม่ปรากฏว่าเจ้าของรถจักรยานยนต์คันที่ผู้ตายขับได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว จึงเป็นกรณีที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ มาตรา 23 (1) ซึ่งกฎหมายบังคับให้สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเป็นผู้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย เมื่อโจทก์ได้รับเงินค่าเสียหายเบื้องต้นจากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ ครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13191/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ: การจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นกรณีผู้ประสบภัยไม่ได้อยู่ในรถคันที่เอาประกัน และการพิสูจน์ความรับผิด
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่รถตั้งแต่สองคันขึ้นไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถ ให้บริษัทที่รับประกันภัยรถแต่ละคันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถคันที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัท" เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า รถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับชนกับรถที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ผู้ตายมิได้เป็นผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่โจทก์ ทายาทของผู้ตายต้องไปเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทที่รับประกันภัยรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับตามบทบัญญัติดังกล่าว สำหรับจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ตามมาตรา 20 วรรคสอง
รถจักรยานยนต์คันที่ผู้ตายขับไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหายตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 และไม่ปรากฏว่าเจ้าของรถจักรยานยนต์คันที่ผู้ตายขับได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว จึงเป็นกรณีที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 23 (1) ซึ่งกฎหมายบังคับให้สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเป็นผู้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย เมื่อโจทก์ได้รับเงินค่าเสียหายเบื้องต้นจากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถเป็นเงิน 35,000 บาท ครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นได้อีก
รถจักรยานยนต์คันที่ผู้ตายขับไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหายตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 และไม่ปรากฏว่าเจ้าของรถจักรยานยนต์คันที่ผู้ตายขับได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว จึงเป็นกรณีที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 23 (1) ซึ่งกฎหมายบังคับให้สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเป็นผู้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย เมื่อโจทก์ได้รับเงินค่าเสียหายเบื้องต้นจากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถเป็นเงิน 35,000 บาท ครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นได้อีก