คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 351

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13199/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่ที่ไม่สมบูรณ์ทำให้หนี้เดิมยังคงมีผลบังคับใช้
ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะทำสัญญาจะซื้อจะขายทาวน์เฮ้าส์ให้แก่โจทก์ โจทก์มีสิทธิได้รับเงินจากการขายที่ดินโฉนดเลขที่ 177532 จำนวน 6,000,000 บาท จากจำเลยที่ 2 และได้แปลงหนี้ใหม่มาเป็นสัญญาจะซื้อจะขายทาวน์เฮาส์ แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้สร้างทาวน์เฮาส์ให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ก่อสร้างทาวน์เฮาส์จึงต้องถือว่าหนี้อันจะพึงเกิดขึ้นเพราะแปลงหนี้ใหม่นั้นมิได้เกิดขึ้น หนี้เดิมคือหนี้เงินที่จำเลยที่ 2 จะต้องชำระให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากการที่ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 177532 จำนวน 6,000,000 บาท จึงไม่ระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 351
การที่ศาลอุทธณ์ภาค 1 เห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในเรื่องการแปลงหนี้ใหม่ซึ่งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่า เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ก่อสร้างทาวน์เฮาส์แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องคืนเงินจำนวน 6,000,000 บาท แก่โจทก์ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กลับวินิจฉัยว่า เมื่อสัญญาซื้อขายทาวน์เฮาส์พร้อมที่ดินเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญากับโจทก์ หนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เกี่ยวกับการขายที่ดินโฉนดเลขที่ 177532 ย่อมระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 โจทก์ชอบที่จะเรียกให้จำเลยที่ 1 คืนเงินทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยเท่านั้นแต่ไม่มีสิทธิที่จะบังคับเอาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคำวินิจฉัยที่ขัดต่อบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 351 จึงไม่ชอบ และปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็สามารถวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 และเมื่อหนี้ที่เกิดจากการแปลงหนี้ใหม่ คือสัญญาจะซื้อจะขายทาวน์เฮาส์มิได้เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 351 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากการขายที่ดินโฉนดเลขที่ 177532 จำนวน 6,000,000 บาท แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากกู้ยืมเป็นซื้อขาย และผลของการไม่ส่งมอบทรัพย์สินตามสัญญา
การที่ ณ. ทำสัญญาขายรถยนต์ให้แก่โจทก์แทนการชำระหนี้โดยแปลงหนี้เงินกู้เป็นการซื้อขายรถยนต์แทน ถือได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 วรรคแรก แต่อย่างไรก็ตาม หนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์ดังกล่าวมีเงื่อนไขระบุไว้ว่าในระหว่างที่ผู้ขายยังไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อให้ถือว่ายังไม่มีการซื้อขาย ดังนั้น จึงถือว่าเป็นกรณีที่หนี้อันจะพึงเกิดขึ้นเพราะแปลงหนี้ใหม่นั้นยังมิได้เกิดขึ้น หนี้เดิมคือหนี้เงินกู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 351 ยังไม่ระงับสิ้นไป ซึ่งในกรณีนี้ถือได้ว่าโจทก์มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือมาแสดงแล้ว และไม่เป็นกรณีที่จำต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป. รัษฎากรฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากการกู้ยืมเป็นซื้อขายมีผลหรือไม่ หากสัญญาซื้อขายระบุว่ายังไม่มีการส่งมอบทรัพย์สิน
ณ. ทำสัญญาแปลงหนี้เงินกู้เป็นการซื้อขายรถยนต์แทน เป็นการแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 วรรคแรก แต่สัญญาซื้อขายรถยนต์มีข้อตกลงเป็นเงื่อนไขว่าในระหว่างที่ผู้ขายยังไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อให้ถือว่ายังไม่มีการซื้อขาย ฉะนั้น จึงถือว่าเป็นกรณีที่หนี้อันจะพึงเกิดขึ้นเพราะแปลงหนี้ใหม่นั้นมิได้เกิดมีขึ้น หนี้เดิมยังไม่ระงับสิ้นไปตามมาตรา 351 จำเลยในฐานะทายาทของ ณ. จึงต้องรับผิดชดใช้หนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7138/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาเช่าซื้อ ทำให้หนี้เดิมระงับ โจทก์ฟ้องซื้อขายจึงไม่มีผล
จำเลยได้ทำสัญญาขายรถยนต์ให้แก่โจทก์ โจทก์ชำระเงินให้แก่จำเลยในวันทำสัญญาบางส่วน ส่วนที่เหลือผ่อนชำระเป็นเวลา 48 เดือน ต่อมาโจทก์และจำเลยได้ตกลงเปลี่ยนสัญญาซื้อขายดังกล่าวเป็นสัญญาเช่าซื้อโดยบันทึกสัญญาไว้ในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีแสดงให้เห็นถึงเจตนาของโจทก์และจำเลยว่า ต้องการจะเปลี่ยนจากสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาเช่าซื้อและคู่สัญญามีเจตนาตกลงเลิกสัญญาซื้อขายกัน แล้วสมัครใจเข้าทำสัญญาเช่าซื้อและจะปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อต่อไป สัญญาซื้อขายจึงสิ้นผลผูกพันโจทก์และจำเลยนับตั้งแต่วันทำสัญญาเช่าซื้อ ทำให้หนี้ตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นอันระงับไป ด้วยการแปลงหนี้ใหม่ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายรถยนต์ แต่คำฟ้องของโจทก์บรรยายเกี่ยวกับการซื้อขายรถยนต์เท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงสัญญาเช่าซื้อ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาซื้อขายซึ่งระงับไปแล้วด้วยการแปลงหนี้ใหม่จากจำเลยได้ ศาลจึงพิพากษายกฟ้อง แต่ไม่ ตัดสิทธิโจทก์ที่จะทำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเหมาช่วงและแปลงหนี้: สิทธิเรียกร้องหนี้ที่ค้างชำระ และขอบเขตการพิพากษาของศาล
ตามสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลย แม้ขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล แต่อยู่ระหว่างการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท ซึ่งผู้เริ่มก่อการสามารถดำเนินการก่อหนี้หรือทำสัญญาใด ๆ ได้ยกเว้นกรณีตาม มาตรา 1102 และเมื่อจดทะเบียนบริษัทเสร็จจนมีสภาพเป็นนิติบุคคลแล้ว โจทก์ก็ยอมรับผลแห่งสัญญาโดยเข้าทำงานจนเสร็จ จึงเป็นการให้สัตยาบันแก่สัญญาที่ผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้ตามมาตรา 1108 (2) สัญญาดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะ ขณะเดียวกันสัญญาที่ทำขึ้นก็ไม่ใช่นิติกรรมอำพราง เพราะสัญญาทำขึ้นตรงกับเจตนาของคู่กรณี แม้ตอนแรกโจทก์จะใช้ชื่อจำเลยเป็นตัวแทนในการประมูลงานและทำสัญญาดังกล่าวต่อกรมทรัพยากรธรณี แต่ต่อมาโจทก์จำเลยประสงค์จะแปลงหนี้ใหม่เปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญจากการใช้ชื่อแทนหรือจากตัวการตัวแทนมาเป็นผู้รับจ้างและผู้ว่าจ้าง โดยโจทก์และจำเลยต่างยอมรับเอาข้อกำหนดตามสัญญารับจ้างดังกล่าวปฏิบัติต่อกันตลอดมา เป็นต้นว่า การทวงถามให้ชำระหนี้และปฏิบัติการชำระหนี้อันมีลักษณะทำนองเดียวกันกับข้อกำหนดในแบบสัญญาจ้างระหว่างกรมทรัพยากรธรณีกับจำเลย สัญญารับจ้างดังกล่าวจึงมีผลบังคับได้ในรูปของการที่ได้แปลงหนี้มาใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 วรรคหนึ่ง และมาตรา 351 โดยอนุโลม
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) บัญญัติว่า "ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ใด ๆ เป็นของตนทั้งหมด แต่พิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่ง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นก็ได้" อันถือเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 142 วรรคหนึ่ง ที่ว่าศาลต้องตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อ แต่ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ดังนั้น ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ซึ่งลูกหนี้หรือจำเลยอาจจะยังคงค้างชำระอยู่บางส่วน เจ้าหนี้หรือโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้ตามมูลหนี้ที่ยังค้างอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 194 ได้ ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัย และพิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระหนี้แต่เพียงบางส่วนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4934/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญารับสภาพหนี้มีดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ และการชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่อาจนำไปหักชำระต้นเงินได้
ตามสัญญารับสภาพหนี้และร่วมรับผิดชดใช้หนี้สินมีข้อความว่า จำเลยที่ 1 มีหนี้สินเบิกเงินเกินบัญชี สัญญาขายลดเช็ค และกู้ยืมเงิน ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ในวันที่ 31 ตุลาคม 2529 เป็นต้นเงินจำนวน 8,010,650 บาท และดอกเบี้ยจำนวน1,987,439.27 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,998,089.27 บาท จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ยินยอมรับผิดใช้หนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันที่ 21พฤศจิกายน 2529 โดยหนี้สัญญาขายลดเช็คจะผ่อนชำระเดือนละไม่ต่ำกว่า 45,000บาท หนี้กู้ยืมเงินจะผ่อนชำระดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10,000 บาท หลังจากเดือนกรกฎาคม 2530 จะตกลงจำนวนเงินผ่อนชำระอีกครั้งโดยต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละ60,000 บาท และหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจะนำเงินเข้าหมุนเวียนลดยอดหนี้ในบัญชีให้อยู่ในวงเงินตามสัญญาภายใน 6 เดือน หากผิดนัดชำระหนี้ตามเงื่อนไขดังกล่าวให้ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมดยอมให้โจทก์ฟ้องร้องบังคับได้ทั้งหมดทันที ดังนี้เป็นเพียงการที่จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 เพียงฝ่ายเดียวได้ยอมรับว่าเป็นหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสัญญาขายลดเช็ค และสัญญากู้ยืมเงินอยู่แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เป็นจำนวนเท่าใดและจะผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์อย่างไร ภายในระยะเวลาเท่าใด แต่หาได้มีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันไม่ สัญญารับสภาพหนี้และร่วมรับผิดชดใช้หนี้สินตามเอกสารดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่เป็นเพียงการรับสภาพหนี้เท่านั้น
ขณะทำสัญญารับสภาพหนี้ได้มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลดได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ดังนี้การที่ทำสัญญารับสภาพหนี้กำหนดดอกเบี้ยกันไว้ร้อยละ 19 ต่อปี จึงไม่ชอบและตกเป็นโมฆะ ทั้งโจทก์ไม่มีสิทธิย้อนกลับไปเรียกให้จำเลยทั้งหกรับผิดชำระดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมได้อีก คงรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องในต้นเงินที่ค้างชำระ
การชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อได้ชำระไปแล้วย่อมไม่อาจเรียกคืนหรือให้กลับนำมาหักชำระต้นเงินได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4934/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญารับสภาพหนี้ที่กำหนดดอกเบี้ยสูงเกินกฎหมายเป็นโมฆะ และการชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่อาจนำไปหักต้นเงินได้
ตามสัญญารับสภาพหนี้และร่วมรับผิดชดใช้หนี้สินมีข้อความว่า จำเลยที่ 1 มีหนี้สินเบิกเงินเกินบัญชี สัญญาขายลดเช็ค และกู้ยืมเงิน ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ในวันที่ 31 ตุลาคม 2529 เป็นต้นเงินจำนวน 8,010,650 บาท และดอกเบี้ยจำนวน1,987,439.27 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,998,089.27 บาท จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ยินยอมรับผิดใช้หนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันที่ 21พฤศจิกายน 2529 โดยหนี้สัญญาขายลดเช็คจะผ่อนชำระเดือนละไม่ต่ำกว่า 45,000บาท หนี้กู้ยืมเงินจะผ่อนชำระดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10,000 บาท หลังจากเดือนกรกฎาคม 2530 จะตกลงจำนวนเงินผ่อนชำระอีกครั้งโดยต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละ60,000 บาท และหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจะนำเงินเข้าหมุนเวียนลดยอดหนี้ในบัญชีให้อยู่ในวงเงินตามสัญญาภายใน 6 เดือน หากผิดนัดชำระหนี้ตามเงื่อนไขดังกล่าวให้ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมดยอมให้โจทก์ฟ้องร้องบังคับได้ทั้งหมดทันที ดังนี้เป็นเพียงการที่จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 เพียงฝ่ายเดียวได้ยอมรับว่าเป็นหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสัญญาขายลดเช็ค และสัญญากู้ยืมเงินอยู่แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เป็นจำนวนเท่าใดและจะผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์อย่างไร ภายในระยะเวลาเท่าใด แต่หาได้มีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันไม่ สัญญารับสภาพหนี้และร่วมรับผิดชดใช้หนี้สินตามเอกสารดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่เป็นเพียงการรับสภาพหนี้เท่านั้น
ขณะทำสัญญารับสภาพหนี้ได้มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลดได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ดังนี้การที่ทำสัญญารับสภาพหนี้กำหนดดอกเบี้ยกันไว้ร้อยละ 19 ต่อปี จึงไม่ชอบและตกเป็นโมฆะ ทั้งโจทก์ไม่มีสิทธิย้อนกลับไปเรียกให้จำเลยทั้งหกรับผิดชำระดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมได้อีก คงรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องในต้นเงินที่ค้างชำระ
การชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อได้ชำระไปแล้วย่อมไม่อาจเรียกคืนหรือให้กลับนำมาหักชำระต้นเงินได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4934/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญารับสภาพหนี้ไม่เป็นประนีประนอมยอมความ ดอกเบี้ยสูงกว่ากฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ
ตามสัญญารับสภาพหนี้และร่วมรับผิดชดใช้หนี้สินมีข้อความว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้สินเบิกเงินเกินบัญชี สัญญาขายลดเช็ค และกู้ยืมเงิน ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ในวันที่ 31 ตุลาคม 2529 เป็นต้นเงินจำนวน 8,010,650 บาท และดอกเบี้ยจำนวน 1,987,439.27 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,998,089.27 บาทจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ยินยอมรับผิดใช้หนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี นับแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2529 โดยหนี้สัญญาขายลดเช็คจะผ่อนชำระเดือนละไม่ต่ำกว่า 45,000 บาท หนี้กู้ยืมเงินจะผ่อนชำระดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10,000 บาท หลังจากเดือนกรกฎาคม 2530 จะตกลงจำนวนเงินผ่อนชำระอีกครั้งโดยต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละ 60,000 บาท และหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจะนำเงินเข้าหมุนเวียนลดยอดหนี้ในบัญชีให้อยู่ในวงเงินตามสัญญาภายใน6 เดือน หากผิดนัดชำระหนี้ตามเงื่อนไขดังกล่าวให้ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมดยอมให้โจทก์ฟ้องร้องบังคับได้ทั้งหมดทันที ดังนี้เป็นเพียงการที่จำเลยที่ 1 ที่ 4และที่ 5 เพียงฝ่ายเดียวได้ยอมรับว่าเป็นหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี สัญญาขายลดเช็ค และสัญญากู้ยืมเงินอยู่แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เป็นจำนวนเท่าใดและจะผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์อย่างไร ภายในระยะเวลาเท่าใด แต่หาได้มีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันไม่สัญญารับสภาพหนี้และร่วมรับผิดชดใช้หนี้สินตามเอกสารดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญา-ประนีประนอมยอมความ แต่เป็นเพียงการรับสภาพหนี้เท่านั้น
ขณะทำสัญญารับสภาพหนี้ได้มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลดได้ไม่เกินร้อยละ 15ต่อปี ดังนี้การที่ทำสัญญารับสภาพหนี้กำหนดดอกเบี้ยกันไว้ร้อยละ 19 ต่อปี จึงไม่ชอบและตกเป็นโมฆะ ทั้งโจทก์ไม่มีสิทธิย้อนกลับไปเรียกให้จำเลยทั้งหกรับผิดชำระดอกเบี้ยตามสัญญาเดิมได้อีก คงรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องในต้นเงินที่ค้างชำระ
การชำระดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อได้ชำระไปแล้วย่อมไม่อาจเรียกคืนหรือให้กลับนำมาหักชำระต้นเงินได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาขายลดตั๋วเงิน/จำนอง/ค้ำประกัน หนี้ไม่ระงับแม้มีตั๋วใหม่ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามตั๋วใหม่
คำบรรยายฟ้องโจทก์ได้ความชัดว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายลดตั๋วเงินกับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่ 3ที่ 4 เป็นผู้ทำสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินนำมาขายลดแก่โจทก์ เมื่อตั๋วถึงกำหนดชำระจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ แต่ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ชำระหนี้แก่โจทก์แทนตั๋วฉบับเดิม ที่จำเลยที่ 1 ให้การว่า เป็นการออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ชำระหนี้ค่าตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมและโจทก์รับชำระหนี้แล้ว หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมจึงระงับ แต่โจทก์ไม่ยื่นตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ภายในเวลาที่กำหนด จำเลยทั้งสี่จึงไม่ต้องรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่นั้นเป็นคำให้การปฎิเสธว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมแล้วโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่แลกเปลี่ยน การเปลี่ยนเงื่อนไขวันถึงกำหนดใช้เงินจากวันที่กำหนดไว้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมเป็นเมื่อทวงถามตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ มิใช่เปลี่ยนสิ่งที่เป็นสาระสำคัญแห่งหนี้เพราะยังเป็นมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินอยู่ คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมจะระงับไปหรือไม่อย่างไรไม่ใช่ข้อสำคัญ ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ก็ไม่ระงับ หนี้ตามหนังสือสัญญาขายลดตั๋วเงินและสัญญาจำนองสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นประกันการชำระหนี้ก็ไม่ระงับไปด้วย คำให้การของจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวไม่ใช่เป็นเรื่องจำเลยทั้งสี่เข้าใจผิดหรือหลงข้อต่อสู้ฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยชัดแจ้งถึงสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ก่อนจำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินขายลดแก่โจทก์จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาขายลดตั๋วเงินกับโจทก์โดยจำเลยทั้งสี่ได้ทำสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 กับโจทก์มีข้อความสำคัญในสัญญาขายลดตั๋วเงินว่าหากโจทก์ไม่ได้รับเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยที่ 1 นำมาขายลดไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะชำระเงินตามตั๋วคืนแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยจนกว่าจะชำระเสร็จ หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฎิบัติตามยอมให้โจทก์ฟ้องบังคับได้ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีผลบังคับจำเลยที่ 1 ตลอดไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระเงินตามตั๋วที่นำมาขายลดพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์จนครบ โดยมีสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันของจำเลยทั้งสี่เป็นหลักประกัน หลังจากจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาขายตั๋วเงินกับโจทก์แล้วจำเลยที่ 1 ได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลยที่ 1 มาขายลดแก่โจทก์ 1 ฉบับ เป็นเงิน 15,000,000 บาท เมื่อตั๋วถึงกำหนดชำระเงินจำเลยที่ 1 ไม่ใช้เงินแก่โจทก์ แต่ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่จำนวนเงินแลกเปลี่ยนหรือชำระหนี้ตามตั๋วฉบับเดิม เมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินตามตั๋วฉบับใหม่จำเลยที่ 1 ก็ไม่ชำระ ดังนั้นเงินจำนวน 15,000,000 บาท ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่โจทก์จึงยังไม่ได้รับชำระคืน หนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินและสัญญาจำนองกับค้ำประกันซึ่งเป็นประกันแห่งหนี้ จึงไม่ระงับและยังมีผลผูกพันจำเลยทั้งสี่ จำเลยที่ 1 ให้การว่าไม่เคยได้รับหนังสือทวงถามบอกกล่าวบังคับจำนอง การบอกกล่าวบังคับจำนองไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ดังนี้ข้อที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า โจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือมอบอำนาจให้ จ. เป็นผู้บอกกล่าวบังคับจำนอง การบอกกล่าวบังคับจำนองจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยทั้งสี่ไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในคำให้การขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ถือว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ชำระหนี้แทนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิม แม้ตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมจะไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ในตั๋ว แต่เมื่อโจทก์ฟ้องและศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่รับผิดใช้เงินแก่โจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ จำเลยทั้งสี่ต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามอัตราที่กำหนดไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยตั๋วสัญญาใช้เงิน การระงับหนี้ และผลผูกพันตามสัญญาประกัน
คำบรรยายฟ้องโจทก์ได้ความชัดว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายลดตั๋วเงินกับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เป็นผู้ทำสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินนำมาขายลดแก่โจทก์ เมื่อตั๋วถึงกำหนดชำระจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ แต่ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ชำระหนี้แก่โจทก์แทนตั๋วฉบับเดิม ที่จำเลยที่ 1ให้การว่า เป็นการออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ชำระหนี้ค่าตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมและโจทก์รับชำระหนี้แล้ว หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมจึงระงับ แต่โจทก์ไม่ยื่นตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ภายในเวลาที่กำหนด จำเลยทั้งสี่จึงไม่ต้องรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่นั้น เป็นคำให้การปฏิเสธว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมแล้วโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่แลกเปลี่ยน การเปลี่ยนเงื่อนไขวันถึงกำหนดใช้เงินจากวันที่กำหนดไว้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมเป็นเมื่อทวงถามตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ มิใช่เปลี่ยนสิ่งที่เป็นสาระสำคัญแห่งหนี้เพราะยังเป็นมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินอยู่ คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมจะระงับไปหรือไม่อย่างไรไม่ใช่ข้อสำคัญ ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ก็ไม่ระงับ หนี้ตามหนังสือสัญญาขายลดตั๋วเงินและสัญญาจำนองสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นประกันการชำระหนี้ก็ไม่ระงับไปด้วย คำให้การของจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวไม่ใช่เป็นเรื่องจำเลยทั้งสี่เข้าใจผิดหรือหลงข้อต่อสู้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยชัดแจ้งถึงสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ก่อนจำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินขายลดแก่โจทก์ จำเลยที่ 1ได้ทำสัญญาขายลดตั๋วเงินกับโจทก์โดยจำเลยทั้งสี่ได้ทำสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 กับโจทก์ มีข้อความสำคัญในสัญญาขายลดตั๋วเงินว่าหากโจทก์ไม่ได้รับเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยที่ 1 นำมาขายลดไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะชำระเงินตามตั๋วคืนแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยจนกว่าจะชำระเงินเสร็จ หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามยอมให้โจทก์ฟ้องบังคับได้ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีผลบังคับจำเลยที่ 1 ตลอดไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระเงินตามตั๋วที่นำมาขายลดพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์จนครบ โดยมีสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันของจำเลยทั้งสี่เป็นหลักประกัน
หลังจากจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาขายลดตั๋วเงินกับโจทก์แล้วจำเลยที่ 1 ได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลยที่ 1 มาขายลดแก่โจทก์ 1 ฉบับเป็นเงิน 15,000,000 บาท เมื่อตั๋วถึงกำหนดชำระเงินจำเลยที่ 1 ไม่ใช้เงินแก่โจทก์ แต่ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่จำนวนเงินแลกเปลี่ยนหรือชำระหนี้ตามตั๋วฉบับเดิม เมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินตามตั๋วฉบับใหม่จำเลยที่ 1 ก็ไม่ชำระ ดังนั้นเงินจำนวน 15,000,000 บาท ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่โจทก์จึงยังไม่ได้รับชำระคืน หนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินและสัญญาจำนองกับค้ำประกันซึ่งเป็นประกันแห่งหนี้ จึงไม่ระงับและยังมีผลผูกพันจำเลยทั้งสี่
จำเลยที่ 1 ให้การว่าไม่เคยได้รับหนังสือทวงถามบอกล่าวบังคับจำนอง การบอกกล่าวบังคับจำนองไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ดังนี้ข้อที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า โจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือมอบอำนาจให้ จ.เป็นผู้บอกกล่าวบังคับจำนอง การบอกกล่าวบังคับจำนองจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยทั้งสี่ไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในคำให้การขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ถือว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ชำระหนี้แทนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิม แม้ตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมจะไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ในตั๋ว แต่เมื่อโจทก์ฟ้องและศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่รับผิดใช้เงินแก่โจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ จำเลยทั้งสี่ต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามอัตราที่กำหนดไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่
of 4