คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 196 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9274/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลพิจารณาเหตุผลการเลิกจ้างและค่าชดเชยตามอัตราแลกเปลี่ยน
การที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์โดยยกข้อเท็จจริงตามคำเบิกความโจทก์มาอุทธรณ์เพื่อให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มอบหมายงานให้โจทก์ทำนอกประเทศไทยโดยมิได้เสียภาษีเงินได้ในประเทศไทย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแรงงานกลางโดยต้องไปฟ้องต่อศาลในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น เป็นการอุทธรณ์โดยยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
การพิจารณาว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 หรือไม่ หาใช่พิจารณาแต่เพียงว่านายจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาจ้างตามข้อตกลงในสัญญาจ้างประการเดียวเท่านั้นไม่ แต่จะต้องพิจารณาด้วยว่ากรณีการเลิกจ้างมีเหตุแห่งการเลิกจ้างและเป็นเหตุอันสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างหรือไม่ จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นนายจ้างเลิกจ้างโจทก์เพราะเสียดายที่ต้องจ่ายค่าจ้างจำนวนมากแก่โจทก์และเพื่อต้องการลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ อันเป็นการเลิกจ้างที่ให้ประโยชน์แก่นายจ้างฝ่ายเดียว จึงไม่มีเหตุอันจำเป็นและสมควรเพียงพอที่จะเลิกจ้างโจทก์ ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นเงินไทย ศาลแรงงานกลางจึงชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นเงินไทยแก่โจทก์ได้ ส่วนหนี้ค่าชดเชยโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองตกลงจ่ายค่าจ้างอัตราสุดท้ายเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐแก่โจทก์ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐจำนวนหนึ่งโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันที่ 8 กรกฎาคม 2553 ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งสองตกลงจ่ายค่าจ้างอัตราสุดท้ายเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐแก่โจทก์ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชย 40,249.98 ดอลลาร์สหรัฐ จำเลยทั้งสองจ่ายค่าชดเชยบางส่วนเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ คงค้างโจทก์อยู่อีก 4,750 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งหนี้ค่าชดเชยเป็นหนี้เงินที่กำหนดไว้เป็นเงินตราต่างประเทศ หากจำเลยทั้งสองจะชำระเป็นเงินไทยก็ทำได้โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง ซึ่งเป็นสิทธิของลูกหนี้ในการเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ ศาลไม่มีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงสิทธิของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ได้โดยลำพัง ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสองจ่ายค่าชดเชยส่วนที่ขาดเป็นเงินไทยโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันที่มีการชำระค่าชดเชยบางส่วนไปแล้วนั้น จึงไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13244/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจ้าง การคำนวณค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และการกำหนดค่าเสียหายซ้ำซ้อน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสอง ต้องการให้มีการบอกเลิกสัญญาจ้างกันล่วงหน้าอย่างน้อย 1 รอบของการกำหนดจ่ายค่าจ้าง เมื่อนายจ้างลูกจ้างตกลงกันให้มีการบอกกล่าวล่วงหน้านานกว่ากำหนดดังกล่าวก็ย่อมทำได้ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
ข้อตกลงว่าหากมีการเลิกจ้างจำเลยที่ 8 ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อน 3 เดือน แต่จำเลยที่ 8 บอกเลิกจ้างในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 ให้มีผลในวันที่ 1 ธันวาคม 2551 เป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการเลิกจ้างเพียง 2 วัน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 2 เดือน 28 วัน
แม้โจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและค่าเสียหายการผิดสัญญาจ้างแรงงานซึ่งเป็นเงินที่เรียกจากมูลกฎหมายที่แตกต่างกันมาในคราวเดียวกันได้ก็ตามแต่เมื่อคดีนี้ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยอ้างเหตุว่าจำเลยที่ 8 ถึงที่ 11 เลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีเหตุอันสมควรซึ่งเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นมูลเหตุเดียวกันกับการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมที่ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์แล้วจึงเป็นการกำหนดค่าเสียหายที่ซ้ำซ้อนโดยอาศัยมูลเหตุเดียวกันย่อมเป็นการไม่ชอบ
การคำนวณจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าอาศัยค่าจ้างอัตราสุดท้ายที่จ่ายเป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ การจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมก็คำนึงถึงค่าชดเชยที่โจทก์ได้รับประกอบการพิจารณาด้วย ราคาค่าบัตรโดยสารเครื่องบินโจทก์ก็นำสืบว่ามีราคาเป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยให้จ่ายเป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์โดยให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และเวลาใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง เพื่อป้องกันการได้เปรียบหรือเสียเปรียบจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราอันทำให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่ความ คำพิพากษาศาลแรงงานกลางในส่วนนี้ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เงินตราต่างประเทศ: อัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้บังคับ & การเปลี่ยนแปลงสกุลเงิน
แม้คดีนี้จะมีการสืบพยานบุคคลของโจทก์และจำเลยเพียงฝ่ายละ 1 ปาก แต่จำเลยได้ฟ้องแย้งไว้ด้วย คดีมีทุนทรัพย์ตามคำฟ้องจำนวน 1,883,931.97 บาท และทุนทรัพย์ตามคำฟ้องแย้งจำนวน 994,076.66 บาท ศาลมีอำนาจกำหนดค่าทนายความตามอัตราค่าทนายความตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ขั้นสูงร้อยละ 5 ของทุนทรัพย์ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางกำหนดค่าทนายความจำนวน 40,000 บาท นั้น ไม่ถือว่าสูงเกินไป
โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินต่างประเทศ ซึ่งหากจำเลยจะชำระหนี้เป็นเงินไทยก็ได้ แต่การเปลี่ยนเงินต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษากำหนดให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนในวันฟ้องเท่ากับการพิพากษานอกเหนือหรือเกินไปกว่าคำฟ้องจึงไม่ชอบ และเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
หนี้เงินต่างประเทศสกุลฟรังก์ฝรั่งเคสที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระแก่โจทก์ตามคำฟ้องเป็นเงินตราของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ในทวีปยุโรปที่มีการจัดตั้งสหภาพยุโรป ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงสกุลเงินที่ใช้ในประเทศดังกล่าวจึงเห็นสมควรกำหนดวิธีการคิดคำนวณมูลค่าเงินไว้เพื่อความสะดวกในการบังคับคดีด้วย
หากในเวลาใช้เงินจริงนั้นเงินฟรังก์ฝรั่งเคสเป็นเงินตราชนิดที่ยกเลิกไม่ใช้กันแล้ว ให้จำเลยชำระหนี้ด้วยเงินสกุลที่ใช้แทนเงินฟรังก์ฝรั่งเคสที่มีมูลค่าเท่ากับจำนวนหนี้ต้นเงินฟรังก์ฝรั่งเศสพร้อมดอกเบี้ยดังกล่าวข้างต้นโดยคิดดอกเบี้ยถึงวันก่อนวันคำนวณเปลี่ยนจำนวนหนี้เงินฟรังก์ฝรั่งเศสเป็นเงินสกุลที่ใช้แทน ทั้งนี้ โดยการคำนวณเปลี่ยนจำนวนหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยที่เป็นเงินฟรังก์ฝรั่งเศสเป็นเงินสกุลที่ใช้แทนนั้นให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ วันสุดท้ายที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเงินฟรังก์ฝรั่งเศสเป็นเงินสกุลที่ใช้แทนที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ในขณะหรือก่อนเวลาใช้เงินจริง และคิดดอกเบี้ยของต้นเงินที่เปลี่ยนเป็นเงินสกุลที่ใช้แทนนั้นนับแต่วันเปลี่ยนเงินดังกล่าวจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ: การกำหนดเวลาและสถานที่ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระเป็นเงินตราต่างประเทศพร้อมกับให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทตามอัตราเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานคร ณ สิ้นวันทำการในวันที่มีคำพิพากษาเป็นเกณฑ์นั้น เป็นการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่สอดคล้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 196 วรรคสอง ที่ให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามคำพิพากษาต้องใช้ในเวลาที่ใช้เงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประกาศกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระเป็นเงินตราต่างประเทศพร้อมกับให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทตามอัตราเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานคร ณ สิ้นวันทำการในวันที่มีคำพิพากษาเป็นเกณฑ์นั้น เป็นการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่สอดคล้องกับ ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง ที่ให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เห็นสมควร หยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1916/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจต่างประเทศ, คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ, และการบังคับชำระหนี้ตามอัตราแลกเปลี่ยน
หนังสือมอบอำนาจที่ได้ทำในต่างประเทศ ความสมบูรณ์ของหนังสือมอบอำนาจจึงต้องเป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่ทำหนังสือมอบอำนาจนั้น จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร
ความมุ่งหมายของการบังคับให้มีสำเนาเอกสารหรือคำแปลเอกสารที่รับรองถูกต้องแห่ง พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 3 (2) และ (3) ก็คือเพื่อให้เอกสารมีความน่าเชื่อถือ ความไม่ชอบของเอกสารที่มิได้ระบุชื่อผู้แปลหรือผู้แปลได้สาบานตนหรือไม่ ตามที่ผู้คัดค้านอ้าง จึงไม่ใช่ข้อสำคัญแห่งคดี
การชำระหนี้ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่กำหนดให้ผู้คัดค้านใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แต่การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยในวันที่มีคำพิพากษาเป็นเกณฑ์นั้น ถือว่าไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง จึงสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดอัตราแลกเปลี่ยนหนี้สัญญาต่างประเทศ: ต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ เวลาชำระหนี้ หรือวันพิพากษาศาลฎีกา
การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินไทยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสองให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินอัตราแลกเปลี่ยนตามมาตรานี้หมายถึงอัตราแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรีในเวลาที่ได้ใช้เงินจริง ซึ่งตามปกติจะคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ขายเงินตราต่างประเทศในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์แต่เพื่อความสะดวกในการบังคับคดี จึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารพาณิชย์ในวันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ถ้าไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนในวันดังกล่าว ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการแลกเปลี่ยนเช่นว่านั้นก่อนวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราแลกเปลี่ยนที่โจทก์ขอปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4609/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตาม ป.พ.พ.มาตรา 196: เกณฑ์การคำนวณเพื่อบังคับคดี
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตาม ป.พ.พ.มาตรา 196 วรรคสองหมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรีในเวลาที่จำเลยได้ใช้เงินจริง ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนเงินนี้ตามปกติจะคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทำการขายเงินตราต่างประเทศในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ แต่เพื่อความสะดวกในการบังคับคดีจึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารพาณิชย์ในวันที่อ่านคำพิพากษาของศาล และถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้นก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายเช่นว่านั้นก่อนมีคำพิพากษา แต่ไม่เกินอัตราแลกเปลี่ยนตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2560/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: เหตุผลที่ศาลไม่อาจบังคับตามคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 26 (4)ห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล เว้นแต่ผู้พิพากษาซึ่งไต่สวนคดีนั้นมีความเห็นแย้งหรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ เมื่อปรากฏว่าผู้พิพากษาซึ่งไต่สวนคดีให้คำรับรองแล้วว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ อุทธรณ์ของผู้คัดค้านจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์
เงื่อนไขการจ่ายเงินค่าจ้างเป็นข้อกำหนดในสัญญาจ้างเหมาระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้านซึ่งกำหนดถึงเรื่องการตั้งอนุญาโตตุลาการด้วยอนุญาโตตุลาการจะต้องชี้ขาดตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญา ดังนั้น การที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ผู้คัดค้านจ่ายเงินร้อยละ 40 เป็นเงินเยนโดยไม่ต้องคำนึงถึงการขึ้นหรือลงของค่าเงินเยนหรือบาทโดยเทียบได้ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 196วรรคสอง โดยมิได้ให้วิศวกรปรับปรุงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตามข้อกำหนด จึงเป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับแก่ข้อพิพาทในคดีนี้ ศาลไม่อาจให้บังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้ ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 24วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2560/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาจ้างเหมา การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการอุทธรณ์ที่มิได้มีลักษณะต้องห้าม
พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530มาตรา26(4)ห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลเว้นแต่ผู้พิพากษาซึ่งไต่สวนคดีนั้นมีความเห็นแย้งหรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้เมื่อปรากฎว่าผู้พิพากษาซึ่งไต่สวนคดีให้คำรับรองแล้วว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้อุทธรณ์ของผู้คัดค้านจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ เงื่อนไขการจ่ายเงินค่าจ้างเป็นข้อกำหนดในสัญญาจ้างเหมาระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้านซึ่งกำหนดถึงเรื่องการตั้งอนุญาโตตุลาการด้วยอนุญาโตตุลาการจะต้องชี้ขาดตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาดังนั้นการที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ผู้คัดค้านจ่ายเงินร้อยละ40เป็นเงินเยนโดยไม่ต้องคำนึงถึงการขึ้นหรือลงของค่าเงินเยนหรือบาทโดยเทียบได้ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา196วรรคสองโดยมิได้ให้วิศวกรปรับปรุงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตามข้อกำหนดจึงเป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับแก่ข้อพิพาทในคดีนี้ศาลไม่อาจให้บังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530มาตรา24วรรคแรก
of 2