พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13252/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับบริการทางศิลปะวัฒนธรรมที่ไม่เก็บค่าบริการจากผู้ชมโดยตรง
ป.รัษฎากร มาตรา 81 บัญญัติว่า "ให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบกิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (1)... (ซ) การให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรมในสาขา และลักษณะการประกอบกิจการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี" ซึ่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 11) เรื่อง กำหนดสาขาและลักษณะการประกอบกิจการให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรม ตามมาตรา 81 (1) (ซ) แห่ง ป.รัษฎากร "ข้อ 1 การให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรมในสาขานาฏศิลป์และสาขาดุริยางคศิลป์และคีตศิลป์ คำว่า "สาขานาฏศิลป์" หมายความถึง การแสดงศิลปะการร่ายรำประเภทต่าง ๆ ได้แก่ การแสดงพื้นเมือง ระบำ ละคร และโขน คำว่า "สาขาดุริยางคศิลป์และคีตศิลป์" หมายความถึงเฉพาะการแสดงดนตรีไทย หรือการขับร้องเพลงไทยประกอบเครื่องดนตรีไทย ข้อ 2 การให้บริการตามข้อ 1 ผู้ประกอบการจะต้องมิได้เรียกเก็บค่าบริการโดยตรงจากผู้ชมหรือผู้ฟัง แต่ไม่รวมถึงการให้บริการโดยกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น เมื่อประกาศอธิบดีฉบับดังกล่าวไม่ได้มีข้อจำกัดว่าหากโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรมในสาขานาฏศิลป์และสาขาดุริยางคศิลป์และคีตศิลป์โดยมุ่งค้าหากำไรแล้วจะไม่เข้าเงื่อนไขยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น แม้ในส่วนที่โจทก์ให้บริการทางศิลปะและวัฒนธรรมในสาขานาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์และคีตศิลป์จะเป็นการให้บริการโดยมุ่งค้าหากำไร แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้เก็บค่าบริการจากผู้ชมโดยตรงตามข้อ 2 ของประกาศฉบับดังกล่าว โจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม