พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15098/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรเงินให้ผู้รับใบอนุญาตสถาบันศึกษาเอกชน ไม่เป็นเงินส่วนแบ่งกำไรตามกฎหมายภาษี
โจทก์เป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2546 โดยบริษัท ร. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโจทก์ และโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของบริษัทให้แก่โจทก์เพื่อใช้ประกอบกิจการวิทยาลัย ต่อมาโจทก์จัดสรรเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากการประกอบกิจการของโจทก์ให้แก่บริษัท ร. อันเป็นการจัดสรรเงินรายได้จากการประกอบกิจการให้บริการด้านการศึกษาของโจทก์ตามมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2546 เงินผลประโยชน์ที่ผู้รับใบอนุญาตได้รับจากโจทก์จึงเป็นเงินได้จากการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) ตามมาตรา 40 (8) แห่ง ป.รัษฎากร และตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่ง ป.รัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ข้อ 12/1 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า "ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) เฉพาะที่เป็นการจ่ายเงินได้จากการให้บริการอื่น ๆ... หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0 ..." ตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 284) พ.ศ.2538 มาตรา 3 กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่ง ป.รัษฎากร สำหรับเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ดังนี้ (1) กำไรสุทธิที่ได้จากกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน... (2) เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการตาม (1) โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ฯ ไม่เข้าลักษณะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่ง ป.รัษฎากร เงินผลประโยชน์ที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท ร. จึงไม่อาจถือเป็นเงินส่วนแบ่งของกำไรตามมาตรา 40 (4) (ข) เงินผลประโยชน์ที่ผู้รับใบอนุญาตได้รับจากโจทก์ จึงไม่ได้รับยกเว้นตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13253/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงภาษีด้วยการจ่ายเงินสนับสนุนแทนเงินปันผล ทำให้เกิดเงินได้พึงประเมินและหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
บริษัทโจทก์ บริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายเดียวกันคือ บริษัท อาเซียอา นิติบุคคลตามกฎหมายไทยถือหุ้นร้อยละ 51 และมีบริษัท เอบีบี อ. นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ ถือหุ้นคิดเป็นร้อยละ 49 ก่อนจดทะเบียนเลิกบริษัทโจทก์มีกำไรสะสม 101,754,580 บาท ซึ่งโจทก์ควรจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นของโจทก์ การจ่ายเงินปันผลให้แก่บริษัท เอบีบี อ. ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศโจทก์ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 70 แต่โจทก์กลับจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นเพียง 2,105,627 บาท แล้วนำกำไรอีก 99,000,000 บาท ไปจ่ายเป็นเงินสนับสนุนให้แก่บริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. โดยไม่ได้รับผลตอบแทนเพื่อให้บริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. นำเงินดังกล่าวไปชำระหนี้แก่บริษัท เอบีบี อ. ทั้งที่โจทก์มิได้เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท เอบีบี อ. หลังจากโจทก์ให้เงินสนับสนุนแก่บริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. เพียงสองวัน โจทก์และบริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทในวันเดียวกัน ปกติก่อนเลิกบริษัท หากโจทก์มีหนี้สินก็ควรนำเงินไปชำระหนี้ก่อนที่เหลือจึงนำแบ่งให้แก่ผู้ถือหุ้น การที่โจทก์จ่ายเงินสนับสนุนให้แก่บริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. เป็นทางให้บริษัท อาเซียอา ผู้ถือหุ้นใหญ่ของโจทก์ขาดประโยชน์ที่พึงมีพึงได้จากกำไรสะสม 99,000,000 บาท ทางพิจารณาไม่ปรากฏว่ามีเหตุผลสมควรอันใดที่บริษัท อาเซียอา ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่มีอำนาจบริหารในบริษัทโจทก์จะยอมให้โจทก์กระทำให้บริษัท อาเซียอา ต้องเสียเปรียบ ดังนั้น การที่โจทก์ไม่จ่ายเงินปันผลให้แก่บริษัท เอบีบี อ. โดยตรง กับใช้วิธีให้เงินสนับสนุนแก่บริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. ก็เพื่อที่โจทก์ไม่ต้องหักภาษีจากเงินได้ที่จ่ายให้บริษัท เอบีบี อ. ตามมาตรา 70 พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าบริษัท เอบีบี อ. ได้รับผลประโยชน์ทางอ้อมจากกำไรสะสมที่โจทก์ได้จ่ายเงินสนับสนุนให้แก่บริษัท เอบีบี ด. และบริษัท เอบีบี พ. ตามสัดส่วนของการถือหุ้นอันเป็นการเพิ่มพูนทรัพย์สินของบริษัท เอบีบี อ. อันอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน จึงเป็นเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 39 และเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ข) ที่จ่ายจากประเทศไทย โจทก์มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8479/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากร: การจำหน่ายหนี้สูญ, ดอกเบี้ยเบิกเกินบัญชี, และการหักภาษี ณ ที่จ่าย
การจำหน่ายหนี้สูญตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (9) มิได้กำหนดกฎเกณฑ์ไว้ว่าเจ้าหนี้ต้องทำอย่างไรบ้างเกี่ยวกับหนี้ที่จะถือว่าได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้ว จึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไป
ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9) หมายความว่า รายจ่ายที่จะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิจะต้องเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริง และรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีใดต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น เว้นแต่ในกรณีที่ไม่สามารถจะลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ก็ให้นำไปถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีถัดไปได้ โจทก์ใช้เกณฑ์สิทธิในการลงบัญชีและคำนวณกำไรสุทธิโดยถือรอบระยะเวลาบัญชีตามปีปฏิทิน ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2520 โจทก์ทำประมาณการรายจ่ายต่าง ๆ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2520 เพื่อจ่ายในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม 2520 และครั้งที่ 2 เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2520 เพื่อจ่ายในระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน 2521 จะเห็นได้ว่าประมาณการรายจ่ายครั้งที่ 2 มิใช่ประมาณการรายจ่ายที่จะต้องจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชี 2520 แต่เป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521 รายจ่ายตามประมาณการครั้งที่ 2 จึงมิใช่รายจ่ายจริงของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2520 โจทก์จึงไม่มีสิทธินำรายจ่ายตามประมาณการครั้งที่ 2 มาหักออกจากรายได้เพื่อคำนวณหากำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2520 เพราะเท่ากับเป็นรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง ตามมาตรา 65 ตรี (9) แห่ง ป.รัษฎากร ส่วนการที่โจทก์นำรายจ่ายค้างจ่ายที่ยกมาจากรอบระยะเวลาบัญชีปี 2520 มาลงเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521 กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์เองไม่นำรายจ่ายมาหักออกจากรายได้เพื่อคำนวณกำไรสุทธิให้ตรงตามรอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดรายจ่ายขึ้นจริง ทั้ง ๆ ที่โจทก์สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นได้ มิใช่กรณีที่ไม่สามารถจะลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2520 ได้ จึงนำมาลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521 อันเป็นรอบระยะเวลาบัญชีถัดไป กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 65 ตรี (9) แห่ง ป.รัษฎากร
โจทก์นำเงินเข้าบัญชีเงินฝากในธนาคารต่างประเทศและธนาคารต่างประเทศผู้เป็นเจ้าหนี้ได้นำยอดดอกเบี้ยมาหักทอนบัญชีเป็นการที่โจทก์ได้จ่ายดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารต่างประเทศผู้เป็นเจ้าหนี้แล้ว ประกอบกับโจทก์ได้นำดอกเบี้ยดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ ย่อมแสดงให้เห็นชัดว่าโจทก์ได้จ่ายดอกเบี้ยนั้นให้ธนาคารต่างประเทศผู้เป็นเจ้าหนี้ดังนี้ เมื่อธนาคารต่างประเทศเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศซึ่งมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับดอกเบี้ยอันเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (4) ที่จ่ายจากโจทก์ซึ่งอยู่ในประเทศไทย ธนาคารต่างประเทศจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ดังกล่าว โดยโจทก์ผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งตามมาตรา 70 แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อโจทก์มิได้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง โจทก์จึงต้องรับผิดร่วมกับธนาคารต่างประเทศผู้มีเงินได้ในภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 70 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.รัษฎากร
ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9) หมายความว่า รายจ่ายที่จะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิจะต้องเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริง และรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีใดต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น เว้นแต่ในกรณีที่ไม่สามารถจะลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ก็ให้นำไปถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีถัดไปได้ โจทก์ใช้เกณฑ์สิทธิในการลงบัญชีและคำนวณกำไรสุทธิโดยถือรอบระยะเวลาบัญชีตามปีปฏิทิน ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2520 โจทก์ทำประมาณการรายจ่ายต่าง ๆ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2520 เพื่อจ่ายในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม 2520 และครั้งที่ 2 เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2520 เพื่อจ่ายในระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน 2521 จะเห็นได้ว่าประมาณการรายจ่ายครั้งที่ 2 มิใช่ประมาณการรายจ่ายที่จะต้องจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชี 2520 แต่เป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521 รายจ่ายตามประมาณการครั้งที่ 2 จึงมิใช่รายจ่ายจริงของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2520 โจทก์จึงไม่มีสิทธินำรายจ่ายตามประมาณการครั้งที่ 2 มาหักออกจากรายได้เพื่อคำนวณหากำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2520 เพราะเท่ากับเป็นรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง ตามมาตรา 65 ตรี (9) แห่ง ป.รัษฎากร ส่วนการที่โจทก์นำรายจ่ายค้างจ่ายที่ยกมาจากรอบระยะเวลาบัญชีปี 2520 มาลงเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521 กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์เองไม่นำรายจ่ายมาหักออกจากรายได้เพื่อคำนวณกำไรสุทธิให้ตรงตามรอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดรายจ่ายขึ้นจริง ทั้ง ๆ ที่โจทก์สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นได้ มิใช่กรณีที่ไม่สามารถจะลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2520 ได้ จึงนำมาลงจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521 อันเป็นรอบระยะเวลาบัญชีถัดไป กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 65 ตรี (9) แห่ง ป.รัษฎากร
โจทก์นำเงินเข้าบัญชีเงินฝากในธนาคารต่างประเทศและธนาคารต่างประเทศผู้เป็นเจ้าหนี้ได้นำยอดดอกเบี้ยมาหักทอนบัญชีเป็นการที่โจทก์ได้จ่ายดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารต่างประเทศผู้เป็นเจ้าหนี้แล้ว ประกอบกับโจทก์ได้นำดอกเบี้ยดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ ย่อมแสดงให้เห็นชัดว่าโจทก์ได้จ่ายดอกเบี้ยนั้นให้ธนาคารต่างประเทศผู้เป็นเจ้าหนี้ดังนี้ เมื่อธนาคารต่างประเทศเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศซึ่งมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับดอกเบี้ยอันเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (4) ที่จ่ายจากโจทก์ซึ่งอยู่ในประเทศไทย ธนาคารต่างประเทศจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ดังกล่าว โดยโจทก์ผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งตามมาตรา 70 แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อโจทก์มิได้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง โจทก์จึงต้องรับผิดร่วมกับธนาคารต่างประเทศผู้มีเงินได้ในภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 70 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10135/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากร: การซื้อขายหุ้น, การรับเช็คของขวัญ, และการหาผลประโยชน์จากตั๋วสัญญาใช้เงิน การประเมินและพิสูจน์แหล่งที่มาของเงิน
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าการประเมินภาษีอากรไม่ชอบด้วยมาตรา49แห่งประมวลรัษฎากรเพราะมิได้รับอนุญาตจากอธิบดีนั้นแม้จะมิใช่ปัญหาที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลางแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ คดีนี้เจ้าพนักงานประเมินมิได้ใช้วิธีพิเศษกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิขึ้นเองโดยถือเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในครอบครองของผู้มีเงินได้เป็นหลักในการพิจารณาซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา49แต่เป็นกรณีออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและแจ้งประเมินตามวิธีปกติตามมาตรา19,20,23,24แห่งประมวลรัษฎากรจึงไม่ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร โจทก์มอบเงินจำนวน15,000,000บาทให้ด. ไปหาผลประโยชน์ร่วมกับบุคคลอื่นแล้วด. ได้นำเงินของโจทก์กับบุคคลอื่นดังกล่าวไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนต่างๆต่อมาด. จึงได้นำเงินมาคืนให้โจทก์จำนวน16,301,946.48บาทซึ่งแม้โจทก์จะได้เงินเพิ่มขึ้นจากเดิมจำนวน1,301,946.48บาทน่าเชื่อว่าเป็นเงินดอกเบี้ยจากตั๋วเงินที่ด. นำเงินของโจทก์กับบุคคลอื่นไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินและโจทก์ก็อ้างว่าด. ได้เสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้วซึ่งตามประมวลรัษฎากรมาตรา50ก็ได้บัญญัติให้บริษัทผู้จ่ายดอกเบี้ยตั๋วเงินหักภาษีณที่จ่ายไว้เมื่อด. ในฐานะผู้จัดการของคณะบุคคลที่มอบหมายให้นำเงินไปหาผลประโยชน์ได้เสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้วโจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้อีกตามประมวลรัษฎากรมาตรา6,42(14)และ56วรรคสุดท้าย เช็คของขวัญที่โจทก์ได้รับในปี2533จำนวน46ฉบับรวมเป็นเงิน83,102,500บาทนั้นโจทก์นำสืบว่าบริษัทส. จำกัดมอบให้โจทก์เป็นค่าซื้อที่ดินโดยบริษัทส. รับเช็คของขวัญดังกล่าวมาจากลูกค้าของบริษัทอีกต่อหนึ่งเช่นนี้แม้บริษัทส. จะได้ซื้อที่ดินจากโจทก์เป็นเงินถึง85,000,000บาทเศษดังที่โจทก์นำสืบจริงก็ไม่มีเหตุผลใดที่บริษัทส. จะต้องชำระค่าที่ดินให้โจทก์โดยใช้เช็คแบ่งย่อยออกเป็นหลายฉบับโดยเฉพาะเป็นเช็คของขวัญที่มิใช่เช็คของบริษัทเองหรือแคชเชียร์เช็คซึ่งน่าจะใช้เป็นหลักฐานในการชำระเงินได้ดีกว่าดังนี้เมื่อพยานหลักฐานโจทก์พิรุธไร้น้ำหนักไม่น่าเชื่อการที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือว่าเงินตามเช็คดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา40(8)ของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10135/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นภาษีเงินได้: เช็คของขวัญ, เงินซื้อหุ้น, และเงินจากตั๋วสัญญาใช้เงิน การพิจารณาแหล่งที่มาและภาระภาษี
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การประเมินภาษีอากรไม่ชอบด้วยมาตรา 49 แห่งประมวลรัษฎากร เพราะมิได้รับอนุญาตจากอธิบดีนั้น แม้จะมิใช่ปัญหาที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ คดีนี้เจ้าพนักงานประเมินมิได้ใช้วิธีพิเศษกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิขึ้นเองโดยถือเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในครอบครองของผู้มีเงินได้เป็นหลักในการพิจารณาซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 แต่เป็นกรณีออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและแจ้งประเมินตามวิธีปกติตามมาตรา 19,20,23,24 แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร โจทก์มอบเงินจำนวน 15,000,000 บาท ให้ ด. ไปหาผลประโยชน์ร่วมกับบุคคลอื่น แล้ว ด. ได้นำเงินของโจทก์กับบุคคลอื่นดังกล่าวไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนต่าง ๆ ต่อมา ด. จึงได้นำเงินมาคืนให้โจทก์จำนวน16,301,946.48 บาท ซึ่งแม้โจทก์จะได้เงินเพิ่มขึ้นจากเดิมจำนวน 1,301,946.48 บาท น่าเชื่อว่าเป็นเงินดอกเบี้ยจากตั๋วเงินที่ ด. นำเงินของโจทก์กับบุคคลอื่นไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงิน และโจทก์ก็อ้างว่า ด. ได้เสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้ว ซึ่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50 ก็ได้บัญญัติให้บริษัทผู้จ่ายดอกเบี้ยตั๋วเงินหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เมื่อ ด. ในฐานะผู้จัดการของคณะบุคคลที่มอบหมายให้นำเงินไปหาผลประโยชน์ได้เสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้ว โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้อีก ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 6,42(14) และ 56 วรรคสุดท้าย เช็คของขวัญที่โจทก์ได้รับในปี 2533 จำนวน 46 ฉบับรวมเป็นเงิน 83,102,500 บาท นั้น โจทก์นำสืบว่าบริษัท ส. จำกัด มอบให้โจทก์เป็นค่าซื้อที่ดิน โดยบริษัทส. รับเช็คของขวัญดังกล่าวมาจากลูกค้าของบริษัทอีกต่อหนึ่งเช่นนี้ แม้บริษัท ส. จะได้ซื้อที่ดินจากโจทก์เป็นเงินถึง 85,000,000 บาทเศษ ดังที่โจทก์นำสืบจริงก็ไม่มีเหตุผลใดที่บริษัท ส. จะต้องชำระค่าที่ดินให้โจทก์โดยใช้เช็คแบ่งย่อยออกเป็นหลายฉบับ โดยเฉพาะเป็นเช็คของขวัญที่มิใช่เช็คของบริษัทเองหรือแคชเชียร์เช็คซึ่งน่าจะใช้เป็นหลักฐานในการชำระเงินได้ดีกว่าดังนี้เมื่อพยานหลักฐานโจทก์พิรุธไร้น้ำหนักไม่น่าเชื่อ การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือว่าเงินตามเช็คดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40(8) ของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 522/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินกู้ต่างประเทศ: การเสียภาษีและข้อยกเว้นตามกฎหมายปิโตรเลียม
การที่สถาบันการเงินในต่างประเทศให้บริษัทโจทก์ในต่างประเทศกู้ยืมเงิน เพื่อนำมาใช้จ่ายในการประกอบกิจการของบริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยเพื่อหารายได้ในประเทศไทยนั้น เมื่อได้รับดอกเบี้ยจากเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทย ย่อมต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินดอกเบี้ยดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา70(2) โดยไม่ต้องคำนึงว่าเงินดอกเบี้ยนี้บริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทย ผู้ส่งไปชำระให้แก่สถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมโดยตรง หรือบริษัทโจทก์ในต่างประเทศชำระไปก่อนแล้วบริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยจึงส่งคืนไปให้บริษัทโจทก์ในต่างประเทศ เพราะไม่ว่าจะชำระโดยวิธีใด ก็เป็นการเอาเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทยที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4) ไปชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ยืม บริษัทหรือนิติบุคคลที่จะได้รับยกเว้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร หรือภาษีอากรตามกฎหมายอื่นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียมฯ นั้น จะต้องเป็นบริษัทตามคำจำกัดความในมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าสถาบันการเงินในต่างประเทศที่ให้บริษัทโจทก์กู้ยืมเงิน มิใช่เป็นบริษัทตามคำจำกัดความดังกล่าว จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 522/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินกู้ยืมข้ามประเทศ: เจตนารมณ์กฎหมายและการยกเว้นภาษีสำหรับบริษัทปิโตรเลียม
ป.รัษฎากร มาตรา 70 (2) มีเจตนารมณ์มุ่งเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ทั้งนี้เพราะเป็นเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทยในกรณีของโจทก์คดีนี้ บริษัทโจทก์ในประเทศญี่ปุ่นได้กู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นเพื่อส่งมาใช้จ่ายในกิจการของบริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยโดยเฉพาะ และเมื่อโจทก์สาขาในประเทศไทยประกอบกิจการมีรายได้แล้วก็จัดส่งไปให้บริษัทโจทก์ที่ประเทศญี่ปุ่นเพื่อใช้คืนเงินต้นและดอกเบี้ยแก่สถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมนั้น จึงเห็นได้ว่าเงินที่สถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นให้กู้ยืมมานั้นก็เพื่อนำมาใช้จ่ายในการประกอบกิจการเพื่อหารายได้ในประเทศไทย เมื่อได้รับดอกเบี้ยจากเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทยจึงต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินดอกเบี้ยดังกล่าวตามเจตนารมณ์ของ ป.รัษฎากร มาตรา 70 (2)โดยไม่ต้องคำนึงว่าเงินดอกเบี้ยนี้บริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยเป็นผู้ส่งไปชำระให้แก่สถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมนั้นโดยตรง หรือบริษัทโจทก์ในประเทศญี่ปุ่นชำระไปก่อนแล้วบริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยจึงส่งคืนไปให้บริษัทโจทก์ในประเทศญี่ปุ่นเพราะไม่ว่าจะชำระโดยวิธีใดก็เป็นการเอาเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทยที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) ไปชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ยืมนั่นเอง
เหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมพ.ศ.2514 มีว่า เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่จะเก็บภาษีเงินได้จากผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียมตามอัตราและวิธีการพิเศษต่างหากจากภาษีเงินได้ที่เก็บตามป.รัษฎากร ทำให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายว่า เหตุที่มาตรา 13 บัญญัติให้บริษัทจำกัดหรือนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัด ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากรและภาษีอากรตามกฎหมายอื่นก็เพราะบริษัทหรือนิติบุคคลดังกล่าวต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 อยู่แล้ว และบริษัทหรือนิติบุคคลที่จะต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวจะต้องเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลที่ประกอบกิจการปิโตรเลียมดังที่ปรากฏในเหตุผลแห่งการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ ดังนี้ บริษัทหรือนิติบุคคลที่จะได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากรหรือภาษีอากรตามกฎหมายอื่นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 จะต้องเป็น "บริษัท" ตามคำจำกัดความในมาตรา 4 คือ ต้องเป็นบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม กล่าวคือ (1) ได้รับสัมปทานหรือมีส่วนได้เสียร่วมกันในสัมปทาน หรือ (2) ซื้อน้ำมันดิบที่บริษัทตาม (1) เป็นผู้ผลิตเพื่อส่งน้ำมันดิบนั้นทั้งหมดออกนอกราชอาณาจักร แต่คดีนี้ได้ความว่า สถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นที่ให้บริษัทโจทก์กู้ยืมเงินนั้น มิใช่เป็น "บริษัท" ตามคำจำกัดความในมาตรา 4 แต่อย่างใด สถาบันการเงินดังกล่าวจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร เพราะมิฉะนั้นแล้วบริษัทหรือนิติบุคคลธรรมดาทั่ว ๆ ไป ที่ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 เมื่อมีเงินได้จากบริษัทตามกฎหมายปิโตรเลียมแล้วก็จะไม่ต้องเสียภาษีอากรตามป.รัษฎากรหรือภาษีอากรตามกฎหมายอื่น เท่ากับไม่ต้องเสียภาษีใด ๆ เลยซึ่งกฎหมายย่อมไม่มีเจตนารมณ์เป็นเช่นนั้น ดังนั้นสถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นที่ให้บริษัทโจทก์กู้ยืมเงินจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 70 (2)
เหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมพ.ศ.2514 มีว่า เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่จะเก็บภาษีเงินได้จากผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียมตามอัตราและวิธีการพิเศษต่างหากจากภาษีเงินได้ที่เก็บตามป.รัษฎากร ทำให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายว่า เหตุที่มาตรา 13 บัญญัติให้บริษัทจำกัดหรือนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัด ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากรและภาษีอากรตามกฎหมายอื่นก็เพราะบริษัทหรือนิติบุคคลดังกล่าวต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 อยู่แล้ว และบริษัทหรือนิติบุคคลที่จะต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวจะต้องเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลที่ประกอบกิจการปิโตรเลียมดังที่ปรากฏในเหตุผลแห่งการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ ดังนี้ บริษัทหรือนิติบุคคลที่จะได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากรหรือภาษีอากรตามกฎหมายอื่นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 จะต้องเป็น "บริษัท" ตามคำจำกัดความในมาตรา 4 คือ ต้องเป็นบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม กล่าวคือ (1) ได้รับสัมปทานหรือมีส่วนได้เสียร่วมกันในสัมปทาน หรือ (2) ซื้อน้ำมันดิบที่บริษัทตาม (1) เป็นผู้ผลิตเพื่อส่งน้ำมันดิบนั้นทั้งหมดออกนอกราชอาณาจักร แต่คดีนี้ได้ความว่า สถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นที่ให้บริษัทโจทก์กู้ยืมเงินนั้น มิใช่เป็น "บริษัท" ตามคำจำกัดความในมาตรา 4 แต่อย่างใด สถาบันการเงินดังกล่าวจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร เพราะมิฉะนั้นแล้วบริษัทหรือนิติบุคคลธรรมดาทั่ว ๆ ไป ที่ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 เมื่อมีเงินได้จากบริษัทตามกฎหมายปิโตรเลียมแล้วก็จะไม่ต้องเสียภาษีอากรตามป.รัษฎากรหรือภาษีอากรตามกฎหมายอื่น เท่ากับไม่ต้องเสียภาษีใด ๆ เลยซึ่งกฎหมายย่อมไม่มีเจตนารมณ์เป็นเช่นนั้น ดังนั้นสถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นที่ให้บริษัทโจทก์กู้ยืมเงินจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 70 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4746/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากดอกเบี้ยสัญญาจำนองที่ไม่ได้รับจริง ศาลฎีกาพิพากษากลับให้เพิกถอนการประเมินและคืนเงิน
จำเลยไม่มีพยานหลักฐานมาสืบให้เห็นว่า โจทก์และภรรยาได้รับดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองเลย คงอ้างแต่เพียงว่าเมื่อระบุว่าคิดดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ไว้ในสัญญาจำนอง ก็ต้องถือว่าโจทก์และภรรยาได้รับดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้นั้น พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ฟังได้ว่า โจทก์และภรรยาไม่ได้รับเงินดอกเบี้ยตามสัญญาจำนอง จึงไม่มีเงินได้พึงประเมินจากเงินดอกเบี้ย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1290/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้ดอกเบี้ยกู้ต่างประเทศ: การชำระภาษีแทนผู้ให้กู้ไม่เป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย
โจทก์กู้เงินจากต่างประเทศโดยชำระดอกเบี้ยและชำระภาษีเงินได้ในดอกเบี้ยแทนผู้ให้กู้ ภาษีเงินได้ที่โจทก์ชำระแทนผู้ให้กู้นี้ เป็นประโยชน์ที่ผู้ให้กู้ได้รับอันถือได้ว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลกฎหมายรัษฎากรมาตรา 39 แต่ตามมาตรา 40(4) บัญญัติเฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเป็นเงินได้พึงประเมิน มิได้บัญญัติถึงภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยที่ผู้กู้ออกแทนไป ไม่เป็นภาษีที่โจทก์ต้องหักไว้ ณ ที่จ่ายส่งอำเภอท้องที่ตาม มาตรา 70