พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5525/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนในคดีล้มละลาย: ผลของการระงับข้อพิพาทด้วยอนุญาโตตุลาการ
โจทก์จำเลยตกลงกันใช้วิธีระงับข้อพิพาทตามสัญญาโดยให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ และโจทก์ได้นำข้อพิพาทเสนอต่อสภาอนุญาโตตุลาการของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเพื่อตัดสินชี้ขาดแล้ว ถ้าคณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดข้อพิพาทไปอย่างไรก็จะมีผลผูกพันโจทก์จำเลยไปตามคำชี้ขาดนั้นตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 41 วรรคหนึ่ง มิใช่ผูกพันกันตามสัญญาที่พิพาทกันอยู่นั้นแต่อย่างใด ดังนั้น ตราบใดที่คณะอนุญาโตตุลาการไม่มีคำชี้ขาดย่อมไม่อาจถือได้ว่า หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้เป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ในระหว่างนี้โจทก์ยังฟ้องจำเลยให้ล้มละลายไม่ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 9 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5399/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาศาลแพ่งและการสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว ทำให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ได้
ภายหลังจากศาลในคดีแพ่งมีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อไปคืนให้โจทก์ในสภาพใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ราคาแทนเป็นเงิน 1,600,000 บาท โจทก์ติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนเรื่อยมา แต่หาไม่พบ เมื่อโจทก์ไม่สามารถบังคับให้จำเลยทั้งสองคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองชดใช้ราคาแทนจำนวน 1,600,000 บาท ตามคำพิพากษาดังกล่าว หนี้ส่วนนี้จึงเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนที่โจทก์อาจนำมาฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายได้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6257/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่มีดอกเบี้ยเกินกฎหมายทำให้จำนวนหนี้ไม่แน่นอน ฟ้องล้มละลายไม่ได้
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ยอดหนี้ตามฟ้องโจทก์มีดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะอันเป็นมูลหนี้ที่ผิดกฎหมายรวมอยู่ด้วย กรณีถือได้ว่าหนี้ของโจทก์ยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน โจทก์จึงไม่อาจฟ้องจำเลยให้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 9 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4258/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาคืนรถยนต์เช่าซื้อ: โจทก์ต้องบังคับคดีตามลำดับก่อนเรียกร้องราคาแทน หากรถยนต์ยังอยู่
หนี้ตามคำพิพากษากำหนดให้จำเลยทั้งสามร่วมกันส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน เป็นกรณีคำพิพากษากำหนดขั้นตอนการบังคับคดีไว้ ซึ่งโจทก์ต้องบังคับคดีไปตามลำดับ โจทก์มีพยานมาเบิกความเพียงว่า ติดตามรถยนต์ที่เช่าซื้อแล้ว แต่ไม่พบ โดยมิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสามไม่สามารถคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์ได้ ซึ่งในข้อนี้กลับได้ความจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตอบคำถามค้านว่าจำเลยที่ 1 ยังคงครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อทั้งจำเลยทั้งสามให้การต่อสู้มาโดยตลอดว่าสามารถนำรถยนต์ที่เช่าซื้อมาส่งมอบคืนได้ กรณีน่าเชื่อว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อยังมีอยู่ และโจทก์ยังสามารถบังคับให้จำเลยทั้งสามคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ จึงยังไม่แน่ชัดว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อจะมีหรือไม่ จึงเป็นหนี้ที่ยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 9 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2707/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาบังคับคดีตามลำดับ หากไม่สามารถบังคับเอารถคืนได้ จึงบังคับใช้ราคาแทน หนี้ยังไม่แน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
มูลหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งพิพากษาให้จำเลยกับพวกร่วมกันส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ หากส่งคืนไม่ได้ให้ร่วมกันใช้ราคาแทนเป็นเงิน 800,000 บาท เป็นเรื่องคำพิพากษากำหนดขั้นตอนการบังคับคดีไว้ ซึ่งโจทก์จะต้องบังคับคดีไปตามลำดับในคำพิพากษา โดยจะต้องบังคับให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนก่อน หากไม่สามารถบังคับเอารถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาได้จึงจะสามารถบังคับเอาราคาใช้แทนจำนวน 800,000 บาท ทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าการบังคับเอากับตัวรถยนต์ที่เช่าซื้อไม่สามารถกระทำได้ เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการบังคับคดีตามลำดับในคำพิพากษา กรณีจึงไม่แน่ชัดว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อจะมีหรือไม่ จึงเป็นหนี้ที่ยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6516/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาเป็นมูลหนี้ที่ฟ้องล้มละลายได้ และข้อสันนิษฐานเรื่องหนี้สินล้นพ้นตัว
มูลหนี้ตามคำฟ้องเป็นหนี้ตามคำพิพากษาจำเลยต้องผูกพันในผลของคำพิพากษาจนกว่าคำพิพากษานั้นจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรืองดเสียในที่สุด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 และถือว่าเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 (3) ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายต้องมีหนี้ที่จำนวนแน่นอนและบังคับได้ตามลำดับก่อน
คำพิพากษาส่วนแพ่งในคดีอาญาที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายเป็นมูลหนี้ที่ให้จำเลยส่งมอบเครื่องพิมพ์ดีดจำนวน 2 เครื่อง หรือใช้ราคาเป็นเงิน 34,922 บาท แก่โจทก์ จึงมีลักษณะเป็นการกำหนดลำดับในการบังคับชำระหนี้ที่จำเลยจะปฏิบัติชำระหนี้โดยการใช้เงินจำนวน 34,922 บาท แก่โจทก์ได้ก็ต่อเมื่อการคืนเครื่องพิมพ์ดีดจำนวน 2 เครื่อง ไม่สามารถกระทำได้แล้วเท่านั้น การบังคับคดีตามคำพิพากษาส่วนแพ่งดังกล่าวจึงต้องเป็นไปตามลำดับ เมื่อทางนำสืบโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานใดเลยว่าเครื่องพิมพ์ดีดที่จำเลยจะต้องส่งคืนแก่โจทก์นั้นได้ถูกทำลายหรือบุบสลายไปแล้ว ซึ่งจะทำให้จำเลยไม่อาจคืนทรัพย์ดังกล่าวได้ หนี้ส่งมอบเครื่องพิมพ์ดีดจำนวน 2 เครื่องคืนแก่โจทก์ยังอยู่ในสภาพที่อาจบังคับกันได้ สิทธิเรียกร้องในหนี้เงินราคาเครื่องพิมพ์ดีดจำนวน 2 เครื่อง พร้อมดอกเบี้ยซึ่งเป็นสิทธิที่โจทก์จะมีสิทธิบังคับลำดับถัดมายังไม่อาจบังคับได้ จึงยังไม่อาจกำหนดได้โดยแน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 9 (3) โจทก์ไม่อาจนำหนี้เงินดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนฟ้องล้มละลายได้ แม้ศาลแพ่งยังไม่มีคำพิพากษา
จำเลยเป็นหนี้ตามสัญญากู้เงิน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สัญญารับรองวงเงินโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน กับหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนที่เจ้าหนี้จะฟ้องเป็นคดีล้มละลายได้โดยเจ้าหนี้ไม่จำเป็นต้องฟ้องเป็นคดีแพ่ง หรือให้ศาลในคดีแพ่งมีคำพิพากษาก่อน เพราะ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 9 (3) บัญญัติแต่เพียงว่า หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน มิได้บัญญัติว่า หนี้นั้นศาลจะต้องมีคำพิพากษากำหนดจำนวนให้แน่นอนเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5013/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้บัญชีเดินสะพัด ดอกเบี้ยเกินกฎหมายทำให้จำนวนหนี้ไม่แน่นอน ฟ้องล้มละลายไม่ได้
แม้สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ซึ่งมีการหักทอนบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยกันปีละหนึ่งครั้ง หากจำเลยตกเป็นลูกหนี้โจทก์เท่าใดจำเลยจะต้องชำระหนี้ให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดเท่าที่ธนาคาร ก. สาขามุกดาหารจะพึงเรียกเก็บจากลูกค้าผู้กู้ยืมเงินจากธนาคารดังกล่าว และหากจำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์จะคิดดอกเบี้ยในยอดหนี้ที่ค้างชำระแล้วทบเป็นยอดหนี้ที่ค้างชำระที่จะต้องนำไปหักทอนบัญชีในฤดูหีบอ้อยในปีต่อไประหว่างการเดินสะพัดทางบัญชี โจทก์มีการคิดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปีหลายครั้ง โดยโจทก์มิได้เป็นสถาบันการเงินย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้มากกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ดอกเบี้ยทั้งหมดจึงตกเป็นโมฆะ เมื่อการเดินสะพัดทางบัญชีของโจทก์มีการคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ในกรณีที่จำเลยค้างชำระหนี้และมีการนำดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะทบเข้ากับเงินต้นที่จะหักทอนบัญชีกันในปีต่อไป มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องให้จำเลยล้มละลายจึงมีดอกเบี้ยทบต้นที่เป็นโมฆะระคนปนกันอยู่ ซึ่งโจทก์มิได้คำนวณเงินต้นและดอกเบี้ยที่อ้างว่าชอบด้วยกฎหมายมาให้ชัดเจนว่าเป็นจำนวนเท่าใด ทั้งๆ ที่โจทก์สามารถคำนวณได้ เมื่อมูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องมีมูลหนี้ผิดกฎหมายรวมอยู่ด้วย กรณีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าหนี้ของโจทก์อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ทรัสต์รีซีท และการกำหนดจำนวนหนี้ที่แน่นอน
เดิมจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตไว้กับโจทก์แต่ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้ จึงได้ทำสัญญา ทรัสต์รีซีทกับโจทก์เพื่อขอรับเอกสารจากโจทก์ไปรับสินค้าก่อน แล้วจะชำระเงินแก่โจทก์ภายหลัง ต่อมาจำเลยที่ 1 รับสินค้า ไปแล้วไม่ชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นหนี้โจทก์ ตามสัญญาทรัสต์รีซีท มิใช่เป็นหนี้ตามตั๋วแลกเงินอันเป็นหนี้ คนละส่วนแยกต่างหากจากกัน หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ ย่อมมีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายใน 10 ปี หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทยังไม่ขาดอายุความ ตามใบแจ้งยอดหนี้ทรัสต์รีซีทมีรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนหนี้และการคำนวณดอกเบี้ย ซึ่งสามารถทราบยอดหนี้ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาทรัสต์รีซีทจำนวนเท่าใดหนี้จำนวนนี้จึงเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน