พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1532/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งการประเมินภาษีหลังเลิกบริษัท การแจ้งไปยังผู้ไม่มีอำนาจทำให้หนี้ภาษีไม่แน่นอน และไม่สามารถฟ้องล้มละลายได้
การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหมายเรียกถึงผู้จัดการของจำเลยภายหลังที่จำเลยได้จดทะเบียนเลิกบริษัท เพื่อให้ไปให้ถ้อยคำและชี้แจงเกี่ยวกับภาษีรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2517-2518 โดยมิได้มีหมายเรียกไปถึงผู้ชำระบัญชีซึ่งมีอำนาจหน้าที่จึงไม่ชอบและแม้ผู้จัดการของจำเลยได้มอบอำนาจให้ผู้ชำระบัญชีไปให้ถ้อยคำชี้แจงต่อเจ้าพนักงานของโจทก์ก็เป็นการมอบอำนาจที่ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจจะกระทำได้มาแต่ต้นจึงไม่มีผลแต่อย่างใด และไม่อาจถือได้ว่าผู้ชำระบัญชีได้ทราบโดยชอบแล้ว เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายกับภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังกรรมการและผู้จัดการของจำเลยซึ่งไม่มีอำนาจเป็นการแจ้งการประเมินโดยไม่ชอบ กรรมการหรือผู้จัดการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนนิติบุคคลนั้นย่อมหมายถึงกรรมการหรือผู้จัดการที่มีอำนาจดำเนินการแทนโดยชอบอยู่มิได้หมายความถึงกรรมการหรือผู้จัดการที่ไม่มีอำนาจแล้ว กรณีที่จำเลยจดทะเบียนเลิกบริษัทและแต่งตั้งผู้ชำระต่อไปคือผู้ชำระบัญชีซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยแจ้งการประเมินภาษีอากรแล้ว จำเลยยังไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรได้ จึงถือไม่ได้ว่าหนี้ภาษีอากรดังกล่าวเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนตามมาตรา 9(3) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เพราะอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้จำนวนดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1532/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งประเมินภาษีหลังเลิกบริษัท: ต้องแจ้งผู้ชำระบัญชี ไม่ใช่กรรมการ/ผู้จัดการ
บริษัทจำเลยได้จดทะเบียนเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจชำระสะสางการงานของบริษัทให้เสร็จไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1250,1259(3) กรรมการหรือผู้จัดการของจำเลยหามีอำนาจอีกต่อไปไม่ การที่เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรมีหมายเรียกและแจ้งการประเมินภาษีของบริษัทไปยังกรรมการและผู้จัดการของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ กรณีไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีอากรจำนวนดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงยังไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรได้ จึงถือไม่ได้ว่าหนี้ภาษีอากรดังกล่าวเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9(3) เพราะอาจจะถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจนำหนี้นี้มาฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1532/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมายหลังเลิกบริษัท: อำนาจของผู้ชำระบัญชีและความแน่นอนของหนี้ภาษี
การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหมายเรียกถึงผู้จัดการของจำเลยภายหลังที่จำเลยได้จดทะเบียนเลิกบริษัท เพื่อให้ไปให้ถ้อยคำและชี้แจงเกี่ยวกับภาษีรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2517 - 2518 โดยมิได้มีหมายเรียกไปถึงผู้ชำระบัญชีซึ่งมีอำนาจหน้าที่จึงไม่ชอบ และแม้ผู้จัดการของจำเลยได้มอบอำนาจให้ผู้ชำระบัญชีไปให้ถ้อยคำชี้แจงต่อเจ้าพนักงานของโจทก์ก็เป็นการมอบอำนาจที่ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจจะกระทำได้มาแต่ต้นจึงไม่มีผลแต่อย่างใด และไม่อาจถือได้ว่าผู้ชำระบัญชีได้ทราบโดยชอบแล้ว
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายกับภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังกรรมการและผู้จัดการของจำเลยซึ่งไม่มีอำนาจเป็นการแจ้งการประเมินโดยไม่ชอบ
กรรมการหรือผู้จัดการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนนิติบุคคลนั้นย่อมหมายถึงกรรมการหรือผู้จัดการที่มีอำนาจดำเนินการแทนโดยชอบอยู่ มิได้หมายความถึงกรรมการหรือผู้จัดการที่ไม่มีอำนาจแล้ว กรณีที่จำเลยจดทะเบียนเลิกบริษัทและแต่งตั้งผู้ชำระต่อไปคือผู้ชำระบัญชี ซึ่งเป็นไปตาม ป.พ.พ. ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีอากรแล้ว จำเลยยังไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรได้ จึงถือไม่ได้ว่าหนี้ภาษีอากรดังกล่าวเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน ตามมาตรา 9 (3) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เพราะอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้จำนวนดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายกับภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังกรรมการและผู้จัดการของจำเลยซึ่งไม่มีอำนาจเป็นการแจ้งการประเมินโดยไม่ชอบ
กรรมการหรือผู้จัดการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนนิติบุคคลนั้นย่อมหมายถึงกรรมการหรือผู้จัดการที่มีอำนาจดำเนินการแทนโดยชอบอยู่ มิได้หมายความถึงกรรมการหรือผู้จัดการที่ไม่มีอำนาจแล้ว กรณีที่จำเลยจดทะเบียนเลิกบริษัทและแต่งตั้งผู้ชำระต่อไปคือผู้ชำระบัญชี ซึ่งเป็นไปตาม ป.พ.พ. ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีอากรแล้ว จำเลยยังไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรได้ จึงถือไม่ได้ว่าหนี้ภาษีอากรดังกล่าวเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน ตามมาตรา 9 (3) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เพราะอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้จำนวนดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาที่ไม่ถึงที่สุด เป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้ และการโอนทรัพย์สินเพื่อเลี่ยงชำระหนี้
หนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของคำพิพากษา แม้จะยังไม่ถึงที่สุดก็ตามคู่ความก็ต้องผูกพันในผลของคำพิพากษานั้นจนกว่าคำพิพากษาจะถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขกลับหรืองดเสีย จึงถือได้ว่าเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 9(3)เมื่อจำเลยที่ 1 ทราบคำบังคับและหมายบังคับคดีแล้วได้โอนทรัพย์สินของตนไปเสียทั้งหมด ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มีทรัพย์สินรวมกันไม่พอชำระหนี้ให้โจทก์กรณีจึงไม่มีเหตุที่ยังไม่สมควรให้จำเลยที่ 1ล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 14.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาและการล้มละลาย: การพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้และทรัพย์สิน
แม้หนี้ที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายจะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาที่ยังไม่ถึงที่สุด แต่คู่ความก็ต้องผูกพันในผลของคำพิพากษานั้นจนกว่าคำพิพากษาจะถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขกลับหรืองดเสีย จึงถือว่าเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 9(3) เมื่อจำเลยที่ 1 ทราบคำบังคับและหมายบังคับคดีของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 1 ได้โอนทรัพย์สินของตนไปหมดแล้ว ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มีทรัพย์สินรวมกันประมาณ 800,000บาท เท่านั้นไม่พอชำระหนี้ให้โจทก์ซึ่งมีจำนวนหนี้ทั้งสิ้นถึง 11,000,000 บาทเศษ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ยังไม่สมควรให้จำเลยที่ 1 ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 จำเลยที่ 1 ฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้พิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาด ต้องเสียค่าขึ้นศาล50 บาท ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179(1)ที่จำเลยที่ 1 เสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามา 200 บาท จึงเสียเกินมาศาลฎีกาเห็นสมควรคืนเงินค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้จำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนและการล้มละลายเมื่อมีหนี้สินล้นพ้นตัว
การที่จำเลยขายหุ้นหรือทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินให้บุคคลทั่วไป โดยตกลงทยอยซื้อคืนเป็นงวดรายเดือนและให้กำไรเป็นเงินสองเท่า เป็นการซื้อหรือทำสัญญาที่มุ่งจะขายคืนเพื่อต้องการกำไรเป็นสองเท่าโดยไม่ต้องร่วมในการขาดทุน หาใช่เป็นการซื้อหุ้นเพื่อร่วมลงทุนในกิจการด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำในรูปของเงินปันผล ซึ่งจะต้องร่วมในการขาดทุนด้วย ดังบริษัททั่วไป หรือทำสัญญาเพื่อมุ่งจะได้บ้านและที่ดินจากจำเลยไม่ ดังนั้นการขายหุ้นและทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินของจำเลยก็คือการรับเงินโดยผู้กู้ยืมจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนหรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ยืมอันเป็นการกู้ยืมเงินตามความหมายใน พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ. 2527 และเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน พนักงานอัยการโจทก์ดำเนินคดีเองโดยมิได้แต่งตั้งทนายความศาลย่อมไม่กำหนดค่าทนายความให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ล้มละลายต้องมีจำนวนแน่นอน กรณีหนี้ส่งมอบทรัพย์สินคืนยังบังคับได้ ถือว่าหนี้ไม่แน่นอน ฟ้องล้มละลายไม่ได้
การพิจารณาคดีล้มละลายต้องได้ความจริงตามมาตรา 9 ศาลจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ดังนั้น แม้คู่ความมิได้โต้เถียงเรื่องหนี้ที่โจทก์ฟ้องกำหนดจำนวนแน่นอนได้หรือไม่ก็ตามศาลย่อมยกเรื่องดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยเองได้ มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเป็นมูลหนี้ส่งมอบเครื่องยนต์เรือคืนเพราะผิดสัญญาเช่าซื้อและสัญญาเลิกกัน โจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในเครื่องยนต์เรือและมีสิทธิติดตามเอาคืน หากคืนไม่ได้จึงจะใช้ราคา เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังครอบครองและใช้ประโยชน์เครื่องยนต์เรือดังกล่าวอยู่ และอยู่ในสภาพที่สามารถบังคับให้จำเลยคืนเครื่องยนต์เรือได้ แม้โจทก์จะนำสืบว่าได้ติดตามเพื่อยึดเครื่องยนต์เรือคืน แต่จำเลยมีเรือหลายลำไม่ทราบว่าอยู่ในเรือลำใด จึงไม่สามารถยึดคืนได้ ก็หาใช่ว่าการคืนเครื่องยนต์เรือไม่สามารถกระทำได้จนต้องบังคับให้ใช้ราคาแทนอย่างเดียวไม่โจทก์ย่อมฟ้องร้องโดยอาศัยอำนาจศาลบังคับให้จำเลยคืนเครื่องยนต์เรือได้ และหากบังคับได้เช่นนี้หนี้ค่าเครื่องยนต์เรือก็ไม่ใช่หนี้ที่จะบังคับเอาแก่จำเลยได้อีก ทั้งฟ้องโจทก์ไม่มีหนี้จำนวนอื่นคงมีแต่เครื่องยนต์เรือเท่านั้น เมื่อหนี้ส่งมอบเครื่องยนต์เรือคืนยังอยู่ในสภาพที่อาจบังคับกันได้ จึงไม่แน่นอนว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบเครื่องยนต์เรือจะมีหรือไม่ หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจึงยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 9(3) โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ไม่แน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย: การบังคับให้ส่งคืนทรัพย์สินก่อนเรียกร้องค่าเสียหาย
การพิจารณาคดีล้มละลายต้องได้ความจริงตามมาตรา 9ศาลจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ดังนั้น แม้คู่ความมิได้โต้เถียงว่าหนี้ที่โจทก์ฟ้องกำหนดจำนวนแน่นอนได้หรือไม่ก็ตามศาลย่อมยกเรื่องดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยเองได้ มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเป็นมูลหนี้ส่งมอบเครื่องยนต์เรือคืนเพราะผิดสัญญาเช่าซื้อและสัญญาเลิกกันโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในเครื่องยนต์เรือและมีสิทธิติดตามเอาคืนหากคืนไม่ได้จึงจะใช้ราคา เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังครอบครองและใช้ประโยชน์เครื่องยนต์เรือดังกล่าวอยู่ และอยู่ในสภาพที่สามารถบังคับให้จำเลยคืนเครื่องยนต์เรือได้ แม้โจทก์จะนำสืบว่าได้ติดตามเพื่อยึดเครื่องยนต์เรือคืน แต่จำเลยมีเรือหลายลำไม่ทราบว่าอยู่ในเรือลำใด จึงไม่สามารถยึดคืนได้ก็หาใช่ว่าการคืนเครื่องยนต์เรือไม่สามารถกระทำได้จนต้องบังคับให้ใช้ราคาแทนอย่างเดียวไม่ โจทก์ย่อมฟ้องร้องโดยอาศัยอำนาจศาลบังคับให้จำเลยคืนเครื่องยนต์เรือได้ และหากบังคับได้เช่นนี้ หนี้ค่าเครื่องยนต์เรือก็ไม่ใช่หนี้ที่จะบังคับเอาแก่จำเลยได้อีกทั้งฟ้องโจทก์ไม่มีหนี้จำนวนอื่น คงมีแต่เครื่องยนต์เรือเท่านั้นเมื่อหนี้ส่งมอบเครื่องยนต์เรือคืนยังอยู่ในสภาพที่อาจบังคับกันได้จึงไม่แน่นอนว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบเครื่องยนต์เรือจะมีหรือไม่ หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจึงยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9(3) โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ล้มละลายต้องมีจำนวนแน่นอน การฟ้องขอให้ล้มละลายต้องพิสูจน์ได้ว่าหนี้มีอยู่จริงและสามารถบังคับได้
การพิจารณาคดีล้มละลายต้องได้ความจริงตามมาตรา 9 ศาลจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ดังนั้น แม้คู่ความมิได้โต้เถียงเรื่องหนี้ที่โจทก์ฟ้องกำหนดจำนวนแน่นอนได้หรือไม่ก็ตาม ศาลย่อมยกเรื่องดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยเองได้
มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเป็นมูลหนี้ส่งมอบเครื่องยนต์เรือคืนเพราะผิดสัญญาเช่าซื้อและสัญญาเลิกกัน โจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในเครื่องยนต์เรือและมีสิทธิติดตามเอาคืน หากคืนไม่ได้จึงจะใช้ราคา เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังครอบครองและใช้ประโยชน์เครื่องยนต์เรือดังกล่าวอยู่ และอยู่ในสภาพที่สามารถบังคับให้จำเลยคืนเครื่องยนต์เรือได้ แม้โจทก์จะนำสืบว่าได้ติดตามเพื่อยึดเครื่องยนต์เรือคืน แต่จำเลยมีเรือหลายลำไม่ทราบว่าอยู่ในเรือลำใด จึงไม่สามารถยึดคืนได้ ก็หาใช่ว่าการคืนเครื่องยนต์เรือไม่สามารถกระทำได้จนต้องบังคับให้ใช้ราคาแทนอย่างเดียวไม่ โจทก์ย่อมฟ้องร้องโดยอาศัยอำนาจศาลบังคับให้จำเลยคืนเครื่องยนต์เรือได้ และหากบังคับได้เช่นนี้หนี้ค่าเครื่องยนต์เรือก็ไม่ใช่หนี้ที่จะบังคับเอาแก่จำเลยได้อีก ทั้งฟ้องโจทก์ไม่มีหนี้จำนวนอื่นคงมีแต่เครื่องยนต์เรือเท่านั้น เมื่อหนี้ส่งมอบเครื่องยนต์เรือคืนยังอยู่ในสภาพที่อาจบังคับกันได้ จึงไม่แน่นอนว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบเครื่องยนต์เรือจะมีหรือไม่ หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจึงยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 9(3) โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายไม่ได้
มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเป็นมูลหนี้ส่งมอบเครื่องยนต์เรือคืนเพราะผิดสัญญาเช่าซื้อและสัญญาเลิกกัน โจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในเครื่องยนต์เรือและมีสิทธิติดตามเอาคืน หากคืนไม่ได้จึงจะใช้ราคา เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังครอบครองและใช้ประโยชน์เครื่องยนต์เรือดังกล่าวอยู่ และอยู่ในสภาพที่สามารถบังคับให้จำเลยคืนเครื่องยนต์เรือได้ แม้โจทก์จะนำสืบว่าได้ติดตามเพื่อยึดเครื่องยนต์เรือคืน แต่จำเลยมีเรือหลายลำไม่ทราบว่าอยู่ในเรือลำใด จึงไม่สามารถยึดคืนได้ ก็หาใช่ว่าการคืนเครื่องยนต์เรือไม่สามารถกระทำได้จนต้องบังคับให้ใช้ราคาแทนอย่างเดียวไม่ โจทก์ย่อมฟ้องร้องโดยอาศัยอำนาจศาลบังคับให้จำเลยคืนเครื่องยนต์เรือได้ และหากบังคับได้เช่นนี้หนี้ค่าเครื่องยนต์เรือก็ไม่ใช่หนี้ที่จะบังคับเอาแก่จำเลยได้อีก ทั้งฟ้องโจทก์ไม่มีหนี้จำนวนอื่นคงมีแต่เครื่องยนต์เรือเท่านั้น เมื่อหนี้ส่งมอบเครื่องยนต์เรือคืนยังอยู่ในสภาพที่อาจบังคับกันได้ จึงไม่แน่นอนว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบเครื่องยนต์เรือจะมีหรือไม่ หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจึงยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 9(3) โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1252/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ภาษีอากรยังไม่ถึงที่สุดก่อนฟ้องล้มละลาย ทำให้ไม่สามารถนำมาฟ้องได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
หนี้ภาษีอากรซึ่งโจทก์ประเมินแต่มิได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบโดยชอบ ทำให้จำเลยไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนตามมาตรา 9(3) ของ พ.ร.บ. ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 เพราะอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยล้มละลาย.