พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินค้า/บริการจากบัตรเครดิต: การทดรองจ่ายไม่ใช่การเบิกเงินเกินบัญชี
สินเชื่อบัตรเครดิตที่เจ้าหนี้ให้แก่ลูกค้าเพื่อซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าและสถานประกอบการค้า เจ้าหนี้ได้ออกบัตรเครดิตให้แก่ลูกค้า แล้วลูกค้าของเจ้าหนี้สามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าและสถานประกอบการที่มีข้อตกลงกับเจ้าหนี้ โดยลูกค้าไม่ต้อง ชำระราคาสินค้าและการใช้บริการด้วยเงินสดแต่ร้านค้า และสถานประกอบการจะส่งรายการค่าใช้จ่ายไปเรียกเก็บเงิน จากเจ้าหนี้เมื่อเจ้าหนี้ชำระเงินให้แก่ร้านค้าและสถานประกอบการ แทนลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตไปแล้วจะเรียกเก็บเงินจากลูกค้า ผู้ใช้บัตรเครดิตภายหลัง อันเป็นการเรียกเอาเงินที่เจ้าหนี้ ได้ออกทดรองไป แต่การเบิกเงินเกินบัญชีเป็นการเบิกเงิน จากโจทก์ไปโดยตรงหาใช่เจ้าหนี้ออกเงินทดรองแทนลูกค้า ของเจ้าหนี้ไปก่อนดังเช่นกรณีลูกค้าใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้า และบริการไม่ การให้สินเชื่อบัตรเครดิตและการเบิกเงิน เกินบัญชีจึงมีลักษณะแตกต่างกัน แม้สินเชื่อบัตรเครดิตและการเบิกเงินเกินบัญชีต่างมีวงเงิน กำหนดไว้เหมือนกัน ก็เป็นเพียงการจำกัดมิให้ลูกค้าใช้บัตรเครดิต ซื้อสินค้าและบริการเกินไปกว่าวงเงินที่กำหนดไว้ในการให้ สินเชื่อบัตรเครดิต และจำกัดมิให้ลูกค้าเบิกเงินจาก บัญชีเงินฝากกระแสรายวันเกินกว่าวงเงินที่กำหนดใน สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเท่านั้น ทั้งการที่เจ้าหนี้ทดรองจ่ายเงิน ค่าสินค้าและค่าใช้บริการให้แก่ร้านค้าและสถานประกอบการ แทนลูกค้าไปก่อน แล้วนำไปหักออกจากวงเงินที่ให้สินเชื่อ บัตรเครดิตก็ด้วยจุดประสงค์เพื่อมิให้เกินกำหนดวงเงินที่เจ้าหนี้ให้สินเชื่อบัตรเครดิตเท่านั้น หาได้ทำให้หนี้เงินที่เจ้าหนี้ออก ทดรองไปสิ้นสุดลงและตกเป็นหนี้ตามวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิตไม่ จำนวนเงินที่เจ้าหนี้จ่ายค่าซื้อสินค้าและค่าใช้บริการให้แก่ ร้านค้าและสถานประกอบการยังคงเป็นเงินที่เจ้าหนี้ ออกทดรองแทนลูกหนี้ไป และในการให้การบริการแก่ลูกค้า ผู้ใช้บัตรเครดิต เจ้าหนี้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ รวมทั้ง ดอกเบี้ยด้วย เจ้าหนี้จึงเป็นผู้ประกอบการค้าทำการงานต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตกรุงไทยของเจ้าหนี้ และการที่ เจ้าหนี้ชำระเงินแก่ร้านค้าและผู้ประกอบการแทนลูกค้า ผู้ใช้บัตรเครดิตไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงิน จากลูกหนี้ภายหลัง เป็นการเรียกเอาเงินที่เจ้าหนี้ ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ผู้ประกอบการค้ารับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไป มีอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)ลูกหนี้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ครั้งสุดท้ายเป็นบางส่วนเป็นการรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว ตามมาตรา 193/14(1) ประกอบมาตรา 193/15 เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าว เมื่อพ้นกำหนด 2 ปีแล้ว สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความ ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1) คดีล้มละลาย เจ้าหนี้ฎีกาว่า เจ้าหนี้ยังมิได้บอกกล่าว ทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญา เจ้าหนี้ยังไม่อาจ บังคับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ได้อายุความจึงยัง ไม่เริ่มนับนั้น เจ้าหนี้เพิ่งจะยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้น โต้เถียงในชั้นฎีกาเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว โดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องเจ้าหนี้บัตรเครดิตและการล้มละลาย: การเบิกเงินเกินบัญชีกับสินเชื่อบัตรเครดิตมีลักษณะต่างกัน
สินเชื่อบัตรเครดิตที่เจ้าหนี้ให้แก่ลูกค้าเพื่อซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าและสถานประกอบการเจ้าหนี้ได้ออกบัตรเครดิตให้แก่ลูกค้า แล้วลูกค้าของเจ้าหนี้สามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าและสถานประกอบการที่มีข้อตกลงกับเจ้าหนี้ โดยลูกค้าไม่ต้องชำระราคาสินค้าและการใช้บริการด้วยเงินสดแต่ร้านค้าและสถานประกอบการจะส่งรายการค่าใช้จ่ายไปเรียกเก็บเงินจากเจ้าหนี้เมื่อเจ้าหนี้ชำระเงินให้แก่ร้านค้าและสถานประกอบการแทนลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตไปแล้วจะเรียกเก็บเงินจากลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตภายหลัง อันเป็นการเรียกเอาเงินที่เจ้าหนี้ได้ออกทดรองไป แต่การเบิกเงินเกินบัญชีเป็นการเบิกเงินจากโจทก์ไปโดยตรงหาใช่เจ้าหนี้ออกเงินทดรองแทนลูกค้าของเจ้าหนี้ไปก่อนดังเช่นกรณีลูกค้าใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าและบริการไม่ การให้สินเชื่อบัตรเครดิตและการเบิกเงินเกินบัญชีจึงมีลักษณะแตกต่างกัน
แม้สินเชื่อบัตรเครดิตและการเบิกเงินเกินบัญชีต่างมีวงเงินกำหนดไว้เหมือนกัน ก็เป็นเพียงการจำกัดมิให้ลูกค้าใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าและบริการเกินไปกว่าวงเงินที่กำหนดไว้ในการให้สินเชื่อบัตรเครดิต และจำกัดมิให้ลูกค้าเบิกเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเกินกว่าวงเงินที่กำหนดในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเท่านั้น ทั้งการที่เจ้าหนี้ทดรองจ่ายเงินค่าสินค้าและค่าใช้บริการให้แก่ร้านค้าและสถานประกอบการแทนลูกค้าไปก่อน แล้วนำไปหักออกจากวงเงินที่ให้สินเชื่อบัตรเครดิตก็ด้วยจุดประสงค์เพื่อมิให้เกินกำหนดวงเงินที่เจ้าหนี้ให้สินเชื่อบัตรเครดิตเท่านั้น หาได้ทำให้หนี้เงินที่เจ้าหนี้ออกทดรองไปสิ้นสุดลงและตกเป็นหนี้ตามวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิตไม่ จำนวนเงินที่เจ้าหนี้จ่ายค่าซื้อสินค้าและค่าใช้บริการให้แก่ร้านค้าและสถานประกอบการยังคงเป็นเงินที่เจ้าหนี้ออกทดรองแทนลูกหนี้ไป และในการให้การบริการแก่ลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิต เจ้าหนี้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ รวมทั้งดอกเบี้ยด้วย เจ้าหนี้จึงเป็นผู้ประกอบการค้าทำการงานต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตกรุงไทยของเจ้าหนี้ และการที่เจ้าหนี้ชำระเงินแก่ร้านค้าและผู้ประกอบการแทนลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ภายหลัง เป็นการเรียกเอาเงินที่เจ้าหนี้ได้ออกเงินทดรองไป
สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ผู้ประกอบการค้ารับทำการงานต่าง ๆเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไป มีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (7)ลูกหนี้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ครั้งสุดท้ายเป็นบางส่วนเป็นการรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว ตามมาตรา193/14 (1) ประกอบมาตรา 193/15 เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนด 2 ปีแล้ว สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความ ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 (1)
คดีล้มละลาย เจ้าหนี้ฎีกาว่า เจ้าหนี้ยังมิได้บอกกล่าวทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญา เจ้าหนี้ยังไม่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ได้อายุความจึงยังไม่เริ่มนับนั้น เจ้าหนี้เพิ่งจะยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นโต้เถียงในชั้นฎีกาเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 153
แม้สินเชื่อบัตรเครดิตและการเบิกเงินเกินบัญชีต่างมีวงเงินกำหนดไว้เหมือนกัน ก็เป็นเพียงการจำกัดมิให้ลูกค้าใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าและบริการเกินไปกว่าวงเงินที่กำหนดไว้ในการให้สินเชื่อบัตรเครดิต และจำกัดมิให้ลูกค้าเบิกเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเกินกว่าวงเงินที่กำหนดในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเท่านั้น ทั้งการที่เจ้าหนี้ทดรองจ่ายเงินค่าสินค้าและค่าใช้บริการให้แก่ร้านค้าและสถานประกอบการแทนลูกค้าไปก่อน แล้วนำไปหักออกจากวงเงินที่ให้สินเชื่อบัตรเครดิตก็ด้วยจุดประสงค์เพื่อมิให้เกินกำหนดวงเงินที่เจ้าหนี้ให้สินเชื่อบัตรเครดิตเท่านั้น หาได้ทำให้หนี้เงินที่เจ้าหนี้ออกทดรองไปสิ้นสุดลงและตกเป็นหนี้ตามวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิตไม่ จำนวนเงินที่เจ้าหนี้จ่ายค่าซื้อสินค้าและค่าใช้บริการให้แก่ร้านค้าและสถานประกอบการยังคงเป็นเงินที่เจ้าหนี้ออกทดรองแทนลูกหนี้ไป และในการให้การบริการแก่ลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิต เจ้าหนี้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ รวมทั้งดอกเบี้ยด้วย เจ้าหนี้จึงเป็นผู้ประกอบการค้าทำการงานต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตกรุงไทยของเจ้าหนี้ และการที่เจ้าหนี้ชำระเงินแก่ร้านค้าและผู้ประกอบการแทนลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ภายหลัง เป็นการเรียกเอาเงินที่เจ้าหนี้ได้ออกเงินทดรองไป
สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ผู้ประกอบการค้ารับทำการงานต่าง ๆเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไป มีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (7)ลูกหนี้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ครั้งสุดท้ายเป็นบางส่วนเป็นการรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว ตามมาตรา193/14 (1) ประกอบมาตรา 193/15 เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนด 2 ปีแล้ว สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความ ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 (1)
คดีล้มละลาย เจ้าหนี้ฎีกาว่า เจ้าหนี้ยังมิได้บอกกล่าวทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญา เจ้าหนี้ยังไม่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ได้อายุความจึงยังไม่เริ่มนับนั้น เจ้าหนี้เพิ่งจะยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นโต้เถียงในชั้นฎีกาเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความของหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินและการรับชำระหนี้ที่เชื่อมโยงกัน
เมื่อปรากฏว่าหนี้ตามมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินนับจากวันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับ จนกระทั่งถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คดีขาดอายุความ 3 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1001 แล้ว สัญญารับชำระหนี้ซึ่งระบุว่า"ข้าพเจ้ารับรองจะชำระหนี้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินคืนให้กับธนาคารตามกำหนดเวลาที่กล่าว หากวันกำหนดชำระคืนตรงกับวันหยุดทำการของธนาคารก็ให้ร่นมาชำระในวันทำการที่ถัดมา ในกรณีที่มิได้มีการตกลงให้คิดส่วนลดตามตั๋วสัญญาใช้เงินแล้ว ข้าพเจ้าจะชำระดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้ธนาคารในอัตราร้อยละ 15.0 ต่อปี(สิบห้าต่อปี)..." และลงลายมือชื่อลูกหนี้ (จำเลย) เป็นผู้ให้สัญญา หนังสือฉบับดังกล่าวเมื่อมีลักษณะเป็นหนังสือประกอบตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น ดังนั้น เมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินขาดอายุความ หนังสือสัญญารับชำระหนี้ก็ขาดอายุความด้วย ย่อมต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินและผลกระทบต่อการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
เมื่อปรากฏว่าหนี้ตามมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินนับจากวันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับ จนกระทั่งถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คดีขาดอายุความ 3 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 แล้วสัญญารับชำระหนี้ซึ่งระบุว่า "ข้าพเจ้ารับรองจะชำระหนี้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินคืนให้กับธนาคารตามกำหนดเวลาที่กล่าว หากวันกำหนดชำระคืนตรงกับวันหยุดทำการของธนาคารก็ให้ร่นมาชำระในวันทำการที่ถัดมา ในกรณีที่มิได้มีการตกลงให้คิดส่วนลดตามตั๋วสัญญาใช้เงินแล้ว ข้าพเจ้าจะชำระดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้ธนาคารในอัตราร้อยละ 15.0 ต่อปี(สิบห้าต่อปี)" และลงลายมือชื่อลูกหนี้ (จำเลย) เป็นผู้ให้สัญญาหนังสือฉบับดังกล่าวเมื่อมีลักษณะเป็นหนังสือประกอบตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น ดังนั้น เมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินขาดอายุความหนังสือสัญญารับชำระหนี้ก็ขาดอายุความด้วย ย่อมต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3945/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและการฟ้องล้มละลาย: ผลของการฟ้องคดีต่ออายุความ
ลูกหนี้ตกลงชำระหนี้งวดแรกตามคำพิพากษาตามยอมในวันที่ 30 สิงหาคม 2528 แต่ลูกหนี้ไม่ชำระ เจ้าหนี้จึงชอบที่จะบังคับ คดีเพื่อรับชำระหนี้ดังกล่าวทั้งหมดได้ ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2528 เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/32 ดังนั้น การที่ เจ้าหนี้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องให้ลูกหนี้เป็น บุคคลล้มละลายเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2538 ซึ่งอยู่ในกำหนด 10 ปี จึงสามารถกระทำได้ และการฟ้องคดีดังกล่าวมีผลทำให้ อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 19/32 ด้วยเหตุนี้แม้เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ในวันที่ 8 ธันวาคม 2538 ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลา บังคับคดี 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 แล้วก็ตาม ก็ต้องถือว่าคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ยื่นใน ระหว่างอายุความสะดุดหยุดลง ซึ่งไม่เป็นการต้องห้ามมิให้ ได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาในคดีล้มละลาย แม้ขาดอายุความ ก็ยังขอรับชำระหนี้ได้ หากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
ในการตรวจคำขอรับชำระหนี้และทำความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสนอต่อศาลเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเต็มที่ที่จะสอบสวนและมีความเห็นในเรื่องหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ และศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาสั่งตามมาตรา106 และมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 แม้มูลหนี้เดิมตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะขาดอายุความตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเสนอความเห็นต่อศาลก็ตาม แต่มูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้รายนี้โดยสภาพแห่งหนี้มิใช่หนี้ที่เจ้าหนี้จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ให้ชำระเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ทั้งก่อนที่เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็ได้อาศัยหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย ลูกหนี้ก็ไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่ามูลหนี้หรือสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ขาดอายุความ จนศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดคดีแพ่งและคดีล้มละลายถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ หนี้ตามคำขอรับชำระหนี้รายนี้ย่อมมิใช่หนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้จึงไม่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามความในมาตรา 94(1) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะยกอายุความเป็นเหตุ ขอให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาศาล แม้ขาดอายุความเดิม ก็ยังขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้
ในการตรวจคำขอรับชำระหนี้และทำความเห็นของ จ.พ.ท.เสนอต่อศาล จ.พ.ท.มีอำนาจเต็มที่ที่จะสอบสวนและมีความเห็นในเรื่องหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ และศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาสั่งตามมาตรา 106 และมาตรา 107แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483
แม้มูลหนี้เดิมตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะขาดอายุความตามที่จ.พ.ท.สอบสวนเสนอความเห็นต่อศาลก็ตาม แต่มูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้รายนี้โดยสภาพแห่งหนี้มิใช่หนี้ที่เจ้าหนี้จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ให้ชำระเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ทั้งก่อนที่เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็ได้อาศัยหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย ลูกหนี้ก็ไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่ามูลหนี้หรือสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ขาดอายุความ จนศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด คดีแพ่งและคดีล้มละลายถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ หนี้ตามคำขอรับชำระหนี้รายนี้ย่อมมิใช่หนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ จึงไม่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามความในมาตรา94 (1) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 จ.พ.ท.จะยกอายุความมาเป็นเหตุขอให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้หาได้ไม่
แม้มูลหนี้เดิมตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะขาดอายุความตามที่จ.พ.ท.สอบสวนเสนอความเห็นต่อศาลก็ตาม แต่มูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้รายนี้โดยสภาพแห่งหนี้มิใช่หนี้ที่เจ้าหนี้จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ให้ชำระเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ทั้งก่อนที่เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็ได้อาศัยหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย ลูกหนี้ก็ไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่ามูลหนี้หรือสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ขาดอายุความ จนศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด คดีแพ่งและคดีล้มละลายถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ หนี้ตามคำขอรับชำระหนี้รายนี้ย่อมมิใช่หนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ จึงไม่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามความในมาตรา94 (1) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 จ.พ.ท.จะยกอายุความมาเป็นเหตุขอให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7258/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: ระยะเวลาบังคับคดี, เหตุผลล้มละลาย, และการปล่อยปละละเลยเจ้าหนี้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอบังคับคดีตามคำพิพากษาภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา และมาตรา 279 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องดำเนินการบังคับคดีแต่ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกในวันทำการงานตามปกติ เว้นแต่ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินโดยได้รับอนุญาตจากศาล เมื่อปรากฏว่าวันครบกำหนดสิบปีที่จะบังคับคดีได้เป็นวันอาทิตย์ เมื่อวันสุดท้ายของระยะเวลาที่จะขอบังคับคดีได้เป็นวันหยุดทำการโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงมีสิทธิที่จะขอบังคับคดีได้ถึงในวันจันทร์อันเป็นวันเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8
การพิจารณาคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 เมื่อปรากฏว่านับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โจทก์เพียงแต่ขอหมายบังคับคดีเท่านั้น มิได้ดำเนินการบังคับคดี คงปล่อยปละละเลยมาเป็นเวลานานจนถึงวันสุดท้ายที่จะบังคับคดีได้ จึงมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งมิฉะนั้นนับถัดจากวันฟ้องคดีล้มละลายนี้แล้ว หนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ก็พ้นกำหนดเวลาที่จะบังคับคดีได้ และเป็นหนี้ที่ไม่อาจจะขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1) และเมื่อไม่ปรากฏว่านอกจากโจทก์แล้ว จำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นอีก กรณีจึงมีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
การพิจารณาคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 เมื่อปรากฏว่านับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โจทก์เพียงแต่ขอหมายบังคับคดีเท่านั้น มิได้ดำเนินการบังคับคดี คงปล่อยปละละเลยมาเป็นเวลานานจนถึงวันสุดท้ายที่จะบังคับคดีได้ จึงมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งมิฉะนั้นนับถัดจากวันฟ้องคดีล้มละลายนี้แล้ว หนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ก็พ้นกำหนดเวลาที่จะบังคับคดีได้ และเป็นหนี้ที่ไม่อาจจะขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1) และเมื่อไม่ปรากฏว่านอกจากโจทก์แล้ว จำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นอีก กรณีจึงมีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7258/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: การบังคับคดีหมดอายุ & เหตุไม่ควรล้มละลาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอบังคับคดีตามคำพิพากษาภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา และมาตรา 279 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องดำเนินการบังคับคดีแต่ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกในวันทำการงานตามปกติ เว้นแต่ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินโดยได้รับอนุญาตจากศาล เมื่อปรากฏว่าวันครบกำหนดสิบปีที่จะบังคับคดีได้เป็นวันอาทิตย์ เมื่อวันสุดท้ายของระยะเวลาที่จะขอบังคับคดีได้เป็นวันหยุดทำการโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงมีสิทธิที่จะขอบังคับคดีได้ถึงในวันจันทร์อันเป็นวันเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8
การพิจารณาคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 เมื่อปรากฏว่านับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โจทก์เพียงแต่ขอหมายบังคับคดีเท่านั้น มิได้ดำเนินการบังคับคดี คงปล่อยปละละเลยมาเป็นเวลานานจนถึงวันสุดท้ายที่จะบังคับคดีได้ จึงมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งมิฉะนั้นนับถัดจากวันฟ้องคดีล้มละลายนี้แล้ว หนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ก็พ้นกำหนดเวลาที่จะบังคับคดีได้ และเป็นหนี้ที่ไม่อาจจะขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1) และเมื่อไม่ปรากฏว่านอกจากโจทก์แล้ว จำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นอีก กรณีจึงมีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
การพิจารณาคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 เมื่อปรากฏว่านับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โจทก์เพียงแต่ขอหมายบังคับคดีเท่านั้น มิได้ดำเนินการบังคับคดี คงปล่อยปละละเลยมาเป็นเวลานานจนถึงวันสุดท้ายที่จะบังคับคดีได้ จึงมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งมิฉะนั้นนับถัดจากวันฟ้องคดีล้มละลายนี้แล้ว หนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ก็พ้นกำหนดเวลาที่จะบังคับคดีได้ และเป็นหนี้ที่ไม่อาจจะขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1) และเมื่อไม่ปรากฏว่านอกจากโจทก์แล้ว จำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นอีก กรณีจึงมีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7258/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหมดอายุและผลกระทบต่อการฟ้องล้มละลาย
ป.วิ.พ.มาตรา 271 กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอบังคับคดีตามคำพิพากษาภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา และมาตรา 279 วรรคหนึ่งบัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องดำเนินการบังคับคดีแต่ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกในวันทำการงานตามปกติ เว้นแต่ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินโดยได้รับอนุญาตจากศาล เมื่อปรากฏว่าวันครบกำหนดสิบปีที่จะบังคับคดีได้เป็นวันอาทิตย์เมื่อวันสุดท้ายของระยะเวลาที่จะขอบังคับคดีได้เป็นวันหยุดทำการ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงมีสิทธิที่จะขอบังคับคดีได้ถึงในวันจันทร์อันเป็นวันเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/8
การพิจารณาคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 14 เมื่อปรากฏว่านับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โจทก์เพียงแต่ขอหมายบังคับคดีเท่านั้น มิได้ดำเนินการบังคับคดี คงปล่อยปละละเลยมาเป็นเวลานานจนถึงวันสุดท้ายที่จะบังคับคดีได้ จึงมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งมิฉะนั้นนับถัดจากวันฟ้องคดีล้มละลายนี้แล้ว หนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ก็พ้นกำหนดเวลาที่จะบังคับคดีได้ และเป็นหนี้ที่ไม่อาจจะขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 94 (1) และเมื่อไม่ปรากฏว่านอกจากโจทก์แล้ว จำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นอีก กรณีจึงมีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
การพิจารณาคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 14 เมื่อปรากฏว่านับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โจทก์เพียงแต่ขอหมายบังคับคดีเท่านั้น มิได้ดำเนินการบังคับคดี คงปล่อยปละละเลยมาเป็นเวลานานจนถึงวันสุดท้ายที่จะบังคับคดีได้ จึงมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งมิฉะนั้นนับถัดจากวันฟ้องคดีล้มละลายนี้แล้ว หนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ก็พ้นกำหนดเวลาที่จะบังคับคดีได้ และเป็นหนี้ที่ไม่อาจจะขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 94 (1) และเมื่อไม่ปรากฏว่านอกจากโจทก์แล้ว จำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นอีก กรณีจึงมีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย