คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 94 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1890/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้การพนันเป็นโมฆะ เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายไม่ได้ แม้มีหนังสือรับสภาพหนี้
หนี้การพนันหรือขันต่อซึ่งหาก่อให้เกิดหนี้ที่จะมีผลบังคับต่อกันไม่ เช็คที่ออกให้แก่กันอันเกี่ยวกับการนั้นจึงไม่สมบูรณ์ แม้จะทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้ต่อกันด้วยก็ไม่อาจฟ้องร้องบังคับกันได้ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้นั้นได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสาร 'ทดรองจ่าย' ไม่ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืม แม้ลูกหนี้ลงลายมือชื่อรับเงิน
การที่ใบสำคัญคู่จ่ายมีข้อความเพียงว่า ทดรองจ่ายให้คุณสมศักดิ์ (ลูกหนี้) เท่านั้น แม้ลูกหนี้จะลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินไว้ด้วย ก็มีความหมายเพียงว่าออกเงินหรือทรัพย์ไปก่อนไม่มีข้อความที่แสดงว่าลูกหนี้ต้องใช้เงินคืนแก่เจ้าหนี้หรือกำหนดการเสียดอกเบี้ยกันไว้อันเป็นลักษณะของการกู้ยืม จะฟังเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมไม่ได้ จึงเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้เช่าและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: หนี้ขาดอายุความไม่อาจนำมาขอรับชำระได้
ปัญหาที่ว่ามูลหนี้ซึ่งเจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้ขาดอายุความจึงนำมาขอรับชำระหนี้ไม่ได้นั้น แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหาว่าหนี้ใดเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 จำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าส่งมอบคลังสินค้าที่เช่าให้เจ้าหนี้ผู้เช่ามีพื้นที่น้อยไปกว่าที่จำเลยที่ 1 มีคำเสนอให้เช่าและตามสัญญาเช่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิรับค่าเช่าจากเจ้าหนี้ได้ตามส่วนพื้นที่ที่ให้เช่าตามความเป็นจริงเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 549 ประกอบมาตรา 466ส่วนค่าเช่าที่รับไว้เกินโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้รู้ในขณะชำระว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระในส่วนที่เกิน จึงเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบเจ้าหนี้มีสิทธินำคดีไปฟ้องเรียกคืนในฐานเป็นลาภมิควรได้ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาที่เจ้าหนี้รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน เมื่อปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้ทวงถามให้จำเลยที่ 1 คืนค่าเช่าดังกล่าวเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2528 ก็แสดงว่าเจ้าหนี้ได้รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนนับแต่วันนั้นแล้ว เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 28 กันยายน 2530 จึงเป็นการล่วงเลยระยะเวลา 1 ปี คดีขาดอายุความต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 419 แล้วเจ้าหนี้ไม่อาจนำมูลหนี้ดังกล่าวมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความลาภมิควรได้ในคดีล้มละลาย: หนี้ที่ขาดอายุความฟ้องร้องแล้ว ไม่อาจนำมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้
ปัญหาว่ามูลหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้ขาดอายุความเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็มีสิทธิยกขึ้นฎีกา เจ้าหนี้ชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 เกินไปโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้รู้ขณะชำระว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระในส่วนที่เกินจึงเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้ภายในกำหนด 1 ปี เมื่อล่วงเลยกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาที่เจ้าหนี้รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน คดีขาดอายุความ เจ้าหนี้ไม่อาจนำมูลหนี้ดังกล่าวมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
หนี้ค่าซื้อสินค้าเชื่อของลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว แต่ต่อมาลูกหนี้ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ไว้จึงเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 เดิม ลูกหนี้ไม่อาจยกเหตุการขาดอายุความขึ้นอ้างเพื่อบอกปัดการชำระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 188 วรรคแรก เดิม เมื่อลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แม้อำนาจการจัดการหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้จะตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 แต่การจัดการหรือกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องเป็นการกระทำแทนลูกหนี้ตามสิทธิของลูกหนี้ที่มีอยู่ เมื่อลูกหนี้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวแล้ว ย่อมทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจยกเหตุแห่งการขาดอายุความขึ้นบอกปัดการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้ ดังนั้นหนี้ของลูกหนี้จึงมิใช่หนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)เจ้าหนี้จึงขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ขาดอายุความแต่ลูกหนี้รับสภาพหนี้แล้ว เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้
หนี้ที่ลูกหนี้ได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เป็นหนี้ที่ฟ้องร้องให้บังคับคดีได้เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 103/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้เช็คและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: สัญญาซื้อลดเช็คกับความรับผิดของผู้สั่งจ่าย
เจ้าหนี้รับเช็คทั้งหกฉบับซึ่งลูกหนี้เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายมาจาก บ. โดย บ. เป็นผู้นำมาขายลดแก่เจ้าหนี้โดยตรงมิใช่เป็นตัวแทนของลูกหนี้ นิติสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้กับ บ.จึงเป็นสัญญาขายลดเช็คซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดให้จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ส่วนลูกหนี้จะต้องผูกพันรับผิดต่อเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904ในฐานะผู้สั่งจ่ายมิใช่คู่สัญญาขายลดเช็ค ดังนั้น เมื่อวันที่เช็คทั้งหกฉบับถึงกำหนดใช้เงิน ถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ล่วงเลยระยะเวลา 1 ปีแล้วสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ต่อลูกหนี้จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ จึงเป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2634/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทำสัญญาหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่มีอำนาจ
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 22 (3) ลูกหนี้หามีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับเจ้าหนี้ไม่ ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่าเจ้าหนี้จะได้ทราบว่าลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วหรือไม่
หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ลูกหนี้ได้ทำขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วจึงไม่สมบูรณ์ เพราะเกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 94 (1) เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่ได้
กรณีที่เจ้าหนี้มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่จะบังคับให้ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่เจ้าหนี้ หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาดังกล่าวภายในกำหนดเวลา 3 เดือน นับแต่วันที่ทราบ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 122 เจ้าหนี้จึงจะมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับราคาที่ดินที่ได้ชำระให้แก่ลูกหนี้ไปแล้ว และค่าเสียหายที่ได้รับ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 92 เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ทันทีตามมาตรา 91 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3964/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินและการบังคับใช้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ในอันที่จะให้ลูกหนี้ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงินเริ่มนับตั้งแต่เมื่อเจ้าหนี้ทวงถามเจ้าหนี้ทวงถามเมื่อครบ 1 เดือน นับแต่วันออกตั๋วสัญญาใช้เงินแต่หาได้ดำเนินการฟ้องร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้จนลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและเพิ่งมาขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนด 3 ปีนับแต่วันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนด สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1001 และต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94(1) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินจากประชาชน การชำระคืนวงเงินขั้นต่ำและการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมหรือเงินให้กู้ยืมของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ฉบับลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2524 ซึ่งออกตามความในมาตรา 54(7) แห่ง พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุนฯ ที่กำหนดให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ออกเอกสารการกู้ยืมเงินที่มีกำหนดเวลาจ่ายคืนไม่ต่ำกว่า 3 ปี ให้แก่ผู้ให้กู้และต้องมีข้อกำหนดไม่ให้ไถ่ถอนก่อนกำหนดเวลาด้วยนั้น เป็นข้อกำหนดให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินจากประชาชนโดยเฉพาะ ไม่นำมาบังคับในการกู้ยืมเงินจากบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ด้วยกัน โดยมีการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3964/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความตั๋วสัญญาใช้เงินและการบังคับใช้ข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย
สิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีกำหนดใช้เงินเมื่อทวงถาม เริ่มนับตั้งแต่เมื่อเจ้าหนี้ทวงถาม เจ้าหนี้มาขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนด 3 ปี นับแต่วันทวงถามซึ่งตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1001 และต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 (1)
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินจากประชาชน การชำระคืน วงเงินขั้นต่ำ และการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมหรือเงินให้กู้ยืมของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ฉบับลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2524 ซึ่งออกตามความในมาตรา 54 (7)แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522ที่กำหนดให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ออกเอกสารการกู้ยืมเงินที่มีกำหนดเวลาจ่ายคืนไม่ต่ำกว่าสามปีให้แก่ผู้ให้กู้ และต้องมีข้อกำหนดไม่ให้ไถ่ถอนก่อนกำหนดเวลาไว้ด้วยนั้น เป็นข้อกำหนดให้บริษัทเครดิต-ฟองซิเอร์ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินจากประชาชนโดยเฉพาะ หาได้บังคับในการกู้ยืมเงินจากบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ด้วยกันโดยมีการออกตั๋วสัญญาใช้เงินไม่
of 9