พบผลลัพธ์ทั้งหมด 485 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4931/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์, ทุนทรัพย์, ข้อจำกัดการฎีกา: คดีที่ดินราคาไม่เกินสองแสนบาท ไม่อาจฎีกาในข้อเท็จจริงได้
คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินรวม 3 แปลงมาโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า การเข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวครอบครองแทน พ. กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามคำร้องขอ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ และศาลจะต้องแยกพิจารณาที่ดินแต่ละแปลงออกต่างหากจากกันเป็นรายแปลงว่าเป็นดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้างหรือเป็นดังที่ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านทุนทรัพย์จึงต้องแยกออกเฉพาะที่ดินแต่ละแปลง เมื่อปรากฎว่าที่ดินทั้งสามแปลงมีราคาแปลงละไม่เกินสองแสนบาท จึงเป็นคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของที่ดินแต่ละแปลงไม่เกินสองแสนบาท อันต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4931/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยกรณีพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดิน ราคาไม่เกิน 2 แสนบาท เหตุฎีกาในข้อเท็จจริง
คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินรวม 3 แปลงมาโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่าการเข้าครอบครองที่ดิน ดังกล่าวครอบครองแทน พ. กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามคำร้องขอ เป็นคดีมีทุนทรัพย์และศาลจะต้องแยกพิจารณาที่ดินแต่ละแปลงออกต่างหากจากกันเป็นรายแปลงว่าเป็นดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้างหรือเป็นดังที่ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านทุนทรัพย์จึงต้องแยกออกเฉพาะที่ดินแต่ละแปลง เมื่อปรากฏว่าที่ดินทั้งสามแปลงมี ราคาแปลงละไม่เกินสองแสนบาท จึงเป็นคดีที่ราคา ทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของที่ดิน แต่ละแปลงไม่เกินสองแสนบาท อันต้องห้ามมิให้คู่ความ ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4866/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีหลายข้อหา - อำนาจศาลในการแยกพิจารณาคดี และการหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล
ตามมาตรา 29 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้บัญญัติถึงการฟ้องคดีที่มีหลายข้อหาด้วยกันไว้2 กรณี คือ คดีที่ฟ้องกันนั้นมีข้อหาหลายข้อด้วยกันและศาลเห็นว่าข้อหาข้อหนึ่งข้อใดเหล่านั้นมิได้เกี่ยวข้องกันกับข้ออื่น ๆ ศาลอาจมีคำสั่งให้แยกคดีตามที่ศาลเห็นสมควรหรือคู่ความผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องขอกรณีหนึ่ง อีกกรณีหนึ่งถ้าคดีที่ฟ้องกันนั้นมีข้อหาหลายข้อและศาลเห็นว่าหากแยกพิจารณาข้อหาทั้งหมดหรือข้อใดข้อหนึ่งออกจากกันแล้วจะทำให้การพิจารณาข้อหาเหล่านั้นสะดวก ก็ให้ศาลมีอำนาจสั่งแยกข้อหาเหล่านั้นทั้งหมด หรือแต่ข้อใดข้อหนึ่งออกพิจารณาต่างหากเป็นเรื่อง ๆ ไปตามที่ศาลเห็นสมควรหรือคู่ความผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องขอ คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินการนำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้ารวม 94 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้ง มีจำนวนเงินที่ขอให้จำเลยคืนแตกต่างกัน หากต้องแยก พิจารณาตามใบขนสินค้าขาเข้าแต่ละครั้ง เท่ากับต้อง พิจารณาคดีแยกกันถึง 94 คดี ทั้ง ๆ ที่คำฟ้องมีสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่ง ข้อหาเช่นว่านั้นมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกันและเป็นคู่ความ รายเดียวกัน การพิจารณาไปคราวเดียวกันย่อม สะดวกรวดเร็วและเป็นประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย อีกทั้งข้อหาตามคำฟ้องยังเกี่ยวเนื่องกันหากแยกฟ้องก็สามารถ ขอให้ พิจารณารวมกันได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 28โจทก์จึงใช้สิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันได้แต่อย่างไรก็ตาม ตามคำฟ้องของโจทก์จำนวน 94 ข้อซึ่งแต่ละข้อสามารถคิดคำนวณจำนวนเงินที่ขอให้เพิกถอนการประเมินและให้จำเลยคืนเงินแยกต่างหากออกจากกันได้ การที่โจทก์ขอให้จำเลยคืนเงินรวมกันมาจำนวนเดียวและเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดครั้งเดียว โดยมิได้แยกทุนทรัพย์แต่ละข้อย่อมประจักษ์ชัดว่าโจทก์เจตนาหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล กรณีโจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามคำฟ้องทุกข้อแยกต่างหากจากกัน แม้โจทก์สามารถฟ้องข้อหาหลายข้อเป็นคดีเดียวกันได้ก็ดีแต่ต่อมาศาลเห็นว่าหากแยกพิจารณาข้อหาเป็นกลุ่มหรือเป็นประเภทออกจากกันแล้วจะทำให้การพิจารณาข้อหาเหล่านั้นสะดวก ศาลก็ยังมี อำนาจสั่งแยกข้อหาดังกล่าวออกพิจารณาต่างหากเป็นเรื่อง ๆไปดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4866/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีหลายข้อหา: ศาลมีอำนาจแยกพิจารณาได้ แม้ฟ้องรวมกันได้แต่มีเจตนาหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล
ตามมาตรา 29 แห่ง ป.วิ.พ.ได้บัญญัติถึงการฟ้องคดีที่มีหลายข้อหาด้วยกันไว้ 2 กรณี คือ คดีที่ฟ้องกันนั้นมีข้อหาหลายข้อด้วยกันและศาลเห็นว่าข้อหาข้อหนึ่งข้อใดเหล่านั้นมิได้เกี่ยวข้องกันกับข้ออื่น ๆ ศาลอาจมีคำสั่งให้แยกคดีตามที่ศาลเห็นสมควรหรือคู่ความผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องขอกรณีหนึ่ง อีกกรณีหนึ่งถ้าคดีที่ฟ้องกันนั้นมีข้อหาหลายข้อและศาลเห็นว่าหากแยกพิจารณาข้อหาทั้งหมดหรือข้อใดข้อหนึ่งออกจากกันแล้วจะทำให้การพิจารณาข้อหาเหล่านั้นสะดวก ก็ให้ศาลมีอำนาจสั่งแยกข้อหาเหล่านั้นทั้งหมด หรือแต่ข้อใดข้อหนึ่งออกพิจารณาต่างหากเป็นเรื่อง ๆ ไปตามที่ศาลเห็นสมควรหรือคู่ความผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องขอ
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินการนำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้ารวม 94 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งมีจำนวนเงินที่ขอให้จำเลยคืนแตกต่างกัน หากต้องแยกพิจารณาตามใบขนสินค้าขาเข้าแต่ละครั้ง เท่ากับต้องพิจารณาคดีแยกกันถึง 94 คดี ทั้ง ๆ ที่คำฟ้องมีสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกันและเป็นคู่ความรายเดียวกัน การพิจารณาไปคราวเดียวกันย่อมสะดวกรวดเร็วและเป็นประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย อีกทั้งข้อหาตามคำฟ้องยังเกี่ยวเนื่องกันหากแยกฟ้องก็สามารถขอให้พิจารณารวมกันได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 28 โจทก์จึงใช้สิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันได้ แต่อย่างไรก็ตาม ตามคำฟ้องของโจทก์จำนวน 94 ข้อ ซึ่งแต่ละข้อสามารถคิดคำนวณจำนวนเงินที่ขอให้เพิกถอนการประเมินและให้จำเลยคืนเงินแยกต่างหากออกจากกันได้ การที่โจทก์ขอให้จำเลยคืนเงินรวมกันมาจำนวนเดียวและเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดครั้งเดียว โดยมิได้แยกทุนทรัพย์แต่ละข้อย่อมประจักษ์ชัดว่า โจทก์เจตนาหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล กรณีโจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามคำฟ้องทุกข้อแยกต่างหากจากกัน
แม้โจทก์สามารถฟ้องข้อหาหลายข้อเป็นคดีเดียวกันได้ก็ดีแต่ต่อมาศาลเห็นว่าหากแยกพิจารณาข้อหาเป็นกลุ่มหรือเป็นประเภทออกจากกันแล้วจะทำให้การพิจารณาข้อหาเหล่านั้นสะดวก ศาลก็ยังมีอำนาจสั่งแยกข้อหาดังกล่าวออกพิจารณาต่างหากเป็นเรื่อง ๆ ไปดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งป.วิ.พ.ได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินการนำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้ารวม 94 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งมีจำนวนเงินที่ขอให้จำเลยคืนแตกต่างกัน หากต้องแยกพิจารณาตามใบขนสินค้าขาเข้าแต่ละครั้ง เท่ากับต้องพิจารณาคดีแยกกันถึง 94 คดี ทั้ง ๆ ที่คำฟ้องมีสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกันและเป็นคู่ความรายเดียวกัน การพิจารณาไปคราวเดียวกันย่อมสะดวกรวดเร็วและเป็นประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย อีกทั้งข้อหาตามคำฟ้องยังเกี่ยวเนื่องกันหากแยกฟ้องก็สามารถขอให้พิจารณารวมกันได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 28 โจทก์จึงใช้สิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันได้ แต่อย่างไรก็ตาม ตามคำฟ้องของโจทก์จำนวน 94 ข้อ ซึ่งแต่ละข้อสามารถคิดคำนวณจำนวนเงินที่ขอให้เพิกถอนการประเมินและให้จำเลยคืนเงินแยกต่างหากออกจากกันได้ การที่โจทก์ขอให้จำเลยคืนเงินรวมกันมาจำนวนเดียวและเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดครั้งเดียว โดยมิได้แยกทุนทรัพย์แต่ละข้อย่อมประจักษ์ชัดว่า โจทก์เจตนาหลีกเลี่ยงค่าขึ้นศาล กรณีโจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามคำฟ้องทุกข้อแยกต่างหากจากกัน
แม้โจทก์สามารถฟ้องข้อหาหลายข้อเป็นคดีเดียวกันได้ก็ดีแต่ต่อมาศาลเห็นว่าหากแยกพิจารณาข้อหาเป็นกลุ่มหรือเป็นประเภทออกจากกันแล้วจะทำให้การพิจารณาข้อหาเหล่านั้นสะดวก ศาลก็ยังมีอำนาจสั่งแยกข้อหาดังกล่าวออกพิจารณาต่างหากเป็นเรื่อง ๆ ไปดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งป.วิ.พ.ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือนตาม ป.อ.มาตรา 55 และข้อจำกัดการยกเหตุใหม่ในชั้นฎีกา
โทษจำคุกที่ผู้กระทำความผิดจะต้องรับมีกำหนดเวลาเพียง3 เดือน หรือน้อยกว่าดังที่บัญญัติไว้ใน ป.อ.มาตรา 55 ต้องถือเอาโทษจำคุกที่ศาลลงในแต่ละกระทงความผิด จะรวมโทษจำคุกทุกกระทงความผิดในคดีนั้นมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาหาได้ไม่ เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยในแต่ละกระทงความผิด ให้จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจยกโทษจำคุกจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 55 ได้
จำเลยให้การรับสารภาพต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้องแล้ว คำแก้ฎีกาของจำเลยเมื่อเป็นการขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้จำเลยยกขึ้นในชั้นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยให้การรับสารภาพต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้องแล้ว คำแก้ฎีกาของจำเลยเมื่อเป็นการขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้จำเลยยกขึ้นในชั้นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 55 และการรับคำรับสารภาพของจำเลย
โทษจำคุกที่ผู้กระทำความผิดจะต้องรับมีกำหนดเวลาเพียง 3 เดือน หรือน้อยกว่าดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 55 ต้องถือเอาโทษจำคุกที่ศาลลง ในแต่ละกระทงความผิด จะรวมโทษจำคุกทุกกระทงความผิดในคดีนั้นมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาหาได้ไม่ เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยในแต่ละกระทงความผิด ให้จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจยกโทษจำคุกจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 55 ได้ จำเลยให้การรับสารภาพต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้องแล้ว คำแก้ฎีกาของจำเลยเมื่อเป็นการขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้จำเลยยกขึ้นในชั้นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7523/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบด้วยข้อตกลง, ค่าเสื่อมราคา, และการหักกลบลบหนี้
จำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่ งวดที่ 1 ถึง งวดที่ 9เรียงลำดับมา แม้ทุกงวดจะชำระไม่ตรงเวลา แต่โจทก์ก็รับไปโดยไม่มีข้อโต้แย้งแสดงว่าในทางปฏิบัติคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ จึงไม่ถือว่าการชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงเวลาเป็นการผิดสัญญา เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครั้งสุดท้ายงวดที่ 9เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2534 แต่โจทก์ไปยึดรถที่เช่าซื้อเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534 ห่างจากวันชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายเพียง 19 วัน เป็นการยึดรถคืนโดยไม่มีสิทธิจะกระทำได้ นอกจากนี้ตามสัญญาเช่าซื้อยังได้ตกลงไว้ว่าในกรณีผู้เช่าไม่ใช้เงินค่าเช่าสองงวดติด ๆ กัน เมื่อโจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือบอกกล่าวแล้ว แต่ผู้เช่าละเลยไม่ปฏิบัติตามภายในกำหนด 30 วัน ผู้เช่ายอมให้เจ้าของมีสิทธิบอกเลิกการเช่าและริบเงินที่ได้รับชำระแล้วและกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินได้ทันที อีกทั้งโจทก์ก็ยอมรับว่าโจทก์ต้องมีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อภายใน30 วัน ก่อนจึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญา แต่โจทก์มิได้ มีหลักฐานเป็นหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติการชำระค่าเช่าซื้อภายใน 30 วัน กลับมีหนังสือบอกเลิกสัญญาทันทีการบอกเลิกสัญญาโดยผิดข้อตกลงเช่นนี้จึงไม่ชอบ การที่โจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนเมื่อวันที่ 25พฤศจิกายน 2534 โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้โต้แย้งเสียภายในเวลาอันสมควร จำเลยที่ 1 เพิ่งมาโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มี สิทธิยึดรถหลังจากถูกโจทก์ฟ้องและโจทก์ได้ยึดรถไปแล้ว1 ปีเศษ จึงเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1ต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถคืน คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับรถคืนแล้วโจทก์จึงต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระแล้วแก่จำเลยที่ 1 แต่การที่จำเลยที่ 1 ครอบครองรถที่เช่าซื้อตั้งแต่วันทำสัญญาถึงวันที่โจทก์ยึดรถคืน โจทก์ย่อมขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าใช้ทรัพย์แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคสาม รถที่โจทก์ยึดคืนปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ต่อตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มเป็นเงิน 220,000 บาท และก่อนทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินดาวน์แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ไปแล้ว เป็นเงิน 200,000 บาท ถือได้ว่าเป็นการงาน อันได้กระทำให้ เพราะเมื่อโจทก์ยึดรถคืนมาย่อมเป็นประโยชน์แก่โจทก์กล่าวคือ ตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มเป็นส่วนประกอบของรถ ส่วนเงินดาวน์ก็เป็นส่วนหนึ่งของราคารถ โจทก์จึง ต้องใช้คืนแก่จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคสาม แต่การที่จำเลยที่ 1 ต่อตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มก็ดี ชำระเงินดาวน์ก็ดี ย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 อยู่ด้วยในการที่นำรถไปใช้รับจ้างบรรทุกสิ่งของ เป็นเวลาถึง 15 เดือน ซึ่งรถย่อมมีการเสื่อมสภาพลง จึงต้อง หักค่าเสื่อมราคาของรถออกเสียก่อน ส่วนค่าเสียหายอย่างอื่นที่ต่างฝ่ายต่างเรียกร้องนั้นเมื่อสัญญาเช่าซื้อมิได้เลิกกันเพราะความผิดของฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายจึงต่างไม่มีสิทธิเรียกให้อีกฝ่ายชำระ เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันที่จะต้องชำระหนี้เงินเป็นอย่างเดียวกัน และต่างฟ้องอีกฝ่ายหนึ่งให้รับผิดซึ่งศาลรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันดังนั้น เพื่อความสะดวกในการบังคับคดี ศาลฎีกาจึงให้หักกลบลบหนี้เพียงเท่าจำนวนที่ตรงกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องโจทก์เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7523/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าซื้อ การหักกลบลบหนี้ และการชดใช้ค่าเสียหายจากการใช้ทรัพย์
จำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 1 ถึงงวดที่ 9เรียงลำดับมา แม้ทุกงวดจะชำระไม่ตรงเวลา แต่โจทก์ก็รับไปโดยไม่มีข้อโต้แย้งแสดงว่าในทางปฏิบัติคู่สัญญาไม่ถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ จึงไม่ถือว่าการชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงเวลาเป็นการผิดสัญญา เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครั้งสุดท้ายงวดที่ 9 เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2534 แต่โจทก์ไปยึดรถที่เช่าซื้อเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534 ห่างจากวันชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายเพียง19 วัน เป็นการยึดรถคืนโดยไม่มีสิทธิจะกระทำได้ นอกจากนี้ตามสัญญาเช่าซื้อยังได้ตกลงไว้ว่า ในกรณีผู้เช่าไม่ใช้เงินค่าเช่าสองงวดติด ๆ กัน เมื่อโจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือบอกกล่าวแล้ว แต่ผู้เช่าละเลยไม่ปฏิบัติตามภายในกำหนด 30 วัน ผู้เช่ายอมให้เจ้าของมีสิทธิบอกเลิกการเช่าและริบเงินที่ได้รับชำระแล้วและกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินได้ทันที อีกทั้งโจทก์ก็ยอมรับว่าโจทก์ต้องมีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อภายใน 30 วัน ก่อนจึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญา แต่โจทก์มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติการชำระค่าเช่าซื้อภายใน30 วัน กลับมีหนังสือบอกเลิกสัญญาทันที การบอกเลิกสัญญาโดยผิดข้อตกลงเช่นนี้จึงไม่ชอบ
การที่โจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้โต้แย้งเสียภายในเวลาอันสมควร จำเลยที่ 1 เพิ่งมาโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิยึดรถหลังจากถูกโจทก์ฟ้องและโจทก์ได้ยึดรถไปแล้ว 1 ปีเศษ จึงเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถคืน คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับรถคืนแล้ว โจทก์จึงต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระแล้วแก่จำเลยที่ 1 แต่การที่จำเลยที่ 1 ครอบครองรถที่เช่าซื้อตั้งแต่วันทำสัญญาถึงวันที่โจทก์ยึดรถคืน โจทก์ย่อมขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าใช้ทรัพย์แก่โจทก์ตามป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสาม
รถที่โจทก์ยึดคืนปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ต่อตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มเป็นเงิน 220,000 บาท และก่อนทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินดาวน์แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ไปแล้ว เป็นเงิน 200,000 บาท ถือได้ว่าเป็นการงานอันได้กระทำให้ เพราะเมื่อโจทก์ยึดรถคืนมาย่อมเป็นประโยชน์แก่โจทก์กล่าวคือ ตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มเป็นส่วนประกอบของรถ ส่วนเงินดาวน์ก็เป็นส่วนหนึ่งของราคารถ โจทก์จึงต้องใช้คืนแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสามแต่การที่จำเลยที่ 1 ต่อตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มก็ดี ชำระเงินดาวน์ก็ดี ย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 อยู่ด้วยในการที่นำรถไปใช้รับจ้างบรรทุกสิ่งของเป็นเวลาถึง 15 เดือนซึ่งรถย่อมมีการเสื่อมสภาพลง จึงต้องหักค่าเสื่อมราคาของรถออกเสียก่อน
ส่วนค่าเสียหายอย่างอื่นที่ต่างฝ่ายต่างเรียกร้องนั้น เมื่อสัญญาเช่าซื้อมิได้เลิกกันเพราะความผิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายจึงต่างไม่มีสิทธิเรียกให้อีกฝ่ายชำระ
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันที่จะต้องชำระหนี้เงินเป็นอย่างเดียวกัน และต่างฟ้องอีกฝ่ายหนึ่งให้รับผิดซึ่งศาลรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ดังนั้น เพื่อความสะดวกในการบังคับคดี ศาลฎีกาจึงให้หักกลบลบหนี้เพียงเท่าจำนวนที่ตรงกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 341 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องโจทก์เป็นต้นไป
การที่โจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้โต้แย้งเสียภายในเวลาอันสมควร จำเลยที่ 1 เพิ่งมาโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิยึดรถหลังจากถูกโจทก์ฟ้องและโจทก์ได้ยึดรถไปแล้ว 1 ปีเศษ จึงเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถคืน คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้รับรถคืนแล้ว โจทก์จึงต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระแล้วแก่จำเลยที่ 1 แต่การที่จำเลยที่ 1 ครอบครองรถที่เช่าซื้อตั้งแต่วันทำสัญญาถึงวันที่โจทก์ยึดรถคืน โจทก์ย่อมขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าใช้ทรัพย์แก่โจทก์ตามป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสาม
รถที่โจทก์ยึดคืนปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ต่อตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มเป็นเงิน 220,000 บาท และก่อนทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินดาวน์แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ไปแล้ว เป็นเงิน 200,000 บาท ถือได้ว่าเป็นการงานอันได้กระทำให้ เพราะเมื่อโจทก์ยึดรถคืนมาย่อมเป็นประโยชน์แก่โจทก์กล่าวคือ ตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มเป็นส่วนประกอบของรถ ส่วนเงินดาวน์ก็เป็นส่วนหนึ่งของราคารถ โจทก์จึงต้องใช้คืนแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสามแต่การที่จำเลยที่ 1 ต่อตัวถังเหล็กพร้อมดั๊มก็ดี ชำระเงินดาวน์ก็ดี ย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 อยู่ด้วยในการที่นำรถไปใช้รับจ้างบรรทุกสิ่งของเป็นเวลาถึง 15 เดือนซึ่งรถย่อมมีการเสื่อมสภาพลง จึงต้องหักค่าเสื่อมราคาของรถออกเสียก่อน
ส่วนค่าเสียหายอย่างอื่นที่ต่างฝ่ายต่างเรียกร้องนั้น เมื่อสัญญาเช่าซื้อมิได้เลิกกันเพราะความผิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายจึงต่างไม่มีสิทธิเรียกให้อีกฝ่ายชำระ
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันที่จะต้องชำระหนี้เงินเป็นอย่างเดียวกัน และต่างฟ้องอีกฝ่ายหนึ่งให้รับผิดซึ่งศาลรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ดังนั้น เพื่อความสะดวกในการบังคับคดี ศาลฎีกาจึงให้หักกลบลบหนี้เพียงเท่าจำนวนที่ตรงกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 341 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องโจทก์เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากทุนทรัพย์ต่ำกว่าเกณฑ์ แม้ศาลชั้นต้นรับฎีกาไว้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษารวมกัน การพิจารณาถึงสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาต้องถือตามทุนทรัพย์แต่ละสำนวนเมื่อทุนทรัพย์ที่ดินพิพาทในชั้นฎีกาของจำเลยและผู้ร้องสอดไม่เกินสำนวนละ 200,000 บาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาตามทุนทรัพย์ คดีที่ดินพิพาท
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษารวมกัน การพิจารณาถึงสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาต้องถือตามทุนทรัพย์แต่ละสำนวน เมื่อทุนทรัพย์ที่ดินพิพาทในชั้นฎีกาของจำเลยและผู้ร้องสอดไม่เกินสำนวนละ 200,000 บาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง