คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 28

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 485 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1422-1423/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอาศัย-การซื้อขายที่ดิน: ผลของการไม่จดทะเบียนสิทธิอาศัย และการเพิกถอนการซื้อขาย
ที่พิพาทเป็นที่ดินมี น.ส.3. เดิมเมื่อ พ.ศ. 2511 บ. เคยฟ้อง ม. แล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดย บ. ยอมรับว่าที่พิพาทเป็นของ ม. และ ม. ยินยอมให้ บ. อาศัยในเรือนของ บ. ที่ปลูกในที่พิพาท และให้ใช้คอกกระบือเดิมในที่พิพาทที่เคยใช้มาแล้วต่อไป ศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแต่ บ. ไม่ได้จดทะเบียนสิทธิอาศัยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อมา พ.ศ. 2516 ม. ขายที่พิพาทให้ ช. โดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนแล้วมีคดีพิพาทกันต่อมา 2 คดี คือ คดีแรก ช. เป็นโจทก์ฟ้อง บ. เป็นจำเลยว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทจาก ม. เมื่อ พ.ศ. 2516 จำเลยได้มาปลูกคอกกระบือในที่พิพาทของโจทก์ ขอให้ขับไล่ คดีหลัง บ. เป็นโจทก์ฟ้อง ม. และ ช. ว่า ม. จดทะเบียนขายที่พิพาทให้ ช. โดยไม่มีค่าตอบแทนและไม่สุจริต ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนและให้ ม. จดทะเบียนสิทธิอาศัยให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความคดีทั้งสองขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแยกกัน ศาลฎีกามีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษารวมกันตามที่คู่ความขอ
ดังนี้ สำหรับคดีแรก การที่จำเลยให้การว่าคอกกระบือนั้นเป็นคอกกระบือเดิมที่ ม. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยใช้ต่อไปเท่ากับจำเลยปฏิเสธว่าจำเลยมิได้เข้าปลูกคอกกระบือในที่ดินของโจทก์เมื่อ พ.ศ. 2517 เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลยเสียแล้ววินิจฉัยว่า สิทธิของจำเลยได้มาตามสัญญาประนีประนอมยอมความยังมิได้จดทะเบียนไม่บริบูรณ์พิพากษาให้จำเลยรื้อคอกกระบือออกไป เป็นการงดสืบพยานไม่ชอบ แต่เมื่อคดีหลังได้มีการสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นกระแสความแล้วศาลฎีกาชอบที่จะ ไม่ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองแล้วให้สืบพยานต่อไป แต่ย่อมนำ พยานหลักฐานในคดีหลังมาวินิจฉัยได้ และเมื่อวินิจฉัยแล้วฟังไม่ได้ว่า จำเลยได้เข้าปลูกคอกกระบือในที่ดินของโจทก์เมื่อ พ.ศ. 2517 ศาลย่อม พิพากษายกฟ้องโจทก์คดีแรกเสีย
สำหรับคดีหลัง เมื่อที่พิพาทยังเป็นของ ม. อยู่ ม. จึงมีสิทธิขายให้ ช. ได้ บ. โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอนขายที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง ทั้งเมื่อ ม. ขายที่พิพาท และมอบการครอบครองให้ ช. ไปแล้วโจทก์ย่อมฟ้องขอให้บังคับ ม. ไปจดทะเบียนสิทธิตามคำพิพากษาตามยอมอีกมิได้ เพราะที่พิพาทไม่ได้เป็นของ ม. แล้วศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง คดีหลังด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนนิติกรรมและการพิสูจน์สถานะผู้จัดการมรดก จำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงก่อน
โจทก์ฟ้องว่า ผ.เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดก โจทก์กำลังจัดการมรดกอยู่ เมื่อ ผ.ยังมีชีวิตอยู่นั้นจำเลยได้ฉ้อฉล ผ. ให้ ผ.ยกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้จำเลย ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมยกให้นั้น จำเลยให้การปฏิเสธพินัยกรรมท้ายฟ้องและว่าถ้า ผ.ได้ทำพินัยกรรมนั้นจริง ก็ถูกเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลังแล้ว โจทก์มิได้เป็นทายาทและผู้จัดการมรดก ผ.ยกทรัพย์ดังกล่าวให้จำเลยโดยชอบด้วยใจสมัคร และโจทก์ขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกตามคดีดำที่ 6368/2516 ซึ่งยังพิพาทกันอยู่ ยังไม่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1712 เจ้ามรดกมีสิทธิที่ตั้งผู้จัดการมรดกได้แต่เรื่องนี้ยังมีข้อโต้เถียงกันอยู่ว่า พินัยกรรมที่โจทก์อ้างจะเป็นพินัยกรรมที่ถูกต้องแท้จริงหรือไม่เจ้ามรดกได้ระบุไว้ในพินัยกรรมตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกจริงหรือไม่ โจทก์มีข้อเสื่อมเสียประการใดและมีพินัยกรรมฉบับหลังเพิกถอนการตั้งผู้จัดการมรดกที่โจทก์อ้างหรือไม่ เหล่านี้เป็นข้อที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงกันต่อไปเพื่อที่จะได้ทราบชัดว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ แม้ว่าศาลจะมีอำนาจหยิบยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยได้เอง แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีศาลก็ควรจะได้ฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวให้ถ่องแท้เสียก่อนจึงจะวินิจฉัยได้ แม้คดีหมายเลขดำที่ 6268/2516 นั้น คณะผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณาเป็นคณะเดียวกับคดีนี้ แต่ก็เป็นคนละคดีกันและมิได้รวมพิจารณาจะนำข้อเท็จจริงในคดีหนึ่งมาใช้กับอีกคดีหนึ่งหาได้ไม่ เมื่อโจทก์มิได้แถลงรับในข้อนี้ก็จะต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องผู้จัดการมรดก: ต้องพิสูจน์สถานะผู้จัดการมรดกก่อนฟ้องเพิกถอนนิติกรรม
โจทก์ฟ้องว่า ผ. เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดก โจทก์กำลังจัดการมรดกอยู่เมื่อ ผ. ยังมีชีวิตอยู่นั้นจำเลยได้ฉ้อฉล ผ. ให้ ผ. ยกที่ดินพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมยกให้นั้นจำเลยให้การปฏิเสธพินัยกรรมท้ายฟ้องและว่าถ้า ผ. ได้ทำพินัยกรรมนั้นจริงก็ถูกเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลังแล้วโจทก์มิได้เป็นทายาทและผู้จัดการมรดก ผ.ยกทรัพย์ดังกล่าวให้จำเลยโดยชอบด้วยใจสมัคร และโจทก์ขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกตามคดีดำที่ 6368/2516 ซึ่งยังพิพาทกันอยู่ยังไม่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1712 เจ้ามรดกมีสิทธิที่ตั้งผู้จัดการมรดกได้แต่เรื่องนี้ยังมีข้อโต้เถียงกันอยู่ว่า พินัยกรรมที่โจทก์อ้างจะเป็นพินัยกรรมที่ถูกต้องแท้จริงหรือไม่เจ้ามรดกได้ระบุไว้ในพินัยกรรมตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกจริงหรือไม่โจทก์มีข้อเสื่อมเสียประการใดและมีพินัยกรรมฉบับหลังเพิกถอนการตั้งผู้จัดการมรดกที่โจทก์อ้างหรือไม่ เหล่านี้เป็นข้อที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงกันต่อไปเพื่อที่จะได้ทราบชัดว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ แม้ว่าศาลจะมีอำนาจหยิบยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยได้เองแต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีศาลก็ควรจะได้ฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวให้ถ่องแท้เสียก่อนจึงจะวินิจฉัยได้ แม้คดีหมายเลขดำที่ 6268/2516 นั้นคณะผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณาเป็นคณะเดียวกับคดีนี้ แต่ก็เป็นคนละคดีกันและมิได้รวมพิจารณาจะนำข้อเท็จจริงในคดีหนึ่งมาใช้กับอีกคดีหนึ่งหาได้ไม่เมื่อโจทก์มิได้แถลงรับในข้อนี้ก็จะต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542-1543/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกเงินของเจ้าหน้าที่: การกำหนดความรับผิดของเจ้าพนักงานและลูกจ้าง
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นสำนวนเดียวกัน จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นสำนวนใหม่ ต่อมาคู่ความฎีกาทั้งสองสำนวน เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าคดีทั้งสองสำนวนนี้เกี่ยวพันกัน ย่อมให้รวมการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันได้เพื่อสะดวกแก่การพิจารณา
จำเลยที่ 1 รับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างรายวันทำงานอยู่ที่แผนกเภสัชกรรมของโรงพยาบาลเดียวกันจำเลยที่ 1 มีหน้าที่คิดราคายา และเขียนราคายาลงในใบสั่งยาจำหน่ายยาให้คนไข้ เมื่อเจ้าหน้าที่ออกใบเสร็จรับเงินแล้ว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่มอบใบเสร็จรับเงินและยาให้แก่คนไข้ และมีหน้าที่ควบคุมดูแลการออกใบเสร็จรับเงินและสำเนาให้ตรงตามใบสั่งยา เมื่อรับเงินค่าจำหน่ายยาแล้ว จำเลยที่ 2 มีหน้าที่เก็บรักษาไว้เพื่อส่งให้แก่เจ้าหน้าที่การเงิน เวลาจำเลยที่ 2 ไม่อยู่ ถ้าจำเลยที่ 1ช่วยเขียนใบเสร็จรับเงินก็ต้องมอบเงินให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2กลับมา จำเลยทั้งสองร่วมกันทำสำเนาใบเสร็จรับเงินโดยลงจำนวนเงินราคายาน้อยกว่าราคาที่จำหน่ายไปจริง แล้วร่วมกันยักยอกเอาเงินที่เกินกว่าจำนวนในสำเนาใบเสร็จ ดังนี้ จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เท่านั้น เพราะจำเลยที่ 1 มิได้มีหน้าที่รักษาเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น แม้จะรับสารภาพตามฟ้องว่ากระทำผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังเงินซึ่งมีหน้าที่รักษาไว้ แต่เมื่อรวมการพิจารณาแล้ว ศาลฎีกาฟังว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีหน้าที่รักษาเงินจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามมาตรา 352 เท่านั้นเหมือนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542-1543/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกเงินของเจ้าหน้าที่รัฐ: การกำหนดความรับผิดชอบในการเก็บรักษาเงิน และความผิดของลูกจ้าง
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นสำนวนเดียวกัน จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นสำนวนใหม่ ต่อมาคู่ความฎีกาทั้งสองสำนวน เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าคดีทั้งสองสำนวนนี้เกี่ยวพันกัน ย่อมให้รวมการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันได้เพื่อสะดวกแก่การพิจารณา
จำเลยที่ 1 รับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างรายวันทำงานอยู่ที่แผนกเภสัชกรรมของโรงพยาบาลเดียวกัน จำเลยที่ 1 มีหน้าที่คิดราคายา และเขียนราคายาลงในใบสั่งยา จำหน่ายยาให้คนไข้ เมื่อเจ้าหน้าที่ออกใบเสร็จรับเงินแล้ว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่มอบใบเสร็จรับเงินและยาให้แก่คนไข้ และมีหน้าที่ควบคุมดูแลการออกใบเสร็จรับเงินและสำเนาให้ตรงตามใบสั่งยา เมื่อรับเงินค่าจำหน่ายยาแล้ว จำเลยที่ 2 มีหน้าที่เก็บรักษาไว้เพื่อส่งให้แก่เจ้าหน้าที่การเงิน เวลาจำเลยที่ 2 ไม่อยู่ ถ้าจำเลยที่ 1 ช่วยเขียนใบเสร็จรับเงินก็ต้องมอบเงินให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 กลับมา จำเลยทั้งสองร่วมกันทำสำเนาใบเสร็จรับเงินโดยลงจำนวนเงินราคายาน้อยกว่าราคาที่จำหน่ายไปจริง แล้วร่วมกันยักยอกเอาเงินที่เกินกว่าจำนวนในสำเนาใบเสร็จ ดังนี้ จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เท่านั้น เพราะจำเลยที่ 1 มิได้มีหน้าที่รักษาเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น แม้จะรับสารภาพตามฟ้องว่ากระทำผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังเงินซึ่งมีหน้าที่รักษาไว้ แต่เมื่อรวมการพิจารณาแล้ว ศาลฎีกาฟังว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีหน้าที่รักษาเงิน จำเลยที่ 2จึงมีความผิดตามมาตรา 352 เท่านั้นเหมือนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รวมการพิจารณาคดีลักทรัพย์เด็ก - การส่งตัวไปฝึกอบรมไม่ใช่การลงโทษ - รวมโทษได้
จำเลยกระทำความผิด 2 กรรม โจทก์ฟ้องเป็น 2 สำนวนเมื่อจะเป็นการสะดวกหากพิจารณารวมกัน ศาลชั้นต้นย่อมสั่งให้พิจารณารวมกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 28การพิพากษาความผิดของจำเลยจะต้องพิพากษาทุกกรรมส่วนวิธีการลงโทษต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91แต่จำเลยมีอายุไม่เกิน 17 ปี และศาลชั้นต้นเห็นว่าไม่สมควรพิพากษาลงโทษ จึงพิพากษาให้ส่งตัวไปรับการฝึกอบรมยังสถานพินิจฯ ดังนี้ ไม่อยู่ในบังคับแห่งมาตรา 91 เพราะไม่ใช่การลงโทษ จึงรวมกำหนดระยะเวลาการส่งตัวไปรับการฝึกอบรมทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันได้ ไม่จำต้องกำหนดว่าสำนวนละเท่าใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รวมพิจารณาคดีอาญาเด็กและวิธีการลงโทษแบบไม่ลงโทษ (ส่งสถานพินิจ) การรวมโทษและอำนาจศาล
จำเลยกระทำความผิด 2 กรรม โจทก์ฟ้องเป็น 2 สำนวนเมื่อจะเป็นการสะดวกหากพิจารณารวมกัน ศาลชั้นต้นย่อมสั่งให้พิจารณารวมกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 28การพิพากษาความผิดของจำเลยจะต้องพิพากษาทุกกรรม ส่วนวิธีการลงโทษต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 แต่จำเลยมีอายุไม่เกิน 17 ปี และศาลชั้นต้นเห็นว่าไม่สมควรพิพากษาลงโทษ จึงพิพากษาให้ส่งตัวไปรับการฝึกอบรมยังสถานพินิจฯ ดังนี้ ไม่อยู่ในบังคับแห่งมาตรา 91 เพราะไม่ใช่การลงโทษ จึงรวมกำหนดระยะเวลาการส่งตัวไปรับการฝึกอบรมทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันได้ ไม่จำต้องกำหนดว่าสำนวนละเท่าใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ติดใจอุทธรณ์คดีหนึ่ง ไม่ถือเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงในคดีอื่นที่เกี่ยวข้อง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย อ้างว่าจำเลยขับรถโดยประมาทชนรถซึ่งบิดาโจทก์ขับ ทำให้บิดาโจทก์ตาย จำเลยก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เนื่องจากรถเกิดชนกันครั้งเดียวกันนั้นด้วย ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีรวมกัน แล้วฟังว่า เหตุที่รถชนกันเกิดเพราะความประมาทของจำเลยพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์และยกฟ้องคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์จำเลยไม่ติดใจอุทธรณ์คดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ คงอุทธรณ์แต่คดีที่ถูกโจทก์ฟ้องแต่คดีเดียวว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดเพราะไม่ได้ประมาท ดังนี้ ประเด็นในคดีนี้ที่ว่าจำเลยจะต้องรับผิดเพราะขับรถโดยประมาทชนกับรถบิดาโจทก์จริงหรือไม่ ยังไม่ยุติ จะถือเอาการที่ไม่ติดใจอุทธรณ์คดีที่จำเลยฟ้องนั้น เป็นการปิดปากว่าจำเลยยอมรับข้อนี้แล้วหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1356-1521/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมสำนวนคดีอาญาหลายกรรมต่างวาระและการคำนวณโทษ จำเลยต้องรับโทษตามจำนวนวันจริง ไม่ใช่การทอนเป็นปีเดือน
การกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระกันถึง 166 ครั้งนั้น เพื่อความสดวกศาลแขวงจะรวมคดีทั้ง 166 สำนวนพิจารณาพิพากษารวมกันก็ได้ และเมื่อศาลแขวงลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละสำนวนโดยมีกำหนดโทษซึ่งอยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะลงแล้ว แม้ในที่สุดจำเลยจะต้องรับโทษถึง 2490 วัน ก็ย่อมทำได้
การลงโทษเรียงสำนวนทั้ง 166 สำนวน พึ่งให้นับโทษติดต่อกันไปไม่จำต้องรวมโทษทุกสำนวนเข้าด้วยกันแล้วคิดทอนจากวันเป็นปีเดือน เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษจริงเกินกว่าโทษที่จะต้องรับโดยการนับโทษติดต่อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1356-1521/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมคดีหลายสำนวนเพื่อลงโทษและการคำนวณโทษจำคุกที่ถูกต้อง
การกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระกันถึง 166 ครั้ง นั้นเพื่อความสะดวกศาลแขวงจะรวมคดีทั้ง 166 สำนวนพิจารณาพิพากษารวมกันก็ได้และเมื่อศาลแขวงลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละสำนวนโดยมีกำหนดโทษซึ่งอยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะลงแล้ว แม้ในที่สุดจำเลยจะต้องรับโทษถึง 2490 วัน ก็ย่อมทำได้
การลงโทษเรียงสำนวนทั้ง 166 สำนวน พึงให้นับโทษติดต่อกันไปไม่จำต้องรวมโทษทุกสำนวนเข้าด้วยกันแล้วคิดทอนจากวันเป็นปีเดือน เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษจริงเกินกว่าโทษที่จะต้องรับโดยการนับโทษติดต่อ
of 49