พบผลลัพธ์ทั้งหมด 485 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14001/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการรวมสำนวนคดีและการบังคับคดีข้ามสำนวน ต้องมีคำสั่งรวมกันตามกฎหมาย
แม้คดีนี้กับคดีหมายเลขแดงที่ 15529 - 15530/2541 ต่างเป็นสำนวนของศาลชั้นต้นเดียวกัน แม้คู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นบุคคลเดียวกัน และพิพาทกันในมูลหนี้ตามสัญญาจะซื้อขาย ฉบับเดียวกันก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็เพียงแต่มีคำสั่งให้นำสำนวนคดีหมายเลขแดงที่ 15529 - 15530/2541 มาผูกรวมกับสำนวนคดีนี้ โดยมิได้มีคำสั่งให้พิจารณาคดีเหล่านี้รวมกัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 28 วรรคหนึ่ง แต่อย่างใด ทั้งสำนวนคดีหมายเลขแดงที่ 15529 - 15530/2541 ศาลฎีกาก็ได้มีคำพิพากษาเป็นที่สุดไปก่อนในลักษณะวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ต่างสำนวนกันกับคดีนี้ จึงไม่อาจจะถือว่าสำนวนคดีหมายเลขแดงที่ 15529 - 15530/2541 เป็นส่วนหนึ่งของคดีนี้ที่ศาลชั้นต้นคดีนี้จะมีคำสั่งข้ามสำนวนไปเพิกถอนการบังคับคดี ซึ่งเป็นการใช้อำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในสำนวนคดีหมายเลขแดงที่ 15529 - 15530/2541 นั้นได้ และปัญหาเกี่ยวด้วยอำนาจศาลในการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่เมื่อเห็นสมควรศาลอุทธรณ์ย่อมยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7000/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รวมหนี้สินเชื่อ-ค่าขึ้นศาล-สิทธิเรียกร้อง-การโอนสิทธิ-การสวมสิทธิคู่ความ
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทสถาบันการเงิน ประกอบธุรกิจด้วยการปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกค้าโดยให้กู้เบิกเงินเกินบัญชี กู้ยืมเงิน ซื้อลดเช็ค หรือด้วยประการอื่นที่ทำได้ในการให้เงินหรือหลักประกันแก่ลูกค้า โดยรับประโยชน์ตอบแทนเป็นดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่น จำเลยทั้งสองเป็นลูกค้าโจทก์ย่อมสามารถทำธุรกิจกับโจทก์ได้ไม่จำกัดว่าต้องเป็นวิธีใดเพียงอย่างเดียว การที่จำเลยที่ 1 ขอกู้เบิกเงินเกินบัญชี กู้ยืมเงิน และขายลดเช็คแก่โจทก์ ล้วนแต่เป็นการขอสินเชื่อจากโจทก์ จำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้และจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันโดยมิได้แบ่งแยกว่าประกันหนี้ประเภทไหนรายการใดมูลหนี้ทั้งหมดจึงเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมพิจารณาเข้าด้วยกันได้ โจทก์จึงนำสินเชื่อทุกชนิดมารวมกันเป็นจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องฟ้องมาในคดีเดียวกันได้ การที่โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในอัตราสูงสุดตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ 1 ก. จึงชอบแล้ว
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแล้ว คดีย่อมอยู่ในอำนาจของศาลฎีกาที่จะพิจารณาและทำคำสั่งคำร้องดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์เองจึงไม่ชอบ ต้องเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเสีย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องได้รับโอนสินทรัพย์ซึ่งรวมถึงสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยมาจากโจทก์แล้ว ศาลฎีกาจึงอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแล้ว คดีย่อมอยู่ในอำนาจของศาลฎีกาที่จะพิจารณาและทำคำสั่งคำร้องดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์เองจึงไม่ชอบ ต้องเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเสีย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องได้รับโอนสินทรัพย์ซึ่งรวมถึงสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยมาจากโจทก์แล้ว ศาลฎีกาจึงอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6882/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคำนวณจากทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคน แม้ฟ้องรวมกัน
การพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาจากคำฟ้องของคดีนั้นเป็นเกณฑ์
โจทก์ทั้งยี่สิบบรรยายฟ้องว่า โจทก์แต่ละคนต่างเป็นผู้เช่าแผงขายของในตลาด โดยมิได้เกี่ยวข้องกัน โจทก์ทั้งยี่สิบจึงมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีและต่างใช้สิทธิฟ้องคดีนี้เป็นการเฉพาะตัว โจทก์ทั้งยี่สิบสามารถที่จะยื่นฟ้องจำเลยแยกจากกันได้ ทั้งศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แต่ละคนแยกฟ้องจำเลยออกจากกันหรือศาลอาจให้รวมพิจารณาไปในคราวเดียวกันได้ เมื่อเห็นว่าเป็นการสะดวกรวดเร็ว และเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนจึงแยกจากกันได้ เมื่อโจทก์ทั้งยี่สิบฟ้องจำเลยรวมกันมาในคดีเดียวกัน จึงต้องคำนวณค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งยี่สิบเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเป็นรายคนการที่โจทก์ทั้งยี่สิบไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้น จึงเป็นการทิ้งฟ้อง
โจทก์ทั้งยี่สิบบรรยายฟ้องว่า โจทก์แต่ละคนต่างเป็นผู้เช่าแผงขายของในตลาด โดยมิได้เกี่ยวข้องกัน โจทก์ทั้งยี่สิบจึงมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีและต่างใช้สิทธิฟ้องคดีนี้เป็นการเฉพาะตัว โจทก์ทั้งยี่สิบสามารถที่จะยื่นฟ้องจำเลยแยกจากกันได้ ทั้งศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แต่ละคนแยกฟ้องจำเลยออกจากกันหรือศาลอาจให้รวมพิจารณาไปในคราวเดียวกันได้ เมื่อเห็นว่าเป็นการสะดวกรวดเร็ว และเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนจึงแยกจากกันได้ เมื่อโจทก์ทั้งยี่สิบฟ้องจำเลยรวมกันมาในคดีเดียวกัน จึงต้องคำนวณค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งยี่สิบเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเป็นรายคนการที่โจทก์ทั้งยี่สิบไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้น จึงเป็นการทิ้งฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6882/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคำนวณจากทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคน แม้ฟ้องรวมกันก็ได้
การพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาจากคำฟ้องของคดีนั้นเป็นเกณฑ์
โจทก์ทั้งยี่สิบบรรยายฟ้องว่า โจทก์แต่ละคนต่างเป็นผู้เช่าแผงขายของในตลาด โดยมิได้เกี่ยวข้องกัน โจทก์ทั้งยี่สิบจึงมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีและต่างใช้สิทธิฟ้องคดีนี้เป็นการเฉพาะตัวโจทก์ทั้งยี่สิบสามารถที่จะยื่นฟ้องจำเลยแยกจากกันได้ ทั้งศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แต่ละคนแยกฟ้องจำเลยออกจากกันหรือศาลอาจให้รวมพิจารณาไปในคราวเดียวกันได้ เมื่อเห็นว่าเป็นการสะดวกรวดเร็ว และเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนจึงแยกจากกันได้ เมื่อโจทก์ทั้งยี่สิบฟ้องจำเลยรวมกันมาในคดีเดียวกัน จึงต้องคำนวณค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งยี่สิบเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเป็นรายคน การที่โจทก์ทั้งยี่สิบไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นการทิ้งฟ้อง
โจทก์ทั้งยี่สิบบรรยายฟ้องว่า โจทก์แต่ละคนต่างเป็นผู้เช่าแผงขายของในตลาด โดยมิได้เกี่ยวข้องกัน โจทก์ทั้งยี่สิบจึงมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีและต่างใช้สิทธิฟ้องคดีนี้เป็นการเฉพาะตัวโจทก์ทั้งยี่สิบสามารถที่จะยื่นฟ้องจำเลยแยกจากกันได้ ทั้งศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แต่ละคนแยกฟ้องจำเลยออกจากกันหรือศาลอาจให้รวมพิจารณาไปในคราวเดียวกันได้ เมื่อเห็นว่าเป็นการสะดวกรวดเร็ว และเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนจึงแยกจากกันได้ เมื่อโจทก์ทั้งยี่สิบฟ้องจำเลยรวมกันมาในคดีเดียวกัน จึงต้องคำนวณค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งยี่สิบเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเป็นรายคน การที่โจทก์ทั้งยี่สิบไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นการทิ้งฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคดีภาษีอากร: คำฟ้องหลายข้อหาแยกจากกันได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนข้อหา
ท้าย ป.วิ.พ. (ค่าขึ้นศาล)
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 และข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2539 มิได้บัญญัติเรื่องค่าขึ้นศาลไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. เรื่องค่าขึ้นศาลมิได้บัญญัติว่า คดีหนึ่งเสียค่าขึ้นศาล ไม่เกินสองแสนบาท ดังนั้นในการพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาคำฟ้องเป็นเกณฑ์ ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) บัญญัติว่า คำฟ้อง หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาลฯ ดังนี้ การเรียกค่าขึ้นศาลจึงต้องดูว่าคำฟ้องที่เสนอต่อศาลมีกี่ข้อหา แต่ละข้อหาเกี่ยวข้องกันหรือแยกจากกันได้หรือไม่
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 และปี 2538 และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีสิงหาคม 2537 ตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ซึ่งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มจัดอยู่ในประเภทภาษีอากรประเมินและให้เจ้าพนักงานประเมินผู้ประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 38 และ 77 โดยการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินการเสียภาษีเงินได้ของนิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 และการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของ เจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 83 และ 83/1 ว่าถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้รายได้และรายจ่ายหรือแสดงรายการภาษีขายและภาษีซื้อ รวมทั้งการเครดิตภาษีแตกต่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีหรือ แต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีแล้วแต่กรณี และการฟ้องคดีของโจทก์ก็เพื่อให้จำเลยชำระภาษีตามที่ได้มีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่จำเลยในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีหรือแต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีแล้วแต่กรณี ดังนั้น สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นเรื่อง การประเมินภาษีในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีหรือแต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีแล้วแต่กรณี ซึ่งในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีและแต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ข้อหาหนึ่งและปี 2538 ข้อหาหนึ่ง รวมทั้งฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีสิงหาคม 2537 อีกข้อหนึ่ง คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการเสนอข้อหาต่อศาล 3 ข้อหา ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกออกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งสามข้อหา
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 และข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2539 มิได้บัญญัติเรื่องค่าขึ้นศาลไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. เรื่องค่าขึ้นศาลมิได้บัญญัติว่า คดีหนึ่งเสียค่าขึ้นศาล ไม่เกินสองแสนบาท ดังนั้นในการพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาคำฟ้องเป็นเกณฑ์ ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) บัญญัติว่า คำฟ้อง หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาลฯ ดังนี้ การเรียกค่าขึ้นศาลจึงต้องดูว่าคำฟ้องที่เสนอต่อศาลมีกี่ข้อหา แต่ละข้อหาเกี่ยวข้องกันหรือแยกจากกันได้หรือไม่
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 และปี 2538 และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีสิงหาคม 2537 ตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ซึ่งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มจัดอยู่ในประเภทภาษีอากรประเมินและให้เจ้าพนักงานประเมินผู้ประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 38 และ 77 โดยการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินการเสียภาษีเงินได้ของนิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 และการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของ เจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 83 และ 83/1 ว่าถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้รายได้และรายจ่ายหรือแสดงรายการภาษีขายและภาษีซื้อ รวมทั้งการเครดิตภาษีแตกต่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีหรือ แต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีแล้วแต่กรณี และการฟ้องคดีของโจทก์ก็เพื่อให้จำเลยชำระภาษีตามที่ได้มีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่จำเลยในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีหรือแต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีแล้วแต่กรณี ดังนั้น สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นเรื่อง การประเมินภาษีในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีหรือแต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีแล้วแต่กรณี ซึ่งในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีและแต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ข้อหาหนึ่งและปี 2538 ข้อหาหนึ่ง รวมทั้งฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีสิงหาคม 2537 อีกข้อหนึ่ง คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการเสนอข้อหาต่อศาล 3 ข้อหา ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกออกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งสามข้อหา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องรวมหนี้จากสัญญากู้เบิกเกินบัญชี แม้ภาระชำระหนี้ต่างกัน โจทก์ฟ้องรวมจำเลยได้
จำเลยที่ 1 เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเพื่อใช้เป็นบัญชีเดินสะพัดเพียงบัญชีเดียว ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์รวม 2 ฉบับ ฉบับแรกมีวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี 2,000,000 บาท ฉบับที่สองมีวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี 7,000,000 บาท จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่สอง และยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้นำเงินเข้าฝากและออกเช็คสั่งจ่ายเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้ง 2 ฉบับ จากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวซึ่งมีบัญชีเดียวตลอดมาโดยไม่อาจแบ่งแยกได้ว่าหนี้จำนวนใดเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับแรกหรือฉบับที่สอง แต่ในที่สุดเป็นหนี้จำนวน 12,361,110.64 บาท ดังนี้เมื่อหนี้จำนวน12,361,110.64 บาท ตามฟ้อง จำเลยใช้เบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันซึ่งเป็นบัญชีเดินสะพัดบัญชีเดียวกัน จึงไม่อาจแบ่งแยกได้ว่าเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีตามฉบับแรกเท่าใดและตามฉบับที่สองเท่าใด จึงเป็นมูลหนี้เดียวกัน แม้ว่าจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จะมีภาระในการชำระหนี้ไม่เท่ากัน โจทก์ก็สามารถรวมฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 มาในคดีเดียวกันได้ ส่วนการที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยคนใดชำระหนี้เท่าใด หรือใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนกันอย่างไรก็แล้วแต่ข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ ชอบที่ศาลจะรับฟ้องของโจทก์ไว้ดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รวมฟ้องหนี้จากบัญชีเดินสะพัดเดียวกันได้ แม้ภาระชำระหนี้ต่างกัน
จำเลยที่ 1 เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเพื่อใช้เป็นบัญชีเดินสะพัดเพียงบัญชีเดียว ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ รวม 2 ฉบับ ฉบับแรกมีวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี 2,000,000 บาท ฉบับที่สองมีวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี 7,000,000 บาทจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่สอง และยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้นำเงินเข้าฝากและออกเช็คสั่งจ่ายเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้ง 2 ฉบับ จากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวซึ่งมีบัญชีเดียวตลอดมาโดยไม่อาจแบ่งแยกได้ว่าหนี้จำนวนใดเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับแรกหรือฉบับที่สอง แต่ในที่สุดเป็นหนี้จำนวน 12,361,110.64 บาท ดังนี้เมื่อหนี้จำนวน 12,361,110.64 บาท ตามฟ้อง จำเลยใช้เบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันซึ่งเป็นบัญชีเดินสะพัดบัญชีเดียวกัน จึงไม่อาจแบ่งแยกได้ว่าเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีตามฉบับแรกเท่าใดและตามฉบับที่สองเท่าใด จึงเป็นมูลหนี้เดียวกัน แม้ว่าจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จะมีภาระในการชำระหนี้ไม่เท่ากัน โจทก์ก็สามารถรวมฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 มาในคดีเดียวกันได้ส่วนการที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยคนใดชำระหนี้เท่าใด หรือใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนกันอย่างไรก็แล้วแต่ข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ ชอบที่ศาลจะรับฟ้องของโจทก์ไว้ดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจศาล, การฟ้องหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์, และการพิสูจน์ความเสียหาย
ความผิดฐานหมิ่นประมาทที่กระทำโดยการโฆษณาทาง หนังสือพิมพ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ย่อมเป็น ความผิดสำเร็จเมื่อมีการวางจำหน่ายหนังสือพิมพ์ และท้องที่ ที่ความผิดเกิดขึ้นย่อมได้แก่ท้องที่ทุกท้องที่ที่วางจำหน่าย หนังสือพิมพ์ฉบับนั้น หาใช่จำกัดเฉพาะท้องที่ที่โจทก์ ได้อ่านหนังสือพิมพ์และทราบการกระทำความผิดไม่ คดีทั้งสามสำนวนนี้ คู่ความทั้งหมดเป็นคู่ความรายเดียวกัน ทั้งการพิจารณาคดีเหล่านั้นถ้าได้รวมกันแล้วจะเป็นการสะดวก เมื่อโจทก์มีคำขอให้พิจารณาคดีรวมกันศาลชั้นต้นเห็นว่า คดีเหล่านั้นเกี่ยวเนื่องกันและมีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษาคดีเหล่านั้นรวมกันแล้ว ข้อเท็จจริงใดที่ได้จากการพิจารณา จึงเป็นข้อเท็จจริงในสำนวนทั้งสามสำนวนการฟังพยานหลักฐาน ก็ต้องฟังรวมกันไปทั้งสามสำนวนประดุจเป็นคดีเดียวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 28 วรรคแรกประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15หาใช่แยกฟังเป็นรายสำนวนไม่ จำเลยลงพิมพ์โฆษณาใส่ความโจทก์ในหนังสือพิมพ์ ด.ฉบับที่ 153,154 และ 156 โดยมิได้คำนึงถึงความเสียหายของผู้ที่ตกเป็นข่าว หลังจากที่โจทก์ทราบข่าวที่จำเลยเสนอในฉบับที่ 153 แล้ว ธนาคาร ก. ได้ออกแถลงการณ์2 ฉบับ ยืนยันว่าไม่ได้ไล่โจทก์ออกและโจทก์ไม่มีพฤติการณ์เสื่อมเสียในการทำงาน แต่ได้ปฏิบัติงานด้วยความวิริยะอุตสาหะตลอดมา แต่จำเลยก็ยังลงข่าวในฉบับที่ 154 ว่า แถลงการณ์ดังกล่าวเป็นแถลงการณ์ปลอม และยังคงยืนยันใส่ความโจทก์เพิ่มขึ้นอีก ทั้งนี้ จำเลยไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้แน่นอนก่อนที่จะพิมพ์โฆษณาข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข่าวเสียก่อน โดยมุ่งแต่จะจำหน่ายหนังสือพิมพ์ให้ได้จำนวนมากเป็นสำคัญ ข้อความที่จำเลยลงพิมพ์โฆษณาตามฟ้อง จึงเป็น ข้อความที่จำเลยมิได้แสดงโดยสุจริต การกระทำของจำเลย จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 ที่จะไม่มีความผิด และไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 330 วรรคแรก ที่จะไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6033/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการสินสมรสและการซื้อขายที่ดิน: สิทธิของคู่สมรสและผลของการซื้อขาย
โจทก์ที่ 1 ได้ตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทแทน จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์โดยชอบ การที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 4 จำนองที่ดินพิพาทไว้แก่จำเลยที่ 5 ก็เป็นการกระทำโดยชอบเช่นกัน โจทก์ที่ 1ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการขายและการจำนอง
โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2491โจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทมาเมื่อปี 2504 ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรส อันเป็นสินบริคณห์ตามมาตรา 1462 แห่ง ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่โจทก์ได้ที่ดินพิพาทมา เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ได้ทำสัญญาก่อนสมรสให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการสินบริคณห์ หรือให้จัดการร่วมกับโจทก์ที่ 1 ดังนั้น โจทก์ที่ 1จึงยังคงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ ตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มาตรา 1468 ที่ดินพิพาทมิใช่สินเดิมของโจทก์ที่ 2 หรือสินสมรสที่โจทก์ที่ 2 ได้มาโดยการยกให้หรือทางพินัยกรรม และการจำหน่ายที่ดินพิพาทมิใช่เป็นการยกให้โดยเสน่หา โจทก์ที่ 1จึงไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 2 ก่อน ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1473 เดิมนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 2 ไม่อาจที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนได้
โจทก์ที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 โดยชอบ เมื่อจำเลยที่ 4 บอกกล่าวให้โจทก์ที่ 1 ออกจากที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทอีกต่อไป การที่โจทก์ที่ 1 ยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทต่อมาจึงเป็นการอยู่โดยละเมิด ทำให้จำเลยที่ 4 เสียหาย จำเลยที่ 4จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่ 1 ได้
คดีรวมการพิพากษาเข้าด้วยกัน การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ ร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความกับจำเลยทั้งสองสำนวนโดยไม่แยกเป็นรายสำนวนไม่ถูกต้อง เพราะสำนวนที่สองโจทก์มิได้เป็นคู่ความด้วยศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2491โจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทมาเมื่อปี 2504 ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรส อันเป็นสินบริคณห์ตามมาตรา 1462 แห่ง ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่โจทก์ได้ที่ดินพิพาทมา เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ได้ทำสัญญาก่อนสมรสให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการสินบริคณห์ หรือให้จัดการร่วมกับโจทก์ที่ 1 ดังนั้น โจทก์ที่ 1จึงยังคงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ ตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มาตรา 1468 ที่ดินพิพาทมิใช่สินเดิมของโจทก์ที่ 2 หรือสินสมรสที่โจทก์ที่ 2 ได้มาโดยการยกให้หรือทางพินัยกรรม และการจำหน่ายที่ดินพิพาทมิใช่เป็นการยกให้โดยเสน่หา โจทก์ที่ 1จึงไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 2 ก่อน ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1473 เดิมนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 2 ไม่อาจที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนได้
โจทก์ที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 โดยชอบ เมื่อจำเลยที่ 4 บอกกล่าวให้โจทก์ที่ 1 ออกจากที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทอีกต่อไป การที่โจทก์ที่ 1 ยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทต่อมาจึงเป็นการอยู่โดยละเมิด ทำให้จำเลยที่ 4 เสียหาย จำเลยที่ 4จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่ 1 ได้
คดีรวมการพิพากษาเข้าด้วยกัน การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ ร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความกับจำเลยทั้งสองสำนวนโดยไม่แยกเป็นรายสำนวนไม่ถูกต้อง เพราะสำนวนที่สองโจทก์มิได้เป็นคู่ความด้วยศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6033/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดิน สินสมรส และการฟ้องเพิกถอนนิติกรรมโดยผู้จัดการสินสมรส
โจทก์ที่ 1 ได้ตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1และได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาท แทน จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์โดยชอบการที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 4จำนองที่ดินพิพาทไว้แก่จำเลยที่ 5 ก็เป็นการกระทำโดยชอบเช่นกัน โจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการขายและการจำนอง โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2491 โจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทมาเมื่อปี 2504ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรส อันเป็นสินบริคณห์ตามมาตรา 1462แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่โจทก์ได้ที่ดินพิพาทมาเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ได้ทำสัญญาก่อนสมรสให้โจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการสินบริคณห์ หรือให้จัดการร่วมกับโจทก์ที่ 1 ดังนั้น โจทก์ที่ 1 จึงยังคงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมมาตรา 1468 ที่ดินพิพาทมิใช่สินเดิมของโจทก์ที่ 2 หรือ สินสมรสที่โจทก์ที่ 2 ได้มาโดยการยกให้หรือทางพินัยกรรม และการจำหน่ายที่ดินพิพาทมิใช่เป็นการยกให้โดยเสน่หาโจทก์ที่ 1 จึงไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 2 ก่อนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1473 เดิม นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาท ระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นไปโดยชอบด้วย กฎหมาย โจทก์ที่ 2 ไม่อาจที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนได้ โจทก์ที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 โดยชอบ เมื่อจำเลยที่ 4บอกกล่าวให้โจทก์ที่ 1 ออกจากที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ที่ 1จึงไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทอีกต่อไป การที่โจทก์ที่ 1ยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทต่อมาจึงเป็นการอยู่โดยละเมิด ทำให้ จำเลยที่ 4 เสียหาย จำเลยที่ 4 จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่ 1 ได้ คดีรวมการพิพากษาเข้าด้วยกัน การที่ศาลชั้นต้นและ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ ร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและ ค่าทนายความกับจำเลยทั้งสองสำนวนโดยไม่แยกเป็นรายสำนวน ไม่ถูกต้อง เพราะสำนวนที่สองโจทก์มิได้เป็น คู่ความด้วย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง