คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 256

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14006/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบุริมสิทธิของกองทุนเงินทดแทนและประกันสังคม ครอบคลุมหนี้ค้างชำระทุกปี ไม่จำกัดเฉพาะปีปัจจุบัน
ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 9 และ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 51 ซึ่งบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวนั้นเป็นเพียงกำหนดลำดับหนี้เงินทดแทน เงินสมทบและเงินเพิ่มที่นายจ้างค้างชำระกองทุนเงินทดแทนและกองทุนประกันสังคมให้เป็นหนี้บุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของนายจ้างซึ่งเป็นลูกหนี้และให้อยู่ในลำดับเดียวกับบุริมสิทธิในค่าภาษีอากรตาม ป.พ.พ. โดยมิได้มีบทบัญญัติใดที่กำหนดว่าหนี้นั้นจะต้องเป็นหนี้ที่นายจ้างซึ่งเป็นลูกหนี้ค้างชำระอยู่ในปีใดอย่างบุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากรที่ ป.พ.พ. มาตรา 256 บัญญัติให้ใช้สำหรับเอาบรรดาค่าภาษีอากรในที่ดิน ทรัพย์สิน หรือค่าภาษีอากรอย่างอื่นที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบันและก่อนนั้นขึ้นไปอีกปีหนึ่ง
คดีนี้ผู้ร้องได้ใช้อำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้อายัดเงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร ก. สาขาบ้านฉาง ของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 50 และ พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 47 โดยชอบตั้งแต่ปี 2554 อันถือได้ว่าเป็นวันที่ผู้ร้องใช้อำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมายเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่ค้างชำระเงินทดแทน เงินสมทบและเงินเพิ่มชำระหนี้แล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ดังกล่าวจากเงินที่อายัดในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิตามคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตบุริมสิทธิภาษีอากร: ปีที่ยื่นคำร้องต่อศาลเป็นสำคัญ
บุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากรที่ค้างชำระในปีปัจจุบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 256 นั้น คำว่า "ปีปัจจุบัน" หมายถึง ปีที่ผู้มีบุริมสิทธิได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เอาเงินของลูกหนี้มาชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่ผู้มีบุริมสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตบุริมสิทธิภาษีอากร: ปีที่ยื่นคำร้องต่อศาลเป็นเกณฑ์
บุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากรที่ค้างชำระในปีปัจจุบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 256 นั้น คำว่า'ปีปัจจุบัน' หมายถึงปีที่ผู้มีบุริมสิทธิได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เอาเงินของลูกหนี้มาชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่ผู้มีบุริมสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอเฉลี่ยทรัพย์สินของเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างตามกฎหมายพิเศษและการจำกัดสิทธิบุริมสิทธิ
ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 เป็นกฎหมายพิเศษให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานที่จะเรียกเก็บภาษีอากรค้างโดยสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดได้เองไม่จำต้องนำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาลสิทธิของผู้ร้องตามประมวลรัษฎากรจึงถือได้ว่าเป็นสิทธิอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องก็มีสิทธิจะขอเข้าเฉลี่ยในทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดได้ แต่จะอ้างบุริมสิทธิตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253 ได้เฉพาะที่ค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบันและก่อนนั้นขึ้นไปอีกปีหนึ่งตามมาตรา 256 การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอเฉลี่ยเมื่อเกินกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้ร้องจึงไม่ใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีอากรมีผลบังคับเป็นบุริมสิทธิเมื่อใด แม้มีการอุทธรณ์ก็ไม่ทุเลาหากไม่ได้รับการอนุมัติจากอธิบดี
หนี้ค่าภาษีอากรซึ่งมีบุริมสิทธิสามัญนั้นต้องเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบัน และก่อนนั้นขึ้นไปปีหนึ่ง.
หนี้ค่าภาษีอากรปี 2503 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบและประเมินเพิ่มให้จำเลยชำระเมื่อปี 2505. แม้จำเลยจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และอุทธรณ์ต่อไปยังศาลก็ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร. เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดี(กรมสรรพากร).
เมื่อผู้ร้องมิได้อ้างว่า มีการอนุมัติของอธิบดีให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์. ย่อมไม่มีเหตุที่จะอ้างว่า.หนี้ค่าภาษีอากรถึงกำหนดชำระเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุด.
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอผัดและผ่อนชำระภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89ทวิ. แต่อธิบดีไม่อนุญาต. ไม่มีผลทำให้หนี้ถึงกำหนดภายหลัง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีอากรมีบุริมสิทธิเมื่อค้างชำระในปีปัจจุบันหรือย้อนหลังได้หนึ่งปี การอุทธรณ์ไม่ทุเลาการชำระเว้นแต่ได้รับการอนุมัติ
หนี้ค่าภาษีอากรซึ่งมีบุริมสิทธิสามัญนั้นต้องเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบัน และก่อนนั้นขึ้นไปปีหนึ่ง
หนี้ค่าภาษีอากรปี 2503 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบและประเมินเพิ่มให้จำเลยชำระเมื่อปี 2505 แม้จำเลยจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และอุทธรณ์ต่อไปยังศาลก็ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากรเว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดี(กรมสรรพากร)
เมื่อผู้ร้องมิได้อ้างว่า มีการอนุมัติของอธิบดีให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ย่อมไม่มีเหตุที่จะอ้างว่าหนี้ค่าภาษีอากรถึงกำหนดชำระเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุด
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอผัดและผ่อนชำระภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89ทวิ แต่อธิบดีไม่อนุญาต ไม่มีผลทำให้หนี้ถึงกำหนดภายหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีอากรมีบุริมสิทธิเมื่อค้างชำระในปีปัจจุบันหรือปีก่อนหน้า การอุทธรณ์ไม่ทุเลาการชำระเว้นแต่อธิบดีอนุมัติ
หนี้ค่าภาษีอากรซึ่งมีบุริมสิทธิสามัญนั้นต้องเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบัน และก่อนนั้นขึ้นไปปีหนึ่ง
หนี้ค่าภาษีอากรปี 2503 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบและประเมินเพิ่มให้จำเลยชำระเมื่อปี 2505 แม้จำเลยจะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และอุทธรณ์ต่อไปยังศาลก็ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดี (กรมสรรพากร)
เมื่อผู้ร้องมิได้อ้างว่า มีการอนุมัติของอธิบดีให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ย่อมไม่มีเหตุที่จะอ้างว่า.หนี้ค่าภาษีอากรถึงกำหนดชำระเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุด
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอผัดและผ่อนชำระภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89ทวิ แต่อธิบดีไม่อนุญาต ไม่มีผลทำให้หนี้ถึงกำหนดภายหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตบุริมสิทธิภาษีอากร: ระยะเวลาค้างชำระและปีที่ยื่นคำร้องมีผลต่อสิทธิเรียกร้องของรัฐ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 256 บัญญัติว่าบุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากรนั้น ใช้สำหรับเอาบรรดาค่าภาษีอากร ในที่ดินทรัพย์สินหรือค่าภาษีอากรอย่างอื่นที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปัจจุบันและก่อนนั้นขึ้นไปอีกปีหนึ่งนั้น ต้องเข้าใจว่าเป็นปีที่ยื่นคำร้องและปีนั้นมีการค้างชำระค่าภาษีอากรอยู่ด้วย ถ้าปีถัดขึ้นไปอีกปีหนึ่งยังมีการค้างชำระอยู่อีก รัฐบาลก็มีบุริมสิทธิเพียง 2 ปี ดังกล่าวเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตบุริมสิทธิ์ภาษีอากร: ระยะเวลาค้างชำระและปีที่ยื่นคำร้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 256. บัญญัติว่าบุริมสิทธิ์ในมูลค่าภาษีอากรนั้น ใช้สำหรับเอาบรรดาค่าภาษีอากรในที่ดินทรัพย์สินหรือค่าภาษีอากรอย่างอื่นที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบัน และก่อนนั้นขึ้นไปอีกปีหนึ่งนั้น ต้องเข้าใจว่าเป็นปีที่ยื่นคำร้องและปีนั้นมีการค้างชำระค่าภาษีอากรอยู่ด้วยถ้าปีถัดขึ้นไปอีกปีหนึ่งยังมีการค้างชำระอยู่อีกรัฐบาลก็มีบุริมสิทธิเพียง 2 ปีดังกล่าวเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 150/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตบุริมสิทธิภาษีอากร: 'ปีปัจจุบัน' หมายถึงปีที่ยื่นคำร้องต่อศาล ไม่ใช่ปีที่ประเมินภาษี
คำว่า "ปีปัจจุบัน" ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 256 หมายความว่า ปีที่ผู้มีบุริมสิทธิ์ได้ยื่นคำร้องต่อศษลให้เอาเงินของจำเลยมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่ผู้ร้อง
หนี้มีบุริมสิทธิ์นั้น กฎหมายให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าหนี้ในอันที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่ไม่มีบุริมสิทธิ แต่หาได้หมายความว่า เมื่อผู้ร้องไม่มีบุริมสิทธิแล้ว สิทธิของผู้ร้องในอันที่จะเรียกร้องเอาค่าภาษีอากรสูญสิ้นไปไม่ ผู้ร้องก็คงเป็นเจ้าหนี้อยู่ แต่ไม่มีบุริมสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นเท่านั้น
แม้ผู้ร้องเพิ่งจะได้ประเมินเรียกเก็บภาษีในปี พ.ศ. 2501 ก็หาทำให้ภาษีปี พ.ศ. 2498 และ พ.ศ. 2499 กลายมาเป็นภาษีปี 2501 ไปได้ไม่