คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 192 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 234 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7321/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว และการพิพากษาเกินคำขอ/ข้อเท็จจริงไม่ตรงตามฟ้อง
คดีอาญาที่เป็นความผิดต่อส่วนตัว โจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่คัดค้านจึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
การที่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ไปเพียง 200,000 บาท มิใช่จำนวน 325,000 บาท ตามที่โจทก์ฟ้อง เป็นเพียงข้อแตกต่างกันในรายละเอียดของทรัพย์ที่ถูกจำเลยที่ 1 ยักยอก มิใช่การ แตกต่างกันในข้อเท็จจริงอันจะทำให้การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิด ทั้งจำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธต่อสู้คดี โดยตลอดมิได้หลงต่อสู้คดีแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับ ข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญและไม่ใช่กรณีที่ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอก เกินคำขอแต่อย่างใด
เมื่อโจทก์ประกอบกิจการขายรถยนต์โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการสาขา ดำเนินการติดต่อลูกค้าแทนโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ครอบครองเงินที่นาย อ. ลูกค้าชำระให้โจทก์แล้วไม่ส่งมอบให้โจทก์ตามหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็น การกระทำความผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใด ๆ โดยทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์นั้นไว้เป็นของตน จำเลยที่ 1 จึงมี ความผิดฐานยักยอก แต่การทำสัญญาซื้อขายและการชำระราคารถยนต์เป็นเรื่องความไว้วางใจกันระหว่างโจทก์กับ ลูกค้าเป็นการเฉพาะราย มิใช่กับประชาชนทั่วไป การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ตามมาตรา 354 คงมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามมาตรา 352 เพียงมาตราเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7276/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดตามเช็ค: การลงลายมือชื่อในฐานะกรรมการบริษัท ไม่ใช่การรับผิดส่วนตัว
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ผู้เสียหายเป็นการส่วนตัว มิใช่เป็นการทำแทนนิติบุคคล แต่ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบโจทก์กลับปรากฏว่าเช็คดังกล่าวเป็นเช็คส่วนหนึ่งที่บริษัท ว. เป็นผู้ออกเพื่อชำระค่าเช่ารถเบ็นซ์จากผู้เสียหาย จำเลยลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทในฐานะกรรมการของบริษัท ว. เท่านั้น จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามเช็คพิพาทเป็นการส่วนตัว ทั้งตามคำฟ้องของโจทก์ก็มิได้บรรยายให้จำเลยร่วมรับผิดกับบริษัท ว. ฐานตัวการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสอง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7276/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในเช็ค: การบรรยายฟ้องไม่ตรงกับข้อเท็จจริงทำให้ศาลต้องยกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยออกเช็คให้ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ค่าเช่ารถยนต์เป็นการส่วนตัว โดยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค แต่ข้อเท็จจริงในทางนำสืบปรากฏว่าเช็คดังกล่าว บริษัท ว. เป็นผู้ออกเพื่อชำระค่าเช่ารถยนต์แก่ผู้เสียหาย จำเลยลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทในฐานะกรรมการของบริษัท ว. เท่านั้น จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามเช็คพิพาทเป็นการส่วนตัว อีกทั้งคำบรรยายฟ้องของโจทก์ก็มิได้บรรยายว่าจำเลยต้องร่วมรับผิดกับบริษัท ว. ฐานตัวการ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาจึงแตกต่างจากข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบกับมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5706/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีอาญาต้องสอดคล้องกับฟ้อง หากข้อเท็จจริงต่างกัน ต้องยกฟ้อง แม้มีหลักฐานอื่นสนับสนุน
โจทก์ฟ้องยืนยันว่าจำเลยที่ 1 ก่อให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดด้วยการใช้ จ้าง วานให้จำเลยที่ 2 และ ที่ 3 ร่วมกันฆ่าผู้ตายแต่ในการพิจารณาศาลชั้นต้นพยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่พอรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดตามฟ้อง แม้ข้อเท็จจริงในการพิจารณาจะรับฟังได้ตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้ จ้าง วานให้ผู้อื่นซึ่งมิใช่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไปฆ่าผู้ตาย ก็เป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับ ข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลชั้นต้นต้องพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดและลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 288, 84 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 192 วรรคสอง แม้ศาลอุทธรณ์เห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้องจริงหรือไม่จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นและพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังในการพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องในข้อสาระสำคัญ อันเป็นเหตุให้ต้องพิพากษายกฟ้องแล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5659/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมลายมือชื่อในเอกสารสำคัญและการดำเนินคดีอาญา ความรับผิดของผู้ที่มอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
จำเลยเป็นผู้ปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายและโจทก์ร่วมแม้จำเลยจะมิได้นำเอกสารปลอมไปแสดงด้วยตนเอง แต่จำเลยมอบอำนาจให้ ส. ไปดำเนินการแทน โดย ส. ไม่ทราบว่าเป็นเอกสารปลอม การที่ ส. ไปดำเนินการยื่นเอกสารปลอมแทนจำเลย ก็มีผลเท่ากับจำเลยไปดำเนินการด้วยตนเอง
ตามฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องจำเลยทำปลอมสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติม แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่ามีการทำปลอมมาตั้งแต่คำขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ก็ไม่มีผลถึงหรือทำให้การกระทำความผิดของจำเลยตามที่โจทก์ ฟ้องเปลี่ยนแปลงไป ข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้เพราะให้การปฏิเสธมาตลอดว่า ไม่ได้กระทำความผิด จึงไม่เป็นเหตุให้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นลายมือชื่อปลอม จึงฟังไม่ได้ว่ามีการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์และโจทก์ร่วมอยู่แล้ว เพียงแต่ศาลชั้นต้น มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้จึงมิใช่การหยิบยกข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นขึ้นวินิจฉัย
จำเลยปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และโจทก์ร่วมในสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมของห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. และยื่นจดทะเบียนแก้ไขถอนผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่โจทก์ร่วมออกจากการเป็นหุ้นส่วน อันเป็นการ จำกัดสิทธิในห้างหุ้นส่วนดังกล่าว ผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และโจทก์ร่วมเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลย โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารสิทธิ ใช้เอกสารสิทธิปลอม แจ้งให้เจ้าพนักงาน จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการและฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย เฉพาะความผิดฐานใช้เอกสารปลอมเพียงกระทงเดียว เท่ากับศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งความผิดฐานนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดฐานฉ้อโกง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ และโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ ความผิดฐานฉ้อโกงจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกความผิดฐานฉ้อโกงขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้อง ในความผิดฐานนี้จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225
เมื่อความผิดฐานฉ้อโกงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ฎีกาของโจทก์ร่วมในส่วนความผิดฐานฉ้อโกง จึงไม่จำต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีอาญาที่อาศัยข้อเท็จจริงนอกฟ้อง และประเด็นการฎีกาที่เกินกรอบการพิจารณาเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ผู้เสียหายเป็นผู้ใหญ่บ้านเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่ร่วมกับเจ้าพนักงานที่ดินทำการชี้เขตรังวัดที่พิพาทกันในเขตปกครองท้องที่ได้ร่วมกับเจ้าพนักงานที่ดินทำการชี้เขตรังวัดที่ดินที่พิพาทกัน ณ เขตรับผิดชอบ อันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 136 แต่ทางพิจารณาได้ความว่า ผู้เสียหายไปร่วมรังวัดที่ดินดังกล่าว โดยไม่มีเจ้าพนักงานที่ดินไปร่วมรังวัดที่ดินด้วย ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
การที่ศาลชั้นต้นฟังว่า ผู้เสียหายไปทำการรังวัดที่ดินเพื่อระงับข้อพิพาท เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานและจำเลยกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นผู้เสียหายเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ พิพากษาลงโทษจำเลยเป็นการพิพากษาโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่มิได้กล่าวในฟ้อง ฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง เป็นการไม่ชอบแม้ศาลอุทธรณ์ จะรับวินิจฉัยโดยเห็นว่า การที่ผู้เสียหายไปรังวัดที่ดินเพื่อระงับข้อพิพาทของราษฎรในทางแพ่ง ไม่ใช่การปฏิบัติการตามหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านหรือเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 10, 27 และพิพากษายกฟ้อง ก็ไม่ถือว่า ปัญหาตามที่โจทก์ฎีกาว่า ผู้เสียหายไปเป็นพยานในการรังวัดที่ดินเพื่อระงับข้อพิพาทของราษฎร ในทางแพ่งเป็นการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ผู้ใหญ่บ้านในฐานะเจ้าพนักงาน เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8802/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถานและการบุกรุก หากข้อเท็จจริงต่างจากฟ้อง ศาลต้องพิจารณาตามความผิดที่มีอัตราโทษเบากว่า
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 265 , 268 , 335 (3) (8) , 336 ทวิ และกล่าวในฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันงัดกุญแจประตูหน้าบ้านพักอาศัยอันเป็นเคหสถานของผู้เสียหาย และเข้าไปในเคหสถานงัดประตูห้องนอนของผู้เสียหาย แล้วร่วมกันลักสายยู 1 อัน ซึ่งใช้ล่ามบานประตูให้ติดกับกุญแจของผู้เสียหายซึ่งเก็บรักษาไว้ในเคหสถานไปโดยทุจริต ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยพยายามเข้าไปลักทรัพย์ที่มิใช่สายยูที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องในเคหสถานของผู้เสียหาย ดังนี้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง และเป็นข้อสาระสำคัญในความผิดฐานลักทรัพย์ เพราะโจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันเข้าไปในเคหสถานของ ผู้เสียหายเพื่อลักทรัพย์อื่นที่อยู่ในเคหสถานนั้นด้วย ทั้งไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานพยายามลักทรัพย์อย่างอื่นของผู้เสียหาย จึงลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานพยายามลักทรัพย์อื่นของผู้เสียหายไม่ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง และวรรคสี่ แต่จำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันงัดประตูบ้านและประตูห้องนอนเพื่อเข้าไปลักทรัพย์ในเคหสถานของผู้เสียหาย ซึ่งนอกจากจะเป็นความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ในเคหสถานโดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์แล้ว ยังเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเคหสถานตาม ป.อ. มาตรา 365 ประกอบด้วยมาตรา 364 รวมอยู่ด้วยซึ่งโจทก์ได้กล่าวมาในฟ้องด้วยแล้ว ทั้งมีอัตราโทาเบากว่าความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ตามที่ศาลล่างทั้งสองโทษจำเลยทั้งสองมา ศาลฎีกาจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเคหสถานตาม ป.อ. มาตรา 365 ประกอบด้วยมาตรา 364 , 83 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
ความผิดฐานทำเอกสารราชการปลอมตาม ป.อ. มาตรา 265 ศาลชั้นต้นยกฟ้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานนี้มาด้วยจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8802/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการลงโทษฐานพยายามลักทรัพย์เมื่อข้อเท็จจริงต่างจากฟ้อง และการลงโทษฐานบุกรุกเคหสถาน
โจทก์กล่าวในฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันงัดกุญแจประตูหน้าบ้านพักอาศัยอันเป็นเคหสถานของผู้เสียหายและเข้าไปในเคหสถานงัดประตูห้องนอนของผู้เสียหาย แล้วร่วมกันลักสายยู 1 อันราคา 300 บาท ซึ่งใช้ล่ามบานประตูให้ติดกับกุญแจของผู้เสียหายซึ่งเก็บรักษาไว้ในเคหสถานไปโดยทุจริต ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาว่าจำเลยพยายามเข้าไปลักทรัพย์ที่มิใช่สายยูที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องในเคหสถานของผู้เสียหาย จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องและข้อแตกต่างนี้เป็นข้อสาระสำคัญในความผิดฐานลักทรัพย์เพราะโจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายเพื่อลักทรัพย์ที่อยู่ในเคหสถานนั้นด้วย ทั้งไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานพยายามลักทรัพย์อย่างอื่นของผู้เสียหาย จึงลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานนี้ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสี่
เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยต้องกันมายังเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเคหสถานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 365 ประกอบด้วยมาตรา 364 รวมอยู่ด้วย ซึ่งโจทก์ได้กล่าวมาในฟ้องด้วยแล้ว ทั้งมีอัตราโทษเบากว่าความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ตามที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยทั้งสองมา ศาลฎีกาจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเคหสถานตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณะโดยเจตนา และอายุความความผิดต่อเนื่อง
ที่ดินที่จำเลยซื้อจาก พ. เป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีรูปแผนที่แสดงอาณาเขตและเขตติดต่อไว้อย่างชัดแจ้ง การซื้อขายได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยย่อมทราบเป็นอย่างดีว่าที่ดินที่ซื้อด้านทิศตะวันตกติดทางสาธารณประโยชน์มิใช่ที่รกร้างว่างเปล่าเมื่อจำเลยปลูกสร้างบ้านและอาคารโรงงานล้ำเข้าไปในทางสาธารณประโยชน์จึงเป็นการกระทำโดยเจตนาเพื่อจะยึดถือครอบครองทางสาธารณประโยชน์เป็นของตนเอง จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณารับฟังได้ว่าตามวันเวลาเกิดเหตุในฟ้องจำเลยยังยึดถือครอบครองที่พิพาทอันเป็นความผิดอยู่ ย่อมเป็นข้อเท็จจริงที่ตรงกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้หาใช่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างจากข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องอันเป็นสาระสำคัญที่จะต้องพิพากษายกฟ้อง
จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐหลังจากประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 มีผลใช้บังคับแล้ว ซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 9(1)ประกอบมาตรา 108 ทวิ บัญญัติให้การเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐเป็นความผิดในทันทีที่เข้าไปยึดถือครอบครองโดยไม่จำต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งและมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามเสียก่อน โจทก์ไม่ได้บรรยายข้อความดังกล่าวไว้ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิด
จำเลยเริ่มเข้ายึดถือครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมาอันถือเป็นวันเริ่มต้นกระทำความผิดก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าหลังจากนั้นจำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่พิพาทตลอดมา จึงเป็นความผิดต่อเนื่องอยู่ทุกขณะ ตราบเท่าที่จำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่พิพาทอยู่ เมื่อโจทก์ฟ้องยังไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันกระทำความผิด คดีจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดครองที่ดินสาธารณะโดยเจตนา ศาลพิพากษาลงโทษปรับและให้รอการลงโทษ
ที่ดินที่จำเลยซื้อจาก พ. เป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ซึ่งมีรูปแผนที่แสดงอาณาเขตและเขต ติดต่อไว้อย่างชัดแจ้ง การซื้อขายได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยย่อมทราบเป็นอย่างดีว่าที่ดินที่ซื้อ ด้านทิศตะวันตกติดทางสาธารณประโยชน์ มิใช่ที่รกร้างว่างเปล่า เมื่อจำเลยปลูกสร้างบ้านและอาคารโรงงานล้ำเข้าไปในทางสาธารณประโยชน์ จึงเป็นการกระทำโดยเจตนาเพื่อจะยึดถือครอบครองทางสาธารณประโยชน์เป็นของตนเอง จึงมีความผิดตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 9 (1), 108 ทวิ
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณารับฟังได้ว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุในฟ้องจำเลยยังยึดถือครอบครอง ที่พิพาทอันเป็นความผิดอยู่ ย่อมเป็นข้อเท็จจริงที่ตรงกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ หาใช่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างจากข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องอันเป็นสาระสำคัญที่จะต้องพิพากษายกฟ้องไม่
จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐหลังจากประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 มีผลใช้บังคับแล้ว ซึ่ง ป.ที่ดินฯ มาตรา 9 (1) ประกอบมาตรา 108 ทวิ บัญญัติให้การเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ เป็นความผิดในทันทีที่เข้าไปยึดถือครอบครอง โดยไม่จำต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งและมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามเสียก่อน การที่โจทก์ไม่ได้บรรยายข้อความดังกล่าว ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิด
จำเลยเริ่มเข้ายึดถือครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมา อันถือเป็นวันเริ่มต้นกระทำความผิด เมื่อปรากฏว่าหลังจากนั้นจำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่พิพาทตลอดมาจนถึงวันฟ้อง จึงเป็นความผิดต่อเนื่องอยู่ทุกขณะตราบเท่าที่จำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่พิพาทอยู่ คดีจึงไม่ขาดอายุความ
of 24