คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 192 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 234 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คชำระหนี้หลังแปลงหนี้เดิมเป็นหนี้ใหม่ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
แม้การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับ จ. มิได้มีหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือจ. เพียงแต่ออกเช็คสั่งจ่ายเงิน4 ฉบับ มอบให้โจทก์ไว้ และการออกเช็คของ จ. อาจจะมิใช่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ก็ตาม แต่เมื่อเช็ค ดังกล่าวไม่มีการชำระเงินตามที่ จ. สั่งจ่ายย่อมเกิดเป็นหนี้ระหว่างโจทก์กับ จ. ตามจำนวนเงินที่ระบุในเช็คนั้นทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 898,900 วรรคหนึ่งซึ่งต่อมาเมื่อ จ. ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้จึงให้จำเลยที่ 2 เข้ามาชำระหนี้แก่โจทก์แทน โดยจำเลยที่ 2ทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินให้โจทก์ไว้อันเป็นการแปลงหนี้เดิมซึ่งเป็นหนี้ตามเช็คมาเป็นหนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินและจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อประทับตราจำเลยที่ 1ออกเช็คสั่งจ่ายเงินรวม 8 ฉบับ ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์รวมทั้งเช็คพิพาททั้งสองฉบับด้วย จึงต้องถือว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน อันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายตามความใน พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตาม สัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวและต่อมาธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงมีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันออกเช็คพิพาท ทั้งสองฉบับชำระหนี้เงินกู้ยืมแก่โจทก์ แต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทชำระหนี้แทน จ. ซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ โดยจำเลยทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินให้โจทก์ และออกเช็คพิพาทชำระหนี้นั้น ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏใน การพิจารณาหาได้แตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการกระทำความผิดทางอาญา: ผู้ใช้/ผู้สนับสนุน vs. ผู้ร่วมกระทำความผิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับ ด.ร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนแต่ข้อเท็จจริงในทางนำสืบของโจทก์ฟังได้ว่า ในขณะที่ ด.จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้สายลับผู้ล่อซื้อ จำเลยไม่ได้อยู่ร่วมด้วย โดยในขณะเกิดเหตุจำเลยอยู่ที่บ้านเพื่อนของจำเลย แต่จำเลยได้มอบเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ให้ ด.จำหน่ายให้สายลับผู้ล่อซื้อ อันเป็นการใช้หรือก่อให้ ด.กระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 84 ดังนี้จำเลยจึงมิใช่ผู้ร่วมกับ ด.กระทำการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นความผิดตามมาตรา 83 ที่โจทก์ฟ้อง ซึ่งเป็นการแตกต่างกันในสาระสำคัญ ย่อมลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้ใช้ให้ ด.กระทำการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนไม่ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา192 วรรคสอง การที่จำเลยมอบเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ให้ ด.เพื่อจำหน่ายถือได้ว่าเป็นการกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ ด.กระทำการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ และเป็นการให้ความสะดวกก่อนหรือขณะที่ ด.กระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 86 ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ตามที่ทางพิจารณาได้ความนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้สนับสนุนการกระทำความผิดยาเสพติด: การมอบยาให้ผู้อื่นจำหน่าย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับ ด. ร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนแต่ข้อเท็จจริงในทางนำสืบของโจทก์ฟังได้ว่า ในขณะที่ ด. จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้สายลับผู้ล่อซื้อ จำเลยไม่ได้อยู่ ร่วมด้วย โดยในขณะเกิดเหตุจำเลยอยู่ที่บ้านเพื่อนของจำเลย แต่จำเลยได้มอบเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ให้ ด. จำหน่ายให้สายลับผู้ล่อซื้อ อันเป็นการใช้หรือก่อให้ ด. กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 ดังนี้ จำเลยจึงมิใช่ผู้ร่วม กับ ด.กระทำการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นความผิดตามมาตรา 83 ที่โจทก์ฟ้อง ซึ่งเป็นการแตกต่างกันในสาระสำคัญ ย่อมลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้ใช้ให้ ด.กระทำการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง การที่จำเลยมอบเมทแอมเฟตามีนของกลาง ไว้ให้ ด. เพื่อจำหน่ายถือได้ว่าเป็นการกระทำด้วยประการใด ๆอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ ด. กระทำการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ และเป็นการ ให้ความสะดวกก่อนหรือขณะที่ ด.กระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ตามที่ทางพิจารณาได้ความนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้และเช็คเพื่อชำระหนี้ การฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คที่ถูกต้องตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทให้แก่บริษัท บ.ซึ่งมี ฮ.เป็นกรรมการผู้จัดการ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน บริษัท บ.โดย ฮ.ได้มอบอำนาจให้ พ.ไปร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ เช่นนี้ บริษัท บ.จึงเป็นผู้เสียหาย ซึ่งได้มอบอำนาจให้ร้องทุกข์โดยชอบแล้ว แม้ตามฟ้องโจทก์จะบรรยายฟ้องว่า ฮ.เป็นผู้เสียหาย ก็เป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อย และข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่สาระสำคัญ ทั้งจำเลยที่ 1 ก็มิได้หลงต่อสู้ หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดจริง ก็ชอบที่ศาลจะลงโทษจำเลยที่ 1 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสองโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
เมื่อ ข.ไม่สามารถนำเพชรที่รับไปจากผู้เสียหายเพื่อนำไปขายมาคืนให้ผู้เสียหายได้ จำเลยที่ 3 จึงได้ทำบันทึกข้อตกลงชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 3 ได้นำเช็คพิพาทสั่งจ่ายเงิน 60,000 บาทพร้อมเงินสดอีก 46,000 บาท มาแลกเช็คฉบับแรกของจำเลยที่ 3 จากผู้เสียหายการที่ ข.เป็นหนี้ค่าเพชรแก่ผู้เสียหาย แล้วจำเลยทั้งสามเข้ามารับผิดชำระหนี้แทนแก่ผู้เสียหายก็มุ่งประสงค์มิให้ ข.ต้องถูกดำเนินคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ดังนั้น ข้อตกลงดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3กับผู้เสียหาย จึงเป็นการตกลงทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ เช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 ออกและมอบให้แก่ผู้เสียหายจึงเป็นเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อธนาคารตามเช็คที่จำเลยที่ 1 ออกให้ผู้เสียหายดังกล่าวปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้และเช็คเพื่อชำระหนี้: อำนาจฟ้องของผู้รับมอบอำนาจและความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทให้แก่บริษัท บ. ซึ่งมี ฮ.เป็นกรรมการผู้จัดการ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินบริษัท บ. โดย ฮ.ได้มอบอำนาจให้พ. ไปร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในความผิดเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ เช่นนี้บริษัท บ.จึงเป็นผู้เสียหาย ซึ่งได้มอบอำนาจให้ร้องทุกข์โดยชอบแล้วแม้ตามฟ้องโจทก์จะบรรยายฟ้องว่า ฮ. เป็นผู้เสียหายก็เป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อย และข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ สาระสำคัญ ทั้งจำเลยที่ 1 ก็มิได้หลงต่อสู้ หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดจริง ก็ชอบที่ศาลจะลงโทษจำเลยที่ 1 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสองโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เมื่อ ข. ไม่สามารถนำเพชรที่รับไปจากผู้เสียหายเพื่อนำไปขายมาคืนให้ผู้เสียหายได้ จำเลยที่ 3 จึงได้ทำบันทึก ข้อตกลงชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 3 ได้นำเช็คพิพาทสั่งจ่ายเงิน 60,000 บาทพร้อมเงินสดอีก 46,000 บาท มาแลกเช็คฉบับแรกของจำเลยที่ 3 จากผู้เสียหายการที่ ข. เป็นหนี้ค่าเพชรแก่ผู้เสียหายแล้วจำเลยทั้งสามเข้ามารับผิดชำระหนี้แทนแก่ผู้เสียหาย ก็มุ่งประสงค์มิให้ ข. ต้องถูกดำเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ฯดังนั้น ข้อตกลงดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3กับผู้เสียหาย จึงเป็นการตกลงทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ เช็คพิพาทที่จำเลยที่ 1 ออกและมอบให้แก่ผู้เสียหายจึงเป็นเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อธนาคารตามเช็คที่จำเลยที่ 1 ออกให้ผู้เสียหายดังกล่าวปฏิเสธ การจ่ายเงิน จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2472/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานในคดีชิงทรัพย์ และขอบเขตการฟ้องคดีอาญาที่แตกต่างจากข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้
แม้บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของ ต.จะเป็นพยานบอกเล่าซึ่งโดยลำพังไม่อาจรับฟังชี้ลงไปได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้กระทำความผิด แต่อาจรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์มีพันตำรวจตรี ว. พนักงานสอบสวนเบิกความว่า จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ และมีรายละเอียดเป็นขั้นตอนโดยให้การในวันรุ่งขึ้นหลังจากวันที่ถูกจับ อีกทั้งยังได้ความจากคำเบิกความของร้อยตำรวจเอก ส.ว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ตรวจค้นจำเลยที่ 2 พบเงินสดอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 จำนวน 30,000 บาทเศษ ซึ่งจำเลยที่ 2 ให้การรับว่าเป็นเงินที่ได้มาจากการชิงทรัพย์ และได้นำเจ้าพนักงานตำรวจไปชี้จุดที่จำเลยที่ 2 นำทรัพย์สินบางส่วนที่ได้มาจากการชิงทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งสองไปฝังไว้ด้วยเช่นนี้ เมื่อพิจารณาคำให้การชั้นสอบสวนของ ต. ประกอบกับคำให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 และบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพแล้ว พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ชิงทรัพย์ผู้เสียหายจริงตามฟ้อง
ส่วนจำเลยที่ 1 นั้น นอกจากคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนแล้ว คงมีเพียงคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ซัดทอดว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดซึ่งเป็นคำชัดทอดระหว่างผู้กระทำความผิดด้วยกัน จึงยังไม่อาจรับฟังว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้อง
แม้พยานหลักฐานของโจทก์จะฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงมือกระทำผิดฐานรับของโจร แต่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ด้วยการใช้จ้างวาน มิได้ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงมือกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ กรณีย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานรับของโจร ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2472/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานในคดีชิงทรัพย์: คำรับสารภาพ, คำให้การร่วม, และความแตกต่างของฟ้อง
แม้บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของ ต. จะเป็นพยานบอกเล่าซึ่งโดยลำพังไม่อาจจะรับฟังชี้ลงไปได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้กระทำความผิด แต่อาจรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์มีพันตำรวจตรี ว.พนักงานสอบสวนเบิกความว่า จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพและมีรายละเอียดเป็นขั้นตอนโดยให้การในวันรุ่งขึ้นหลังจากวันที่ถูกจับ อีกทั้งยังได้ความจากคำเบิกความของร้อยตำรวจเอก ส. ว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ตรวจค้นจำเลยที่ 2 พบเงินสดอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2จำนวน 30,000 บาทเศษ ซึ่งจำเลยที่ 2 ให้การรับว่าเป็นเงินที่ได้มาจากการชิงทรัพย์ และได้นำเจ้าพนักงานตำรวจไปชี้จุดที่จำเลยที่ 2 นำทรัพย์สินบางส่วนที่ได้มาจากการชิงทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งสองไปฝังไว้ด้วยเช่นนี้ เมื่อพิจารณาคำให้การชั้นสอบสวนของ ต. ประกอบกับคำให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 และบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพแล้ว พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ชิงทรัพย์ผู้เสียหายจริงตามฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 1 นั้น นอกจากคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนแล้ง คงมีเพียงคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ชัดทอดว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดซึ่งเป็นคำชัดทอดระหว่างผู้กระทำความผิดด้วยกัน จึงยังไม่อาจรับฟังว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้อง แม้พยานหลักฐานของโจทก์จะฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงมือกระทำผิดฐานรับของโจร แต่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ด้วยการใช้จ้างวาน มิได้ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงมือกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญกรณีย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4175/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนและการแจ้งข้อหา, ความผิดฐานล่วงละเมิดความปกครองผู้เยาว์, ความประสงค์ในการอยู่กินฉันสามีภริยา
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 134 พนักงานสอบสวนอาจทำการสอบสวนได้เมื่อผู้ต้องหามาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนในหลายกรณีด้วยกัน ไม่จำเป็นจะต้องมีการจับตัวผู้ต้องหามามอบให้และทำบันทึกการจับกุมแต่อย่างใด การที่ร้อยตำรวจเอก ส.เบิกความว่าได้จับจำเลยนั้น แม้จะมิใช่การจับในความหมายตามป.วิ.อ.แต่เป็นเรื่องนำตัวจำเลยและผู้เยาว์ไปพบกับพนักงานสอบสวนในฐานะที่ ส.เป็นผู้ปกครองผู้ดูแลผู้เยาว์ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนและพนักงานสอบสวนได้รับตัวจำเลยไว้พร้อมกับแจ้งข้อหาแก่จำเลยและบันทึกคำให้การของจำเลยไว้ จึงเป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยถูกจับกุมโดยเจ้าพนักงานก็เป็นฟ้องที่อาจรับไว้พิจารณาได้อยู่แล้ว ดังนั้น คำเบิกความของ ส.ที่ว่าไม่มีการจับกุมจำเลยเพราะจำเลยกับผู้เยาว์และผู้ปกครองผู้ดูแลผู้เยาว์มาอยู่ต่อหน้าพยานเอง แม้จะแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายในฟ้องก็มิใช่ข้อแตกต่างที่เป็นสาระสำคัญ และไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้อันจะเป็นเหตุให้ศาลต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง
จำเลยได้ร่วมประเวณีกับผู้เยาว์ในวันเกิดเหตุจริง แม้ผู้เยาว์ยินยอมก็มีผลแต่เพียงว่า จำเลยไม่มีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราหรือกระทำอนาจารแก่ผู้เยาว์เท่านั้น แต่การที่จำเลยพาผู้เยาว์ไปที่ห้องพักของพี่ชายจำเลยและได้ร่วมประเวณีกับผู้เยาว์ มิใช่เป็นไปในลักษณะที่มีความประสงค์จะอยู่กินกันฉันสามีภริยา นอกจากนี้ก่อนวันเกิดเหตุจำเลยกับผู้เยาว์ร่วมประเวณีกันที่โรงแรม และต่อมาก็ได้ร่วมประเวณีกันในที่อื่น ๆ อีกหลายครั้งโดยที่จำเลยยังไม่มีอาชีพเป็นหลักแหล่ง ครั้นถึงวันนัดจะนำสินสอดมาสู่ขอผู้เยาว์จำเลยก็หลบเลี่ยง แสดงว่าจำเลยมิได้มีความประสงค์จะอยู่กินกับผู้เยาว์ฉันสามีภริยา การที่จำเลยพาผู้เยาว์ไปในที่ต่าง ๆ และร่วมประเวณีกับผู้เยาว์โดยที่ขณะเกิดเหตุผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของผู้ปกครองผู้ดูแล เป็นการล่วงละเมิดความปกครองของผู้ปกครองผู้ดูแลอันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 319 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3044/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยุยงส่งเสริม vs. สนับสนุนการกระทำความผิด: ผู้ใช้ vs. ผู้สนับสนุน
เหตุเกิดเพราะการที่จำเลยที่1พยักหน้าและร้องว่าเอามันแล้วจำเลยที่2และที่3เข้าร่วมทำร้ายร่างกายผู้เสียหายถือได้ว่าจำเลยที่1ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดด้วยการยุยงส่งเสริมจึงเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา84มิใช่เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดด้วยกันตามมาตรา83ดังที่โจทก์ฟ้องจึงเป็นการแตกต่างกันในสาระสำคัญอย่างมากย่อมลงโทษจำเลยที่1ฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสองแต่การร้องบอกของจำเลยที่1ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นผู้เสียหายและอำนาจฟ้องของโจทก์ร่วม กรณีทรัพย์สินเป็นของนิติบุคคล
คำร้องของโจทก์ร่วมที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นระบุว่า โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ ศาลชั้นต้นได้รับคำร้องและอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมได้แล้วแม้คำฟ้องโจทก์จะระบุว่าทรัพย์ตามที่ระบุในคำฟ้องเป็นของ ณ. แต่ทางพิจารณาได้ความว่าเป็นทรัพย์ของโจทก์ร่วมซึ่งมี ณ.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนและจำเลยนำสืบปฏิเสธว่า อ.กรรมการอีกคนหนึ่งของโจทก์ร่วมซึ่งมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมนำมาฝากไว้ซึ่งไม่ถือว่าจำเลยหลงต่อสู้ ดังนี้ไม่เป็นเหตุที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกอุทธรณ์โจทก์ร่วมด้วยเหตุว่าโจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหาย
of 24