พบผลลัพธ์ทั้งหมด 234 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 870/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลพิจารณาลงโทษตามข้อเท็จจริงที่ต่างจากฟ้องได้ หากไม่เป็นสาระสำคัญและจำเลยไม่โต้แย้ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 288 แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายอันเป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องแต่ข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญและทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาลงโทษจำเลยในข้อหาดังกล่าวตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนี้ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง และวรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิง: ศาลลงโทษตามข้อเท็จจริงที่ได้ความในการพิจารณา แม้มีข้อแตกต่างในรายละเอียด
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยกระทำผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปีในคืนวันที่ 11 ธันวาคม2533 เวลากลางคืนหลังเที่ยง เวลาเกิดเหตุดังกล่าวแตกต่างกับข้อเท็จจริงในฟ้อง ซึ่งกล่าวว่าเหตุเกิดวันที่ 11 ธันวาคม 2533 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดซึ่งมิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยนำสืบสู้คดีเพียงว่าวันที่ 2 ธันวาคม 2533 ผู้เสียหายไปนอนค้างที่กระท่อมของจำเลย และเห็นจำเลยร่วมเพศกับมารดาผู้เสียหาย เช้าวันรุ่งขึ้นผู้เสียหายจึงกลับไปอยู่บ้านยายแล้วไม่มาที่กระท่อมของจำเลยอีกเลย ข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบเป็นการกล่าวอ้างถึงเวลาก่อนเกิดเหตุหลายวันไม่เกี่ยวข้องกับเวลาเกิดเหตุตามฟ้อง แสดงว่าจำเลยมิได้หลงต่อสู้ จึงลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความในการพิจารณาดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อแตกต่างรายละเอียดวันเวลากระทำผิดไม่กระทบสาระสำคัญ ศาลฎีกาใช้ข้อเท็จจริงจากการพิจารณาเพื่อลงโทษจำเลยได้
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยกระทำผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปีในคืนวันที่ 11 ธันวาคม 2533 เวลากลางคืนหลังเที่ยง เวลาเกิดเหตุดังกล่าวแตกต่างกับข้อเท็จจริงในฟ้อง ซึ่งกล่าวว่าเหตุเกิดวันที่ 11 ธันวาคม 2533 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงเป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดซึ่งมิใช่ข้อสาระสำคัญทั้งจำเลยนำสืบสู้คดีเพียงว่าวันที่ 2 ธันวาคม 2533ผู้เสียหายไปนอนค้างที่กระท่อมของจำเลย และเห็นจำเลยร่วมเพศกับมารดาผู้เสียหาย เช้าวันรุ่งขึ้นผู้เสียหายจึงกลับไปอยู่บ้านย้าย แล้วไม่มาที่กระท่อมของจำเลยอีกเลยข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบเป็นการกล่าวอ้างถึงเวลาก่อนเกิดเหตุหลายวันไม่เกี่ยวข้องกับเวลาเกิดเหตุตามฟ้องแสดงว่าจำเลยมิได้หลงต่อสู้ จึงลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความในการพิจารณาดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์ ผู้ใช้สั่งการ และผู้สนับสนุนการกระทำผิด
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้ให้จำเลยที่ 2 ไปลักทรัพย์โดยไม่ได้ร่วมไปลักทรัพย์ด้วยถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการในการกระทำความผิดดังที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 83 และฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดตามมาตรา 84จะลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดไม่ได้เช่นกันแต่การกระทำของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่า เป็นการสนับสนุนให้จำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามมาตรา 86 แม้โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องศาลก็ลงโทษจำเลยที่ 1 ในฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบุกรุกเคหสถาน: ข้อเท็จจริงตามฟ้องต้องสอดคล้องกับการพิจารณา
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน เป็นให้ปรับ 2,000 บาท อีกสถานหนึ่ง ส่วนโทษจำคุกให้รอไว้นั้น ไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
การที่ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ จำเลยก็ฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 195 วรรคสอง
ป.อ.มาตรา 1 (4) ให้คำนิยามของคำว่า "เคหสถาน"ว่า ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่นเรือน โรง เรือ หรือแพ ซึ่งคนอยู่อาศัย และให้หมายความรวมถึงบริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วยจะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม ดังนั้นที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปในบริเวณบ้านผู้เสียหาย แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยบุกขึ้นไปบนบ้านผู้เสียหายนั้น ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงไม่แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ
การที่ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ จำเลยก็ฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 195 วรรคสอง
ป.อ.มาตรา 1 (4) ให้คำนิยามของคำว่า "เคหสถาน"ว่า ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่นเรือน โรง เรือ หรือแพ ซึ่งคนอยู่อาศัย และให้หมายความรวมถึงบริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วยจะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม ดังนั้นที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปในบริเวณบ้านผู้เสียหาย แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยบุกขึ้นไปบนบ้านผู้เสียหายนั้น ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงไม่แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษจากจำคุกเป็นปรับ และประเด็นความแตกต่างของข้อเท็จจริงระหว่างฟ้องกับพิจารณา
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน เป็นให้ปรับ 2,000 บาท อีกสถานหนึ่งส่วนโทษจำคุกให้รอไว้นั้น ไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 การที่ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 225ประกอบด้วยมาตรา 195 วรรคสอง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(4) ให้คำนิยามคำว่า "เคหสถาน"ว่า ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่นเรือน โรง เรือ หรือแพ ซึ่งคนอยู่อาศัย และให้หมายความรวมถึงบริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วยจะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม ดังนั้น ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปในบริเวณบ้านผู้เสียหาย แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยบุกขึ้นไปบนบ้านผู้เสียหายนั้น ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงไม่แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ต้นไม้ในเขตป่าสงวน: ความแตกต่างระหว่างข้ออ้างกับข้อเท็จจริงส่งผลให้ต้องยกฟ้อง
ต้นไม้ของกลางขึ้นเองตามธรรมชาติในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่ผู้เสียหายครอบครองทำประโยชน์อยู่ ย่อมเป็นของรัฐไม่ใช่ของผู้เสียหาย แต่โจทก์ฟ้องว่าเป็นของผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงต่างกับฟ้องในข้อสาระสำคัญ ต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ไม้ในป่าสงวน: การฟ้องลักทรัพย์ต้องระบุเจ้าของที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ต้นไม้ของกลางขึ้นเองตามธรรมชาติในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่ผู้เสียหายครอบครองทำประโยชน์อยู่ ย่อมเป็นของรัฐไม่ใช่ของผู้เสียหาย แต่โจทก์ฟ้องว่าเป็นของผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงต่างกับฟ้องในข้อสาระสำคัญ ต้องยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากร่วมกันฆ่าเป็นสนับสนุนการฆ่าตามข้อเท็จจริงที่แตกต่างในคำฟ้อง
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นผู้ร่วมกระทำผิด ด้วย กันแต่ทางพิจารณาได้ความว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็น การใช้ให้ผู้อื่นฆ่าผู้ตาย ดังนี้ จะลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกัน ฆ่าผู้ตายไม่ได้เพราะข้อเท็จจริงแตกต่างกันในส่วนสาระสำคัญตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192วรรคสอง แต่การที่จำเลยที่ 1 ร้องสั่งให้จำเลย ที่ 2 ทำร้ายผู้ตายนั้นเป็นการยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นกระทำความผิด เป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86 ด้วย ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6299/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อแตกต่างสาระสำคัญในฟ้องกับการพิจารณา ทำให้จำเลยหลงข้อต่อสู้ ศาลต้องไม่ลงโทษเกินคำขอ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจ้างหรือใช้ผู้มีชื่อให้ฆ่าผู้เสียหาย และผู้มีชื่อนั้นได้ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยว่าจ้าง ร.ไปฆ่าผู้เสียหายแต่ร. ไม่ทำตามที่จำเลยว่าจ้างคนร้ายที่ยิงผู้เสียหายไม่ใช่ผู้ที่จำเลยว่าจ้าง ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับฟ้องในสาระสำคัญ ทำให้จำเลยหลงข้อต่อสู้และไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลย.