คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 311 วรรคสาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14206/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินค่าจ้างก่อนพิพากษา: สิทธิของบุคคลภายนอกเมื่อมีการโอนสิทธิเรียกร้อง
โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา โดยขอให้อายัดเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 และขอให้อายัดเงินค่าจ้างที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับจากผู้ร้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 และเงินค่าจ้างที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับจากผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดเงินค่าจ้างและขอคืนเงินให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิใช่เป็นคู่ความ จึงพอแปลได้ว่า เป็นกรณีที่ผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกซึ่งได้รับหมายยึด หมายอายัด ร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนคำสั่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 261 โดยความในวรรคหนึ่งของมาตรา 261 ได้บัญญัติให้นำมาตรา 312 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งหมายความว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ได้รับคำสั่งอายัดย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธหรือโต้แย้งหนี้ที่ได้มีคำสั่งเรียกร้องเอาแก่ตนได้ตามมาตรา 312 ดังกล่าว แต่อย่างไรก็ดี บทบัญญัติในมาตรา 312 เป็นบทบัญญัติที่อยู่ในหมวด 2 ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ที่ในลักษณะ 2 วิธียึดทรัพย์ อายัดทรัพย์ และการจ่ายเงินนี้ นอกจากให้สิทธิผู้ร้องที่ถูกบังคับตามสิทธิเรียกร้องชอบที่จะปฏิเสธหรือโต้แย้งสิทธิเรียกร้องที่เรียกเอาแก่ตนได้แล้ว ยังต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 311 วรรคสาม ที่บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องได้ แม้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้อันมีต่อบุคคลภายนอกนั้นจะมีข้อโต้แย้งหรือมีข้อจำกัดหรือมีเงื่อนไขหรือไม่ มาใช้บังคับด้วย การที่ผู้ร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดโดยมีข้อโต้แย้งว่าจำเลยที่ 1 ได้โอนหนี้ให้แก่ธนาคารแล้ว ผู้ร้องมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ธนาคารตามข้อตกลงโอนสิทธิเรียกร้องนั้น จึงไม่อาจรับฟัง ผู้ร้องในฐานะบุคคลภายนอกผู้ได้รับหมายอายัดย่อมไม่อาจขอให้เพิกถอนหมายคำสั่งอายัดชั่วคราวและขอคืนเงินที่อายัดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5478/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินฝากเพื่อเป็นประกันหนี้ ไม่ใช่การจำนำสิทธิ และการหักเงินหลังมีหมายอายัดเป็นข้อกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 672 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินอันเดียวกันกับที่รับฝากผู้รับฝากมีสิทธิจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้ เงินที่ฝากจึงตกเป็นของผู้รับฝากซึ่งคงมีแต่หน้าที่คืนเงินให้ครบจำนวน เมื่อผู้ฝากฝากเงินไว้กับผู้รับฝากและตกลงมอบเงินฝากพร้อมสมุดบัญชีฝากประจำไว้เพื่อเป็นประกันหนี้ที่จะพึงมีต่อผู้รับฝาก แล้วยินยอมให้นำเงินจากบัญชีไปชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว เป็นเรื่องความตกลงในการฝากเงินเพื่อเป็นประกัน หาทำให้ตัวเงินตามจำนวนในบัญชีเงินฝากยังคงเป็นของผู้ฝาก อันผู้รับฝากได้ยึดไว้เป็นประกันการชำระหนี้ไม่ จึงไม่เป็นการจำนำเงินฝาก ส่วนใบรับฝากประจำเป็นเพียงหลักฐานการรับฝากและถอนเงินที่ผู้รับฝากออกให้ผู้ฝากยึดถือไว้ เพื่อความสะดวกในการฝากและถอนเงินในบัญชีฝากประจำของผู้ฝากไม่อยู่ในลักษณะของสิทธิซึ่งมีตราสารการมอบใบฝากประจำให้ผู้รับฝากยึดถือไว้เป็นประกันหนี้จึงมิใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสาร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 750 เมื่อผู้รับฝากเงินมิใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ (จำนำ) ใช้สิทธิหักเงินของผู้ฝากไปชำระให้แก่ผู้ว่าจ้างผู้ฝาก หลังจากที่ได้รับหมายอายัดของศาล จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามในคำสั่งอายัดทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 311 วรรคสาม ผู้รับฝากจะอ้าง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 และการกระทำไปโดยสุจริตตามประเพณีปฏิบัติของธนาคาร หรือเป็นการอายัดซ้ำกันมาเป็นเหตุไม่ต้องนำเงินตามจำนวนที่อายัดไปชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5478/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝากเงินเป็นประกันหนี้และการบังคับคดี: สิทธิของผู้ฝากและผู้รับฝากเมื่อมีคำสั่งอายัดทรัพย์
ป.พ.พ. มาตรา 672 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินอันเดียวกันกับที่รับฝาก ผู้รับฝากมีสิทธิจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้ เงินที่ฝากจึงตกเป็นของผู้รับฝากซึ่งคงมีแต่หน้าที่คืนเงินให้ครบจำนวน เมื่อผู้ฝากฝากเงินไว้กับผู้รับฝากและตกลงมอบเงินฝากพร้อมสมุดบัญชีฝากประจำไว้เพื่อเป็นประกันหนี้ที่จะพึงมีต่อผู้รับฝาก แล้วยินยอมให้นำเงินจากบัญชีไปชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว เป็นเรื่องความตกลงในการฝากเงินเพื่อเป็นประกัน หาทำให้ตัวเงินตามจำนวนในบัญชีเงินฝากยังคงเป็นของผู้ฝาก อันผู้รับฝากได้ยึดไว้เป็นประกันการชำระหนี้ไม่จึงไม่เป็นการจำนำเงินฝาก ส่วนใบรับฝากประจำเป็นเพียงหลักฐานการรับฝากและถอนเงินที่ผู้รับฝากออกให้ผู้ฝากยึดถือไว้ เพื่อความสะดวกในการฝากและถอนเงินในบัญชีฝากประจำของผู้ฝากไม่อยู่ในลักษณะของสิทธิซึ่งมีตราสาร การมอบใบรับฝากประจำให้ผู้รับฝากยึดถือไว้เป็นประกันหนี้จึงมิใช่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสาร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 750
เมื่อผู้รับฝากเงินมิใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ (จำนำ) ใช้สิทธิหักเงินของผู้ฝากไปชำระให้แก่ผู้ว่าจ้างผู้ฝาก หลังจากที่ได้รับหมายอายัดของศาล จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามในคำสั่งอายัดทรัพย์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 311 วรรคสาม ผู้รับฝากจะอ้าง ป.วิ.พ. มาตรา 287และการกระทำไปโดยสุจริตตามประเพณีปฏิบัติของธนาคาร หรือเป็นการอายัดซ้ำกัน มาเป็นเหตุไม่ต้องนำเงินตามจำนวนที่อายัดไปชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหาได้ไม่