พบผลลัพธ์ทั้งหมด 184 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 597-602/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทแรงงาน: การคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามอายุงานและระยะเวลาทำงาน
การทำงานล่วงเวลา พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติไว้ว่า "ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราว ๆ ไป" ซึ่งหมายความว่า หากนายจ้างประสงค์ที่จะให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานแล้ว นายจ้างต้องขอความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเริ่มทำงานล่วงเวลาในแต่ละคราว ๆ ไป นายจ้างถึงจะมีสิทธิให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานได้ เมื่อพิจารณาสัญญาจ้างแรงงานและเอกสารแนบท้ายสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 กับจำเลยที่ 1 แล้ว สัญญาจ้างแรงงานข้อ 2. การปฏิบัติงาน ข้อ 2.1 กำหนดไว้ว่า เวลาปฏิบัติงานปกติให้ถือเวลาที่กำหนดโดยนายจ้าง ข้อ 2.2 ค่าจ้างล่วงเวลาให้ถือเวลาที่นอกเหนือจากการทำงานปกติ ซึ่งตามเอกสารแนบท้ายสัญญาจ้างแรงงานในข้อ 1. ค่าจ้างแรงงาน ได้ระบุไว้ว่าข้อ 1.1 เวลาทำงานปกติ อัตราค่าจ้างต่อวัน (8 ชั่วโมง) วันละ...บาท อัตราค่าจ้างล่วงเวลา (4 ชั่วโมง) วันละ….บาท จึงเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 กำหนดให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ทำงานล่วงเวลาในวันทำงานทุกวันไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ขณะทำสัญญาจ้างแรงงาน การกำหนดในลักษณะดังกล่าวเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้นายจ้างต้องขอความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราว ๆ ไป ก่อนเริ่มทำงานล่วงเวลาในวันทำงานตามที่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้ การที่จำเลยที่ 1 กำหนดให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ต้องทำงานล่วงเวลาในวันทำงานไว้ล่วงหน้าวันละ 4 ชั่วโมง เป็นการขัดต่อมาตรา 24 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลใช้บังคับ ย่อมไม่อาจนำสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 กับจำเลยที่ 1 มารับฟังทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดเวลาการทำงานปกติและเวลาการทำงานล่วงเวลาได้ แต่อย่างไรก็ดี สำหรับเวลาการทำงานปกติในวันทำงานของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 นั้น ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 ส่งโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ไปทำงานกับจำเลยที่ 2 และศาลอุทธรณ์คดีชํานัญพิเศษวินิจฉัยไว้โดยคู่ความมิได้ฎีกาโต้แย้งว่า จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 11/1 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างจึงมีอำนาจบังคับบัญชาและควบคุมดูแลการทำงานโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ในฐานะลูกจ้าง ด้วยการกำหนดเวลาการทำงานปกติในวันทำงานของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 และเมื่อข้อเท็จจริงตามที่คู่ความมิได้โต้แย้งคัดค้านกันที่ปรากฏตามคำฟ้องและคำให้การได้ความว่า จำเลยที่ 2 กำหนดเวลาการทำงานปกติให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ทำงานเป็นกะ กะละ 12 ชั่วโมง ต่อวัน ซึ่งการกำหนดเวลาการทำงานปกติดังกล่าวนั้นเป็นการกำหนดที่สอดคล้องกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยกฎกระทรวงดังกล่าวได้กำหนดให้งานในกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม รวมตลอดถึงงานซ่อมบำรุงและงานให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับงานดังกล่าว เฉพาะที่ทำในแปลงสำรวจและพื้นที่ผลิต ให้นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดเวลาทำงานปกติ โดยกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงาน แต่วันหนึ่งต้องไม่เกินสิบสองชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง การที่จำเลยที่ 2 กำหนดเวลาการทำงานปกติให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ทำงานวันละ 12 ชั่วโมง โดยโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ตกลงทำงานตามที่จำเลยที่ 2 กำหนดไว้แล้ว จึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 มีเวลาทำงานในวันทำงานปกติวันละ 12 ชั่วโมง มิใช่มีเวลาทำงานในวันทำงานปกติวันละ 8 ชั่วโมง และทำงานล่วงเวลาในวันทำงานวันละ 4 ชั่วโมง ตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างแรงงานของโจทก์ดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้น เงินที่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ได้รับจากการทำงานในเวลาการทำงานปกติวันละ 12 ชั่วโมง จึงเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายวันเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 ที่ต้องนำมาเป็นฐานในการคิดคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง โดยไม่คำนึงว่าจำเลยที่ 1 จะเรียกเงินที่จ่ายให้โจทก์ 2 ถึงที่ 7 ในช่วงระหว่างการทำงาน 4 ชั่วโมงสุดท้ายของวันว่าเป็นค่าจ้างหรือไม่ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดผู้ค้ำประกันในสัญญาจ้างแรงงานตามประกาศกระทรวงแรงงาน พ.ศ.2551
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง พ.ศ.2551 (ประกาศฉบับปัจจุบัน) ที่ออกโดยอาศัย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 6 และมาตรา 10 ข้อ 2 กำหนดว่า ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 กำหนดว่า ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง ลงวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2541 ซึ่งประกาศฉบับเดิมปี 2541 ที่ถูกยกเลิก ไม่ได้จำกัดวงเงินค้ำประกันที่นายจ้างจะเรียกให้ผู้ค้ำประกันรับผิดไว้ ขณะที่ประกาศฉบับปัจจุบันนี้ ข้อ 10 กำหนดว่า ในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกัน โดยการค้ำประกันด้วยบุคคล วงเงินค้ำประกันที่นายจ้างเรียกให้ผู้ค้ำประกันรับผิดต้องไม่เกินหกสิบเท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับ เช่นนี้ เป็นการจำกัดขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันในความเสียหายจากการทำงานให้แตกต่างไปจากหลักทั่วไปในเรื่องเสรีภาพในการทำสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกอบกับ ข้อ 12 กรณีที่มีการเรียกหรือรับหลักประกันเกินที่กำหนดไว้มาก่อนวันที่ประกาศฉบับปัจจุบันมีผลใช้บังคับนั้น ให้เป็นหน้าที่ของนายจ้างดำเนินการให้มีหลักประกันไม่เกินมูลค่าของหลักประกันตามที่กำหนดไว้ในประกาศฉบับปัจจุบันด้วย นายจ้างที่เรียกหรือรับหลักประกันที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด ต้องรับผิดทางอาญาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 144 บทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน นายจ้างและลูกจ้างไม่อาจตกลงนอกเหนือจากหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายและประกาศดังกล่าวกำหนด
เมื่อประกาศฉบับปัจจุบันลงราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 ย่อมมีผลใช้บังคับนับแต่วันดังกล่าว โดยในส่วนความรับผิดของผู้ค้ำประกันจะต้องพิจารณาว่าหนี้ที่ผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดต่อนายจ้างเกิดมีขึ้นในวันใด หากหนี้ที่ผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดเกิดมีขึ้นก่อนวันที่ 4 กรกฎาคม 2551อันเป็นวันที่ประกาศฉบับปัจจุบันมีผลใช้บังคับ ผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดเต็มตามสัญญาค้ำประกัน ส่วนกรณีหนี้ที่ผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดเกิดขึ้นตั้งแต่หรือหลังจากวันดังกล่าว ความรับผิดของผู้ค้ำประกันจะถูกจำกัดไว้ไม่เกินหกสิบเท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยของลูกจ้างที่ได้รับ อย่างไรก็ตามหากข้อเท็จจริงไม่ชัดแจ้งว่าหนี้ที่ผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเป็นการแน่นอน กรณีนี้จำต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นผู้ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายพิเศษนี้ โดยให้ผู้ค้ำประกันรับผิดไม่เกินหกสิบเท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับเท่านั้น
แม้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันความรับผิดในการทำงานของจำเลยที่ 1 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมต่อโจทก์ไว้ก่อนวันที่ประกาศฉบับปัจจุบันมีผลใช้บังคับ แต่เมื่อไม่สามารถระบุได้ว่าการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งพนักงานขายทำให้สินค้าแต่ละรายการสูญหายไปเกิดขึ้นในช่วงก่อนหรือขณะที่ประกาศฉบับปัจจุบันมีผลบังคับใช้ อันเป็นผลให้ไม่ทราบว่าหนี้ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมนั้น เกิดมีขึ้นในช่วงขณะประกาศฉบับใดมีผลบังคับใช้ การตีความใช้กฎหมายจำต้องกระทำไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดเต็มตามสัญญาค้ำประกัน โดยต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ไม่เกินหกสิบเท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างได้รับ ตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง พ.ศ.2551 อันเป็นประกาศฉบับปัจจุบันที่มีผลใช้บังคับ
เมื่อประกาศฉบับปัจจุบันลงราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 ย่อมมีผลใช้บังคับนับแต่วันดังกล่าว โดยในส่วนความรับผิดของผู้ค้ำประกันจะต้องพิจารณาว่าหนี้ที่ผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดต่อนายจ้างเกิดมีขึ้นในวันใด หากหนี้ที่ผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดเกิดมีขึ้นก่อนวันที่ 4 กรกฎาคม 2551อันเป็นวันที่ประกาศฉบับปัจจุบันมีผลใช้บังคับ ผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดเต็มตามสัญญาค้ำประกัน ส่วนกรณีหนี้ที่ผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดเกิดขึ้นตั้งแต่หรือหลังจากวันดังกล่าว ความรับผิดของผู้ค้ำประกันจะถูกจำกัดไว้ไม่เกินหกสิบเท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยของลูกจ้างที่ได้รับ อย่างไรก็ตามหากข้อเท็จจริงไม่ชัดแจ้งว่าหนี้ที่ผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเป็นการแน่นอน กรณีนี้จำต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นผู้ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายพิเศษนี้ โดยให้ผู้ค้ำประกันรับผิดไม่เกินหกสิบเท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับเท่านั้น
แม้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันความรับผิดในการทำงานของจำเลยที่ 1 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมต่อโจทก์ไว้ก่อนวันที่ประกาศฉบับปัจจุบันมีผลใช้บังคับ แต่เมื่อไม่สามารถระบุได้ว่าการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งพนักงานขายทำให้สินค้าแต่ละรายการสูญหายไปเกิดขึ้นในช่วงก่อนหรือขณะที่ประกาศฉบับปัจจุบันมีผลบังคับใช้ อันเป็นผลให้ไม่ทราบว่าหนี้ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมนั้น เกิดมีขึ้นในช่วงขณะประกาศฉบับใดมีผลบังคับใช้ การตีความใช้กฎหมายจำต้องกระทำไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดเต็มตามสัญญาค้ำประกัน โดยต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ไม่เกินหกสิบเท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างได้รับ ตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง พ.ศ.2551 อันเป็นประกาศฉบับปัจจุบันที่มีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13862/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาระบุไม่จ่ายค่าชดเชย ย่อมใช้ได้ แม้มีข้อบังคับบริษัทกำหนดจ่ายไว้ก็ได้
ตาม พ.ร.บ.สภาการเหมืองแร่ พ.ศ.2526 มาตรา 23 วรรคสอง ที่บัญญัติให้เลขาธิการสภาการเหมืองแร่มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี เป็นหลักการทั่วไป ไม่ได้ห้ามเด็ดขาดว่าสัญญาจ้างผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาการเหมืองแร่จะมีกำหนดระยะเวลาน้อยกว่า 4 ปี ไม่ได้ แต่กลับบัญญัติให้เลขธิการสภาการเหมืองแร่อาจต้องพ้นตำแหน่งก่อนครบวาระไว้หลายประการ สัญญาจ้างโจทก์ให้เป็นลูกจ้างตำแหน่งเลขาธิการสภาการเหมืองแร่มีกำหนด 1 ปี จึงไม่ขัดต่อมาตรา 23 วรรคสอง
จำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ
แม้กฎกระทรวง (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ (3) ระบุว่ามิให้ใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 หมวด 11 ค่าชดเชย ตั้งแต่มาตรา 118 ถึงมาตรา 122 บังคับแก่นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ซึ่งหมายความว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างก็ตาม แต่หากนายจ้างนั้นกำหนดข้อบังคับให้จ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างอันมีผลให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวงดังกล่าวก็กระทำได้ ข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ที่กำหนดให้จ่ายค่าชดเชยแก่พนักงานจึงมีผลบังคับใช้
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2551 จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งโจทก์ว่าโจทก์ไม่ได้ค่าชดเชยหากโจทก์ตกลงรับข้อเสนอให้มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 ทราบ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 โจทก์ลงลายมือชื่อในสัญญาจ้าง ซึ่งข้อ 2.1 ระบุว่าลูกจ้าง (โจทก์) จะไม่ได้รับค่าชดเชย แสดงว่าโจทก์สมัครใจทำสัญญาจ้างกับจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับค่าชดเชย อันเป็นการไม่ใช้บทบัญญัติ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 หมวด 11 ค่าชดเชย ตั้งแต่มาตรา 118 ถึงมาตรา 122 ทั้งนี้โจทก์ยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ (3) โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงสามารถตกลงกันว่าจำเลยที่ 1 จะไม่จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ได้ สัญญาจ้างในส่วนค่าชดเชยชอบด้วยกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว
จำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ
แม้กฎกระทรวง (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ (3) ระบุว่ามิให้ใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 หมวด 11 ค่าชดเชย ตั้งแต่มาตรา 118 ถึงมาตรา 122 บังคับแก่นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ซึ่งหมายความว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างก็ตาม แต่หากนายจ้างนั้นกำหนดข้อบังคับให้จ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างอันมีผลให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวงดังกล่าวก็กระทำได้ ข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ที่กำหนดให้จ่ายค่าชดเชยแก่พนักงานจึงมีผลบังคับใช้
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2551 จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งโจทก์ว่าโจทก์ไม่ได้ค่าชดเชยหากโจทก์ตกลงรับข้อเสนอให้มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 ทราบ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 โจทก์ลงลายมือชื่อในสัญญาจ้าง ซึ่งข้อ 2.1 ระบุว่าลูกจ้าง (โจทก์) จะไม่ได้รับค่าชดเชย แสดงว่าโจทก์สมัครใจทำสัญญาจ้างกับจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับค่าชดเชย อันเป็นการไม่ใช้บทบัญญัติ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 หมวด 11 ค่าชดเชย ตั้งแต่มาตรา 118 ถึงมาตรา 122 ทั้งนี้โจทก์ยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ (3) โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงสามารถตกลงกันว่าจำเลยที่ 1 จะไม่จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ได้ สัญญาจ้างในส่วนค่าชดเชยชอบด้วยกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18406-18412/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาจ้างครูเอกชน ค่าชดเชย, ค่าตอบแทน, ค่าที่พัก และข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
การคุ้มครองแรงงานเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับครูใหญ่และครูสำหรับนายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนนั้น พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 4 และมาตรา 6 ประกอบกฎกระทรวง (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 กำหนดไว้ว่ามิให้ใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 บังคับแก่นายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับครูใหญ่และครู ดังนั้นการคุ้มครองแรงงานของครูของนายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนจึงอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน ซึ่งขณะเกิดเหตุพิพาทคดีนี้คือ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 ตามบทกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนดังกล่าวได้กำหนดการคุ้มครองแรงงานในส่วนที่เกี่ยวกับครูไว้ในมาตรา 86 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า กิจการของโรงเรียนในระบบเฉพาะในส่วนของผู้อำนวยการ ครูและบุคลากรทางการศึกษาไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมและกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่ผู้อำนวยการ ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและวรรคสองบัญญัติว่า การคุ้มครองการทำงาน การจัดให้มีคณะกรรมการคุ้มครองการทำงานและประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำของผู้อำนวยการครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนในระบบ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดและขณะเกิดเหตุพิพาทคดีนี้ คณะกรรมการดังกล่าวซึ่งหมายถึงคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนยังมิได้ ออกระเบียบดังกล่าวมาใช้บังคับ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 จึงกำหนดรับรองไว้ในบทเฉพาะกาล มาตรา 166 ว่า ในระหว่างที่ยังมิได้ออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศเพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.นี้ให้นำกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศที่ออกตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 มาใช้บังคับโดยอนุโลม เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ. นี้ ระเบียบดังกล่าวที่ว่าคือ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 จำเลยที่ 1 เป็นโรงเรียนนานาชาติตามความหมายของโรงเรียนนานาชาติที่ถือเป็นโรงเรียนในระบบประเภทหนึ่งตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เรื่อง กำหนดประเภทและระดับของโรงเรียนในระบบที่ออกตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 17 และถือเป็นโรงเรียนในระบบตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 4 ดังนั้น กิจการในโรงเรียนของจำเลยที่ 1 และการคุ้มครองการทำงานของโจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นครูจึงอยู่ภายใต้บังคับตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 86 มาตรา 166 ประกอบระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 การคุ้มครองแรงงานเกี่ยวกับค่าชดเชยจึงเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 หมวด 4 การเลิกสัญญาการเป็นครูและค่าชดเชย เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 86 วรรคหนึ่ง เมื่อระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 กำหนดให้การคุ้มครองการทำงานเกี่ยวกับค่าชดเชยตามข้อ 35 (2) ว่า ลูกจ้างที่เป็นครูชาวต่างประเทศที่ออกเพราะเหตุที่ครบกำหนดตามสัญญาจ้างจะไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย ซึ่งแตกต่างกับการคุ้มครองแรงงานเกี่ยวกับค่าชดเชยสำหรับลูกจ้างทั่วไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แสดงว่าระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 ให้ประโยชน์ตอบแทนน้อยกว่า พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 อันเป็นการไม่สอดคล้องกับ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 86 วรรคหนึ่ง ระเบียบดังกล่าวเกี่ยวกับค่าชดเชยในส่วนนี้จึงใช้บังคับไม่ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองทำสัญญาจ้างโจทก์ทั้งเจ็ดเข้าทำงานเป็นครูสอนหนังสือ โดยทำสัญญาจ้างเป็นรายปีการศึกษาและโจทก์ทั้งเจ็ดออกจากการเป็นครูเพราะเหตุครบกำหนดตามสัญญาจ้างเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2552 ถือเป็นการถูกจำเลยทั้งสองเลิกสัญญาโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งเจ็ดกระทำผิดใดอันจะเข้าข้อยกเว้นที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยในเหตุข้ออื่นตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 ข้อ 35 โจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามข้อ 32 และข้อ 33 จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับใบอนุญาตและเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 24 เนื่องจาก พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนเอกชนในระบบมีฐานะเป็นผู้แทนของโรงเรียนและการดำเนินกิจการของโรงเรียนให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการให้มีคณะกรรมการบริหารเพื่อบริหารกิจการโรงเรียนโดยที่ไม่ได้กำหนดเรื่องความรับผิดของผู้รับใบอนุญาตไว้เป็นการเฉพาะต่างหาก ดังนั้นจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 820 เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 1 ในขอบอำนาจ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เมื่อค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 86 วรรคสองและมาตรา 166 ประกอบระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 ข้อ 4 ได้กำหนดความในคำนิยามว่า เป็นเงินที่จ่ายให้ครูเมื่อเลิกสัญญาการเป็นครู ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องจ่ายให้โจทก์ทั้งเจ็ดนับแต่วันเลิกสัญญาโจทก์ทั้งเจ็ดคือ นับแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2552 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่จ่ายนับแต่วันดังกล่าวถือว่าผิดนัด จึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยในต้นเงินค่าชดเชยของโจทก์แต่ละคนในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 86 วรรคสอง และมาตรา 166 ประกอบระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 ข้อ 13 วรรคหนึ่ง นับแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2552 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ส่วนที่โจทก์ทั้งเจ็ดขอเงินเพิ่มนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่จ่ายค่าชดเชยอ้างเหตุตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 ข้อ 8 วรรคหนึ่ง และข้อ 35 (2) ไม่ถือว่าจงใจไม่จ่ายค่าชดเชยโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่ม
เมื่อกิจการในโรงเรียนของจำเลยที่ 1 และการคุ้มครองการทำงานของโจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นครูของจำเลยที่ 1 อันเป็นกิจการที่เป็นนายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน อยู่ภายใต้บังคับตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 86 มาตรา 166 ประกอบระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 หมวด 2 เวลาทำการของครู ซึ่งแยกต่างหากจากการคุ้มครองแรงงานของนายจ้างซึ่งประกอบกิจการทั่วไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 โดยตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 ได้ให้คำนิยามของคำว่า "วันหยุด" ในข้อ 4 ว่า หมายความว่า วันที่กำหนดให้ครูหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี วันปิดภาคเรียน วันที่โรงเรียนสั่งให้หยุดหรือวันที่กำหนดให้หยุด และได้กำหนด ให้ความคุ้มครองไว้ในข้อ 15 ว่า ในปีการศึกษาหนึ่ง ครูมีวันหยุดทำงานดังนี้ (1) วันหยุดประจำสัปดาห์ตามที่ได้รับอนุญาต (2) วันหยุดภาคเรียน (3) วันหยุดตามประเพณี (4) วันหยุดตามประกาศหรือคำสั่งของทางราชการ และ (5) วันที่โรงเรียนสั่งให้หยุด ซึ่งการคุ้มครองเกี่ยวกับวันหยุดของลูกจ้างที่เป็นครูสำหรับนายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนจะมีสิทธิใดอันจะได้รับการคุ้มครองจึงต้องเป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 หมวด 2 เวลาทำการของครูเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 86 วรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าการคุ้มครองเกี่ยวกับวันหยุดตามระเบียบดังกล่าวมิได้กำหนด ให้สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่ครู ดังนั้นโจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีหรือได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเช่นแรงงานทั่วไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ที่โจทก์ทั้งเจ็ดอ้างว่าเป็นการได้รับประโยชน์ตอบแทนเกี่ยวกับการหยุดที่น้อยกว่ากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตามที่ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 86 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้นั้น หากเปรียบเทียบถึงการคุ้มครองเกี่ยวกับสิทธิในวันหยุดของโจทก์ทั้งเจ็ดกับการคุ้มครองแรงงานทั่วไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แล้ว ต่างก็มีสิทธิหยุดประจำสัปดาห์และหยุดตามประเพณีเช่นกัน ส่วนที่แตกต่างในสิทธิคือการที่แรงงานทั่วไปได้รับสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี แม้โจทก์ทั้งเจ็ดไม่มีสิทธิดังกล่าวซึ่งเป็นไปตามการคุ้มครองแรงงานสำหรับนายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนก็ตาม แต่ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 ก็กำหนด ให้ครูมีสิทธิหยุดในวันปิดภาคเรียน ซึ่งแรงงานทั่วไปไม่มีสิทธิดังกล่าว รวมทั้งให้สิทธิหยุดในวันที่โรงเรียนสั่งให้หยุดหรือในวันที่ราชการกำหนดให้หยุดอีกด้วย ดังที่ปรากฏว่าปีการศึกษา 2551 ถึง 2552 กิจการในโรงเรียนของจำเลยที่ 1 กำหนดให้โจทก์ทั้งเจ็ดทำงานในวันเปิดภาคเรียนหรือเรียกว่า Student Days จำนวนไม่เกิน 188 วัน และมีสิทธิหยุดในวันปิดภาคเรียนด้วย จึงมิได้เป็นการได้รับประโยชน์ตอบแทนเกี่ยวกับการหยุดที่น้อยกว่ากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตามที่ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 86 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้แต่อย่างใด
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยทั้งสองระหว่างปีการศึกษา 2550 ถึง 2551 และปีการศึกษา 2551 ถึง 2552 เรื่องการเติบโตในอาชีพ กำหนดทำนองว่า ลูกจ้างมีสิทธิได้รับผลประโยชน์ตอบแทนการเติบโตทางอาชีพ ปีละ 20,000 บาท และสะสมต่อได้ถึง 80,000 บาท ค่าตอบแทนสะสมจากปีก่อนจะต้องใช้ก่อนเริ่มต้นปีสุดท้ายของสัญญาและค่าตอบแทนปีสุดท้ายจะต้องใช้ภายในภาคการศึกษาแรกของปีสุดท้ายที่สัญญาจ้างสิ้นสุด เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดตกลงยินยอมลงชื่อต่ออายุสัญญาจ้างครั้งสุดท้ายระหว่างปลายเดือนพฤษภาคม 2551 ถึงต้นเดือนมิถุนายน 2552 โดยให้ใช้เงื่อนไขตามสัญญาจ้างข้างต้น โจทก์ทั้งเจ็ดชอบที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงการเบิกค่าตอบแทนพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพตามสัญญาจ้าง ทั้งไม่มีเหตุแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้ทำข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวเอาเปรียบโจทก์ทั้งเจ็ดเกินสมควรแต่อย่างใด ข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะทำให้จำเลยทั้งสองได้เปรียบโจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นลูกจ้างเกินสมควรถึงขนาดเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 5 ข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับ เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ได้ใช้สิทธิภายในกำหนดเวลาตามข้อตกลงในสัญญาจ้างดังกล่าว จึงย่อมสิ้นสิทธิและไม่มีสิทธิมาเรียกร้องเอาในค่าตอบแทนพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพแล้ว
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 รับทราบข้อตกลงตามสัญญาจ้างที่ทำกับจำเลยทั้งสองแต่แรกว่า จำเลยทั้งสองจะจ่ายค่าที่พักให้ถึงเดือนมิถุนายนของปีที่ยกเลิกสัญญาจ้างหรือถึงวันที่สัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วแต่ว่าอย่างไหนเกิดก่อน ซึ่งโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ยินยอมต่ออายุสัญญาจ้างกับจำเลยทั้งสองเรื่อยมาและไม่เคยโต้แย้งคัดค้านข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวมาก่อน ทั้งไม่มีเหตุแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้ทำข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวเอาเปรียบโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 เกินสมควรแต่อย่างใด ข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะทำให้จำเลยทั้งสองได้เปรียบโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นลูกจ้างเกินสมควรถึงขนาดเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 5 ข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับ เมื่อตามข้อตกลงในสัญญาจ้างดังกล่าวมีข้อตกลงให้สิทธิโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ได้รับค่าที่พักถึงเดือนมิถุนายนของปี 2552 ซึ่งเป็นปีที่ยกเลิกสัญญาจ้าง โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จึงไม่มีสิทธิได้รับและเรียกร้องเอาค่าที่พักเดือนกรกฎาคม 2552
เมื่อกิจการในโรงเรียนของจำเลยที่ 1 และการคุ้มครองการทำงานของโจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นครูของจำเลยที่ 1 อันเป็นกิจการที่เป็นนายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน อยู่ภายใต้บังคับตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 86 มาตรา 166 ประกอบระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 หมวด 2 เวลาทำการของครู ซึ่งแยกต่างหากจากการคุ้มครองแรงงานของนายจ้างซึ่งประกอบกิจการทั่วไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 โดยตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 ได้ให้คำนิยามของคำว่า "วันหยุด" ในข้อ 4 ว่า หมายความว่า วันที่กำหนดให้ครูหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี วันปิดภาคเรียน วันที่โรงเรียนสั่งให้หยุดหรือวันที่กำหนดให้หยุด และได้กำหนด ให้ความคุ้มครองไว้ในข้อ 15 ว่า ในปีการศึกษาหนึ่ง ครูมีวันหยุดทำงานดังนี้ (1) วันหยุดประจำสัปดาห์ตามที่ได้รับอนุญาต (2) วันหยุดภาคเรียน (3) วันหยุดตามประเพณี (4) วันหยุดตามประกาศหรือคำสั่งของทางราชการ และ (5) วันที่โรงเรียนสั่งให้หยุด ซึ่งการคุ้มครองเกี่ยวกับวันหยุดของลูกจ้างที่เป็นครูสำหรับนายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนจะมีสิทธิใดอันจะได้รับการคุ้มครองจึงต้องเป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 หมวด 2 เวลาทำการของครูเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 86 วรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าการคุ้มครองเกี่ยวกับวันหยุดตามระเบียบดังกล่าวมิได้กำหนด ให้สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่ครู ดังนั้นโจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีหรือได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเช่นแรงงานทั่วไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ที่โจทก์ทั้งเจ็ดอ้างว่าเป็นการได้รับประโยชน์ตอบแทนเกี่ยวกับการหยุดที่น้อยกว่ากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตามที่ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 86 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้นั้น หากเปรียบเทียบถึงการคุ้มครองเกี่ยวกับสิทธิในวันหยุดของโจทก์ทั้งเจ็ดกับการคุ้มครองแรงงานทั่วไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แล้ว ต่างก็มีสิทธิหยุดประจำสัปดาห์และหยุดตามประเพณีเช่นกัน ส่วนที่แตกต่างในสิทธิคือการที่แรงงานทั่วไปได้รับสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี แม้โจทก์ทั้งเจ็ดไม่มีสิทธิดังกล่าวซึ่งเป็นไปตามการคุ้มครองแรงงานสำหรับนายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนก็ตาม แต่ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2542 ก็กำหนด ให้ครูมีสิทธิหยุดในวันปิดภาคเรียน ซึ่งแรงงานทั่วไปไม่มีสิทธิดังกล่าว รวมทั้งให้สิทธิหยุดในวันที่โรงเรียนสั่งให้หยุดหรือในวันที่ราชการกำหนดให้หยุดอีกด้วย ดังที่ปรากฏว่าปีการศึกษา 2551 ถึง 2552 กิจการในโรงเรียนของจำเลยที่ 1 กำหนดให้โจทก์ทั้งเจ็ดทำงานในวันเปิดภาคเรียนหรือเรียกว่า Student Days จำนวนไม่เกิน 188 วัน และมีสิทธิหยุดในวันปิดภาคเรียนด้วย จึงมิได้เป็นการได้รับประโยชน์ตอบแทนเกี่ยวกับการหยุดที่น้อยกว่ากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตามที่ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 มาตรา 86 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้แต่อย่างใด
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยทั้งสองระหว่างปีการศึกษา 2550 ถึง 2551 และปีการศึกษา 2551 ถึง 2552 เรื่องการเติบโตในอาชีพ กำหนดทำนองว่า ลูกจ้างมีสิทธิได้รับผลประโยชน์ตอบแทนการเติบโตทางอาชีพ ปีละ 20,000 บาท และสะสมต่อได้ถึง 80,000 บาท ค่าตอบแทนสะสมจากปีก่อนจะต้องใช้ก่อนเริ่มต้นปีสุดท้ายของสัญญาและค่าตอบแทนปีสุดท้ายจะต้องใช้ภายในภาคการศึกษาแรกของปีสุดท้ายที่สัญญาจ้างสิ้นสุด เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดตกลงยินยอมลงชื่อต่ออายุสัญญาจ้างครั้งสุดท้ายระหว่างปลายเดือนพฤษภาคม 2551 ถึงต้นเดือนมิถุนายน 2552 โดยให้ใช้เงื่อนไขตามสัญญาจ้างข้างต้น โจทก์ทั้งเจ็ดชอบที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงการเบิกค่าตอบแทนพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพตามสัญญาจ้าง ทั้งไม่มีเหตุแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้ทำข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวเอาเปรียบโจทก์ทั้งเจ็ดเกินสมควรแต่อย่างใด ข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะทำให้จำเลยทั้งสองได้เปรียบโจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นลูกจ้างเกินสมควรถึงขนาดเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 5 ข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับ เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ได้ใช้สิทธิภายในกำหนดเวลาตามข้อตกลงในสัญญาจ้างดังกล่าว จึงย่อมสิ้นสิทธิและไม่มีสิทธิมาเรียกร้องเอาในค่าตอบแทนพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพแล้ว
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 รับทราบข้อตกลงตามสัญญาจ้างที่ทำกับจำเลยทั้งสองแต่แรกว่า จำเลยทั้งสองจะจ่ายค่าที่พักให้ถึงเดือนมิถุนายนของปีที่ยกเลิกสัญญาจ้างหรือถึงวันที่สัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วแต่ว่าอย่างไหนเกิดก่อน ซึ่งโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ยินยอมต่ออายุสัญญาจ้างกับจำเลยทั้งสองเรื่อยมาและไม่เคยโต้แย้งคัดค้านข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวมาก่อน ทั้งไม่มีเหตุแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้ทำข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวเอาเปรียบโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 เกินสมควรแต่อย่างใด ข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะทำให้จำเลยทั้งสองได้เปรียบโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นลูกจ้างเกินสมควรถึงขนาดเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 5 ข้อตกลงตามสัญญาจ้างดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับ เมื่อตามข้อตกลงในสัญญาจ้างดังกล่าวมีข้อตกลงให้สิทธิโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ได้รับค่าที่พักถึงเดือนมิถุนายนของปี 2552 ซึ่งเป็นปีที่ยกเลิกสัญญาจ้าง โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จึงไม่มีสิทธิได้รับและเรียกร้องเอาค่าที่พักเดือนกรกฎาคม 2552
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13530/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันในสัญญาจ้างงานตามประกาศกระทรวงแรงงาน แม้ทำสัญญาค้ำก่อนประกาศมีผล
ตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง พ.ศ.2551 ที่ออกโดยอาศัยมาตรา 6 และมาตรา 10 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2551 ในข้อ 10 กำหนดไว้ว่า ในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันโดยการค้ำประกันด้วยบุคคล วงเงินค้ำประกันที่นายจ้างเรียกให้ผู้ค้ำประกันรับผิดต้องไม่เกินหกสิบเท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับ แม้ประกาศดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 ภายหลังจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ก็ตาม แต่ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันจะเกิดขึ้นต่อเมื่อจำเลยที่ 1 กระทำความเสียหายแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์ของโจทก์ไปประมาณต้นปี 2552 และโจทก์ทราบการกระทำของจำเลยที่ 1 ประมาณต้นเดือนมีนาคม 2552 กรณีความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันย่อมเกิดหลังจากประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว จึงต้องใช้ประกาศดังกล่าวอันเป็นกฎหมายที่มีผลในขณะนั้นใช้บังคับ แม้ตามข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อต้องรับผิดตามประกาศดังกล่าวไม่เกินกว่าหกสิบเท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่จำเลยที่ 1 ได้รับ ส่วนที่ต้องรับผิดตามข้อตกลงเกินกว่านั้นถือว่าขัดต่อประกาศดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลให้ข้อตกลงในส่วนที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดเสียเปล่าไป จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์หกสิบเท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่จำเลยที่ 1 ได้รับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215-2234/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทค่าชดเชยครูเอกชน: ศาลพิจารณาเหตุผลการจ่ายเงินอุดหนุนเกินจริง และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
แม้ตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนฯ หมวด 7 จะมีการกำหนดให้การคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโดยมีคณะกรรมการคุ้มครองการทำงานเป็นผู้ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ไม่ใช่ขั้นตอนการระงับข้อพิพาทระหว่างครูใหญ่หรือครูกับผู้รับใบอนุญาตหรือผู้จัดการตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคสอง เมื่อโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 19 ถูกจำเลยเลิกจ้าง โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 19 จึงมีอำนาจนำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงานภาค 8 ได้โดยไม่จำต้องเสนอข้อขัดแย้งให้คณะกรรมการคุ้มครองการทำงานวินิจฉัยชี้ขาดตามขั้นตอนใน พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนฯ ก่อน โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 19 จึงมีอำนาจฟ้อง
โรงเรียนของจำเลยได้รับเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียน (เพิ่มเติม) จากงบประมาณสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนเพื่อปรับเงินเดือนให้ครู วันที่ 18 สิงหาคม 2548 จำเลยนำเงินอุดหนุนของเดือนเมษายน 2547 ถึงเดือนพฤษภาคม 2548 เข้าบัญชีโจทก์คนละ 12,222 บาท แล้วถอนเงินออกจากบัญชีโจทก์คนละ 5,515.51 บาท ในวันเดียวกันโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทั้งยี่สิบทราบวันที่ 30 สิงหาคม 2548 โจทก์ทั้งยี่สิบจึงไปร้องทุกข์ให้สอบสวนหาข้อเท็จจริง ดังนี้ การที่โจทก์ทั้งยี่สิบร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ถอนเงินออกจากบัญชีของโจทก์ทั้งยี่สิบโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทั้งยี่สิบทราบตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2548 ถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2548 ที่โจทก์ทั้งยี่สิบร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้สอบสวนหาข้อเท็จจริงเป็นเวลาถึง 12 วัน จำเลยมีเวลาพอที่จะชี้แจงเหตุผลที่ถอนเงินออกจากบัญชีโจทก์ทั้งยี่สิบได้แต่ก็ไม่กระทำ การที่โจทก์ทั้งยี่สิบร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเกิดจากความบกพร่องของจำเลย และมีเหตุสมควรที่โจทก์ทั้งยี่สิบจะติดตามหาสาเหตุที่เงินในบัญชีของตนถูกถอนไป ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งยี่สิบจงใจทำให้ผู้รับใบอนุญาต (จำเลย) ได้รับความเสียหายและทำให้โรงเรียนของจำเลยเสื่อมเสียชื่อเสียงตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ ข้อ 34 (2) (5) ประกอบระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยจรรยา มรรยาท วินัย และหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการ ครูใหญ่ หรือครูโรงเรียนเอกชนฯ ข้อ 6 (5) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบด้วยเหตุนี้ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งยี่สิบ
เมื่อจำเลยจ่ายเงินเพิ่มตามวุฒิเข้าบัญชีโจทก์ทั้งยี่สิบโดยใช้ฐานการคำนวณจากอัตราเดือนละ 900 บาท เป็นเงินคนละ 12,222 บาท แต่จำเลยได้รับเงินอุดหนุนจากสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนไม่ถึงอัตราเงินเพิ่มตามวุฒิ อีกทั้งจำเลยไม่ผูกพันต้องจ่ายเงินเพิ่มตามวุฒิในอัตราเดือนละ 900 บาท แก่โจทก์ทั้งยี่สิบ จำเลยชอบที่จะจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่โจทก์ทั้งยี่สิบตามสัดส่วนของเงินที่ได้รับ การที่จำเลยจ่ายเงินอุดหนุนให้โจทก์ทั้งยี่สิบเกินส่วนที่ได้รับโดยนำเงินของจำเลยสมทบเพิ่มไปด้วยจึงเป็นการจ่ายโดยผิดหลง จำเลยจึงชอบที่จะติดตามเอาเงินของจำเลยที่จ่ายสมทบเพิ่มคืน จำเลยชี้แจงเหตุผลแก่โจทก์ทั้งยี่สิบและครูทั้งโรงเรียนแล้วเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2548 และวันที่ 2 กันยายน 2548 ว่าจำเลยได้รับเงินอุดหนุนมาไม่พอ การที่โจทก์ทั้งยี่สิบยังคงยืนยันร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่าจำเลยลักทรัพย์และยืนยันให้ดำเนินคดีแก่จำเลย แสดงว่าโจทก์ทั้งยี่สิบเป็นบุคคลไม่ยอมรับฟังเหตุผลและความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่เหมาะสมแก่การเป็นครู (อาจารย์) ผู้สั่งสอนถ่ายทอดความรู้และจริยธรรมให้แก่นักเรียนผู้เป็นศิษย์ประกอบกับไม่ปรากฏว่าจำเลยกลั่นแกล้งเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบโดยมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
กฎกระทรวง (พ.ศ.2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 4 วรรคสอง และมาตรา 6 กำหนดไว้ในข้อ (1) มิให้ใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ บังคับแก่นายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับครูใหญ่และครู จำเลยเป็นนายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชน โจทก์ทั้งยี่สิบเป็นครู (อาจารย์) จึงไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ที่ศาลแรงงานภาค 8 พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งยี่สิบตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 จึงไม่ถูกต้อง ค่าชดเชยที่จำเลยต้องรับผิดจ่ายแก่โจทก์ทั้งยี่สิบต้องบังคับตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ
โรงเรียนของจำเลยได้รับเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียน (เพิ่มเติม) จากงบประมาณสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนเพื่อปรับเงินเดือนให้ครู วันที่ 18 สิงหาคม 2548 จำเลยนำเงินอุดหนุนของเดือนเมษายน 2547 ถึงเดือนพฤษภาคม 2548 เข้าบัญชีโจทก์คนละ 12,222 บาท แล้วถอนเงินออกจากบัญชีโจทก์คนละ 5,515.51 บาท ในวันเดียวกันโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทั้งยี่สิบทราบวันที่ 30 สิงหาคม 2548 โจทก์ทั้งยี่สิบจึงไปร้องทุกข์ให้สอบสวนหาข้อเท็จจริง ดังนี้ การที่โจทก์ทั้งยี่สิบร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ถอนเงินออกจากบัญชีของโจทก์ทั้งยี่สิบโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทั้งยี่สิบทราบตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2548 ถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2548 ที่โจทก์ทั้งยี่สิบร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้สอบสวนหาข้อเท็จจริงเป็นเวลาถึง 12 วัน จำเลยมีเวลาพอที่จะชี้แจงเหตุผลที่ถอนเงินออกจากบัญชีโจทก์ทั้งยี่สิบได้แต่ก็ไม่กระทำ การที่โจทก์ทั้งยี่สิบร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเกิดจากความบกพร่องของจำเลย และมีเหตุสมควรที่โจทก์ทั้งยี่สิบจะติดตามหาสาเหตุที่เงินในบัญชีของตนถูกถอนไป ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งยี่สิบจงใจทำให้ผู้รับใบอนุญาต (จำเลย) ได้รับความเสียหายและทำให้โรงเรียนของจำเลยเสื่อมเสียชื่อเสียงตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ ข้อ 34 (2) (5) ประกอบระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยจรรยา มรรยาท วินัย และหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการ ครูใหญ่ หรือครูโรงเรียนเอกชนฯ ข้อ 6 (5) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบด้วยเหตุนี้ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งยี่สิบ
เมื่อจำเลยจ่ายเงินเพิ่มตามวุฒิเข้าบัญชีโจทก์ทั้งยี่สิบโดยใช้ฐานการคำนวณจากอัตราเดือนละ 900 บาท เป็นเงินคนละ 12,222 บาท แต่จำเลยได้รับเงินอุดหนุนจากสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนไม่ถึงอัตราเงินเพิ่มตามวุฒิ อีกทั้งจำเลยไม่ผูกพันต้องจ่ายเงินเพิ่มตามวุฒิในอัตราเดือนละ 900 บาท แก่โจทก์ทั้งยี่สิบ จำเลยชอบที่จะจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่โจทก์ทั้งยี่สิบตามสัดส่วนของเงินที่ได้รับ การที่จำเลยจ่ายเงินอุดหนุนให้โจทก์ทั้งยี่สิบเกินส่วนที่ได้รับโดยนำเงินของจำเลยสมทบเพิ่มไปด้วยจึงเป็นการจ่ายโดยผิดหลง จำเลยจึงชอบที่จะติดตามเอาเงินของจำเลยที่จ่ายสมทบเพิ่มคืน จำเลยชี้แจงเหตุผลแก่โจทก์ทั้งยี่สิบและครูทั้งโรงเรียนแล้วเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2548 และวันที่ 2 กันยายน 2548 ว่าจำเลยได้รับเงินอุดหนุนมาไม่พอ การที่โจทก์ทั้งยี่สิบยังคงยืนยันร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่าจำเลยลักทรัพย์และยืนยันให้ดำเนินคดีแก่จำเลย แสดงว่าโจทก์ทั้งยี่สิบเป็นบุคคลไม่ยอมรับฟังเหตุผลและความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่เหมาะสมแก่การเป็นครู (อาจารย์) ผู้สั่งสอนถ่ายทอดความรู้และจริยธรรมให้แก่นักเรียนผู้เป็นศิษย์ประกอบกับไม่ปรากฏว่าจำเลยกลั่นแกล้งเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบโดยมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
กฎกระทรวง (พ.ศ.2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 4 วรรคสอง และมาตรา 6 กำหนดไว้ในข้อ (1) มิให้ใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ บังคับแก่นายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับครูใหญ่และครู จำเลยเป็นนายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชน โจทก์ทั้งยี่สิบเป็นครู (อาจารย์) จึงไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ที่ศาลแรงงานภาค 8 พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งยี่สิบตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 จึงไม่ถูกต้อง ค่าชดเชยที่จำเลยต้องรับผิดจ่ายแก่โจทก์ทั้งยี่สิบต้องบังคับตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8242-8246/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลาเป็นสินจ้างตามกฎหมาย และศาลแรงงานมีอำนาจค้นหาความจริงได้เอง
โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ฟ้องเรียกค่าล่วงเวลาตามสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 นิยามคำว่า "ค่าจ้าง" หมายความว่า เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ... และคำว่า "ค่าล่วงเวลา" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน แม้ค่าล่วงเวลาจะไม่ใช่ค่าจ้างตามความหมายดังกล่าว เพราะไม่ใช่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานปกติของวันทำงาน แต่ก็เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายตอบแทนการทำงานนอกเวลาปกติ ซึ่งนายจ้างผูกพันต้องจ่ายแก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ถือว่าเป็นสินจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 ค่าล่วงเวลาจึงเป็นสินจ้างอย่างหนึ่งตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) ซึ่งมีอายุความฟ้องร้อง 2 ปี
ส่วนที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 อุทธรณ์ว่า แม้คำให้การของจำเลยจะอ้างอายุความตามมา แต่จำเลยจะต้องสืบพยานประกอบคำให้การดังกล่าวด้วยตาม ป.วิ.พ. นั้น เห็นว่า การพิจารณาคดีแรงงานต้องบังคับตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ซึ่งการดำเนินคดีแรงงานแตกต่างจากการดำเนินคดีแพ่งทั่วไป โดยการดำเนินคดีตามพระราชบัญญัตินี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของระบบไต่สวน ซึ่งให้อำนาจศาลในการค้นหาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 45 ว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีให้ศาลแรงงานมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร ไม่มีบทบัญญัติให้ต้องสืบประกอบดังกล่าว ทั้งตามคำฟ้องและคำให้การปรากฏข้อเท็จจริงได้ความแจ้งชัดพอวินิจฉัยได้แล้ว มิได้นำข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาวินิจฉัยแต่อย่างใด อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฟังไม่ขึ้น
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ 1 "งานขนส่งทางบก" หมายความว่า การลำเลียงหรือเคลื่อนย้ายบุคคล สัตว์ หรือสิ่งของด้วยยานพาหนะขนส่งทางบกซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการเคลื่อนย้ายบุคคลหรือสัตว์ที่เจ็บป่วย และการขนส่งในงานดับเพลิงหรืองานบรรเทาสาธารณภัย โจทก์ทั้งห้าเป็นลูกจ้างจำเลยในตำแหน่งพนักงานขับรถให้ผู้บริหารของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งห้า ไม่ใช่การขับรถส่งหรือลำเลียงบุคคลทั่วไป ลักษณะงานของโจทก์ทั้งห้าจึงไม่ใช่งานขนส่งทางบกตามกฎกระทรวงดังกล่าว
ส่วนที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 อุทธรณ์ว่า แม้คำให้การของจำเลยจะอ้างอายุความตามมา แต่จำเลยจะต้องสืบพยานประกอบคำให้การดังกล่าวด้วยตาม ป.วิ.พ. นั้น เห็นว่า การพิจารณาคดีแรงงานต้องบังคับตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ซึ่งการดำเนินคดีแรงงานแตกต่างจากการดำเนินคดีแพ่งทั่วไป โดยการดำเนินคดีตามพระราชบัญญัตินี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของระบบไต่สวน ซึ่งให้อำนาจศาลในการค้นหาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 45 ว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีให้ศาลแรงงานมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร ไม่มีบทบัญญัติให้ต้องสืบประกอบดังกล่าว ทั้งตามคำฟ้องและคำให้การปรากฏข้อเท็จจริงได้ความแจ้งชัดพอวินิจฉัยได้แล้ว มิได้นำข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาวินิจฉัยแต่อย่างใด อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฟังไม่ขึ้น
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ 1 "งานขนส่งทางบก" หมายความว่า การลำเลียงหรือเคลื่อนย้ายบุคคล สัตว์ หรือสิ่งของด้วยยานพาหนะขนส่งทางบกซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการเคลื่อนย้ายบุคคลหรือสัตว์ที่เจ็บป่วย และการขนส่งในงานดับเพลิงหรืองานบรรเทาสาธารณภัย โจทก์ทั้งห้าเป็นลูกจ้างจำเลยในตำแหน่งพนักงานขับรถให้ผู้บริหารของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งห้า ไม่ใช่การขับรถส่งหรือลำเลียงบุคคลทั่วไป ลักษณะงานของโจทก์ทั้งห้าจึงไม่ใช่งานขนส่งทางบกตามกฎกระทรวงดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12115-12180/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลา: งานผลิตสารเคมีอันตรายต้องมีความเสี่ยงสูงและสัมผัสสารเคมีเป็นเวลานาน จึงจะเข้าข่ายต้องจ่ายค่าล่วงเวลา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2541) โดยอาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 6 และ 23 วรรคหนึ่ง เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างซึ่งทำงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างไม่ให้ทำงานเช่นว่านั้นเป็นระยะเวลานานเกินสมควร การกำหนดให้งานผลิตสารเคมีอันตรายเป็นงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตามกฎกระทรวงดังกล่าวก็เพื่อคุ้มครองลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีไม่ให้ได้รับหรือสัมผัสกับสารเคมีเป็นระยะเวลานานเกินสมควร งานผลิตสารเคมีอันตรายจึงหมายความรวมถึงงานที่ใช้สารเคมีอันตรายเป็นวัตถุดิบในการผลิตด้วย แต่ทั้งนี้โดยสภาพของงานต้องมีความเสี่ยงอันตรายสูงหรือมีภาวะแวดล้อมในการทำงานเกินมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 103 ซึ่งไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขที่แหล่งกำเนิดได้ และต้องจัดให้มีการป้องกันที่ตัวบุคคล แต่ปัจจุบันยังไม่มีกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 103 ใช้บังคับ จึงต้องใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) ซึ่งออกโดยอำนาจตามความในข้อ 2 (7) แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 บังคับ ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 166
จำเลยให้โจทก์ทำงานเกี่ยวกับการผลิตสินค้าที่ต้องใช้สารเคมีอันตรายเป็นวัตถุดิบ แต่การผลิตเป็นระบบปิด โจทก์ไม่ได้สัมผัสกับสารเคมีอันตรายเป็นเวลานาน จึงมิใช่กรณีที่โดยสภาพของงานมีความเสี่ยงอันตรายสูง ทั้งการตรวจวัดภาวะแวดล้อมในการทำงานก็ปรากฏว่าเสียง แสงสว่าง ความร้อน ปริมาณความเข้มของฝุ่นปนเปื้อนและสารเคมีในสถานประกอบกิจการของจำเลยไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดในประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว และจำเลยได้จัดให้ลูกจ้างสวมอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลแล้ว งานที่โจทก์ทำจึงมิใช่งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 23 โจทก์ทำงานไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
จำเลยให้โจทก์ทำงานเกี่ยวกับการผลิตสินค้าที่ต้องใช้สารเคมีอันตรายเป็นวัตถุดิบ แต่การผลิตเป็นระบบปิด โจทก์ไม่ได้สัมผัสกับสารเคมีอันตรายเป็นเวลานาน จึงมิใช่กรณีที่โดยสภาพของงานมีความเสี่ยงอันตรายสูง ทั้งการตรวจวัดภาวะแวดล้อมในการทำงานก็ปรากฏว่าเสียง แสงสว่าง ความร้อน ปริมาณความเข้มของฝุ่นปนเปื้อนและสารเคมีในสถานประกอบกิจการของจำเลยไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดในประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว และจำเลยได้จัดให้ลูกจ้างสวมอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลแล้ว งานที่โจทก์ทำจึงมิใช่งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 23 โจทก์ทำงานไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12115-12180/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลา: งานใช้สารเคมีอันตรายต้องมีความเสี่ยงสูงและสัมผัสสารเคมีจริง จึงจะเข้าข่ายต้องจ่ายค่าล่วงเวลา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 2ฯ โดยอาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 6 และ 23 วรรคหนึ่ง เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้าง ซึ่งทำงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างไม่ให้ทำงานเช่นว่านั้นเป็นระยะเวลานานเกินสมควร การกำหนดให้งานผลิตสารเคมีอันตรายเป็นงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตามกฎกระทรวงดังกล่าว ก็เพื่อคุ้มครองลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีไม่ให้ได้รับหรือสัมผัสกับสารเคมีเป็นระยะเวลานานเกินสมควร งานผลิตสารเคมีอันตรายจึงหมายความรวมถึงงานที่ใช้สารเคมีอันตรายเป็นวัตถุดิบในการผลิตด้วย แต่ทั้งนี้โดยสภาพของงานต้องมีความเสี่ยงอันตรายสูงหรือมีภาวะแวดล้อมในการทำงานเกินมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 103 ซึ่งไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขที่แหล่งกำเนิดได้ และต้องจัดให้มีการป้องกันที่ตัวบุคคล แต่ปัจจุบันยังไม่มีกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 103 ใช้บังคับ จึงต้องใช้ประกาศกระทรางมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) ซึ่งออกโดยอำนาจตามความในข้อ 2 (7) แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 บังคับ ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 166
จำเลยให้โจทก์ทำงานเกี่ยวกับการผลิตสินค้าที่ต้องใช้สารเคมีอันตรายเป็นวัตถุดิบแต่การผลิตเป็นระบบปิด โจทก์ไม่ได้สัมผัสกับสารเคมีอันตรายเป็นเวลานาน จึงมิใช่กรณีที่โดยสภาพของงานมีความเสี่ยงอันตรายสูง ทั้งการตรวจวัดภาวะแวดล้อมในการทำงานก็ปรากฏว่าเสียง แสงสว่าง ความร้อน ปริมาณความเข้มของฝุ่นปนเปื้อนและสารเคมีในสถานประกอบกิจการของจำเลยไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดในประกาศกระทรางมหาดไทยดังกล่าว และจำเลยได้จัดให้ลูกจ้างสวมอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลแล้ว งานที่โจทก์ทำจึงมิใช่งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 23 โจทก์ทำงานไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
จำเลยให้โจทก์ทำงานเกี่ยวกับการผลิตสินค้าที่ต้องใช้สารเคมีอันตรายเป็นวัตถุดิบแต่การผลิตเป็นระบบปิด โจทก์ไม่ได้สัมผัสกับสารเคมีอันตรายเป็นเวลานาน จึงมิใช่กรณีที่โดยสภาพของงานมีความเสี่ยงอันตรายสูง ทั้งการตรวจวัดภาวะแวดล้อมในการทำงานก็ปรากฏว่าเสียง แสงสว่าง ความร้อน ปริมาณความเข้มของฝุ่นปนเปื้อนและสารเคมีในสถานประกอบกิจการของจำเลยไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดในประกาศกระทรางมหาดไทยดังกล่าว และจำเลยได้จัดให้ลูกจ้างสวมอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลแล้ว งานที่โจทก์ทำจึงมิใช่งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 23 โจทก์ทำงานไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6157/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเก็บเงินประกันการทำงาน: ผู้จัดการอาคารชุดมีหน้าที่ควบคุมเงิน ถือเป็นงานที่นายจ้างเก็บเงินประกันได้
อุทธรณ์ของโจทก์ที่อ้างว่างานที่โจทก์ทำไม่เข้าลักษณะงานตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง ซึ่งออกตามมาตรา 6 และมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินประกัน การทำงานที่เก็บไปให้แก่โจทก์นั้น แม้มิใช่ข้อที่ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง แต่เป็นการอุทธรณ์เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ที่นายจ้างจะเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายจากการทำงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์มีสิทธิยกขึ้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
โจทก์มิใช่พนักงานการเงิน แต่โจทก์เป็นผู้จัดการอาคารชุด มีสิทธิรับเงินจากลูกค้าและออกใบเสร็จรับเงิน ในนามตนเอง ควบคุมกำกับดูแลการจัดเก็บเงินและค่าใช้จ่ายต่างๆ ควบคุมการนำส่งทางการเงินและบัญชี ควบคุมพนักงานการเงินให้จัดเก็บเงินให้ถูกต้องตามความเป็นจริง และมีอำนาจตรวจสอบความถูกต้องทางการเงินด้วย โจทก์จึงเป็นผู้มีหน้าที่ควบคุมเงินของนายจ้างอันเป็นงานตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 ข้อ 4 (6) นายจ้างเรียกเก็บเงินประกันการทำงานจากโจทก์ได้
โจทก์มิใช่พนักงานการเงิน แต่โจทก์เป็นผู้จัดการอาคารชุด มีสิทธิรับเงินจากลูกค้าและออกใบเสร็จรับเงิน ในนามตนเอง ควบคุมกำกับดูแลการจัดเก็บเงินและค่าใช้จ่ายต่างๆ ควบคุมการนำส่งทางการเงินและบัญชี ควบคุมพนักงานการเงินให้จัดเก็บเงินให้ถูกต้องตามความเป็นจริง และมีอำนาจตรวจสอบความถูกต้องทางการเงินด้วย โจทก์จึงเป็นผู้มีหน้าที่ควบคุมเงินของนายจ้างอันเป็นงานตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 ข้อ 4 (6) นายจ้างเรียกเก็บเงินประกันการทำงานจากโจทก์ได้