คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ม. 20

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาด้วยวาจา ต้องได้ความชัดเจนพอพิพากษา หากไม่ชัดต้องคืนคดีให้ผู้ว่าคดีดำเนินการต่อ
ศาลแขวงบันทึกคำฟ้องด้วยวาจาไว้ว่า จำเลยเข้าไปในเขตอาคารเก็บรักษาทรัพย์สินค้า ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264 ข้อหาเช่นนี้ย่อมหมายรวมทั้งตัวอาคารและเขตของอาคารด้วย ซึ่งไม่ชัดพอที่จะเป็นผิดฐานบุกรุกตามมาตราที่โจทก์ฟ้องได้และจำเลยก็ให้การว่าเข้าไปเดินอยู่ที่ถนนภายในเขตอาคารเก็บสินค้าเท่านั้น ซึ่งแสดงว่าไม่ได้รับเต็มตามข้อหา จึงเป็นเรื่องที่ศาลต้องสั่งคืนผู้ต้องหาไห้ผู้ว่าคดีรับไปดำเนินการต่อไปตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ. 2499

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจา ต้องมีข้อเท็จจริงชัดเจนเพียงพอต่อการพิพากษา หากไม่ชัดเจนต้องคืนคดีให้พนักงานสอบสวน
ศาลแขวงบันทึกคำฟ้องด้วยวาจาไว้ว่า จำเลยเข้าไปในเขตอาคารเก็บรักษาทรัพย์สินค้า ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264 ข้อหาเช่นนี้ย่อมหมายรวมทั้งตัวอาคารและเขตของอาคารด้วย ซึ่งไม่ชัดพอที่จะเป็นผิดฐานบุกรุกตามมาตราที่โจทก์ฟ้องได้และจำเลยก็ให้การว่าเข้าไปเดินอยู่ที่ถนนภายในเขตอาคารเก็บสินค้าเท่านั้น ซึ่งแสดงว่าไม่ได้รับเต็มตามข้อหา จึงเป็นเรื่องที่ศาลต้องสั่งคืนผู้ต้องหาให้ผู้ว่าคดีรับไปดำเนินการต่อไปตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ. 2499

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 195/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องด้วยวาจาต้องระบุข้อเท็จจริงครบถ้วนพอให้ศาลพิจารณาลงโทษได้ หากฟ้องด้วยวาจาอ้างหลักฐานบาดเจ็บสาหัส ศาลพิจารณาประกอบได้
ฟ้องด้วยวาจานั้น ผู้ว่าคดีต้องบรรยายข้อเท็จจริงให้ปรากฏครบถ้วนพอที่ศาลจะลงโทษตามบทกฎหมายที่ขอประกอบด้วยข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควร เท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงมาตรา 19 ด้วย และเป็นหน้าที่ของศาลต้องถามผู้ต้องหา ถ้าให้การรับสารภาพ ศาลจะบันทึกคำฟ้องให้ได้ใจความแห่งข้อหาเพื่อพิพากษาคดีต่อไป ถ้าคำฟ้องที่ศาลบันทึกไว้ไม่ปรากฏว่าที่บาดเจ็บรักษา 30 วันหายนั้นถึงสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 ข้อใด ศาลย่อมพิจารณาบันทึกคำฟ้องประกอบหลักฐานการฟ้องด้วยวาจาและรายงานชันสูตรบาดแผลท้ายฟ้องได้ เมื่อเห็นว่าปรากฏข้อเท็จจริงพอที่จะพิจารณาพิพากษาลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ได้ ก็พิพากษาลงโทษไปได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 195/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องด้วยวาจาต้องระบุข้อเท็จจริงชัดเจนพอให้ศาลพิจารณาลงโทษได้ หากฟ้องไม่ชัดเจนแต่มีหลักฐานอื่นประกอบก็ใช้ได้
ฟ้องด้วยวาจานั้น ผู้ว่าคดีต้องบรรยายข้อเท็จจริงให้ปรากฏครบถ้วนพอที่ศาลจะลงโทษตามบทกฎหมายที่ขอประกอบด้วยข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควร เท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและมาตราซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 19 ด้วย และเป็นหน้าที่ของศาลต้องถามผู้ต้องหาถ้าให้การ รับสารภาพ ศาลจะบันทึกคำฟ้องให้ได้ใจความแห่งข้อหาเพื่อพิพากษาคดีต่อไป ถ้าคำฟ้องที่ศาลบันทึกไว้ไม่ปรากฏว่าที่บาดเจ็บรักษา 30 วันหายนั้นถึงสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 ข้อใดศาลย่อมพิจารณาบันทึกคำฟ้องประกอบหลักฐานการฟ้องด้วยวาจาและรายงานชันสูตรบาดแผลท้ายฟ้องได้ เมื่อเห็นว่าปรากฏข้อเท็จจริงพอที่จะพิจารณาพิพากษาลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ได้ก็พิพากษาลงโทษไปได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 273/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามทำร้ายร่างกายต้องพิจารณาผลของการกระทำ หากไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ถือเป็นลหุโทษไม่ต้องรับโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเท่าซึ่งสวมรองเท้าเงื้อจะถีบผู้เสียหาย แต่ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่าถ้าจำเลยกระทำไปโดยตลอดแล้วจะเกิดผลอย่างไร ผลธรรมดาอันจะเกิดขึ้นเพราะการถีบจะทำให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจหรือไม่ ไม่อาจเล็งเห็นได้ หากจำเลยกระทำไปโดยตลอดแล้วผลที่เกิดไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจแล้ว ความผิดนั้นก็เป็นเพียงลหุโทษ ผู้พยายามกระทำความผิดลหุโทษไม่ต้องรับโทษ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยพยายามกระทำให้ผู้เสียหายเกิดอันตรายแก่กายแล้ว ก็ลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้
การใช้เท้าเงื้อจะถีบไม่เป็นอันตรายต่อจิตใจเพราะอันตรายต่อจิตใจนั้น ต้องเป็นผลจากการทำร้าย แต่ความรู้สึกว่าถูกเหยียดหยาม เจ็บใจ แค้นใจ เหล่านี้เป็นอารมย์ หาใช่เป็นอันตรายต่อจิตใจไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 273/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามทำร้ายร่างกาย: การประเมินอันตรายและการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยยกเท้าซึ่งสวมรองเท้าเงื้อจะถีบผู้เสียหาย แต่ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่าถ้าจำเลยกระทำไปโดยตลอดแล้วจะเกิดผลอย่างไร ผลธรรมดาอันจะเกิดขึ้นเพราะการถีบจะทำให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจหรือไม่ไม่อาจเล็งเห็นได้หากจำเลยกระทำไปโดยตลอดแล้วผลที่เกิดไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจแล้ว ความผิดนั้นก็เป็นเพียงลหุโทษผู้พยายามกระทำความผิดลหุโทษไม่ต้องรับโทษ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยพยายามกระทำให้ผู้เสียหายเกิดอันตรายแก่กายแล้ว ก็ลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้
การใช้เท้าเงื้อจะถีบไม่เป็นอันตรายต่อจิตใจ เพราะอันตรายต่อจิตใจนั้น ต้องเป็นผลจากการทำร้ายแต่ความรู้สึกว่าถูกเหยียดหยาม เจ็บใจ แค้นใจ เหล่านี้เป็นอารมณ์หาใช่เป็นอันตรายต่อจิตใจไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักลอบนำทรัพย์สินเข้าเรือนจำ: คำฟ้องไม่จำเป็นต้องระบุการฝ่าฝืนระเบียบเฉพาะเจาะจง หากกิริยา 'ลักลอบ' ครอบคลุมความผิดทั้งทางกฎหมายและระเบียบ
ผู้ว่าคดีฟ้องด้วยวาจาว่า " เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2506 เวลากลางวัน จำเลยได้ลักลอบนำธนบัตรเข้าไปในเรือนจำและมีไว้ในครอบครอง 580 บาท ฯลฯ ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 มาตรา 37, 39, 45 วรรค 3 และริบของกลาง ฯลฯ" โดยไม่ได้แจ้งข้อความต่อศาลว่า "เป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อบังคับของเรือนจำ" ด้วยนั้น ก็เป็นฟ้องที่ครบบริบูรร์แล้ว เพราะกิริยา "ลักลอบ" หมายถึงการนำธนบัตรเข้าไปในเรือนจำเป็นการกระทำผิดกฎหมายหรือฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อบังคับของเรือนจำ อันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดได้ทั้ง 2 กรณี
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 29/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของคำฟ้องกรณีลักลอบนำสิ่งของเข้าเรือนจำ ศาลตีความ 'ลักลอบ' ครอบคลุมทั้งความผิดตามกฎหมายและระเบียบ
ผู้ว่าคดีฟ้องด้วยวาจาว่า 'เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2506 เวลากลางวันจำเลยได้ลักลอบนำธนบัตรเข้าไปในเรือนจำและมีไว้ในครอบครอง580 บาท ฯลฯ ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 มาตรา 37,39,45 วรรคสาม และริบของกลางฯลฯ' โดยไม่ได้แจ้งข้อความต่อศาลว่า 'เป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อบังคับของเรือนจำ' ด้วยนั้น ก็เป็นฟ้องที่ครบบริบูรณ์แล้ว เพราะกิริยา'ลักลอบ' หมายถึงการนำธนบัตรเข้าไปในเรือนจำเป็นการกระทำผิดกฎหมายหรือฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อบังคับของเรือนจำอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดได้ทั้ง 2 กรณี (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 29/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 442/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องผิดวันที่กระทำผิดในคดีอาญา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าบันทึกคำฟ้องไม่ใช่คำฟ้องตามกฎหมาย
คดีที่ผู้ว่าคดีฟ้องจำเลยด้วยวาจาต่อศาลแขวงและจำเลยรับสารภาพ ศาลได้บันทึกคำฟ้อง คำรับสารภาพ และทำคำพิพากษาไว้ในบันทึกฉบับเดียวกันตามมาตรา 20 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ บันทึกของศาลนี้ไม่เป็นคำฟ้อง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
ตามบันทึกหลักฐานการฟ้องด้วยวาจาที่โจทก์ส่งศาลปรากฏว่าจำเลยกระทำผิดระหว่างวันที่ 25 ถึง 30 กรกฎาคม 2503 แต่ศาลได้บันทึกว่า จำเลยกระทำผิดเมื่อระหว่างวันที่ 25 ถึง 30 กันยายน 2503 เป็นเรื่องผิดพลาดที่ศาลอาจพลั้งเผลอ ซึ่งไม่เป็นเหตุที่จะหยิบยกขึ้นอ้างว่า โจทก์ฟ้องผิดจากวันที่เป็นจริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องด้วยวาจาคดีป่าไม้ ศาลต้องบันทึกใจความสำคัญครบถ้วน แม้ไม่ใช่รายละเอียดทั้งหมด
คดีผิด พ.ร.บ. ป่าไม้ ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลแขวง เมื่อจำเลยรับสารภาพ ผู้ว่าคดีนำมาฟ้องต่อศาลแขวงด้วยวาจา ศาลบันทึกใจความฟ้องในแบบพิมพ์บันทึกคำฟ้อง ฯลฯ ตามมาตรา 20 พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวง ฯลฯ ว่าจำเลยบังอาจตั้งโรงค้าไม้แปรรูปเพื่อทำการจำหน่าย และมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพ ตลอดข้อหา ดังนี้ถือว่า จำเลยได้กระทำภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ที่รัฐมนตรีได้กำหนดและประกาศตามกฎหมายแล้ว และไม้ที่มีไว้ในครอบครองก็เป็นไม้ประเภทหวงห้ามด้วย ซึ่งไม่ใช่ใจความสำคัญ ศาลจึงไม่บันทึกไว้ ข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์จึงเข้าหลักเกณฑ์เป็นความผิดตามกฎหมายที่โจทก์ขอให้ลงโทษแล้ว
บันทึกที่ว่า จำเลยให้การรับสารภาพตลอดข้อหา ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ในแบบพิมพ์ ต้องถือว่าศาลได้สอบถามจำเลยแล้ว จึงเท่ากับ ศาลได้บันทึกคำให้การจำเลยตามที่สอบถามด้วยลายมือของศาลเหมือนกัน ย่อมมีผลใช้ได้ตามกฎหมายโดยสมบูรณ์ทุกประการ
of 5