พบผลลัพธ์ทั้งหมด 302 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8829/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี, การประเมินภาษี, และการลดเบี้ยปรับ: ข้อพิพาทเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีเงินได้นิติบุคคล
ปัญหาเรื่องการออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินเป็นไปโดยชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 19 หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจในการประเมินภาษีอากรว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้ยกขึ้นโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์การประเมิน ก็มีอำนาจยกขึ้นในชั้นพิจารณาของศาลได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย นั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าโจทก์หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งไม่ถูกต้องครบถ้วน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินให้โจทก์ในฐานะผู้จ่ายเงินรับผิดในส่วนที่ขาดได้โดยอาศัยอำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 54 วรรคหนึ่ง และมาตรา 54 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 70 โดยเจ้าพนักงานประเมินอาจส่งหนังสือแจ้งให้โจทก์ส่งพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องเพื่อตรวจสอบการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ตามที่เห็นสมควรตาม ป.รัษฎากร มาตรา 51 ซึ่งเป็นบทบัญญัติโดยเฉพาะอยู่แล้ว จึงไม่อยู่ในบังคับต้องออกหมายเรียกภายในระยะเวลาและโดยเงื่อนไขตามมาตรา 19 ส่วนกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล (ครึ่งปี) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 และปี 2538 นั้น โจทก์มีหน้าที่ยื่นรายการเพื่อชำระภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตาม ป.รัษฎากร มาตรา 67 ทวิ ซึ่งหากโจทก์ไม่ยื่นรายการหรือยื่นรายการโดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 เจ้าพนักงานประเมินอาจประเมินให้ชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มได้ทันทีเมื่อพ้นกำหนดยื่นรายการหรือเมื่อโจทก์ยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตาม ป.รัษฎากร มาตรา 67 ตรี โดยไม่จำต้องออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนตรวจสอบตามมาตรา 19 และ 23 แต่อย่างใด
ในชั้นอุทธรณ์การประเมิน โจทก์อ้างว่าได้หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายให้ถูกต้องและนำส่งครบถ้วนแล้วแต่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินเมื่อโจทก์อ้างในคำฟ้องว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบเพราะโจทก์ได้หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายถูกต้องและนำส่งครบถ้วนตามกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีสิทธินำพยานหลักฐานเกี่ยวกับเงินสมทบจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมของเจ้าพนักงานของโจทก์มาแสดงว่าได้หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายและนำส่งถูกต้องครบถ้วนแล้ว ที่ศาลภาษีอากรกลางไม่รับวินิจฉัยไม่ชอบ แต่ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ย้อนสำนวนให้ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยก่อน โดยโจทก์มี ป. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ และ ล. เจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีและการเงินเบิกความว่า โจทก์ได้นำส่งเงินสมทบจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมของพนักงานโจทก์ตลอดมา ปรากฏตามรายชื่อผู้ประกันตน ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นพนักงานของโจทก์และโจทก์นำส่งเงินสมทบจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมแล้ว แต่ปรากฏว่า ใบเสร็จรับเงินของสำนักงานประกันสังคมไม่ได้แสดงรายการว่าเป็นเงินสมทบของผู้ประกันตนคนใด เป็นพนักงานของโจทก์หรือไม่ และพยานโจทก์ก็มิได้นำสืบอธิบายรายละเอียดให้เห็นได้ว่าหลักฐานการนำส่งเงินสมทบจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมดังกล่าวตรงกับรายชื่อพนักงานของโจทก์ตามแบบที่ยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด. 1 และ ภ.ง.ด. 1 ก การที่เจ้าพนักงานประเมินนำมาประเงินภาษีโจทก์เพิ่มแต่อย่างใด พยานหลักฐานของโจทก์จึงยังไม่อาจรับฟังได้ดังที่โจทก์อ้าง
ในชั้นตรวจสอบไต่สวนและชั้นพิจารณาอุทธรณ์ เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินให้โจทก์รับผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 70 ซึ่งบัญญัติว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยแต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเสียภาษีโดยให้ผู้จ่ายหักภาษีเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามอัตราภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแล้วนำส่งอำเภอท้องที่พร้อมกับยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินนั้น โดยบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกำหนดอัตราภาษีตามมาตรา 70 ยกเว้นเฉพาะกรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินมาตรา 40 (4) (ข) ไว้ร้อยละ 15 ฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์ต้องชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) (4) (ก) (6) ที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยในอัตราร้อยละ 15 จึงชอบแล้ว ที่โจทก์อ้างว่าคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.8/2528 เรื่อง การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินค่าจ้างทำของให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ กำหนดให้โจทก์หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เพียงร้อยละ 5 นั้น คำสั่งดังกล่าวใช้สำหรับการจ่ายเงินให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่โจทก์ก็มิได้ยกขึ้นอ้างในคำฟ้องและทางนำสืบว่าบริษัทต่างประเทศดังกล่าวประกอบกิจการในประเทศไทย คงเพิ่งมายกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่รับวินิจฉัยในส่วนนี้
โจทก์ไม่ได้ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีพร้อมด้วยบัญชีงบดุล บัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุน บัญชีรายรับและรายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวตามมาตรา 68 และ 69 ทั้งได้ความจากทางนำสืบของจำเลยว่าโจทก์ไม่นำส่งสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีหรือเอกสารใดๆ ที่เพียงพอจะแสดงให้รู้ว่าโจทก์มีรายได้และรายจ่ายจำนวนใด จึงไม่อาจคำนวณหากำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิเพื่อประเมินภาษีตามวิธีปกติได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใดๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า จึงชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 71 (1) โดยมิต้องคำนึงว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีดังที่โจทก์อุทธรณ์หรือไม่
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ครึ่งปี) (ภ.ง.ด. 51) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ถึง 2539 โดยแสดงผลขาดทุนสุทธิทั้งสามรอบระยะเวลาบัญชี แต่โจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด. 50) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลโจทก์ทั้งสามรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใดๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่าตามมาตรา 71 (1) แห่ง ป.รัษฎากร เมื่อได้จำนวนภาษีที่ต้องชำระแล้วจึงคำนวณกลับเป็นกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นๆ ซึ่งปรากฏว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ครึ่งปี) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ถึง 2539 โดยแสดงผลขาดทุนสุทธิอันเป็นการประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิดังกล่าวโดยไม่มีเหตุสมควร การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มร้อยละ 20 ของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นๆ จึงชอบแล้ว ส่วนรอบระยะเวลาบัญชีปี 2540 นั้นโจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ครึ่งปี) โจทก์จึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มร้อยละ 20 ของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ทั้งนี้ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 67 ตรี วรรคหนึ่ง
การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88/4 ประกอบมาตรา 91/21 (5) เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินที่จะออกหมายเรียกผู้มีหน้าที่เสียภาษี ผู้ทำการแทน หรือพยาน หรือสั่งให้บุคคลเหล่านั้นนำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอันควรแก่เรื่องมาให้ตรวจสอบไต่สวนได้โดยไม่มีบทบัญญัติใดบังคับให้เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องก่อนจึงจะทำการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะได้ ทั้งกรณีนี้ก็ปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีอากรทุกประเภทโดยระบุมาตรา 91/21 แห่ง ป.รัษฎากร ไว้ด้วยแล้ว แต่โจทก์ไม่ได้ส่งมอบเอกสารหลักฐานให้เจ้าพนักงานประเมิน เมื่อเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบพบว่าโจทก์ทำนิติกรรมขายที่ดินมีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแก่โจทก์ได้ตามมาตรา 91/15 (1) และ (3)
เมื่อโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์แล้วไม่ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีธุรกิจเฉพาะตามกฎหมาย จึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับ และการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับสำหรับภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่โจทก์คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมายเป็นคุณแก่โจทก์และเหมาะสมแล้ว ไม่มีเหตุที่จะงดเบี้ยปรับให้
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ครึ่งปี) ตามมาตรา 67 ทวิ นั้น เป็นการเรียกเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลาตามมาตรา 68 โดยภาษีที่ชำระนี้ให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 68 ฉะนั้น ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ครึ่งปี) ที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีใดจึงเป็นส่วนหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องชำระเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตามมาตรา 68 โดยกฎหมายให้นำภาษีที่ชำระให้ตอนครึ่งปีมาเป็นเครดิตสำหรับภาษีที่ต้องเสียทั้งรอบระยะเวลาบัญชี คำฟ้องที่เกี่ยวกับการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล (ครึ่งปี) จึงเป็นข้อหาเดียวที่เกี่ยวข้องกันกับภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องชำระเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้นๆ แม้จะมีการประเมินแต่เงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี ก็ตาม การที่ศาลภาษีอากรกลางเรียกค่าขึ้นศาลเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลทั้งครึ่งปีและเต็มปีในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีเป็นแต่ละข้อหาและเมื่อรวมกันแล้วเกินกว่า 200,000 บาท จึงไม่ชอบและเห็นควรให้คืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ที่เสียเกินมาด้วย อนึ่ง โจทก์ยังไม่ได้เสียค่าขึ้นศาลสำหรับการอุทธรณ์คำสั่งศาลภาษีอากรกลางดังกล่าวซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลในส่วนนี้อีก 200 บาท ตามราราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 24
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย นั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าโจทก์หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งไม่ถูกต้องครบถ้วน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินให้โจทก์ในฐานะผู้จ่ายเงินรับผิดในส่วนที่ขาดได้โดยอาศัยอำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 54 วรรคหนึ่ง และมาตรา 54 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 70 โดยเจ้าพนักงานประเมินอาจส่งหนังสือแจ้งให้โจทก์ส่งพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องเพื่อตรวจสอบการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ตามที่เห็นสมควรตาม ป.รัษฎากร มาตรา 51 ซึ่งเป็นบทบัญญัติโดยเฉพาะอยู่แล้ว จึงไม่อยู่ในบังคับต้องออกหมายเรียกภายในระยะเวลาและโดยเงื่อนไขตามมาตรา 19 ส่วนกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล (ครึ่งปี) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 และปี 2538 นั้น โจทก์มีหน้าที่ยื่นรายการเพื่อชำระภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตาม ป.รัษฎากร มาตรา 67 ทวิ ซึ่งหากโจทก์ไม่ยื่นรายการหรือยื่นรายการโดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 เจ้าพนักงานประเมินอาจประเมินให้ชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มได้ทันทีเมื่อพ้นกำหนดยื่นรายการหรือเมื่อโจทก์ยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตาม ป.รัษฎากร มาตรา 67 ตรี โดยไม่จำต้องออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนตรวจสอบตามมาตรา 19 และ 23 แต่อย่างใด
ในชั้นอุทธรณ์การประเมิน โจทก์อ้างว่าได้หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายให้ถูกต้องและนำส่งครบถ้วนแล้วแต่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินเมื่อโจทก์อ้างในคำฟ้องว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบเพราะโจทก์ได้หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายถูกต้องและนำส่งครบถ้วนตามกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีสิทธินำพยานหลักฐานเกี่ยวกับเงินสมทบจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมของเจ้าพนักงานของโจทก์มาแสดงว่าได้หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายและนำส่งถูกต้องครบถ้วนแล้ว ที่ศาลภาษีอากรกลางไม่รับวินิจฉัยไม่ชอบ แต่ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ย้อนสำนวนให้ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยก่อน โดยโจทก์มี ป. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ และ ล. เจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีและการเงินเบิกความว่า โจทก์ได้นำส่งเงินสมทบจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมของพนักงานโจทก์ตลอดมา ปรากฏตามรายชื่อผู้ประกันตน ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นพนักงานของโจทก์และโจทก์นำส่งเงินสมทบจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมแล้ว แต่ปรากฏว่า ใบเสร็จรับเงินของสำนักงานประกันสังคมไม่ได้แสดงรายการว่าเป็นเงินสมทบของผู้ประกันตนคนใด เป็นพนักงานของโจทก์หรือไม่ และพยานโจทก์ก็มิได้นำสืบอธิบายรายละเอียดให้เห็นได้ว่าหลักฐานการนำส่งเงินสมทบจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมดังกล่าวตรงกับรายชื่อพนักงานของโจทก์ตามแบบที่ยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด. 1 และ ภ.ง.ด. 1 ก การที่เจ้าพนักงานประเมินนำมาประเงินภาษีโจทก์เพิ่มแต่อย่างใด พยานหลักฐานของโจทก์จึงยังไม่อาจรับฟังได้ดังที่โจทก์อ้าง
ในชั้นตรวจสอบไต่สวนและชั้นพิจารณาอุทธรณ์ เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินให้โจทก์รับผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 70 ซึ่งบัญญัติว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยแต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเสียภาษีโดยให้ผู้จ่ายหักภาษีเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามอัตราภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแล้วนำส่งอำเภอท้องที่พร้อมกับยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินนั้น โดยบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกำหนดอัตราภาษีตามมาตรา 70 ยกเว้นเฉพาะกรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินมาตรา 40 (4) (ข) ไว้ร้อยละ 15 ฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์ต้องชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) (4) (ก) (6) ที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยในอัตราร้อยละ 15 จึงชอบแล้ว ที่โจทก์อ้างว่าคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.8/2528 เรื่อง การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินค่าจ้างทำของให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ กำหนดให้โจทก์หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เพียงร้อยละ 5 นั้น คำสั่งดังกล่าวใช้สำหรับการจ่ายเงินให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่โจทก์ก็มิได้ยกขึ้นอ้างในคำฟ้องและทางนำสืบว่าบริษัทต่างประเทศดังกล่าวประกอบกิจการในประเทศไทย คงเพิ่งมายกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่รับวินิจฉัยในส่วนนี้
โจทก์ไม่ได้ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีพร้อมด้วยบัญชีงบดุล บัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุน บัญชีรายรับและรายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวตามมาตรา 68 และ 69 ทั้งได้ความจากทางนำสืบของจำเลยว่าโจทก์ไม่นำส่งสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีหรือเอกสารใดๆ ที่เพียงพอจะแสดงให้รู้ว่าโจทก์มีรายได้และรายจ่ายจำนวนใด จึงไม่อาจคำนวณหากำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิเพื่อประเมินภาษีตามวิธีปกติได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใดๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า จึงชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 71 (1) โดยมิต้องคำนึงว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีดังที่โจทก์อุทธรณ์หรือไม่
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ครึ่งปี) (ภ.ง.ด. 51) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ถึง 2539 โดยแสดงผลขาดทุนสุทธิทั้งสามรอบระยะเวลาบัญชี แต่โจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด. 50) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลโจทก์ทั้งสามรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใดๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่าตามมาตรา 71 (1) แห่ง ป.รัษฎากร เมื่อได้จำนวนภาษีที่ต้องชำระแล้วจึงคำนวณกลับเป็นกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นๆ ซึ่งปรากฏว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ครึ่งปี) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ถึง 2539 โดยแสดงผลขาดทุนสุทธิอันเป็นการประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิดังกล่าวโดยไม่มีเหตุสมควร การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มร้อยละ 20 ของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นๆ จึงชอบแล้ว ส่วนรอบระยะเวลาบัญชีปี 2540 นั้นโจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ครึ่งปี) โจทก์จึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มร้อยละ 20 ของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ทั้งนี้ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 67 ตรี วรรคหนึ่ง
การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88/4 ประกอบมาตรา 91/21 (5) เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินที่จะออกหมายเรียกผู้มีหน้าที่เสียภาษี ผู้ทำการแทน หรือพยาน หรือสั่งให้บุคคลเหล่านั้นนำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอันควรแก่เรื่องมาให้ตรวจสอบไต่สวนได้โดยไม่มีบทบัญญัติใดบังคับให้เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องก่อนจึงจะทำการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะได้ ทั้งกรณีนี้ก็ปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีอากรทุกประเภทโดยระบุมาตรา 91/21 แห่ง ป.รัษฎากร ไว้ด้วยแล้ว แต่โจทก์ไม่ได้ส่งมอบเอกสารหลักฐานให้เจ้าพนักงานประเมิน เมื่อเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบพบว่าโจทก์ทำนิติกรรมขายที่ดินมีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแก่โจทก์ได้ตามมาตรา 91/15 (1) และ (3)
เมื่อโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์แล้วไม่ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีธุรกิจเฉพาะตามกฎหมาย จึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับ และการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับสำหรับภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่โจทก์คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมายเป็นคุณแก่โจทก์และเหมาะสมแล้ว ไม่มีเหตุที่จะงดเบี้ยปรับให้
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ครึ่งปี) ตามมาตรา 67 ทวิ นั้น เป็นการเรียกเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลาตามมาตรา 68 โดยภาษีที่ชำระนี้ให้ถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 68 ฉะนั้น ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ครึ่งปี) ที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีใดจึงเป็นส่วนหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องชำระเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตามมาตรา 68 โดยกฎหมายให้นำภาษีที่ชำระให้ตอนครึ่งปีมาเป็นเครดิตสำหรับภาษีที่ต้องเสียทั้งรอบระยะเวลาบัญชี คำฟ้องที่เกี่ยวกับการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล (ครึ่งปี) จึงเป็นข้อหาเดียวที่เกี่ยวข้องกันกับภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องชำระเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้นๆ แม้จะมีการประเมินแต่เงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี ก็ตาม การที่ศาลภาษีอากรกลางเรียกค่าขึ้นศาลเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลทั้งครึ่งปีและเต็มปีในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีเป็นแต่ละข้อหาและเมื่อรวมกันแล้วเกินกว่า 200,000 บาท จึงไม่ชอบและเห็นควรให้คืนค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ที่เสียเกินมาด้วย อนึ่ง โจทก์ยังไม่ได้เสียค่าขึ้นศาลสำหรับการอุทธรณ์คำสั่งศาลภาษีอากรกลางดังกล่าวซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลในส่วนนี้อีก 200 บาท ตามราราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 24
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8809/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลภาษีอากรกลางทันเวลา และการสละประเด็นข้อพิพาท ทำให้ฎีกาไม่รับฟังประเด็นใหม่
คำสั่งให้งดสืบพยานก่อนที่ศาลภาษีอากรกลางได้มีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา หากคู่ความฝ่ายใดไม่เห็นด้วยและประสงค์จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นภายหลังจะต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 226 เมื่อโจทก์มีเวลาเพียงพอที่จะโต้แย้งคัดค้านคำสั่งดังกล่าวได้แต่มิได้โต้แย้งคัดค้าน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
การที่โจทก์แถลงต่อศาลภาษีอากรกลางว่า โจทก์ยินยอมชำระภาษีตามที่เจ้าพนักงานประเมินและได้ผ่อนชำระจนเหลือเพียงงวดสุดท้ายแล้วแต่ยังคงติดใจอยู่เพียงประเด็นเดียวคือ ประสงค์จะขอให้ลดหรืองดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแก่โจทก์ จึงถือว่าโจทก์ได้สละประเด็นข้อพิพาทอื่นทั้งหมด ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์ประเด็นอื่น จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรกรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์แถลงต่อศาลภาษีอากรกลางว่า โจทก์ยินยอมชำระภาษีตามที่เจ้าพนักงานประเมินและได้ผ่อนชำระจนเหลือเพียงงวดสุดท้ายแล้วแต่ยังคงติดใจอยู่เพียงประเด็นเดียวคือ ประสงค์จะขอให้ลดหรืองดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแก่โจทก์ จึงถือว่าโจทก์ได้สละประเด็นข้อพิพาทอื่นทั้งหมด ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์ประเด็นอื่น จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรกรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7309/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดต้องเปิดเผยข้อมูลครบถ้วน เพื่อให้ผู้สนใจเข้าสู้ราคาได้อย่างถูกต้อง หากไม่ปฏิบัติตามถือว่าการขายไม่ชอบ
ผู้ซื้อทรัพย์อุทธรณ์เป็นใจความสำคัญว่า การขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วนถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศนัดขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ที่สำนักงานบังคับคดีจังหวัดจันทบุรีรวม 5 ครั้ง และมีหมายแจ้งวันนัดให้โจทก์และจำเลยที่ 2 ทราบกำหนดนัดแล้วทุกครั้ง วันนัดขายทอดตลาดวันที่ 10 กรกฎาคม 2545 ผู้แทนโจทก์และจำเลยที่ 2 เดินทางไปที่สำนักงานบังคับคดีจังหวัดจันทบุรีตามกำหนด แต่ไม่เข้าไปติดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้แทนโจทก์และจำเลยที่ 2 คำฟ้องอุทธรณ์ของผู้ซื้อทรัพย์เป็นการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วว่า โจทก์และจำเลยที่ 2 ทราบกำหนดนัดขายทอดตลาดโดยชอบและเดินทางไปที่สำนักงานบังคับคดีจังหวัดจันทบุรีตามกำหนดนัดแล้ว แต่ผู้แทนโจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่สอบถามเจ้าพนักงานบังคับคดีเกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 อันเป็นความบกพร่องของผู้แทนโจทก์และจำเลยที่ 2 เอง โจทก์และจำเลยที่ 2 จะอ้างความเข้าใจผิดคิดว่าไม่มีการขายทอดตลาดดังที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นวินิจฉัยไม่ได้ คำฟ้องอุทธรณ์ของผู้ซื้อทรัพย์จึงเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
การดำเนินการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องประกาศขายอย่างเปิดเผย โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนที่สนใจเข้าสู้ราคา เพื่อรักษาผลประโยชน์ของคู่ความให้ได้ราคาสูงสุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 513 ไม่ใช่ขายให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 โดยไม่ปิดประกาศแจ้งการขายไว้ที่หน้าสำนักงานบังคับคดีจังหวัดจังหวัดจันทบุรีต่างไปจากการขายทอดตลาดในคดีอื่น ย่อมทำให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นที่เปิดเผยตามวิถีทางที่ควรจะเป็น ส่งผลกระทบถึงการตัดสินใจเข้าสู้ราคาและจำนวนผู้เข้าสู้ราคาซึ่งอาจต้องถูกจำกัดให้น้อยลงขัดต่อเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาดที่ต้องเปิดโอกาสให้มีการเข้าสู้ราคากันโดยเปิดเผยเพื่อให้ได้ราคาสูงสุด จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 308 แม้การขายทอดตลาดนัดนี้จะเป็นการขายครั้งที่ 4 ซึ่งตามคำสั่งกรมบังคับคดีกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถือเอาราคาที่ผู้เข้าสู้ราคาเสนอสูงสุดซึ่งไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของราคาประเมินหรือราคาของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการกำหนดราคาทรัพย์แล้วแต่กรณี เป็นราคาที่สมควรขาย แต่เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำสั่งหรือคำพิพากษา ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบนั้นเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง
การดำเนินการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องประกาศขายอย่างเปิดเผย โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนที่สนใจเข้าสู้ราคา เพื่อรักษาผลประโยชน์ของคู่ความให้ได้ราคาสูงสุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 513 ไม่ใช่ขายให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 โดยไม่ปิดประกาศแจ้งการขายไว้ที่หน้าสำนักงานบังคับคดีจังหวัดจังหวัดจันทบุรีต่างไปจากการขายทอดตลาดในคดีอื่น ย่อมทำให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นที่เปิดเผยตามวิถีทางที่ควรจะเป็น ส่งผลกระทบถึงการตัดสินใจเข้าสู้ราคาและจำนวนผู้เข้าสู้ราคาซึ่งอาจต้องถูกจำกัดให้น้อยลงขัดต่อเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาดที่ต้องเปิดโอกาสให้มีการเข้าสู้ราคากันโดยเปิดเผยเพื่อให้ได้ราคาสูงสุด จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 308 แม้การขายทอดตลาดนัดนี้จะเป็นการขายครั้งที่ 4 ซึ่งตามคำสั่งกรมบังคับคดีกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถือเอาราคาที่ผู้เข้าสู้ราคาเสนอสูงสุดซึ่งไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของราคาประเมินหรือราคาของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการกำหนดราคาทรัพย์แล้วแต่กรณี เป็นราคาที่สมควรขาย แต่เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ภาค 4 ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำสั่งหรือคำพิพากษา ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบนั้นเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6408/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้บัตรเครดิต: สัญญาให้สินเชื่อพร้อมวงเงินทดรองจ่าย มีอายุความ 2 ปี ตาม พรบ.แพ่งและพาณิชย์
จำเลยให้การว่า จำเลยเบิกถอนเงินจากโจทก์เพียง 10,000 บาท และผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เรื่อยมา จำเลยชำระหนี้โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนธันวาคม 2540 เมื่อนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้เมื่อเดือนธันวาคม 2540 ถึงวันฟ้องวันที่ 31 พฤษภาคม 2543 เป็นเวลา 2 ปี 5 เดือน ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ 2 ปี ดังนี้ คำให้การของจำเลยเป็นคำให้การที่ยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความโดยแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความไว้ชัดแจ้งแล้ว ไม่จำต้องกล่าวว่าเหตุใดจึงมีอายุความ 2 ปี เป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทตามกฎหมายต่อไป คำให้การของจำเลยจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีมีประเด็นเรื่องอายุความ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้ให้การว่าเหตุใดจึงมีอายุความ 2 ปี โดยเพิ่งยกเหตุที่คดีโจทก์มีอายุความ 2 ปี เนื่องจากเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับทำการงานต่างๆ เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปจากจำเลยขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์ ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นเรื่องอายุความจึงไม่ชอบและเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตามมาตรา 243 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6382/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์หลังขาดนัดยื่นคำให้การ: ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225
ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมายแต่ในคดีแพ่งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย จำเลยต้องยกขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การ ทั้งจะต้องให้การโดยแจ้งชัดด้วยว่าฟ้องเคลือบคลุมอย่างไร มิฉะนั้นจะไม่เป็นประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยถึง ปัญหาข้อเท็จจริงเรื่องการมอบอำนาจให้บอกกล่าวขับไล่จำเลยก็เช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การจึงไม่มีประเด็นทั้งสองเรื่องดังกล่าวในศาลชั้นต้น การที่จำเลยยกขึ้นเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6012/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยค้ำจุน: ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดต่อผู้รับประโยชน์แม้ไม่ได้ระบุชื่อโดยตรง หากความเสียหายอยู่ในวงเงินคุ้มครอง
จำเลยที่ 3 รับประกันภัยไว้จากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อบุคคลภายนอกแทนจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัย ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก การประกันภัยดังกล่าวจึงเป็นการประกันภัยค้ำจุน ดังนี้แม้โจทก์จะไม่ได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 3 และตามกรมธรรม์ดังกล่าวจำเลยที่ 1 ไม่ได้ระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ก็ตาม แต่เมื่อการประกันภัยดังกล่าวเป็นการประกันภัยค้ำจุนและความเสียหายนั้นมีจำนวนไม่เกินวงเงินที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดชอบ จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันกันย่อมต้องรับผิดในนามของจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บริษัท ซ. ซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ ทั้งบริษัทดังกล่าวบุคคลผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตรควรจะได้นั้นจากจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยโดยตรง ที่จำเลยที่ 3 อ้างว่ามีข้อตกลงพิเศษว่ากรมธรรม์นี้จะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น กรณีทรัพย์สินที่บรรทุกนั้นมีกรมธรรม์ประกันภัยชนิดอื่นหรือประเภทอื่นรับผิดชอบอยู่แล้ว จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นมาวินิจฉัย ถือได้ว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจึงไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่จำเลยที่ 3 แก้อุทธรณ์ว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งนั้น แม้จำเลยที่ 3 จะได้บรรยายไว้ในคำให้การ แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยที่ 3 ข้อโต้แย้งเรื่องนี้ย่อมตกไป เมื่อศาลดังกล่าวดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา จำเลยที่ 3 ก็มิได้ยกเรื่องนี้ข้อโต้แย้งอีก แสดงว่ายอมรับอำนาจศาลและไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาลอีกต่อไป ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่อาจส่งเรื่องให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยได้
ส่วนที่จำเลยที่ 3 แก้อุทธรณ์ว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งนั้น แม้จำเลยที่ 3 จะได้บรรยายไว้ในคำให้การ แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งไม่รับคำให้การของจำเลยที่ 3 ข้อโต้แย้งเรื่องนี้ย่อมตกไป เมื่อศาลดังกล่าวดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา จำเลยที่ 3 ก็มิได้ยกเรื่องนี้ข้อโต้แย้งอีก แสดงว่ายอมรับอำนาจศาลและไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาลอีกต่อไป ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่อาจส่งเรื่องให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6011/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดผู้ขนส่ง, สินค้าสูญหาย, การประกันภัย, ข้อตกลงชัดแจ้ง, น้ำหนักและมูลค่าสินค้า
ผู้ส่งสินค้าได้ส่งมอบกล่องสินค้าให้พนักงานของจำเลยผู้ขนส่งพร้อมใบกำกับสินค้าและใบรับขนทางอากาศ ซึ่งจำเลยส่งมาให้ผู้ส่งสินค้ากรอกข้อความ โดยได้กรอกประเภทของสินค้าว่าสินค้าจำพวกเครื่องเพชร พลอย ทอง 18 เค แสดงว่าจำเลยผู้ขนส่งได้รับบอกสภาพแห่งของไว้ในขณะที่ส่งมอบแก่ตนแล้ว
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่าสินค้าสูญหายไปเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลย นั้น เป็นอุทธรณ์ที่เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงไม่รับวินิจฉัย ทั้งข้อตกลงจำกัดความรับผิดของจำเลยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยจึงใช้บังคับได้
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่าสินค้าสูญหายไปเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลย นั้น เป็นอุทธรณ์ที่เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงไม่รับวินิจฉัย ทั้งข้อตกลงจำกัดความรับผิดของจำเลยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยจึงใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5902/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การขัดแย้งและประเด็นข้อพิพาทใหม่ในชั้นอุทธรณ์ ศาลมีอำนาจยกอุทธรณ์ได้ตามกฎหมาย
โจทกฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาเช่าห้องแถวพิพาทจากโจทก์ ต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าห้องแถวพิพาทอีกต่อไป จึงบอกเลิกสัญญาและให้จำเลยกับบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกจากห้องแถวพิพาท ตอนแรกจำเลยให้การว่าจำเลยซื้อห้องแถวพิพาทจาก ซ.ในราคา 38,000 บาท จำเลยได้รับมอบการครอบครองมาแล้ว แต่ในตอนต่อมาจำเลยกลับให้การว่าจำเลยทำสัญญาเช่าห้องแถวพิพากจาก ส. มารดาโจทก์ ซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาจึงเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเองเป็นคำให้การที่ยืนยันในข้อเท็จจริงหลายทางไม่ชัดแจ้งว่าข้อเท็จจริงที่ให้การนั้นไปทางหนึ่งทางใด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง แต่คำให้การจำเลยเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง คดีคงมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยทำสัญญาเช่าห้องแถวพิพาทจากโจทก์หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าห้องแถวเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือจำเลยและวินิจฉัยตามนั้น จึงเป็นการไม่ชอบและถือว่าประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวเป็นขึ้นที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจยกอุทธรณ์ของจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และ 242 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5778/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คผู้ถือ การกลับมาเป็นผู้ทรงเช็คหลังสลักหลังโอน และคำให้การขัดแย้ง
เช็คพิพาททั้งสองฉบับระบุจ่ายชื่อโจทก์หรือผู้ถือ จึงเป็นเช็คผู้ถือ เมื่อโจทก์เป็นผู้ถือเช็คพิพาททั้งสองฉบับในขณะที่โจทก์นำเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาททั้งสองฉบับโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าโจทก์ได้สลักหลังโอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่ธนาคาร ม. ไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อเช็คพิพาททั้งสองฉบับได้กลับมาอยู่ในความยึดถือครอบครองของโจทก์อีกในฐานะเป็นผู้รับเงิน โจทก์ย่อมกลับมาเป็นผู้ทรงเช็คพิพาททั้งสองฉบับนั้นโดยชอบด้วยกฎหมายอีกครั้งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 904
จำเลยให้การว่าโจทก์กับจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ ต่อกัน จำเลยไม่เคยซื้อสินค้าใด ๆ จากโจทก์ จำเลยไม่เคยสั่งจ่ายเช็คทั้งสองฉบับตามฟ้องเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์และลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย จำเลยไม่ต้องรับผิดใด ๆ ต่อโจทก์ หากศาลฟังว่าโจทก์และจำเลยมีการซื้อขายเพชรพลอยกันจริง การซื้อขายก็ไม่เกิน 3,000,000 บาท ชอบที่จำเลยจะรับผิดเพียง 3,000,000 บาท เพราะเพชรบางรายการจำเลยได้คืนให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดเต็มจำนวนตามเช็คทั้งสองฉบับ จะเห็นได้ว่า ตามคำให้การของจำเลยดังกล่าว ครั้งแรกจำเลยให้การปฏิเสธว่ามิได้ซื้อสินค้าใด ๆ จากโจทก์และไม่ได้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ เท่ากับจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ค่าซื้อสินค้า แต่ขณะเดียวกันจำเลยกลับให้การว่าจำเลยได้คืนเพชรบางรายการให้แก่โจทก์แล้ว หากฟังว่าเป็นหนี้ก็ไม่เกิน 3,000,000 บาท จำเลยไม่ต้องรับผิดเต็มจำนวนตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ ซึ่งเท่ากับจำเลยให้การยอมรับด้วยว่า จำเลยได้ซื้อเพชรพลอยไปจากโจทก์และได้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้โจทก์ไว้ เพียงแต่จำเลยต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับเพียง 3,000,000 บาท ตามจำนวนสินค้าที่ซื้อไปจากโจทก์นั่นเอง เช่นนี้ คำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเองอย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง และทำให้จำเลยไม่มีประเด็นที่จะนำสืบตามคำให้การดังกล่าวด้วย
แม้ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายแต่มิได้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อฎีกาได้จึงต้องยกปัญหาดังกล่าวขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์เสียก่อนด้วย แต่ตามคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมีข้อความลอย ๆ เพียงว่า "ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม" ต่อท้ายข้อความอุทธรณ์เรื่องโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยมิได้กล่าวโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ได้วินิจฉัยมาแล้วว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมแล้วนั้นว่าไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไร อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ทั้งศาลอุทธรณ์ก็มิได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นวินิจฉัยแต่อย่างใด เช่นนี้ถือได้ว่าปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้น มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยให้การว่าโจทก์กับจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ ต่อกัน จำเลยไม่เคยซื้อสินค้าใด ๆ จากโจทก์ จำเลยไม่เคยสั่งจ่ายเช็คทั้งสองฉบับตามฟ้องเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์และลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย จำเลยไม่ต้องรับผิดใด ๆ ต่อโจทก์ หากศาลฟังว่าโจทก์และจำเลยมีการซื้อขายเพชรพลอยกันจริง การซื้อขายก็ไม่เกิน 3,000,000 บาท ชอบที่จำเลยจะรับผิดเพียง 3,000,000 บาท เพราะเพชรบางรายการจำเลยได้คืนให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดเต็มจำนวนตามเช็คทั้งสองฉบับ จะเห็นได้ว่า ตามคำให้การของจำเลยดังกล่าว ครั้งแรกจำเลยให้การปฏิเสธว่ามิได้ซื้อสินค้าใด ๆ จากโจทก์และไม่ได้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ เท่ากับจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ค่าซื้อสินค้า แต่ขณะเดียวกันจำเลยกลับให้การว่าจำเลยได้คืนเพชรบางรายการให้แก่โจทก์แล้ว หากฟังว่าเป็นหนี้ก็ไม่เกิน 3,000,000 บาท จำเลยไม่ต้องรับผิดเต็มจำนวนตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ ซึ่งเท่ากับจำเลยให้การยอมรับด้วยว่า จำเลยได้ซื้อเพชรพลอยไปจากโจทก์และได้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้โจทก์ไว้ เพียงแต่จำเลยต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับเพียง 3,000,000 บาท ตามจำนวนสินค้าที่ซื้อไปจากโจทก์นั่นเอง เช่นนี้ คำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเองอย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง และทำให้จำเลยไม่มีประเด็นที่จะนำสืบตามคำให้การดังกล่าวด้วย
แม้ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายแต่มิได้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อฎีกาได้จึงต้องยกปัญหาดังกล่าวขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์เสียก่อนด้วย แต่ตามคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมีข้อความลอย ๆ เพียงว่า "ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม" ต่อท้ายข้อความอุทธรณ์เรื่องโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยมิได้กล่าวโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ได้วินิจฉัยมาแล้วว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมแล้วนั้นว่าไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไร อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ทั้งศาลอุทธรณ์ก็มิได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นวินิจฉัยแต่อย่างใด เช่นนี้ถือได้ว่าปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้น มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5336/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจตัวแทนเชิดและการผูกพันตามสัญญา: ข้อตกลงเกินอำนาจตัวแทน
ส. เดินทางไปกับ ก. ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์และร่วมกันเจรจาขอรับรถยนต์คืนตลอดจนทำบันทึกการตรวจสภาพรถมอบให้แก่ตัวแทนของจำเลยที่ 1 เป็นพฤติการณ์ที่ ส. แสดงออกเป็นตัวแทนของโจทก์ และโจทก์ก็รับเอารถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนไปจากการยึด เห็นได้ว่าโจทก์เชิด ส. ออกแสดงเป็นตัวแทนของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 821 แต่อำนาจหน้าที่ของ ส. ซึ่งเป็นตัวแทนเชิดมีเพียงเท่าที่ผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์มีอยู่ คือ ติดตามเอาคืน ยึดเข้าครอบครองเคลื่อนย้ายรถ แจ้งความร้องทุกข์ และกระทำการตามความจำเป็นตามกฎหมายเพื่อนำรถยนต์คันที่เช่าซื้อกลับคืนโจทก์ ส. ไม่มีอำนาจที่จะไปตกลงไม่เรียกร้องค่าเสียหายใดๆ กับจำเลยที่ 1 นอกเหนือไปจากความจำเป็นเพื่อยึดรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนได้ การที่ ส. ไปทำข้อตกลงในหนังสือรับรองว่าไม่เรียกร้องค่าเสียหายใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งนอกเหนืออำนาจในการเป็นตัวแทน โดยโจทก์ไม่ได้ให้สัตยาบันแก่การนั้น ข้อตกลงดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 วรรคแรก โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้อีก
จำเลยที่ 2 ให้การว่าโจทก์ผ่อนเวลาให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันไม่ยินยอม จำเลยที่ 2 จึงพ้นจากความรับผิด ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น จำเลยที่ 1 ฎีกาปัญหาดังกล่าวโดยไม่ได้ให้การตั้งประเด็นไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ให้การว่าโจทก์ผ่อนเวลาให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันไม่ยินยอม จำเลยที่ 2 จึงพ้นจากความรับผิด ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น จำเลยที่ 1 ฎีกาปัญหาดังกล่าวโดยไม่ได้ให้การตั้งประเด็นไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย