คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 225 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 302 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5101/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดในการอุทธรณ์ประเด็นใหม่ – สัญญาจ้างโมฆะเนื่องจากไม่ได้รับใบอนุญาตทำงาน
จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ได้เป็นลูกจ้างของจำเลย เพราะโจทก์ไม่เคยทำงานและรับค่าจ้างจากจำเลย สัญญาจ้างของโจทก์ไม่มีข้อความใดระบุว่าจำเลยตกลงจ้างโจทก์ให้ทำงานกับจำเลยโดยจะจ่ายค่าจ้างให้ และในสัญญาดังกล่าวไม่มีตราประทับของจำเลยเท่านั้น โดยมิได้ให้การต่อสู้ว่า ตามสัญญาจ้างระบุให้เริ่มต้นในทันทีที่โจทก์ได้รับใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย แต่โจทก์ไม่เคยได้รับใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย การทำงานของโจทก์ขัดต่อ พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าวฯ สัญญาจ้างแรงงานตกเป็นโมฆะตามประเด็นที่อุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลางต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4352/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การคำนวณค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้หลังเสียชีวิต และความรับผิดของบริษัทประกัน
คดีอาญาที่พนักงานอัยการและโจทก์ซึ่งเข้าร่วมเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และคดีถึงที่สุดแล้ว ซึ่งในคำพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 คดีจึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์โดยประมาท
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า "ถ้ามิได้ตายในทันทีค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่ารักษาพยาบาลรวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานนั้นด้วย" ค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานจึงเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ทำละเมิดจำต้องใช้แก่ผู้เสียหายที่ยังไม่ถึงตายแต่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานเท่านั้น หาใช่ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ทำละเมิดจำต้องใช้หลังจากผู้เสียหายนั้นถึงแก่ความตายแล้วด้วยไม่ เหตุละเมิดเกิดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2542 โจทก์ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2544 โจทก์จึงขาดประโยชน์ทำมาหาได้ เพราะไม่สามารถประกอบการงานเป็นเวลา 1 ปี 8 เดือน 6 วัน จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เป็นเงิน 30,300 บาท เท่านั้น
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์และฎีกาว่า จำเลยร่วมต้องรับผิดชอบร่วมกับจำเลยทั้งสองมากกว่าที่ศาลล่างมีคำพิพากษา เพราะจำเลยทั้งสองได้ชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่จำเลยร่วมตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ซึ่งเป็นการประกันภัยประเภทสมัครใจ แต่จำเลยร่วมรับผิดชอบเพียงจำนวนเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ ตามกฎหมายประกันภัยภาคบังคับเพียง 80,000 บาท ไม่ถูกต้อง จำเลยทั้งสองไม่ได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นมาแต่ต้นว่า การที่ศาลชั้นต้นยกความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาวินิจฉัยนั้นไม่ถูกต้องตามกรมธรรม์ประกันภัยอย่างไร อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับจำเลยร่วมมาจึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยทั้งสองฎีกาปัญหาดังกล่าวขึ้นมาในทำนองเดียวกัน จึงถือเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฎีกาว่า ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงขาดอำนาจโดยธรรมที่จะแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น โจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างในฎีกาว่า เพราะเหตุใด ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงขาดอำนาจโดยธรรมที่จะแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2064/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งรื้อถอนอาคาร, การพิพากษาโทษปรับ, และการรวมกรรมความผิดฐานดัดแปลงอาคาร
อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากการส่งและแจ้งคำสั่งให้รื้อถอนอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 47 ทวิ บังคับให้ต้องทำทั้ง 2 วิธีพร้อมกันคือให้ทำเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้ผู้รับซึ่งจะต้องรับคำสั่งดังกล่าว ณ ภูมิลำเนาของผู้ร้องนั้น และปิดประกาศคำสั่งดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่ายเป็นอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ มิใช่ปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แต่เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องต้องอ้างเหตุตามที่กล่าวอ้างในฟ้องเดิม การเปลี่ยนแปลงเหตุฟ้องในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าโจทก์มิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. ผู้ตาย และมิได้เป็นผู้ปกครองตามกฎหมายของเด็กหญิง ผ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยทั้งสอง โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์โต้แย้งคำวินิจฉัยดังกล่าวของศาลชั้นต้น แต่โจทก์หาได้กระทำไม่ โจทก์กลับอุทธรณ์ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ได้รับมอบอำนาจจาก จ. ซึ่งเป็นทายาทอีกคนหนึ่งของ ป. ผู้ตายตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้แก้ไข ดังนั้น เหตุที่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องตามที่โจทก์อุทธรณ์จึงเป็นคนละเหตุกับที่โจทก์กล่าวมาในฟ้อง เป็นการอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์เป็นภริยาของ ป. และเป็นบุพการีตามความเป็นจริงของเด็กหญิง ผ. โจทก์จึงเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของเด็กหญิง ผ. มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งพักงานลูกจ้างที่ไม่ใช่การเลิกจ้าง สิทธิการเรียกร้องค่าชดเชย
โจทก์เคยกระทำผิดวินัยหลายครั้งและจำเลยได้สั่งพักงานโจทก์โดยในระหว่างที่พักงานนั้นจำเลยได้จ่ายค่าจ้างให้โจทก์มาโดยตลอด ต่อมาโจทก์ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมและส่งฟ้องต่อศาลแขวงสมุทรปราการในข้อหาเล่นการพนันในวันพิจารณาคดีโจทก์ไม่ได้มาทำงาน วันรุ่งขึ้นโจทก์มาทำงาน ฉ. ผู้จัดการทั่วไปของจำเลยจึงได้สั่งพักงานโจทก์ โดยสั่งในลักษณะเดียวกันกับโจทก์เคยกระทำความผิดอื่นมาก่อนทุกครั้ง โดยไม่ได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์แต่อย่างใด ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าการที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์เป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ว่าคุ้มครองแรงงานฯ นั้น เห็นว่า ตามคำฟ้องโจทก์เพียงแต่การกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยมิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยสั่งพักงานตามที่อุทธรณ์มาแต่อย่างใด อุทธรณ์โจทก์ประการนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ทั้งไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
โจทก์ไปทำงานในวันรุ่งขึ้น แต่จำเลยปฏิเสธที่จะให้โจทก์เข้าทำงาน โดยสั่งพักงานโจทก์เป็นเวลานานหลายวันโดยไม่ได้จ่ายค่าจ้างให้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 วรรคสอง ระบุว่า "การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด..." นั้น มีความหมายว่า เป็นการที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปโดยเด็ดขาดโดยไม่จ่ายค่าจ้างให้ด้วย ซึ่งสภาพความเป็นนายจ้างและลูกจ้างสิ้นสุดลงไม่ใช่เรื่องการให้ลูกจ้างหยุดงานเพียงชั่วคราวซึ่งสภาพการเป็นนายจ้างและลูกจ้างยังไม่สิ้นสุดลง และลูกจ้างยังมีสิทธิได้รับค่าจ้างถ้านายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้ระหว่างให้หยุดงานชั่วคราว ลูกจ้างก็มีสิทธิเรียกเอาได้ แม้การพักงานครั้งก่อนหน้านี้โจทก์ได้รับค่าจ้างระหว่างการพักงาน และในการสั่งพักงานครั้งนี้โจทก์ไม่ได้รับค่าจ้างระหว่างพักงาน แต่ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยทวงถามค่าจ้างระหว่างการพักงานแล้วจำเลยปฏิเสธไม่จ่ายค่าจ้างแต่อย่างใด กลับปรากฏข้อเท็จจริงว่าภายหลังโจทก์แอบมาขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ทำงานในเวลากลางคืน ถือว่าเป็นเจตนาของโจทก์ที่ไม่ประสงค์จะทำงานกับจำเลยต่อไป ดังนี้ การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยจึงเป็นการให้โจทก์หยุดงานชั่วคราว สภาพการเป็นนายจ้างและลูกจ้างในระหว่างพักงานยังคงมีอยู่ ไม่ใช่เป็นกรณีจำเลยไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไปโดยเด็ดขาด การสั่งพักงานโจทก์จึงไม่เป็นการเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 วรรคสอง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9015/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำงานล่วงเวลาต้องมีคำสั่งจากนายจ้างและได้รับความยินยอมจากลูกจ้างชัดเจน จึงจะถือเป็นชั่วโมงทำงานล่วงเวลา
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 ให้นิยามของ "การทำงานล่วงเวลา" หมายความว่า "การทำงานนอกหรือเกินเวลาทำงานปกติหรือเกินชั่วโมงทำงานในแต่ละวันที่นายจ้างลูกจ้างตกลงกันตามมาตรา 23 ในวันทำงานหรือวันหยุดแล้วแต่กรณี" และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง ระบุว่า "ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราวๆ ไป" ตามบทบัญญัติดังกล่าวการทำงานของลูกจ้างที่จะเป็นการทำงานล่วงเวลาจึงต้องเป็นกรณีที่เป็นความประสงค์ของนายจ้างที่จะให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา โดยลูกจ้างให้ความยินยอมก่อนเป็นคราวๆ ไป และจะต้องเป็นการทำงานนอกหรือเกินเวลาทำงานปกติหรือเกินชั่วโมงทำงานในแต่ละวันที่นายจ้างตกลงกันตามมาตรา 23 ในวันทำงานหรือวันหยุด เมื่อนายจ้างประสงค์ให้มีการทำงานล่วงเวลาในช่วงระยะใด นายจ้างจะต้องทำความตกลงกับลูกจ้างโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้มีสาระสำคัญครบถ้วนถึงกำหนดช่วงระยะการเริ่มต้นและการสิ้นสุดของการทำงานล่วงเวลาไว้ก่อนล่วงหน้า หลังจากนั้นหากนายจ้างจะออกคำสั่งในเรื่องการทำงานล่วงเวลาอีกก็ต้องให้สอดคล้องกับข้อตกลงดังกล่าว เมื่อศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้สั่งให้โจทก์ทำงานล่วงเวลา แล้ววินิจฉัยว่าถือไม่ได้ว่าโจทก์ทำงานล่วงเวลา จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา จึงชอบด้วยบทบัญญัติข้างต้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8534/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกประเด็นเรื่องการเช่าในคดีบุกรุก ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และบังคับคดีตามศาลชั้นต้น
จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า โจทก์ยินยอมให้จำเลยทั้งสองเข้าไปปลูกสร้างอาคารในที่ดินของโจทก์ ไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นเรื่องการเช่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกประเด็นเรื่องการเช่าขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเห็นควรวินิจฉัยตามประเด็นที่ถูกต้อง โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3366/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจฐานทุจริตหน้าที่ ศาลยืนตามคำสั่งเลิกจ้าง ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ขณะที่ ล. พนักงานทำความสะอาดภายในเครื่องบินจัดกระเป๋าหลังเก้าอี้ที่นั่งผู้โดยสารพบเครื่องเล่นซีดีที่ผู้โดยสารลืมทิ้งไว้ แต่ไม่ได้แจ้งส่งคืนตามระเบียบ แม้ถูกทวงถามก็ไม่ยอมบอกกล่าวแก่ผู้ค้นหา กลับนำเครื่องเล่นซีดีไปซุกซ่อนไว้ในถุงเก็บขยะที่ตนเป็นผู้ครอบครองดูแลอยู่ พฤติการณ์เช่นนี้เป็นการไม่ซื่อตรงต่อหน้าที่โดยมีเจตนาจะนำเครื่องเล่นซีดีดังกล่าวเก็บซุกซ่อนแล้วนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตนต่อไป การกระทำของ ล. จึงเป็นการกระทำทุจริตต่อหน้าที่อันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มีโทษถึงขั้นไล่ออก การที่โจทก์เลิกจ้าง ล. จึงมิใช่การกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 37 โจทก์มีอำนาจเลิกจ้าง ล. ได้ตามมาตรา 37 (1) แห่ง พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ
คดีนี้ศาลแรงงานกลางได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ที่ 5/2546 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2546 และให้โจทก์เลิกจ้าง ล. ตามที่โจทก์ได้มีคำสั่งเลิกจ้างไว้แล้ว ผลแห่งคดีคือโจทก์ชนะคดีนี้ เพราะฉะนั้นข้ออุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ตามคำร้องของ ล. ที่ยื่นต่อจำเลยทั้งสิบห้านั้นไม่เข้าข่ายมาตรา 37 และ ล. ไม่ใช่สมาชิกของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง ล. จึงไม่ใช่ผู้เสียหายอันจะยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์จำเลยได้ คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ย่อมไม่มีอำนาจรับคำร้องของ ล. ไว้พิจารณา ถึงแม้จะวินิจฉัยไปก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3168/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การกระทำผิดระเบียบบริษัทเป็นเหตุเลิกจ้างได้ อุทธรณ์เรื่องกระบวนการสอบสวนไม่กระทบผลคำพิพากษา
โจทก์กับพวกพาผู้หญิงไทยสองคนซึ่งใช้หนังสือเดินทางของบุคคลอื่นเพื่อเข้าประเทศญี่ปุ่น แต่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองญี่ปุ่นไม่อนุญาตให้โจทก์กับ ส. และผู้หญิงไทยทั้งสองคนเข้าประเทศญี่ปุ่น เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนระเบียบบริหารงานบุคคลของบริษัทจำเลยว่าด้วยการบริหารงานบุคคล การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ ดังนั้น ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าการเลิกจ้างดังกล่าวคณะกรรมการสอบสวนความผิดทางวินัยมิได้ดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จและรายงานผลการสอบสวนต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาวินิจฉัยและสั่งการต่อไปภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ประธานกรรมการสอบสวนได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน หรือมิได้ขอขยายเวลาสอบสวนตามระเบียบบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลข้อ 17.4 หรือคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิได้ดำเนินการพิจารณาและ/หรือสอบสวนและพิจารณาให้แล้วเสร็จ แล้วรายงานต่อกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้รับอุทธรณ์และมิได้ขออนุมัติขยายระยะเวลาพิจารณาตามระเบียบดังกล่าวข้อ 24.3 ก็ย่อมไม่มีผลทำให้คำวินิจฉัยในเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ เปลี่ยนแปลงไปอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการริบทรัพย์สินและหลักการรับฟังข้อเท็จจริงเมื่อจำเลยรับสารภาพ
การริบทรัพย์สินในกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะย่อมเป็นอำนาจทั่วไปของศาลที่จะริบได้ตามที่ ป.อ. บัญญัติไว้ เมื่อโจทก์มีคำขอให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลางแล้ว และของกลางดังกล่าวเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้อ้างกฎหมายที่ให้อำนาจโจทก์ในการขอริบรถยนต์บรรทุกของกลางหรือ ป.อ. มาตรา 33 มาด้วย ศาลก็มีอำนาจริบรถยนต์บรรทุกของกลางได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ถูกต้องได้
ในคดีอาญาที่ไม่จำต้องสืบพยานประกอบ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ตามฟ้องของโจทก์ หากจำเลยจะโต้เถียงเป็นอย่างอื่นต้องยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ มิฉะนั้นถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
of 31