พบผลลัพธ์ทั้งหมด 302 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เกณฑ์สิทธิในการคำนวณภาษี, การเว้นภาษีซ้อน, และข้อจำกัดในการอุทธรณ์คดีภาษีอากร
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2527 มาตรา 20 บัญญัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี โดยรายได้ที่นำมาคำนวณให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะใช้เกณฑ์อย่างอื่นแทนเกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร เมื่อโจทก์ไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรเพื่อเปลี่ยนแปลงเกณฑ์สิทธิเพื่อคำนวณรายได้และรายจ่าย ทั้งกิจการของโจทก์มิใช่กิจการตามประเภทระบุไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรที่จะทำให้โจทก์สามารถใช้เกณฑ์อื่นในการคำนวณกำไรสุทธิได้แต่อย่างใด ดังนั้นโจทก์จึงต้องใช้ระบบบัญชีเกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี โจทก์จะใช้ระบบบัญชีเกณฑ์เงินสดในการคำนวณกำไรสุทธิหาได้ไม่
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าดอกเบี้ยค้างรับมิใช่รายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องใช้เกณฑ์สิทธินั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ค่าใช้จ่ายที่จะถือว่าเป็นรายจ่ายต้องห้ามตาม ป.รัษฎากรมาตรา 65 ตรี (18) หรือไม่นั้น โจทก์ต้องพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงิน เมื่อโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงินจำนวนดังกล่าว ย่อมเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (18)
แม้เงินกำไรที่พิพาทจะเป็นเงินกำไรที่บริษัท น.ประเทศญี่ปุ่นได้มาจากการขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยโดยตรง ไม่ได้ขายสินค้าโดยผ่านโจทก์ซึ่งเป็นสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยเลย แต่เมื่อเงินกำไรที่บริษัท น.ประเทศญี่ปุ่น ได้จากการขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยโดยตรงนั้นเป็นกิจกรรมเช่นที่โจทก์ซึ่งเป็นสถานประกอบการถาวรได้ประกอบอยู่โดยปกติ และโจทก์สามารถปฏิบัติได้ จึงถือว่ากำไรที่พิพาทกันเป็นกำไรที่เกิดจากโจทก์ตามความในวรรค 4 ของหนังสือที่ผู้แทนรัฐบาลไทยและผู้แทนรัฐบาลญี่ปุ่นจัดทำขึ้น ประกอบกับข้อ 3 วรรค 1 แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ โจทก์จึงต้องเสียภาษีจากกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 66 วรรคสองดังนั้น เมื่อมีการส่งเงินกำไรดังกล่าวออกจากประเทศไทย แม้ว่าลูกค้าในประเทศไทยจะเป็นผู้ส่งให้แก่บริษัท น.ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของโจทก์ ก็ย่อมถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นสาขาเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรนั้นออกไปจากประเทศไทย โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตาม มาตรา 70 ทวิ
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์คำนวณกำไรขั้นต้นถูกต้อง และในการคำนวณกำไรสุทธิของสำนักงานใหญ่ โจทก์มีสิทธินำค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรับรองและค่าเสื่อมราคามาเฉลี่ยในการคำนวณได้นั้น โจทก์มิได้ยกข้อดังกล่าวเป็นข้ออ้างเพื่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ในคำฟ้อง แม้ว่าโจทก์และจำเลยจะได้สืบพยานและศาลภาษีอากรกลางได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าดอกเบี้ยค้างรับมิใช่รายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องใช้เกณฑ์สิทธินั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ค่าใช้จ่ายที่จะถือว่าเป็นรายจ่ายต้องห้ามตาม ป.รัษฎากรมาตรา 65 ตรี (18) หรือไม่นั้น โจทก์ต้องพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงิน เมื่อโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงินจำนวนดังกล่าว ย่อมเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (18)
แม้เงินกำไรที่พิพาทจะเป็นเงินกำไรที่บริษัท น.ประเทศญี่ปุ่นได้มาจากการขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยโดยตรง ไม่ได้ขายสินค้าโดยผ่านโจทก์ซึ่งเป็นสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยเลย แต่เมื่อเงินกำไรที่บริษัท น.ประเทศญี่ปุ่น ได้จากการขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยโดยตรงนั้นเป็นกิจกรรมเช่นที่โจทก์ซึ่งเป็นสถานประกอบการถาวรได้ประกอบอยู่โดยปกติ และโจทก์สามารถปฏิบัติได้ จึงถือว่ากำไรที่พิพาทกันเป็นกำไรที่เกิดจากโจทก์ตามความในวรรค 4 ของหนังสือที่ผู้แทนรัฐบาลไทยและผู้แทนรัฐบาลญี่ปุ่นจัดทำขึ้น ประกอบกับข้อ 3 วรรค 1 แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ โจทก์จึงต้องเสียภาษีจากกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 66 วรรคสองดังนั้น เมื่อมีการส่งเงินกำไรดังกล่าวออกจากประเทศไทย แม้ว่าลูกค้าในประเทศไทยจะเป็นผู้ส่งให้แก่บริษัท น.ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของโจทก์ ก็ย่อมถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นสาขาเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรนั้นออกไปจากประเทศไทย โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตาม มาตรา 70 ทวิ
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์คำนวณกำไรขั้นต้นถูกต้อง และในการคำนวณกำไรสุทธิของสำนักงานใหญ่ โจทก์มีสิทธินำค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรับรองและค่าเสื่อมราคามาเฉลี่ยในการคำนวณได้นั้น โจทก์มิได้ยกข้อดังกล่าวเป็นข้ออ้างเพื่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ในคำฟ้อง แม้ว่าโจทก์และจำเลยจะได้สืบพยานและศาลภาษีอากรกลางได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้จากกำไรของบริษัทต่างประเทศที่ขายสินค้าให้ลูกค้าในไทยโดยผ่านสาขาในไทย และการส่งกำไรออกนอกประเทศ
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 มาตรา 20 บัญญัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ต้องใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี โดยรายได้ที่นำมาคำนวณให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใดแม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณ เป็นรายได้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะใช้เกณฑ์อย่างอื่นแทนเกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรเมื่อโจทก์ไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรเพื่อเปลี่ยนแปลงเกณฑ์สิทธิเพื่อคำนวณรายได้และรายจ่าย ทั้งกิจการของโจทก์มิใช่กิจการตามประเภทระบุไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรที่จะทำให้โจทก์สามารถใช้เกณฑ์อื่นในการคำนวณกำไรสุทธิได้แต่อย่างใดดังนั้น โจทก์จึงต้องใช้ระบบบัญชีเกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี โจทก์จะใช้ระบบบัญชีเกณฑ์เงินสดในการคำนวณกำไรสุทธิหาได้ไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าดอกเบี้ยค้างรับมิใช่รายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องใช้เกณฑ์สิทธินั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ค่าใช้จ่ายที่จะถือว่าเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(18) หรือไม่นั้น โจทก์ต้องพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงิน เมื่อโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับเงินจำนวนดังกล่าว ย่อมเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(18) แม้เงินกำไรที่พิพาทจะเป็นเงินกำไรที่บริษัทน.ประเทศญี่ปุ่นได้มาจากการขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยโดยตรงไม่ได้ขายสินค้าโดยผ่านโจทก์ซึ่งเป็นสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยเลย แต่เมื่อเงินกำไรที่บริษัทน.ประเทศญี่ปุ่นได้จากการขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยโดยตรงนั้นเป็นกิจกรรมเช่นที่โจทก์ซึ่งเป็นสถานประกอบการถาวรได้ประกอบอยู่โดยปกติ และโจทก์สามารถปฏิบัติได้ จึงถือว่ากำไรทีพิพาทกันเป็นกำไรที่เกิดจากโจทก์ตามความในวรรค 4ของหนังสือที่ผู้แทนรัฐสภาไทยและผู้แทนรัฐบาลญี่ปุ่นจัดทำขึ้น ประกอบกับข้อ 3 วรรค 1 แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ โจทก์จึงต้องเสียภาษีจากกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อมีการส่งเงินกำไรดังกล่าวออกจากประเทศไทย แม้ว่าลูกค้าในประเทศไทยจะเป็นผู้ส่งให้แก่บริษัทน.ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของโจทก์ ก็ย่อมถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นสาขาเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรนั้นออกไปจากประเทศไทย โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 ทวิ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์คำนวณกำไรขั้นต้นถูกต้อง และในการ คำนวณกำไรสุทธิของสำนักงานใหญ่ โจทก์มีสิทธินำค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ การรับรองและค่าเสื่อมราคามาเฉลี่ยในการคำนวณได้นั้นโจทก์มิได้ยกข้อดังกล่าวเป็นข้ออ้างเพื่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ในคำฟ้อง แม้ว่าโจทก์และจำเลยจะได้สืบพยานและศาลภาษีอากรกลางได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้าม มิให้อุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5706/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการอธิบายเหตุผลที่ไม่ได้รับหมายนัดโดยไม่โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้น ไม่อาจนำมาวินิจฉัยได้
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ใหม่อ้างว่า ส่งหมายนัดแก่โจทก์ไม่ชอบเพราะไม่มีผู้ใดไปส่งหมายนัดหรือนำไปปิดศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า แม้จะฟังว่าการส่งหมายนัดแก่โจทก์ไม่ชอบ แต่ก็มีการส่งให้แก่ทนายโจทก์โดยชอบแล้วจึงมีคำสั่งยกคำร้อง ดังนี้ อุทธรณ์ของโจทก์ที่อ้างว่าการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ให้แก่พ.ซึ่งเป็นเสมียนทนายของ บ. แต่ได้ลาออกไปแล้วเพราะมีเหตุขัดแจ้งกับ บ. โดยหยุดงานไปเลยและมิได้แจ้งให้ใครทราบ และมิได้แจ้งหรือนำหมายนัดให้แก่ทนายโจทก์ทราบแต่ประการใดทนายโจทก์จึงไม่ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์นั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ตัวโจทก์เองก็ไม่ได้รับหมายนัดหรือมีบุคคลใดนำหมายนัดไปปิดไว้ที่บ้านโจทก์โจทก์จึงไม่ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยไว้ แต่ปัญหาดังกล่าวแม้จะเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นก็ตาม แต่โจทก์ก็เพียงแต่อธิบายยืนยันถึงเหตุที่ว่าโจทก์ไม่ได้รับหมายนัดและไม่ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เท่านั้น โดยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นว่าไม่ชอบอย่างไรจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5706/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่ไม่ชอบ ศาลชั้นต้นพิจารณาว่าการส่งให้ทนายชอบแล้ว โจทก์อุทธรณ์เหตุไม่ทราบวันนัด แต่ไม่โต้แย้งคำสั่งศาล
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ใหม่อ้างว่า ส่งหมายนัดแก่โจทก์ไม่ชอบเพราะไม่มีผู้ใดไปส่งหมายนัดหรือนำไปปิดศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า แม้จะฟังว่าการส่งหมายนัดแก่โจทก์ไม่ชอบ แต่ก็มีการส่งให้แก่ทนายโจทก์โดยชอบแล้ว จึงมีคำสั่งยกคำร้อง ดังนี้ อุทธรณ์ของโจทก์ที่อ้างว่าการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ให้แก่ พ.ซึ่งเป็นเสมียนทนายของ บ.แต่ได้ลาออกไปแล้วเพราะมีเหตุขัดแย้งกับ บ.โดยหยุดงานไปเลยและมิได้แจ้งให้ใครทราบ และมิได้แจ้งหรือนำหมายนัดให้แก่ทนายโจทก์ทราบแต่ประการใดทนายโจทก์จึงไม่ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์นั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ตัวโจทก์เองก็ไม่ได้รับหมายนัดหรือมีบุคคลใดนำหมายนัดไปปิดไว้ที่บ้านโจทก์ โจทก์จึงไม่ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยไว้ แต่ปัญหาดังกล่าวแม้จะเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นก็ตาม แต่โจทก์ก็เพียงแต่อธิบายยืนยันถึงเหตุที่ว่าโจทก์ไม่ได้รับหมายนัดและไม่ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เท่านั้น โดยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นว่าไม่ชอบอย่างไรจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3085/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ต้องยกประเด็นในศาลชั้นต้น การจัดการมรดกผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้อง และคดีแพ่งไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่คู่ความจะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งนอกจากจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์และต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยแล้วต้องเป็นข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นด้วยและกรณีที่จะถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นนั้นต้องได้ความว่าคู่ความได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นขึ้นกล่าวอ้างเป็นประเด็นแห่งคดีมาในคำฟ้องหรือคำให้การและศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายตรงตามประเด็นดังกล่าวนั้นด้วย กรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโจทก์ทั้งสองก็มิได้บรรยายข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายต่างๆดังที่จำเลยกล่าวอ้างมาในอุทธรณ์ไว้ในคำฟ้องดังนี้แม้ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายตามที่จำเลยอุทธรณ์มาโจทก์ทั้งสองและจำเลยจะได้แถลงรับกันตามที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาก็ตามก็ถือมิได้ว่าข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นเป็นประเด็นในคดีทั้งศาลชั้นต้นก็มิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายดังกล่าวนั้นด้วยข้ออุทธรณ์ของจำเลยจึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยชอบแล้ว คำฟ้องโจทก์บรรยายว่าเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาลชั้นต้นจำเลยเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉยเช่นนี้เห็นได้ว่าโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อจัดการมรดกของผู้ตายเมื่อจำเลยเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินพิพาทโจทก์ทั้งสองทวงถามให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแต่จำเลยเพิกเฉยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองในการจัดการทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาทโจทก์มีอำนาจฟ้องแม้จำเลยอ้างว่ายังมีข้อโต้แย้งว่าผู้ใดจะเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายบ้างก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์มรดกเสียไป โจทก์ฟ้องให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทอ้างว่าเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทเมื่อโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกก็ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อจัดการมรดกการรวบรวมทรัพย์มรดกก็ดีการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทก็ดีล้วนแต่เป็นการจัดการมรดกทั้งสิ้นแม้โจทก์ฟ้องให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแก่โจทก์เพื่อนำไปรวบรวมดำเนินการแก่ทายาทก็มีความหมายให้โจทก์รวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาทนั่นเองการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทก็เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องดังนี้ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษานอกคำฟ้องแต่อย่างใด คดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขดำที่6258/2538ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นฐานยักยอกแม้คดีนี้กับคดีอาญาดังกล่าวโจทก์กับจำเลยต่างเป็นคู่ความเดียวกันแต่คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องบังคับให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแก่โจทก์เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาทส่วนคดีอาญาดังกล่าวโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นฐานยักยอกโฉนดที่ดินพิพาทประเด็นในคดีแพ่งและคดีอาญามิได้เป็นประเด็นอย่างเดียวกันไม่ว่าข้อเท็จจริงในคดีอาญาจะฟังว่าจำเลยจะมีความผิดตามฟ้องหรือไม่ก็ตามแต่ในคดีแพ่งจำเลยเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินพิพาทก็ต้องส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกดังนั้นคดีนี้กับคดีอาญาดังกล่าวจึงมิใช่เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาการพิพากษาคดีนี้ไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3085/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการฟ้องบังคับให้ส่งมอบโฉนดที่ดินของผู้จัดการมรดก โดยต้องเป็นประเด็นที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่คู่ความจะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง นอกจากจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์และต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยแล้ว ต้องเป็นข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นด้วย และกรณีที่จะถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นนั้นต้องได้ความว่า คู่ความได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นขึ้นกล่าวอ้างเป็นประเด็นแห่งคดีมาในคำฟ้องหรือคำให้การและศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายตรงตามประเด็นดังกล่าวนั้นด้วย
กรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ทั้งสองก็มิได้บรรยายข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายต่าง ๆ ดังที่จำเลยกล่าวอ้างมาในอุทธรณ์ไว้ในคำฟ้องดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายตามที่จำเลยอุทธรณ์มา โจทก์ทั้งสองและจำเลยจะได้แถลงรับกันตามที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาก็ตาม ก็ถือมิได้ว่าข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นเป็นประเด็นในคดี ทั้งศาลชั้นต้นก็มิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายดังกล่าวนั้นด้วย ข้ออุทธรณ์ของจำเลยจึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยชอบแล้ว
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่าเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาลชั้นต้น จำเลยเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉย เช่นนี้เห็นได้ว่า โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อจัดการมรดกของผู้ตาย เมื่อจำเลยเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งสองทวงถามให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแต่จำเลยเพิกเฉย จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองในการจัดการทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาท โจทก์มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยอ้างว่ายังมีข้อโต้แย้งว่าผู้ใดจะเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายบ้าง ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์มรดกเสียไป
โจทก์ฟ้องให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทอ้างว่าเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท เมื่อโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกก็ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อจัดการมรดก การรวบรวมทรัพย์มรดกก็ดี การแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทก็ดี ล้วนแต่เป็นการจัดการมรดกทั้งสิ้น แม้โจทก์ฟ้องให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแก่โจทก์เพื่อนำไปรวบรวมดำเนินการแก่ทายาท ก็มีความหมายให้โจทก์รวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาทนั่นเอง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทก็เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้อง ดังนี้ ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษานอกคำฟ้องแต่อย่างใด
คดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 6258/2538 ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นฐานยักยอก แม้คดีนี้กับคดีอาญาดังกล่าวโจทก์กับจำเลยต่างเป็นคู่ความเดียวกัน แต่คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องบังคับให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแก่โจทก์เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาท ส่วนคดีอาญาดังกล่าวโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นฐานยักยอกโฉนดที่ดินพิพาท ประเด็นในคดีแพ่งและคดีอาญามิได้เป็นประเด็นอย่างเดียวกัน ไม่ว่าข้อเท็จจริงในคดีอาญาจะฟังว่าจำเลยจะมีความผิดตามฟ้องหรือไม่ก็ตาม แต่ในคดีแพ่งจำเลยเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินพิพาทก็ต้องส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก ดังนั้น คดีนี้กับคดีอาญาดังกล่าวจึงมิใช่เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิพากษาคดีนี้ไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46แต่อย่างใด
กรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ทั้งสองก็มิได้บรรยายข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายต่าง ๆ ดังที่จำเลยกล่าวอ้างมาในอุทธรณ์ไว้ในคำฟ้องดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายตามที่จำเลยอุทธรณ์มา โจทก์ทั้งสองและจำเลยจะได้แถลงรับกันตามที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาก็ตาม ก็ถือมิได้ว่าข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นเป็นประเด็นในคดี ทั้งศาลชั้นต้นก็มิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายดังกล่าวนั้นด้วย ข้ออุทธรณ์ของจำเลยจึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยชอบแล้ว
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่าเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาลชั้นต้น จำเลยเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉย เช่นนี้เห็นได้ว่า โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อจัดการมรดกของผู้ตาย เมื่อจำเลยเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งสองทวงถามให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแต่จำเลยเพิกเฉย จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองในการจัดการทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาท โจทก์มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยอ้างว่ายังมีข้อโต้แย้งว่าผู้ใดจะเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายบ้าง ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์มรดกเสียไป
โจทก์ฟ้องให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทอ้างว่าเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท เมื่อโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกก็ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อจัดการมรดก การรวบรวมทรัพย์มรดกก็ดี การแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทก็ดี ล้วนแต่เป็นการจัดการมรดกทั้งสิ้น แม้โจทก์ฟ้องให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแก่โจทก์เพื่อนำไปรวบรวมดำเนินการแก่ทายาท ก็มีความหมายให้โจทก์รวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาทนั่นเอง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทก็เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้อง ดังนี้ ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษานอกคำฟ้องแต่อย่างใด
คดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 6258/2538 ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นฐานยักยอก แม้คดีนี้กับคดีอาญาดังกล่าวโจทก์กับจำเลยต่างเป็นคู่ความเดียวกัน แต่คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องบังคับให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแก่โจทก์เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาท ส่วนคดีอาญาดังกล่าวโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นฐานยักยอกโฉนดที่ดินพิพาท ประเด็นในคดีแพ่งและคดีอาญามิได้เป็นประเด็นอย่างเดียวกัน ไม่ว่าข้อเท็จจริงในคดีอาญาจะฟังว่าจำเลยจะมีความผิดตามฟ้องหรือไม่ก็ตาม แต่ในคดีแพ่งจำเลยเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินพิพาทก็ต้องส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก ดังนั้น คดีนี้กับคดีอาญาดังกล่าวจึงมิใช่เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิพากษาคดีนี้ไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3085/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องบังคับให้ส่งมอบทรัพย์มรดก ต้องมีประเด็นยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้นก่อน จึงจะอุทธรณ์ได้
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่คู่ความจะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง นอกจากจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์และต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยแล้วต้องเป็นข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นด้วย และกรณีที่จะถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นนั้นต้องได้ความว่าคู่ความได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นขึ้นกล่าวอ้างเป็นประเด็นแห่งคดีมาในคำฟ้องหรือคำให้การและศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายตรงตามประเด็นดังกล่าวนั้นด้วย กรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ทั้งสองก็มิได้บรรยายข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายต่าง ๆ ดังที่จำเลยกล่าวอ้างมาในอุทธรณ์ไว้ในคำฟ้อง ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายตามที่จำเลยอุทธรณ์มา โจทก์ทั้งสองและจำเลยจะได้แถลงรับกันตามที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาก็ตามก็ถือมิได้ว่าข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นเป็นประเด็นในคดีทั้งศาลชั้นต้นก็มิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายดังกล่าวนั้นด้วย ข้ออุทธรณ์ของจำเลยจึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยชอบแล้ว คำฟ้องโจทก์บรรยายว่าเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาลชั้นต้น จำเลยเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉยเช่นนี้เห็นได้ว่า โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อจัดการมรดกของผู้ตาย เมื่อจำเลยเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินพิพาทโจทก์ทั้งสองทวงถามให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแต่จำเลยเพิกเฉย จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองในการจัดการทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาท โจทก์มีอำนาจฟ้องแม้จำเลยอ้างว่ายังมีข้อโต้แย้งว่าผู้ใดจะเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายบ้าง ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์มรดกเสียไป โจทก์ฟ้องให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทอ้างว่าเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท เมื่อโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกก็ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อจัดการมรดก การรวบรวมทรัพย์มรดกก็ดี การแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทก็ดี ล้วนแต่เป็นการจัดการมรดกทั้งสิ้นแม้โจทก์ฟ้องให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแก่โจทก์เพื่อนำไปรวบรวมดำเนินการแก่ทายาท ก็มีความหมายให้โจทก์รวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาทนั่นเอง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทก็เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้อง ดังนี้ ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษานอกคำฟ้องแต่อย่างใด คดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 6258/2538 ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นฐานยักยอก แม้คดีนี้กับคดีอาญาดังกล่าวโจทก์กับจำเลยต่างเป็นคู่ความเดียวกัน แต่คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องบังคับให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทแก่โจทก์เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาท ส่วนคดีอาญาดังกล่าวโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นฐานยักยอกโฉนดที่ดินพิพาทประเด็นในคดีแพ่งและคดีอาญามิได้เป็นประเด็นอย่างเดียวกันไม่ว่าข้อเท็จจริงในคดีอาญาจะฟังว่าจำเลยจะมีความผิดตามฟ้องหรือไม่ก็ตาม แต่ในคดีแพ่งจำเลยเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินพิพาทก็ต้องส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก ดังนั้น คดีนี้กับคดีอาญาดังกล่าวจึงมิใช่เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิพากษาคดีนี้ไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทภาษีมูลค่าเพิ่ม การเลือกใช้สิทธิ/การผิดนัดชำระหนี้ และดอกเบี้ย
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลย เป็นสัญญาให้บริการที่โจทก์ได้ทำกับจำเลยซึ่งเป็นกรมในรัฐบาล โดยสัญญานั้นได้ทำขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 และมีงานให้บริการตามสัญญาส่วนที่เหลือที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ต่อไปอีก โจทก์จึงมิได้รับยกเว้นที่จะยังคงเสียภาษีการค้าต่อไปสำหรับค่าตอบแทนจากการให้บริการหลังวันที่ 1 มกราคม 2535 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจึงมีหน้าที่ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น กรณีที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 249)พ.ศ. 2535 ซึ่งประกาศใช้ในภายหลังได้บัญญัติไว้มาตรา 3ให้สิทธิแก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้ยื่นซองประกวดราคาหรือให้บริการกับกระทรวงทบวงกรม หรือราชการส่วนท้องถิ่นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 ในการที่จะเลือกเสียภาษีการค้าตามบทบัญญัติหมวด 4 ภาษีการค้า ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534หรือเลือกที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องใช้สิทธิเลือกเสียภาษีการค้าหรือภาษีมูลค่าเพิ่มภายในกำหนดระยะเวลาเท่าใดและวิธีการอย่างไร ที่โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าประจำเดือน กุมภาพันธ์มีนาคม เมษายน และกรกฎาคม 2535 ก็ได้ความว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินค่าจ้างแก่โจทก์ ได้หักภาษีการค้ารวมทั้งภาษีบำรุงท้องถิ่น จากเงินที่จ่ายแก่โจทก์เมื่อวันที่4 และ 5 กุมภาพันธ์ 2535 สำหรับงานงวดที่ 14,18 และ 19 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2535 สำหรับงานงวดที่ 17,20 และ 21 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2535สำหรับงานงวดที่ 2,25 และ 26 โดยจำเลยได้ออก ใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้โจทก์ แต่ต่อมาโจทก์ก็ได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรที่จำเลยหัก ณ ที่จ่าย และนำส่งอำเภอท้องที่จากกรมสรรพากรแล้ว เช่นนี้ การยื่นแบบแสดงรายการการค้าประจำเดือนภาษีกุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายนและกรกฎาคม 2535 ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาเลือกชำระภาษีการค้าสำหรับรายรับค่าบริการ(ค่าก่อสร้าง) ตามพระราชกฤษฎีกา ออกความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 249) พ.ศ. 2535 แต่การที่โจทก์มีหนังสือขอแจ้งการใช้สิทธิเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มถึงจำเลย ฉบับลงวันที่15 ตุลาคม 2535 และวันที่ 16 พฤศจิกายน 2535 และโจทก์ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าจ้างสำหรับเดือนภาษีดังกล่าวแก่กรมสรรพากร ตามแบบแสดงการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิเลือกที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างที่รับจากจำเลยผู้รับบริการตามมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร แต่จำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ และโจทก์ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าจ้างสำหรับงานงวดที่ 12 ถึง 14 งวดที่ 17 ถึง 30และค่าจ้างที่มีการปรับราคา (ค่าเค) สำหรับงานงวดที่ 10,22,25 และ 26 ให้แก่กรมสรรพากรแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้ชำระดังกล่าวจากจำเลย ค่าก่อสร้างตามสัญญามีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่เพราะใบเสนอราคาของโจทก์ที่เสนอต่อจำเลยในการประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารได้ระบุว่ามีค่าภาษีรวมอยู่ด้วย จึงน่าเชื่อว่าค่าก่อสร้างที่โจทก์คิดจากจำเลยมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วยแต่ในเวลาทำสัญญาจ้างคดีนี้ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบว่าจะมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 ที่ให้ยกเลิกภาษีการค้าและนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้บังคับแทนภาษีการค้า จึงฟังไม่ได้ว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยได้รวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในค่าก่อสร้าง แต่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79ฐานภาษีสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือฟังได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ รวมทั้งภาษีสรรพสามิตภาษีด้วย เมื่อโจทก์ได้รับค่าจ้างซึ่งมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วยการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จึงต้องคำนวณจากค่าจ้างซึ่งมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย ฉะนั้น ที่ศาลภาษีอากรกลางให้นำภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นมาหักออกจากค่าจ้างก่อนที่จะคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่ชอบ อย่างไรก็ดีเมื่อค่าจ้างดังกล่าวมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นอัตราร้อยละ 3.3 รวมอยู่ด้วยทั้งโจทก์ก็มีสิทธิได้รับภาษีดังกล่าวนี้คืนจากกรมสรรพากรเพื่อความเป็นธรรม จึงให้นำภาษีดังกล่าวมาหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 คงให้จำเลยรับผิดชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพียงร้อยละ 3.7 ของยอดเงินค่าจ้าง สำหรับค่าจ้างปรับราคา (ค่าเค.) เป็นค่าชดเชยที่ส่วนราชการจ่ายให้แก่ผู้ประกอบการตามมติคณะรัฐมนตรีในช่วงที่เกิดวิกฤติการณ์เกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างขึ้นราคาหรือขาดแคลน ไม่ใช่ค่าชดเชยที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีตามมาตรา 79 วรรคสาม (2) แห่งประมวลรัษฎากรค่าชดเชยดังกล่าวจึงยังถือเป็นมูลค่าของฐานภาษีในการเรียกภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 สำหรับค่าชดเชยดังกล่าวจากจำเลยทั้งนี้โดยไม่หักภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นอัตราร้อยละ3.3 ออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 ก่อนคำนวณเพราะค่าจ้างปรับราคาดังกล่าวมิใช่จ้างที่โจทก์เสนอแก่จำเลยตั้งแต่ต้นจึงไม่มีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย โจทก์จะมีสิทธิขอคืนภาษีซื้อหรือนำภาษีซื้อที่ถูกผู้ประกอบการ อื่นที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเรียกเก็บไปแล้วมาหักจาก ภาษีขายได้หรือไม่นั้น เป็นสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตาม ประมวลรัษฎากร ไม่มีบทบัญญัติใดที่ให้สิทธิแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในอันที่จะเรียกร้องให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการมีหน้าที่ต้องชำระ ดังนั้นโจทก์จึงไม่ต้องนำภาษีซื้อไปหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกจากจำเลย ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้ผิดนัดจึงไม่ต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นั้น ในเรื่องดอกเบี้ยจำเลยคงให้การต่อสู้เพียงว่าจำเลยมิได้ผิดสัญญา และไม่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์เท่านั้น จำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ให้เป็นประเด็นในคำให้การว่า จำเลยมิได้ผิดนัดยังไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์แต่อย่างใด ดังนั้นอุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย หนี้ค่าภาษีที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์เป็นหนี้เงินที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์ได้กู้เงินจากธนาคารนำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มโดยเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว และไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่โจทก์อาจเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ดอกเบี้ยได้สูงกว่าที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเท่านั้น โจทก์เพิ่งแจ้งการใช้สิทธิเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและขอเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยค้างจ่ายนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ตามหนังสือของโจทก์ฉบับลงวันที่ 15 ตุลาคม 2535 จำเลยได้รับหนังสือของโจทก์ในวันเดียวกัน เมื่อจำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์จึงถือว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างของงานงวดที่ 14 งวดที่ 17 ถึง 22 งวดที่ 25 ถึง 26 และค่าจ้างที่มีการปรับราคา (ค่าเค.) สำหรับงานงวดที่ 10ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2535 ต้องใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นับตั้งแต่วันดังกล่าวส่วนค่าจ้างสำหรับงานงวดอื่น ๆ ที่ต้องชำระหลังจากวันที่ 15 ตุลาคม 2535 เมื่อจำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ก็ย่อมถือว่าจำเลยผิดนัดนับตั้งแต่วันที่มีการชำระค่าจ้างจำเลยต้องใช้ดอกเบี้ยสำหรับจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นนับแต่วันผิดนัดชำระค่าจ้างแต่ละงวด การให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิพากษาเช่นนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17ศาลภาษีอากรกลางจึงชอบที่พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับได้ แม้ว่าจะตัดสินให้จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดีก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทภาษีมูลค่าเพิ่มหลังพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 สิทธิในการเลือกเสียภาษีและดอกเบี้ยผิดนัด
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลย เป็นสัญญาให้บริการที่โจทก์ได้ทำกับจำเลยซึ่งเป็นกรมในรัฐบาล โดยสัญญานั้นได้ทำขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535และมีงานให้บริการตามสัญญาส่วนที่เหลือที่จะต้องปฎิบัติตามสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม2535 ต่อไปอีก โจทก์จึงมิได้รับยกเว้นที่จะยังคงเสียภาษีการค้าต่อไปสำหรับค่าตอบแทนจากการให้บริการหลังวันที่ 1 มกราคม 2535 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจึงมีหน้าที่ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น กรณีที่ได้มี พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 249) พ.ศ.2535 ซึ่งประกาศใช้ในภายหลังได้บัญญัติไว้มาตรา 3 ให้สิทธิแก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งป.รัษฎากร ที่ได้ยื่นซองประกวดราคาหรือให้บริการกับกระทรวงทบวงกรม หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 ในการที่จะเลือกเสียภาษีการค้าตามบทบัญญัติหมวด 4 ภาษีการค้า ในลักษณะ 2 แห่ง ป.รัษฎากรก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30)พ.ศ.2534 หรือเลือกที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น พ.ร.ฎ.ดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องใช้สิทธิเลือกเสียภาษีการค้าหรือภาษีมูลค่าเพิ่มภายในกำหนดระยะเวลาเท่าใดและวิธีการอย่างไร ที่โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าประจำเดือน กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน และกรกฎาคม2535 ก็ได้ความว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินค่าจ้างแก่โจทก์ ได้หักภาษีการค้ารวมทั้งภาษีบำรุงท้องถิ่น จากเงินที่จ่ายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 4 และ 5 กุมภาพันธ์2535 สำหรับงานงวดที่ 14, 18 และ 19 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2535 สำหรับงานงวดที่ 17, 20 และ 21 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2535 สำหรับงานงวดที่ 2,25 และ 26 โดยจำเลยได้ออกใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้โจทก์ แต่ต่อมาโจทก์ก็ได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรที่จำเลยหัก ณ ที่จ่าย และนำส่งอำเภอท้องที่จากกรมสรรพากรแล้ว เช่นนี้ การยื่นแบบแสดงรายการการค้าประจำเดือนภาษีกุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน และกรกฎาคม 2535 ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาเลือกชำระภาษีการค้าสำหรับรายรับค่าบริการ (ค่าก่อสร้าง)ตาม พ.ร.ฎ.ออกความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 249) พ.ศ.2535 แต่การที่โจทก์มีหนังสือขอแจ้งการใช้สิทธิเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มถึงจำเลย ฉบับลงวันที่ 15 ตุลาคม 2535 และวันที่ 16 พฤศจิกายน2535 และโจทก์ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าจ้างสำหรับเดือนภาษีดังกล่าวแก่กรมสรรพากร ตามแบบแสดงการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิเลือกที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างที่รับจากจำเลยผู้รับบริการตามมาตรา 82/4 แห่งป.รัษฎากร แต่จำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ และโจทก์ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าจ้างสำหรับงานงวดที่ 12 ถึง 14 งวดที่ 17ถึง 30 และค่าจ้างที่มีการปรับราคา (ค่าเค) สำหรับงานงวดที่ 10, 22, 25และ 26 ให้แก่กรมสรรพากรแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้ชำระดังกล่าวจากจำเลย
ค่าก่อสร้างตามสัญญามีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่เพราะใบเสนอราคาของโจทก์ที่เสนอต่อจำเลยในการประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารได้ระบุว่ามีค่าภาษีรวมอยู่ด้วย จึงน่าเชื่อว่าค่าก่อสร้างที่โจทก์คิดจากจำเลยมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย แต่ในเวลาทำสัญญาจ้างคดีนี้ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบว่าจะมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ที่ให้ยกเลิกภาษีการค้าและนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้บังคับแทนภาษีการค้า จึงฟังไม่ได้ว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยได้รวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในค่าก่อสร้าง แต่ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 79 ฐานภาษีสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ รวมทั้งภาษีสรรพสามิตภาษีด้วย เมื่อโจทก์ได้รับค่าจ้างซึ่งมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จึงต้องคำนวณจากค่าจ้างซึ่งมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย ฉะนั้น ที่ศาลภาษีอากรกลางให้นำภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นมาหักออกจากค่าจ้างก่อนที่จะคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่ชอบ อย่างไรก็ดีเมื่อค่าจ้างดังกล่าวมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นอัตราร้อยละ 3.3 รวมอยู่ด้วย ทั้งโจทก์ก็มีสิทธิได้รับภาษีดังกล่าวนี้คืนจากกรมสรรพากร เพื่อความเป็นธรรม จึงให้นำภาษีดังกล่าวมาหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 คงให้จำเลยรับผิดชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพียงร้อยละ 3.7 ของยอดเงินค่าจ้าง
สำหรับค่าจ้างปรับราคา (ค่าเค)เป็นค่าชดเชยที่ส่วนราชการจ่ายให้แก่ผู้ประกอบการตามมติคณะรัฐมนตรีในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์เกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างขึ้นราคาหรือขาดแคลน ไม่ใช่ค่าชดเชยที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีตามมาตรา 79 วรรคสาม (2) แห่ง ป.รัษฎากร ค่าชดเชยดังกล่าวจึงยังถือเป็นมูลค่าของฐานภาษีในการเรียกภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 สำหรับค่าชดเชยดังกล่าวจากจำเลย ทั้งนี้โดยไม่หักภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นอัตราร้อยละ 3.3 ออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 ก่อนคำนวณ เพราะค่าจ้างปรับราคาดังกล่าวมิใช่ค่าจ้างที่โจทก์เสนอแก่จำเลยตั้งแต่ต้นจึงไม่มีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย
โจทก์จะมีสิทธิขอคืนภาษีซื้อหรือนำภาษีซื้อที่ถูกผู้ประกอบการอื่นที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเรียกเก็บไปแล้วมาหักจากภาษีขายได้หรือไม่นั้น เป็นสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตาม ป.รัษฎากร ไม่มีบทบัญญัติใดที่ให้สิทธิแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในอันที่จะเรียกร้องให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการมีหน้าที่ต้องชำระ ดังนั้นโจทก์จึงไม่ต้องนำภาษีซื้อไปหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกจากจำเลย
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้ผิดนัดจึงไม่ต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นั้น ในเรื่องดอกเบี้ยจำเลยคงให้การต่อสู้เพียงว่าจำเลยมิได้ผิดสัญญา และไม่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์เท่านั้น จำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ให้เป็นประเด็นในคำให้การว่า จำเลยมิได้ผิดนัดยังไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์แต่อย่างใด ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 29 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
หนี้ค่าภาษีที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์เป็นหนี้เงิน ที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์ได้กู้เงินจากธนาคารนำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มโดยเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15ต่อปีนั้น ไม่ปรากฎว่าจำเลยได้ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว และไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่โจทก์อาจเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ดอกเบี้ยได้สูงกว่าที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 224 โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเท่านั้น
โจทก์เพิ่งแจ้งการใช้สิทธิเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและขอเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยค้างจ่ายนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ตามหนังสือของโจทก์ฉบับลงวันที่ 15 ตุลาคม 2535 จำเลยได้รับหนังสือของโจทก์ในวันเดียวกัน เมื่อจำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ จึงถือว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างของงานงวดที่ 14 งวดที่ 17 ถึง 22งวดที่ 25 ถึง 26 และค่าจ้างที่มีการปรับราคา (ค่าเค) สำหรับงานงวดที่ 10ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2535 ต้องใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นับตั้งแต่วันดังกล่าวส่วนค่าจ้างสำหรับงานงวดอื่น ๆ ที่ต้องชำระหลังจากวันที่ 15 ตุลาคม 2535เมื่อจำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ก็ย่อมถือว่าจำเลยผิดนัดนับตั้งแต่วันที่มีการชำระค่าจ้างจำเลยต้องใช้ดอกเบี้ยสำหรับจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นนับแต่วันผิดนัดชำระค่าจ้างแต่ละงวด
การให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิพากษาเช่นนั้นได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 161 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ศาลภาษีอากรกลางจึงชอบที่พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับได้ แม้ว่าจะตัดสินให้จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดีก็ตาม
ค่าก่อสร้างตามสัญญามีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่เพราะใบเสนอราคาของโจทก์ที่เสนอต่อจำเลยในการประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารได้ระบุว่ามีค่าภาษีรวมอยู่ด้วย จึงน่าเชื่อว่าค่าก่อสร้างที่โจทก์คิดจากจำเลยมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย แต่ในเวลาทำสัญญาจ้างคดีนี้ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบว่าจะมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ที่ให้ยกเลิกภาษีการค้าและนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้บังคับแทนภาษีการค้า จึงฟังไม่ได้ว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยได้รวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในค่าก่อสร้าง แต่ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 79 ฐานภาษีสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ รวมทั้งภาษีสรรพสามิตภาษีด้วย เมื่อโจทก์ได้รับค่าจ้างซึ่งมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จึงต้องคำนวณจากค่าจ้างซึ่งมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย ฉะนั้น ที่ศาลภาษีอากรกลางให้นำภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นมาหักออกจากค่าจ้างก่อนที่จะคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่ชอบ อย่างไรก็ดีเมื่อค่าจ้างดังกล่าวมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นอัตราร้อยละ 3.3 รวมอยู่ด้วย ทั้งโจทก์ก็มีสิทธิได้รับภาษีดังกล่าวนี้คืนจากกรมสรรพากร เพื่อความเป็นธรรม จึงให้นำภาษีดังกล่าวมาหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 คงให้จำเลยรับผิดชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพียงร้อยละ 3.7 ของยอดเงินค่าจ้าง
สำหรับค่าจ้างปรับราคา (ค่าเค)เป็นค่าชดเชยที่ส่วนราชการจ่ายให้แก่ผู้ประกอบการตามมติคณะรัฐมนตรีในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์เกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างขึ้นราคาหรือขาดแคลน ไม่ใช่ค่าชดเชยที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีตามมาตรา 79 วรรคสาม (2) แห่ง ป.รัษฎากร ค่าชดเชยดังกล่าวจึงยังถือเป็นมูลค่าของฐานภาษีในการเรียกภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 สำหรับค่าชดเชยดังกล่าวจากจำเลย ทั้งนี้โดยไม่หักภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นอัตราร้อยละ 3.3 ออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 ก่อนคำนวณ เพราะค่าจ้างปรับราคาดังกล่าวมิใช่ค่าจ้างที่โจทก์เสนอแก่จำเลยตั้งแต่ต้นจึงไม่มีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย
โจทก์จะมีสิทธิขอคืนภาษีซื้อหรือนำภาษีซื้อที่ถูกผู้ประกอบการอื่นที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเรียกเก็บไปแล้วมาหักจากภาษีขายได้หรือไม่นั้น เป็นสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตาม ป.รัษฎากร ไม่มีบทบัญญัติใดที่ให้สิทธิแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในอันที่จะเรียกร้องให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการมีหน้าที่ต้องชำระ ดังนั้นโจทก์จึงไม่ต้องนำภาษีซื้อไปหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกจากจำเลย
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้ผิดนัดจึงไม่ต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นั้น ในเรื่องดอกเบี้ยจำเลยคงให้การต่อสู้เพียงว่าจำเลยมิได้ผิดสัญญา และไม่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์เท่านั้น จำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ให้เป็นประเด็นในคำให้การว่า จำเลยมิได้ผิดนัดยังไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์แต่อย่างใด ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 29 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
หนี้ค่าภาษีที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์เป็นหนี้เงิน ที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์ได้กู้เงินจากธนาคารนำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มโดยเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15ต่อปีนั้น ไม่ปรากฎว่าจำเลยได้ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว และไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่โจทก์อาจเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ดอกเบี้ยได้สูงกว่าที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 224 โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเท่านั้น
โจทก์เพิ่งแจ้งการใช้สิทธิเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและขอเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยค้างจ่ายนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ตามหนังสือของโจทก์ฉบับลงวันที่ 15 ตุลาคม 2535 จำเลยได้รับหนังสือของโจทก์ในวันเดียวกัน เมื่อจำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ จึงถือว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างของงานงวดที่ 14 งวดที่ 17 ถึง 22งวดที่ 25 ถึง 26 และค่าจ้างที่มีการปรับราคา (ค่าเค) สำหรับงานงวดที่ 10ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2535 ต้องใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นับตั้งแต่วันดังกล่าวส่วนค่าจ้างสำหรับงานงวดอื่น ๆ ที่ต้องชำระหลังจากวันที่ 15 ตุลาคม 2535เมื่อจำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ก็ย่อมถือว่าจำเลยผิดนัดนับตั้งแต่วันที่มีการชำระค่าจ้างจำเลยต้องใช้ดอกเบี้ยสำหรับจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นนับแต่วันผิดนัดชำระค่าจ้างแต่ละงวด
การให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิพากษาเช่นนั้นได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 161 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ศาลภาษีอากรกลางจึงชอบที่พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับได้ แม้ว่าจะตัดสินให้จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดีก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2186/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิหุ้นส่วนและการยุติสิทธิเรียกร้องเมื่อผลประโยชน์โอนเป็นหุ้นบริษัทอื่น
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ได้ผลตอบแทนการลงแรงเป็นหุ้นในบริษัท 2,000 หุ้น โดยไม่ได้ออกเงิน ซึ่งถือว่าโจทก์ได้ลงเงินในบริษัท ก.ผลประโยชน์ที่ได้จากการเป็นหุ้นส่วนจึงโอนมาเป็นหุ้นในบริษัท ก.แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องในฐานะหุ้นส่วนตามสัญญาห้างหุ้นส่วนอีกต่อไป เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์อ้างเพียงว่า สัญญาห้างหุ้นส่วนยังไม่เลิกกัน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้ได้แต่ไม่ได้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องในฐานะหุ้นส่วนตามสัญญาห้างหุ้นส่วนเพราะผลประโยชน์ที่ได้จากการเป็นหุ้นส่วนโอนมาเป็นหุ้นในบริษัท ก.อันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินตามฟ้องแล้ว ข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวยุติไป ดังนั้นปัญหาว่าสัญญาห้างหุ้นส่วนเลิกกันแล้วหรือไม่ แม้วินิจฉัยไปก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา225 วรรคหนึ่ง