พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14779/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอำนาจฟ้องของวัด: หลักฐานการสร้างวัดตามกฎหมาย และฐานะนิติบุคคล
วัดโจทก์เป็นวัดที่สร้างในปี 2478 แต่ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วัดโจทก์จึงมีสถานะเป็นวัดประเภท "ที่สำนักสงฆ์" ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มาตรา 5 ที่บังคับใช้ในขณะนั้น และได้สร้างวัดขึ้นถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ 5 ประการ โดยนายอำเภอและเจ้าคณะแขวงเห็นว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทั้ง 5 ข้อแล้ว ให้เจ้าคณะแขวงมีอำนาจทำหนังสืออนุญาตให้สร้างที่สำนักสงฆ์ และให้นายอำเภอประทับตรากำกับในหนังสือนั้น และเจ้าของที่ดินนั้นจะต้องจัดการโอนโฉนดเนื้อที่วัดถวายแก่สงฆ์ตามกฎหมายก่อน จึงจะสร้างที่สำนักสงฆ์ได้ ดังนั้น การสร้างที่สำนักสงฆ์ตามกฎหมายดังกล่าวย่อมมีหลักฐานเป็นหนังสือที่สามารถตรวจสอบได้คือ จดหมายของผู้ประสงค์จะสร้างที่สำนักสงฆ์ถึงนายอำเภอ 1 ฉบับ หนังสือของเจ้าคณะแขวงอนุญาตให้สร้างที่สำนักสงฆ์ซึ่งนายอำเภอประทับตรากำกับ 1 ฉบับ และโฉนดที่ดินซึ่งเจ้าของที่ดินจดทะเบียนโอนให้เป็นที่วัดแล้ว เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารราชการ ควรจะมีการเก็บรักษาหรือบันทึกไว้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะโฉนดที่ดินที่มีผู้อุทิศให้สร้างวัดนั้นย่อมเป็นหลักฐานที่สามารถตรวจสอบได้ง่ายว่ามีการสร้างวัดหรือที่สำนักสงฆ์ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ แต่โจทก์ไม่มีหนังสือเกี่ยวกับการสร้างที่สำนักสงฆ์ตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้นจากอำเภอ เจ้าคณะแขวงหรือโฉนดที่ดินมาแสดง ดังนั้น โจทก์จึงไม่ใช่วัดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4977/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัด: การแต่งตั้งโดยอธิบดีสงฆ์พม่าขัดต่อกฎหมายคณะสงฆ์
โจทก์เป็นวัดจึงต้องอยู่ในความปกครองของคณะสงฆ์ไทยตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และกฎมหาเถรสมาคมการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสของโจทก์ต้องปฏิบัติตามบทกฎหมายและกฎดังกล่าว ดังนั้น การที่อธิบดีสงฆ์พม่าแต่งตั้งพระ ณ.เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะมิใช่เป็นการแต่งตั้งตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และกฎมหาเถรสมาคม พระ ณ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องในฐานะผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมวัดและการถือครองที่ดินสงฆ์: การเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกให้กับวัดร้าง
เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ได้ให้ยุบรวมวัดใหม่กับวัดภูเขาดินโจทก์เป็นวัดเดียวกัน เมื่อ พ.ศ. 2481 ในขณะที่วัดใหม่ยังมีพระภิกษุอยู่ จึงหาใช่เป็นวัดร้างสงฆ์ไม่อาศัยไม่
การยุบรวมวัดแม้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ร.ศ.121ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นจะไม่ได้บัญญัติไว้ แต่ตามพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 ยอมรับให้มีการรวมวัดที่ใกล้ชิดติดกัน เป็นวัดเดียวกันเพื่อประโยชน์แก่การบำรุงวัดให้เจริญยิ่งขึ้นหรือเพื่อประโยชน์แก่การปกครองคณะสงฆ์ได้โดยขอรับความเห็นชอบในที่สุดจากฝ่ายปกครองคณะสงฆ์ก่อนและ พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ร.ศ.121 ก็ไม่มีบทบัญญัติห้ามไว้ดังนั้นการที่เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ สั่งรวมวัดใหม่เข้าเป็นวัดเดียวกับวัดโจทก์ จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย
วัดใหม่ที่ยุบรวมเข้าเป็นวัดเดียวกับวัดโจทก์ จึงไม่มีสภาพที่จะตกเป็นวัดร้างได้ ที่ดินพิพาทเดิมเป็นของวัดใหม่แล้วได้รื้อกุฎิวิหารและสิ่งปลูกสร้างจากที่ดินพิพาทไปไว้ที่วัดโจทก์เมื่อรวมกับวัดโจทก์ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นที่ดินของวัดร้างแต่เป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดโจทก์ด้วยการยุบรวมวัดใหม่กับวัดโจทก์เป็นวัดเดียวดังนี้การดูแลรักษาและจัดการไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมการศาสนาจำเลย การที่จำเลยไปขอออกโฉนดที่ดินพิพาทเป็นของวัดใหม่ (ร้าง) เป็นการไม่ชอบโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนเสียได้
การยุบรวมวัดแม้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ร.ศ.121ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นจะไม่ได้บัญญัติไว้ แต่ตามพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 ยอมรับให้มีการรวมวัดที่ใกล้ชิดติดกัน เป็นวัดเดียวกันเพื่อประโยชน์แก่การบำรุงวัดให้เจริญยิ่งขึ้นหรือเพื่อประโยชน์แก่การปกครองคณะสงฆ์ได้โดยขอรับความเห็นชอบในที่สุดจากฝ่ายปกครองคณะสงฆ์ก่อนและ พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ร.ศ.121 ก็ไม่มีบทบัญญัติห้ามไว้ดังนั้นการที่เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ สั่งรวมวัดใหม่เข้าเป็นวัดเดียวกับวัดโจทก์ จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย
วัดใหม่ที่ยุบรวมเข้าเป็นวัดเดียวกับวัดโจทก์ จึงไม่มีสภาพที่จะตกเป็นวัดร้างได้ ที่ดินพิพาทเดิมเป็นของวัดใหม่แล้วได้รื้อกุฎิวิหารและสิ่งปลูกสร้างจากที่ดินพิพาทไปไว้ที่วัดโจทก์เมื่อรวมกับวัดโจทก์ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นที่ดินของวัดร้างแต่เป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดโจทก์ด้วยการยุบรวมวัดใหม่กับวัดโจทก์เป็นวัดเดียวดังนี้การดูแลรักษาและจัดการไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมการศาสนาจำเลย การที่จำเลยไปขอออกโฉนดที่ดินพิพาทเป็นของวัดใหม่ (ร้าง) เป็นการไม่ชอบโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1758-1759/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินวัดเป็นอสังหาริมทรัพย์พิเศษ การได้มาโดยรังวัดออกโฉนดหรือโอนทางทะเบียนใช้ยันวัดไม่ได้ แม้ครอบครองนานก็ไม่เกิดกรรมสิทธิ์
ที่ดินของวัดนั้นกรรมสิทธิ์จะโอนไปได้ก็แต่โดยการออกพระราชบัญญัติเท่านั้น ที่พิพาทอยู่ในเขตพระพุทธบาทซึ่งพระเจ้าทรงธรรมได้อุทิศไว้แต่โบราณกาล โดยมีวัดพระพุทธบาทเป็นผู้ดูแล แม้จำเลยจะได้รับโฉนดสำหรับที่พิพาทมา ก็หาถือได้ว่าเป็นการได้มาโดยการออกเป็นพระราชบัญญัติไม่ จำเลยจึงไม่อาจยกเอาการได้ที่ดินมาโดยการรังวัดออกโฉนดหรือโดยการโอนชื่อทางทะเบียนใช้ยันต่อวัดได้แม้จำเลยจะได้ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาเป็นเวลานานเท่าใด ก็ไม่มีทางที่จะแย่งเอากรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเป็นของวัดไปเป็นของตนได้ และแม้ทางวัดจะได้ปล่อยปละละเลยไว้เป็นเวลานานกว่าจะได้ใช้สิทธิติดตามว่ากล่าวเอาจากจำเลย กรรมสิทธิ์ในที่ดินของวัดก็หาระงับสิ้นสุดไม่
โจทก์อ้างเอกสาร พระราชพงศาวดารเกี่ยวกับตำนานพระพุทธบาทเป็นพยานว่า พระพุทธบาทได้ถูกค้นพบในรัชกาลพระเจ้าทรงธรรมระหว่างปี พ.ศ. 2163 - 2271 แล้ว พระเจ้าทรงธรรมทรงโสมนัสศรัทธาจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างมหาเจดีย์สถานมีพระมณฑปสวมรอยพระพุทธบาทและพระสังฆารามที่พระภิกษุสงฆ์อยู่บริบาล และได้ทรงพระราชอุทิศที่โยชน์หนึ่งโดยรอบรอยพระพุทธบาทถวายเป็นพุทธบูชากัลปนาผลนอกจากเอกสาร โจทก์ยังนำสืบผู้ที่สูงอายุเป็นพยานประกอบหลายปากว่าต่างได้รับทราบได้ยินได้ฟังสืบต่อกันมาตรงกันว่า พระเจ้าทรงธรรมได้ทรงอุทิศที่ดินถวายโดยรอบพระพุทธบาทมีอาณาเขตถึงหนึ่งโยชน์โดยรอบ ข้อความที่เล่าสืบกันมาทางประวัติศาสตร์นี้รับฟังประกอบกับหลักฐานพระราชพงศาวดารของทางราชการได้
โจทก์อ้างเอกสาร พระราชพงศาวดารเกี่ยวกับตำนานพระพุทธบาทเป็นพยานว่า พระพุทธบาทได้ถูกค้นพบในรัชกาลพระเจ้าทรงธรรมระหว่างปี พ.ศ. 2163 - 2271 แล้ว พระเจ้าทรงธรรมทรงโสมนัสศรัทธาจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างมหาเจดีย์สถานมีพระมณฑปสวมรอยพระพุทธบาทและพระสังฆารามที่พระภิกษุสงฆ์อยู่บริบาล และได้ทรงพระราชอุทิศที่โยชน์หนึ่งโดยรอบรอยพระพุทธบาทถวายเป็นพุทธบูชากัลปนาผลนอกจากเอกสาร โจทก์ยังนำสืบผู้ที่สูงอายุเป็นพยานประกอบหลายปากว่าต่างได้รับทราบได้ยินได้ฟังสืบต่อกันมาตรงกันว่า พระเจ้าทรงธรรมได้ทรงอุทิศที่ดินถวายโดยรอบพระพุทธบาทมีอาณาเขตถึงหนึ่งโยชน์โดยรอบ ข้อความที่เล่าสืบกันมาทางประวัติศาสตร์นี้รับฟังประกอบกับหลักฐานพระราชพงศาวดารของทางราชการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1758-1759/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินวัด: การได้มาโดยโฉนดมิชอบ แม้ครอบครองนาน ก็มิอาจล้มล้างกรรมสิทธิ์เดิมได้
ที่ดินของวัดนั้นกรรมสิทธิ์จะโอนไปได้ก็แต่โดยการออกพระราชบัญญัติเท่านั้น ที่พิพาทอยู่ในเขตพระพุทธบาทซึ่งพระเจ้าทรงธรรมได้อุทิศไว้แต่โบราณกาลโดยมีวัดพระพุทธบาทเป็นผู้ดูแล แม้จำเลยจะได้รับโฉนดสำหรับที่พิพาทมา ก็หาถือได้ว่าเป็นการได้มาโดยการออกเป็นพระราชบัญญัติไม่ จำเลยจึงไม่อาจยกเอาการได้ที่ดินมาโดยการรังวัดออกโฉนดหรือโดยการโอนชื่อทางทะเบียนใช้ยันต่อวัดได้แม้จำเลยจะได้ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาเป็นเวลานานเท่าใด ก็ไม่มีทางที่จะแย่งเอากรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเป็นของวัดไปเป็นของตนได้ และแม้ทางวัดจะได้ปล่อยปละละเลยไว้เป็นเวลานานกว่าจะได้ใช้สิทธิติดตามว่ากล่าวเอาจากจำเลย กรรมสิทธิ์ในที่ดินของวัดก็หาระงับสิ้นสุดไม่
โจทก์อ้างเอกสาร พระราชพงศาวดารเกี่ยวกับตำนานพระพุทธบาทเป็นพยานว่า พระพุทธบาทได้ถูกค้นพบในรัชกาลพระเจ้าทรงธรรมระหว่างปี พ.ศ. 2163-2271 แล้ว พระเจ้าทรงธรรมทรงโสมนัสศรัทธาจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างมหาเจดีย์สถานมีพระมณฑปสวมรอยพระพุทธบาท และพระสังฆารามที่พระภิกษุสงฆ์อยู่บริบาล และได้ทรงพระราชอุทิศที่โยชน์หนึ่งโดยรอบรอยพระพุทธบาทถวายเป็นพุทธบูชากัลปนาผล นอกจากเอกสารโจทก์ยังนำสืบผู้ที่สูงอายุเป็นพยานประกอบหลายปากว่า ต่างได้รับทราบได้ยินได้ฟังสืบต่อกันมาตรงกันว่า พระเจ้าทรงธรรมได้ทรงอุทิศที่ดินถวายโดยรอบพระพุทธบาทมีอาณาเขตถึงหนึ่งโยชน์โดยรอบ ข้อความที่เล่าสืบกันมาทางประวัติศาสตร์นี้รับฟังประกอบกับหลักฐานพระราชพงศาวดารของทางราชการได้
โจทก์อ้างเอกสาร พระราชพงศาวดารเกี่ยวกับตำนานพระพุทธบาทเป็นพยานว่า พระพุทธบาทได้ถูกค้นพบในรัชกาลพระเจ้าทรงธรรมระหว่างปี พ.ศ. 2163-2271 แล้ว พระเจ้าทรงธรรมทรงโสมนัสศรัทธาจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างมหาเจดีย์สถานมีพระมณฑปสวมรอยพระพุทธบาท และพระสังฆารามที่พระภิกษุสงฆ์อยู่บริบาล และได้ทรงพระราชอุทิศที่โยชน์หนึ่งโดยรอบรอยพระพุทธบาทถวายเป็นพุทธบูชากัลปนาผล นอกจากเอกสารโจทก์ยังนำสืบผู้ที่สูงอายุเป็นพยานประกอบหลายปากว่า ต่างได้รับทราบได้ยินได้ฟังสืบต่อกันมาตรงกันว่า พระเจ้าทรงธรรมได้ทรงอุทิศที่ดินถวายโดยรอบพระพุทธบาทมีอาณาเขตถึงหนึ่งโยชน์โดยรอบ ข้อความที่เล่าสืบกันมาทางประวัติศาสตร์นี้รับฟังประกอบกับหลักฐานพระราชพงศาวดารของทางราชการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 721/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ใช้ยันวัดไม่ได้
ที่ธรณีสงฆ์นั้น ผู้ใดจะยกอายุความครอบครองปรปักษ์ขึ้นใช้ยันกับวัด ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละที่ดินเพื่อสร้างวัดและการได้มาซึ่งที่ดินโดยทางครอบครองของวัด
การที่เจ้าของที่ดินที่ยังไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่จัดสร้างวัดขึ้นในที่ดินแล้วถวายให้เป็นวัดและทางราชการได้ประกาศตั้งให้เป็นสำนักสงฆ์ตามพระะราชบัญญัติคณะสงฆ์แล้วก็ต้องถือว่าเป็นวัดตามกฎหมายวัดย่อมเป็นนิติบุคคลซึ่งมีสิทธิและหน้าที่เหมือนบุคคลธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วัดจึงอาจได้ที่ดินมาโดยทางครอบครองได้ (อ้างฎีกา1253/2481,944-945/2497)
เจ้าของที่ดินที่ยังไม่มีหนังสือสำคัญมอบการครอบครองที่ดินที่สร้างวัดและสิ่งปลูกสร้างถวายให้เป็นของวัดและวัดเข้าครอบครองแล้วก็ถือได้ว่าเจ้าของที่ดินสละการครอบครองไม่ต้องทำเป็นหนังสือหรือจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองให้แต่ประการใด (อ้างฎีกาที่ 541/2500)
เมื่อเจ้าของที่ดินที่ยังไม่มีหนังสือสำคัญสละการครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างถวายวัดซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแล้วเจ้าของที่ดินนั้นก็ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่หรือห้ามพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้เป็นเจ้าอาวาสได้
เจ้าของที่ดินที่ยังไม่มีหนังสือสำคัญมอบการครอบครองที่ดินที่สร้างวัดและสิ่งปลูกสร้างถวายให้เป็นของวัดและวัดเข้าครอบครองแล้วก็ถือได้ว่าเจ้าของที่ดินสละการครอบครองไม่ต้องทำเป็นหนังสือหรือจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองให้แต่ประการใด (อ้างฎีกาที่ 541/2500)
เมื่อเจ้าของที่ดินที่ยังไม่มีหนังสือสำคัญสละการครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างถวายวัดซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแล้วเจ้าของที่ดินนั้นก็ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่หรือห้ามพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้เป็นเจ้าอาวาสได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 662/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ธรณีสงฆ์: การครอบครองปรปักษ์ใช้ไม่ได้ แม้ระยะเวลานาน
ที่ธรณีสงฆ์นั้นแม้ผู้ใดจะครอบครองมาช้านานเพียงใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิหรือสิทธิครอบครอง ทั้งนี้ก็เพราะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นแนวเดียวกันตามนัยที่ว่านี้มาแต่เดิม คือ พ.ร.บ.ลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121 ม.7 ความว่า " ที่วัดก็ดีที่ธรณีสงฆ์ก็ดีเป็นสมบัติทางศาสนาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นอัครศาสนูปถัมภก ทางปกครองรักษาโดยพระบรมราชานุภาพ ผู้ใดผู้หนึ่งจะโอนกรรมสิทธิที่นั้นไปไม่ได้ " แม้กฎหมายมาตรานี้จะได้ถูกแก้ไขโดย พ.ร.บ.ลักษณปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2477 ให้มีการโอนกรรมสิทธิที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์ได้โดยอำนาจแห่งกฎหมายเฉพาะ และแม้ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2484 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะมีความในมาตรา 41 ว่า " ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์จะโอนกรรมสิทธิได้แต่โดยพระราชบัญญัติ " หลักการในเรื่องสิทธิของบุคคลเกี่ยวกันที่วัดก็คงเป็นไปเช่นเดิม คือบุคคลจะอ้างเอาที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์เป็นกรรมสิทธิของตนโดยอาศัยอำนาจปกครองโดยปรปักษ์หรือโดยอายุความไม่ได้ ทั้งนี้เป็นคนละเรื่องกันปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่าที่แปลงใดเป็นที่วัดได้ประกอบกับพฤติการณ์แวดล้อมเป็นสำคัญ ถึงโจทก์สืบไม่ได้ความชัดว่าโจทก์ได้ที่พิพาทมาอย่างไร เพียงแต่นำสืบว่าเป็นที่ของวัดก็เพียงพอแล้วตามนัยแห่งคำพิพากษาฎีกาที่ 948/2474 ระหว่างพระยาเพ็ชร์พิสัยศรีสวัสดิ์โจทก์ นายกบ นางเฮือน จำเลย กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นไล่จำเลยออกจากที่พิพาท เพิกถอนโฉนดที่ 5140 เฉพาะตอนที่ทับที่พิพาท
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาเห็นฟ้องกับศาลอุทธรณ์ในข้อกฎหมายในเบื้องต้นว่าที่ธรณีสงฆ์นั้นถึงแม้ผู้ใดจะครอบครองมาช้านานเพียงใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิหรือสิทธิครอบครอง ทั้งนี้ก็เพราะมีตัวบทกฎหมายบัญญัติไว้เป็นแนวเดียวกันตามนัยที่ว่านี้มาแต่เดิม คือพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มาตรา 7 ความว่า " ที่วัดก็ดี ที่ธรณีสงฆ์ก็ดี เป็นสมบัติสำหรับทางศาสนาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้เป็นอัครศาสนูปถัมภก ทรงปกครองรักษาโดยพระบรมราชานุภาพ ผู้ใดผู้หนึ่งจะโอนกรรมสิทธิที่นั้นไปไม่ได้ " แม้กฎหมายมาตรานี้จะได้ถูกแก้ไขโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2477 ให้มีการโอนกรรมสิทธิที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์ได้โดยอำนาจแห่งกฎหมายเฉพาะ และแม้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะมีความนมาตรา 41 ว่า " ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์จะโอนกรรมสิทธิได้แต่โดยพระราชบัญญัติ หลักการในเรื่องสิทธิของบุคคลเกี่ยวกับที่วัดก็คงเป็นไปเช่นเดิมคือบุคคลจะอ้างเอาที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์เป็นกรรมสิทธิของตนโดยอาศัยอำนาจปกครองโดยปรปักษ์หรือโดยอาศัยอายุความไม่ได้ ทั้งนี้เป็นคนละเรื่องกับปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่า ที่แปลงหนึ่งๆ เป็นที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์หรือมิใช่ คดีนี้พิพาทกันในปัญหาข้อเท็จจริง คือโจทก์ว่าที่พิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ การที่จำเลยไปขอรังวัดออกโฉนดทับที่พิพาทนี้จึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยว่าที่พิพาทไม่ใช่ที่ธรณณีสงฆ์
ศาลฎีกาเห็นว่าข้อนำสืบของโจทก์เลื่อนลอย ฟังไม่ได้ว่าที่พิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ ณ เวลาใดๆ จำเลยสืบได้ชัดว่าเป็นที่ของนางคำแม่ยายจำเลยและพวกจำเลยได้ปกครองติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายสิบปี โดยมิได้เสียค่าเช่าให้แก่ผู้ใด จำเลยจึงมีสิทธิครอบครองดีกว่าบุคคลอื่น ๆ เมื่อจำเลยไปร้องขอให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนด เจ้าพนักงานได้ไต่สวนแล้วได้ความว่าเป็นที่ว่างเปล่า แม้ศึกษาธิการจังหวัดจะคัดค้านแทนวัดดาวเรื่องเจ้าพนักงานที่ดินก็เห็นว่าหลักฐานทางวัดสู้ทางจำเลยไม่ได้ เจ้าพนักงานที่ดินจึงได้ออกโฉนดสำหรับที่รายพิพาทให้จำเลยรวมไปกับที่ดินซึ่งจำเลยซื้อนายเบิ้ม คำพิพากษาฎีกาที่ 984/2474 ที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นอ้าง ข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดีนี้ คดีนั้นศาลเชื่อว่าที่ที่พิพาทกันเป็นที่ธรณีสงฆ์มาแต่เดิม คดีนี้ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าที่รายพิพาทเคยเป็นที่ธรณีสงฆ์ พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ยืนตามศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาเห็นฟ้องกับศาลอุทธรณ์ในข้อกฎหมายในเบื้องต้นว่าที่ธรณีสงฆ์นั้นถึงแม้ผู้ใดจะครอบครองมาช้านานเพียงใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิหรือสิทธิครอบครอง ทั้งนี้ก็เพราะมีตัวบทกฎหมายบัญญัติไว้เป็นแนวเดียวกันตามนัยที่ว่านี้มาแต่เดิม คือพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มาตรา 7 ความว่า " ที่วัดก็ดี ที่ธรณีสงฆ์ก็ดี เป็นสมบัติสำหรับทางศาสนาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้เป็นอัครศาสนูปถัมภก ทรงปกครองรักษาโดยพระบรมราชานุภาพ ผู้ใดผู้หนึ่งจะโอนกรรมสิทธิที่นั้นไปไม่ได้ " แม้กฎหมายมาตรานี้จะได้ถูกแก้ไขโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2477 ให้มีการโอนกรรมสิทธิที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์ได้โดยอำนาจแห่งกฎหมายเฉพาะ และแม้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะมีความนมาตรา 41 ว่า " ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์จะโอนกรรมสิทธิได้แต่โดยพระราชบัญญัติ หลักการในเรื่องสิทธิของบุคคลเกี่ยวกับที่วัดก็คงเป็นไปเช่นเดิมคือบุคคลจะอ้างเอาที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์เป็นกรรมสิทธิของตนโดยอาศัยอำนาจปกครองโดยปรปักษ์หรือโดยอาศัยอายุความไม่ได้ ทั้งนี้เป็นคนละเรื่องกับปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่า ที่แปลงหนึ่งๆ เป็นที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์หรือมิใช่ คดีนี้พิพาทกันในปัญหาข้อเท็จจริง คือโจทก์ว่าที่พิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ การที่จำเลยไปขอรังวัดออกโฉนดทับที่พิพาทนี้จึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยว่าที่พิพาทไม่ใช่ที่ธรณณีสงฆ์
ศาลฎีกาเห็นว่าข้อนำสืบของโจทก์เลื่อนลอย ฟังไม่ได้ว่าที่พิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ ณ เวลาใดๆ จำเลยสืบได้ชัดว่าเป็นที่ของนางคำแม่ยายจำเลยและพวกจำเลยได้ปกครองติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายสิบปี โดยมิได้เสียค่าเช่าให้แก่ผู้ใด จำเลยจึงมีสิทธิครอบครองดีกว่าบุคคลอื่น ๆ เมื่อจำเลยไปร้องขอให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนด เจ้าพนักงานได้ไต่สวนแล้วได้ความว่าเป็นที่ว่างเปล่า แม้ศึกษาธิการจังหวัดจะคัดค้านแทนวัดดาวเรื่องเจ้าพนักงานที่ดินก็เห็นว่าหลักฐานทางวัดสู้ทางจำเลยไม่ได้ เจ้าพนักงานที่ดินจึงได้ออกโฉนดสำหรับที่รายพิพาทให้จำเลยรวมไปกับที่ดินซึ่งจำเลยซื้อนายเบิ้ม คำพิพากษาฎีกาที่ 984/2474 ที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นอ้าง ข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดีนี้ คดีนั้นศาลเชื่อว่าที่ที่พิพาทกันเป็นที่ธรณีสงฆ์มาแต่เดิม คดีนี้ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าที่รายพิพาทเคยเป็นที่ธรณีสงฆ์ พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ยืนตามศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินของวัด: การโอนกรรมสิทธิ์ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ การครอบครองปรปักษ์ใช้ไม่ได้
ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์ จะโอนกรรมสิทธิ์ได้แต่โดยพระราชบัญญัติเอกชนจะอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์ในที่ของวัดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 157/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบหมายชี้เขตที่ดินของเจ้าหน้าที่ศึกษาธิการ ไม่ถือเป็นการแต่งตั้งตัวแทนของวัด
ศึกษาธิการจังหวัดมอบหมายให้เจ้าหน้าที่แผนกศึกษาธิการ ไปชี้เขตวัดเพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดออกโฉนดให้แก่วัดดังนี้ ถือไม่ได้ว่า เจ้าหน้าที่ผู้นั้นเป็นตัวแทนของวัด เพราะวัดไม่ได้แต่งตั้งแต่อย่างใด และศึกษาธิการจังหวัด ก็จะตั้งตัวแทนให้วัดไม่ได้