พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8175/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาฎีกาที่ศาลอนุญาตโดยเริ่มนับวันจากวันหยุดราชการ ทำให้การยื่นฎีกาเกินกำหนด
คดีอาญาเรื่องนี้ครบกำหนดฎีกาในวันที่ 12 มิถุนายน 2542 แต่ในวันที่ 9 มิถุนายน 2542 ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอขยายระยะเวลาฎีกาออกไปอีก 30 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามขอ ระยะเวลาที่ขอขยายออกไปจึงให้เริ่มนับแต่วันที่ครบกำหนดฎีกาคือวันที่ 12 มิถุนายน 2542โดยเริ่มนับ 1 ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2542 แม้ว่าวันดังกล่าวจะเป็นวันหยุดราชการก็ตาม ดังนั้น จำเลยจึงมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 12กรกฎาคม 2542 แต่ปรากฏว่าจำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องขอให้รับรองฎีกาและยื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2542 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่พ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้ ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6137/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาเกินกำหนดและคำสั่งศาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยมิได้ยื่นฎีกาหรือยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาภายในกำหนดที่ศาลอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลายื่นฎีกา แต่กลับมายื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาเป็นครั้งที่ 2 เมื่อภายหลังจากระยะเวลาการยื่นฎีกาหรือระยะเวลาได้หมดสิ้นไปแล้วอีกทั้งจำเลยมิได้อ้างเหตุสุดวิสัยใด ๆ ไว้ด้วย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาต่อมา และท้ายที่สุดได้มีคำสั่งให้รับฎีกาของจำเลยไว้ จึงไม่ชอบตามป.วิ.พ.มาตรา 247 และเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกเรื่องนี้ขึ้นพิจารณาและวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5),242 (1), 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6137/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาขัดกำหนดระยะเวลาและขาดเหตุสุดวิสัย ศาลฎีกามีอำนาจยกเรื่องขึ้นพิจารณา
จำเลยมิได้ยื่นฎีกาหรือยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาภายในกำหนดที่ศาลอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลายื่นฎีกาแต่กลับมายื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาเป็นครั้งที่ 2เมื่อภายหลังจากระยะเวลายื่นฎีกาหรือระยะเวลาได้หมดสิ้นไปแล้วอีกทั้งจำเลยมิได้อ้างเหตุสุดวิสัยใด ๆไว้ด้วย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาต่อมา และท้ายที่สุดได้มีคำสั่งให้รับฎีกาของจำเลยไว้ จึงไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247และเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกเรื่องนี้ขึ้นพิจารณาและวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5),242(1),246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3987/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองเพื่อประกันหนี้ก่อนฟ้องล้มละลาย ผู้รับจำนองสุจริตและมีค่าตอบแทนได้รับความคุ้มครองตาม พรบ.ล้มละลาย
วันสุดท้ายที่ผู้คัดค้านมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้คือ วันที่ 7 มีนาคม 2539 ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ไปอีก 20 วัน นับแต่วันครบกำหนดอุทธรณ์ จึงต้องนับวันที่ต่อจาก วันสุดท้ายของระยะเวลาเดิมเป็นวันเริ่มต้นคือเริ่มนับตั้งแต่ วันที่ 8 มีนาคม 2539 ตามมาตรา 197/7 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 27 มีนาคม 2539 เป็นวันสุดท้าย บริษัทน.เป็นลูกค้าของผู้คัดค้านประเภทขาดลดเช็คโดยจำเลยเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทน.การที่บริษัทน. ได้ทำสัญญาขายลดเช็คกับผู้คัดค้าน และจำเลยได้จำนองที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่ผู้คัดค้านเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ ซึ่งบริษัทน.ได้รับเงินจากผู้คัดค้านไปเรียบร้อย แล้วการจำนองดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการจำนองโดยมีค่าตอบแทน แม้การจำนองจะเป็นการจำนองภายหลังระยะเวลาที่โจทก์ฟ้อง ขอให้จำเลยล้มละลายอันเป็นการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย ซึ่งจำเลยได้กระทำหรือยินยอม ให้กระทำภายหลังมีการขอให้ล้มละลายก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริง ได้ความว่าการจำนองดังกล่าวผู้คัดค้านกระทำโดยสุจริต และมีค่าตอบแทน ผู้คัดค้านย่อมได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 114
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7060/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาล: การนับระยะเวลาที่ถูกต้องและการปฏิบัติตามบทบัญญัติกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ครั้งที่หนึ่งเมื่อวันที่19สิงหาคม2537ขอขยายระยะเวลามีกำหนด15วันนับแต่วันที่ยื่นคำร้องจึงครบกำหนดเวลาที่ได้อนุญาตวันที่3กันยายน2537ซึ่งเป็นวันเสาร์หยุดราชการแม้จำเลยจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นครั้งที่สองในวันที่5กันยายน2537อันเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ได้ก็ตามแต่การนับระยะเวลาที่จะขอขยายออกไปต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาเดิมคือเริ่มนับ1ตั้งแต่วันที่4กันยายน2537เมื่อขอขยายเวลาอีก15วันจึงครบกำหนดในวันที่18กันยายน2537ซึ่งเป็นวันอาทิตย์หากจำเลยประสงค์จะขยายระยะเวลาวางเงินออกไปอีกก็ต้องยื่นคำร้องขอในวันจันทร์ที่19กันยายน2537ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่การที่จำเลยยื่นคำร้องขอครั้งที่สามเมื่อวันที่20กันยายน2537จึงล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้วทั้งคำร้องก็มิได้แสดงเหตุว่ามีเหตุสุดวิสัยที่มิอาจยื่นคำร้องก่อนสิ้นกำหนดเวลาดังกล่าวกรณีจึงไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลาตามคำร้องขอครั้งที่สามได้การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอครั้งที่สามของจำเลยทั้งสองจึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาศาลฎีกาให้ยกคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมครั้งที่สามของศาลชั้นต้นนั้นเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7060/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาล: การนับระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. และผลของการยื่นคำร้องล่าช้า
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ครั้งที่หนึ่งเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2537 ขอขยายระยะเวลามีกำหนด 15 วันนับแต่วันที่ยื่นคำร้อง จึงครบกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาตวันที่ 3 กันยายน 2537 ซึ่งเป็นวันเสาร์หยุดราชการ แม้จำเลยจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นครั้งที่สองในวันที่ 5 กันยายน2537 อันเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ได้ก็ตาม แต่การนับระยะเวลาที่จะขอขยายออกไปต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาเดิมคือเริ่มนับ 1 ตั้งแต่วันที่ 4กันยายน 2537 เมื่อขอขยายเวลาอีก 15 วัน จึงครบกำหนดในวันที่ 18 กันยายน2537 ซึ่งเป็นวันอาทิตย์ หากจำเลยประสงค์จะขยายระยะเวลาวางเงินออกไปอีกก็ต้องยื่นคำร้องขอในวันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2537 ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่การที่จำเลยยื่นคำร้องขอครั้งที่สามเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2537 จึงล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้ว ทั้งคำร้องก็มิได้แสดงเหตุว่ามีเหตุสุดวิสัยที่มิอาจยื่นคำร้องก่อนสิ้นกำหนดเวลาดังกล่าว กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลาตามคำร้องขอครั้งที่สามได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอครั้งที่สามของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณาศาลฎีกาให้ยกคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมครั้งที่สามของศาลชั้นต้นนั้นเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4459/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: การนับระยะเวลาตามคำสั่งศาลสำคัญกว่าการตีความเองของผู้ฟ้อง
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์3ครั้งครั้งแรกศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลา20วันนับแต่วันที่ครบกำหนดอุทธรณ์และครั้งที่สองศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอีก15วันโดยให้นับแต่วันที่ครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรกจึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้2ครั้งรวม35วันซึ่งเมื่อนับจากวันที่8มกราคม2538อันเป็นวันครบกำหนดอุทธรณ์ตามคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาครั้งแรกโจทก์จึงต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่12กุมภาพันธ์2538เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่3ในวันที่15กุมภาพันธ์2538จึงเป็นการยื่นคำขอขึ้นมาภายหลังสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วเป็นการมิชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23 ที่โจทก์ฎีกาว่าวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องของโจทก์ครั้งแรกคือวันที่28มกราคม2538เป็นวันเสาร์โจทก์จึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ในวันที่30มกราคม2538และเมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก15วันวันที่ครบกำหนดระยะเวลา>อุทธรณ์จึงเป็นวันที่14กุมภาพันธ์2538ซึ่งเป็นวันหยุดราชการโจทก์จึงยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่15กุมภาพันธ์2538ได้นั้นการนับระยะเวลาดังที่โจทก์อ้างมาในฎีกาไม่ตรงตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้นับแต่วันครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4459/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: การนับวันตามคำสั่งศาล และผลของการยื่นคำร้องหลังหมดเวลา
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ 3 ครั้ง ครั้งแรกศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลา 20 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดอุทธรณ์ และครั้งที่สองศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอีก 15 วัน โดยให้นับแต่วันที่ครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรก จึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้2 ครั้ง รวม 35 วัน ซึ่งเมื่อนับจากวันที่ 8 มกราคม 2538 อันเป็นวันครบกำหนดอุทธรณ์ตามคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาครั้งแรก โจทก์จึงต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2538 เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 3 ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2538 จึงเป็นการยื่นคำขอขื้นมาภายหลังสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว เป็นการมิชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 23
ที่โจทก์ฎีกาว่าวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องของโจทก์ครั้งแรกคือวันที่ 28 มกราคม 2538 เป็นวันเสาร์โจทก์จึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ในวันที่ 30 มกราคม 2538 และเมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก15 วัน วันที่ครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์จึงเป็นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2538 ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 15กุมภาพันธ์ 2538 ได้ นั้น การนับระยะเวลาดังที่โจทก์อ้างมาในฎีกาไม่ตรงตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้นับแต่วันครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรก
ที่โจทก์ฎีกาว่าวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องของโจทก์ครั้งแรกคือวันที่ 28 มกราคม 2538 เป็นวันเสาร์โจทก์จึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ในวันที่ 30 มกราคม 2538 และเมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก15 วัน วันที่ครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์จึงเป็นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2538 ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 15กุมภาพันธ์ 2538 ได้ นั้น การนับระยะเวลาดังที่โจทก์อ้างมาในฎีกาไม่ตรงตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้นับแต่วันครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1917/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาขยายอุทธรณ์: การกำหนดวันเริ่มต้นและผลของการขยายต่อเนื่อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2536 โจทก์ต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา229 ซึ่งการนับเวลายื่นอุทธรณ์ 1 เดือน ต้องนับวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรกตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/3 โดยอุทธรณ์ของโจทก์จะครบกำหนดวันที่ 29 มกราคม 2537โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์มีกำหนด 15 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 15 วัน นับแต่วันครบกำหนดอุทธรณ์คือวันที่ 31 มกราคม 2537 เนื่องจากวันที่ 29 และ 30 มกราคม 2537 เป็นวันหยุดราชการ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นระบุในคำสั่งให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไปอีก 15 วัน โดยให้นับแต่วันที่ 31 มกราคม 2537 จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นกำหนดวันเริ่มต้นแห่งระยะเวลาที่ขยายออกไปว่าจะต้องเริ่มนับจากวันที่ 1กุมภาพันธ์ 2537 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/7 โจทก์จึงสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2537 อันเป็นวันครบกำหนดที่ได้ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไป ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีกครั้งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วัน นับแต่วันครบกำหนด โดยมิได้กำหนดวันเริ่มต้นแห่งระยะเวลาที่ขยายออกไป กรณีดังกล่าวนี้จึงต้องนับกำหนดระยะเวลาเดิมกับระยะเวลาที่ขยายออกไปติดต่อกันซึ่งจะครบกำหนดขยายระยะเวลาที่โจทก์มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์2537 เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2537 ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลต้องรับอุทธรณ์โจทก์ไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์นอกกรอบ, การคิดดอกเบี้ยหลังบอกเลิกสัญญา, และการพิจารณาข้อตกลงดอกเบี้ยใหม่หลังผิดนัด
แม้ว่าก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 17 กันยายน2533 เป็นวันสุดท้ายได้เพราะวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คือวันที่ 15 กันยายน 2533 ตรงกับวันเสาร์หยุดราชการ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว การนับระยะเวลาก็ต้องนับติดต่อกันไปโดยไม่ต้องคำนึงว่าวันสุดท้ายแห่งกำหนดระยะเวลาเดิมจะเป็นวันหยุดราชการหรือไม่ คือเริ่มนับหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2533 เป็นวันเริ่มต้น แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนนี้ไว้ก็ตาม แต่เมื่อได้ความจากการวินิจฉัยมาแล้วว่าจำเลยที่ 1ที่ 2 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดจึงถือเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้อุทธรณ์นั่นเอง ปัญหาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นย่อมยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินปรับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีได้ โดยมีเงื่อนไขข้อตกลง เมื่อต่อมาปรากฏว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง และจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาที่ยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยกับจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีได้ เฉพาะเงินกู้งวดสุดท้าย จำเลยที่ 1 ได้ตกลงกับโจทก์ใหม่โดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 จะชำระคืนให้แก่โจทก์ภายใน 6 เดือน นับแต่วันรับเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี อันเป็นข้อตกลงใหม่ต่างหากจากข้อตกลงยอมให้ปรับอัตราดอกเบี้ย โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จากเงินกู้งวดสุดท้ายนั้นได้