คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 623

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7133/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความสูญหาย/เสียหายของสินค้า และอายุความฟ้องร้อง
ในการขนส่งสินค้าทางทะเลนั้น ใบตราส่งเป็นหลักฐานสำคัญอย่างหนึ่งที่แสดงว่าผู้ใดเป็นผู้ขนส่งสินค้าดังกล่าว เพราะเป็นเอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับของที่ส่ง จุดหมายปลายทาง ชื่อและที่อยู่ของผู้ส่งตามที่ระบุไว้ในใบกำกับสินค้า นอกจากนี้ยังกำหนดรายละเอียดถึงชื่อหรือยี่ห้อของผู้ส่ง จำนวนค่าระวาง พาหนะ สถานที่และวันที่ออกใบตราส่ง และลายมือชื่อผู้ขนส่งด้วย จำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการเดินเรือและดำเนินการพาณิชย์ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศและในต่างประเทศ เมื่อใบตราส่งมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นใบตราส่งของจำเลย แม้จะปรากฏชื่อบริษัทย.ประทับไว้ และมีลายมือชื่อผู้จัดการอยู่ใต้ข้อความที่ระบุว่า "กรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น วันที่ 19 มิถุนายน 2532" อันเป็นสถานที่และวันที่ออกใบตราส่งแต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าบริษัท ย.เป็นผู้มีหน้าที่ออกใบตราส่งและเมื่อการสั่งซื้อสินค้ารายพิพาทผู้ขายได้ว่าจ้างจำเลยเป็นผู้ขนส่งโดยทางเรือดังนั้น ที่ปรากฏชื่อบริษัท ย. และลายมือชื่อผู้จัดการในใบตราส่งดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่บริษัท ย.โดยผู้จัดการลงชื่อในฐานะผู้ร่วมขนส่งเพื่อแสดงว่าใบตราส่งนั้นได้ออกที่ใดและเมื่อใดเท่านั้น กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยและบริษัท ย.ร่วมกันขนส่งสินค้ารายพิพาท
การขนส่งสินค้ารายพิพาทแม้เรือที่ขนส่งเข้าเทียบท่าแล้ว แต่ก่อนที่ผู้รับตราส่งจะรับมอบสินค้าจากนายเรือไป ยังมีขั้นตอนต่อไปคือ การตรวจสอบจำนวนเพื่อให้ตรงกับใบตราส่ง และตรวจสอบความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งในการที่สินค้ารายพิพาทสูญหายหรือบุบสลายคงมีอยู่ตลอดเวลาที่การตรวจสอบสินค้านั้นยังไม่เสร็จสิ้น การที่เรือขนส่งสินค้ารายพิพาทเข้าเทียบท่าและผู้รับตราส่งรับสินค้ามาเพื่อตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่ามีสินค้าขาดจำนวนไปเช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าผู้รับตราส่งได้รับเอาของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อนอันจะทำให้ความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งสิ้นสุดลง เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัทดังกล่าวมาเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินค่าสินไหมทดแทนจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
แม้เรือจะขนสินค้ารายพิพาทมาถึงเมืองท่าปลายทางเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2532 และผู้รับตราส่งขอรับสินค้าในวันดังกล่าว แต่ก็ยังมีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติต่อไปคือการตรวจสอบจำนวนและคุณภาพของสินค้าเพื่อให้ตรงกับใบตราส่ง รวมทั้งตรวจสอบความสูญหายหรือบุบสลายของสินค้าด้วย ดังนี้ ตราบใดที่ผู้รับสินค้ายังตรวจสอบสินค้าเพื่อรับมอบสินค้าไม่เสร็จสิ้นจะถือว่าได้มีการส่งมอบหรือควรจะได้ส่งมอบสินค้าแล้วหาได้ไม่ เมื่อผู้รับตราส่งตรวจสอบและรับมอบสินค้าเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532 อายุความฟ้องร้องผู้ขนส่งให้รับผิดในกรณีที่ของสูญหายหรือบุบสลายจึงต้องเริ่มนับจากวันตรวจสอบและรับมอบสินค้าเสร็จสิ้นดังกล่าวเป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่3 กรกฎาคม 2533 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 624 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทสำหรับกรณีที่ยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยรับขนของทางทะเล และไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเช่นว่านั้นใช้บังคับในขณะนั้น
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจำนวน 279,088.29 บาทซึ่งจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 6,977.50 บาท แต่ศาลชั้นต้นคิดคำนวณดอกเบี้ยนับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยยื่นฎีการวมเข้าไปเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจำนวน 346,313.22 บาท ด้วย และให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 8,657.50 บาท จำเลยจึงชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมา 1,680 บาท ศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินที่ชำระเกินมาดังกล่าวแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3008/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีรับขนสินค้า, ประมาทเลินเล่อส่งมอบสินค้าไม่มีใบตราส่ง, ไม่ขาดอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของสินค้าเกลือและให้จำเลยที่ 1 รับขนไปส่งให้แก่บริษัทช.เมืองมะละกาประเทศมาเลเซีย แต่เมื่อสินค้าเกลือที่จำเลยที่ 1 รับขนไปถึงเมืองมะละกาแล้ว จำเลยที่ 1 โดยพลการหรือโดยความประมาทเลินเล่อ ส่งมอบสินค้าเกลือให้แก่บริษัทช. โดยไม่มีใบตราส่งมาแสดงแทนที่จะส่งมอบสินค้านั้นคืนให้โจทก์เพื่อคิดค่าระวางและค่าเสียหายกันอีกครั้งหนึ่ง หลังจากจำเลยที่ 1 ส่งมอบสินค้าโดยไม่ถูกต้องแล้ว บริษัทช. ไม่เคยชำระราคาสินค้าให้แก่โจทก์การกระทำของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน 43,102 เหรียญมาเลเซียแก่โจทก์ ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมปรากฏว่านอกจากนั้นโจทก์มิได้อ้างในคำฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบสินค้าที่ขนส่งในฐานะเป็นผู้รับตราส่ง แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองใบตราส่งอย่างไรก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าโจทก์มิใช่ผู้ทรงใบตราส่ง แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญากับโจทก์ในการรับขนสินค้าเกลือของโจทก์ทางทะเลไปยังเมืองท่ามะละกาประเทศมาเลเซียเพื่อส่งให้แก่บริษัทช. แต่จำเลยที่ 1กระทำโดยพลการหรือประมาทเลินเล่อส่งมอบสินค้าเกลือให้แก่บริษัท โดยบริษัทช. ไม่มีใบตราส่งมาแสดง โจทก์มิได้ฟ้องโดยอ้างสิทธิในฐานะผู้ทรงใบตราส่งโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 615 ถือว่าใบตราส่งเป็นหลักฐานสำคัญในสัญญารับขน การที่บริษัทช.รับสินค้าจากบริษัทท.ตัวแทนของจำเลยที่ 1 โดยมิได้มีใบตราส่งมาแสดง บริษัทช.จะต้องให้ประกันตามควรเป็นหลักประกันที่เชื่อถือได้ ซึ่งหมายถึงการค้ำประกันด้วยบุคคลหรือทรัพย์ ที่บริษัทช. ทำหนังสือยินยอมชดใช้ค่าเสียหายกรณีส่งของโดยไม่มีใบตราส่งนั้น ก็เป็นเพียงหนังสือที่บริษัทช. ยอมชดใช้ค่าเสียหายในกรณีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามหนังสือดังกล่าวโดยไม่มีหลักประกันอันใดให้ไว้เลย จึงไม่ใช่เป็นการให้ประกันตามควรตามความหมายของมาตรา 615 การที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบสินค้าของโจทก์ให้แก่บริษัทช. ไปโดยที่บริษัทดังกล่าวไม่มีใบตราส่งมาแสดง ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อผิดประเพณีการค้าและกฎหมายในการส่งมอบสินค้าของโจทก์ให้แก่บริษัทช. เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากไม่ได้รับชำระค่าสินค้า ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า บริษัทช. ได้รับของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อน และได้ชำระค่าระวางพาหนะเสร็จแล้ว จึงเป็นผลให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 623 นั้น ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อนี้ไว้และศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ถือได้ว่าเป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับข้อความรับผิดของผู้ขนส่งในการที่ของสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งชักช้า แต่คดีนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกค่าของที่มิได้รับชำระเนื่องจากการกระทำอันเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 มิใช่ฟ้องให้รับผิดเนื่องจากของสูญหายหรือบุบสลายหรือชักช้า จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 624 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6007/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งและหุ้นส่วนจากการสูญหายของสินค้า และขอบเขตความรับผิดในสัญญาขนส่ง
หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครระบุว่าจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์รับจ้างขนส่งสินค้าโดยทางบกและทางน้ำ ผู้ตราส่งเป็นผู้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้บรรทุกสินค้าจากโกดังสินค้าของผู้ตราส่งไปยังการท่าเรือแห่งประเทศไทย และชำระเงินค่าจ้างขนส่งให้จำเลยที่ 2 ถือว่าจำเลยที่ 2 ทำการรับขนของเพื่อบำเหน็จในทางการค้าปกติของตน ย่อมเป็นผู้ขนส่งตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของบริษัทน.ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ ณประเทศสิงคโปร์ รับจ้างบริษัทล. ผู้ตราส่งบรรทุกสินค้าลงเรือเพื่อขนส่งไปยังเมืองฮ่องกงทั้งออกใบตราส่งให้แก่ผู้ตราส่งการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนทำสัญญารับขนส่งกับ บริษัทล.ผู้ตราส่งแทนบริษัทน.ผู้ขนส่งตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง โจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายในการที่สินค้าสูญหายให้แก่บริษัทท.ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัทล.ผู้เอาประกันภัย และบริษัทท.ผู้รับประโยชน์มาฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2ผู้ขนส่ง และจำเลยที่ 3 ผู้ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดเพราะเหตุสินค้าที่ทำการขนส่งสูญหายได้ แม้ตามหนังสือโอนสิทธิที่บริษัทท.ผู้รับประโยชน์จะได้โอนบรรดาสิทธิเกี่ยวกับสินค้าที่เอาประกันภัยไว้ให้โจทก์เรียกร้องเอาจากบริษัทน.และห้างหุ้นส่วนจำกัดน.ก็ตาม หาทำให้โจทก์หมดสิทธิฟ้องร้องจำเลยทั้งสามแต่ประการใด การที่บริษัทล.ผู้ตราส่งลงชื่อสลักหลังโอนใบตราส่งให้แก่บริษัทท.เพื่อให้บริษัทท.นำใบตราส่งเป็นหลักฐานในการรับสินค้ามิใช่บริษัทล.ผู้ตราส่งแสดงความตกลงชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดกับจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง ข้อยกเว้นและจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่จำเลยที่ 1 อ้างว่ามีอยู่ในใบตราส่งจึงตกเป็นโมฆะ เมื่อตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าถูกลากจูงไปถึงโกดังของบริษัทท.ผู้รับตราส่งบริษัทส.ได้ทำการสำรวจสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์พบว่าสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์สูญหายไปทั้งหมดกรณีจึงมิใช่บริษัทท.ผู้รับตราส่งได้รับเอาของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อน อันจะทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623 การที่บริษัทล.ผู้ตราส่งว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้เป็นผู้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ของจำเลยที่ 1 มายังบริษัทล.เพื่อบรรจุสินค้าลงในตู้ เมื่อบรรจุสินค้าแล้วได้ให้จำเลยที่ 2 ลากตู้คอนเทนเนอร์ไปยังการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อส่งให้แก่จำเลยที่ 1 นั้นสัญญารับขนระหว่างบริษัทล.กับจำเลยที่ 2 เป็นคนละฉบับไม่เกี่ยวข้องกันกับสัญญารับขนระหว่างบริษัทล.กับจำเลยที่ 1จึงมิใช่เป็นการขนส่งโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด ค่าสำรวจสินค้าที่ผู้รับตราส่งเป็นผู้ว่าจ้างบริษัทผู้นำสำรวจมาทำการสำรวจสินค้ามิใช่ค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญารับขนของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในค่าสำรวจสินค้าไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6007/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งและหุ้นส่วนจากการสูญหายของสินค้าในการขนส่งระหว่างประเทศ
หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ระบุว่าจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์รับจัางขนส่งสินค้าโดยทางบกและทางน้ำ ผู้ตราส่งเป็นผู้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้บรรทุกสินค้าจากโกดังสินค้าของผู้ตราส่งไปยังการท่าเรือแห่งประเทศไทย และชำระเงินค่าจ้างขนส่งให้จำเลยที่ 2 ถือว่าจำเลยที่ 2 ทำการรับขนของเพื่อบำเหน็จในทางการค้าปกติของตน ย่อมเป็นผู้ขนส่งตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของบริษัท น.ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ประเทศสิงคโปร์ รับจ้างบริษัท ล.ผู้ตราส่งบรรทุกสินค้าลงเรือเพื่อขนส่งไปยังเมืองฮ่องกงทั้งออกใบตราส่งให้แก่ผู้ตราส่งการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนทำสัญญารับขนส่งกับ บริษัท ล.ผู้ตราส่งแทนบริษัท น.ผู้ขนส่งตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง
โจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายในการที่สินค้าสูญหายให้แก่บริษัท ท.ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัท ล.ผู้เอาประกันภัย และบริษัท ท.ผู้รับประโยชน์มาฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้ขนส่ง และจำเลยที่ 3 ผู้ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดเพราะเหตุสินค้าที่ทำการขนส่งสูญหายได้ แม้ตามหนังสือโอนสิทธิที่บริษัท ท.ผู้รับประโยชน์จะได้โอนบรรดาสิทธิเกี่ยวกับสินค้าที่เอาประกันภัยไว้ให้โจทก์เรียกร้องเอาจากบริษัท น.และห้างหุ้นส่วนจำกัด น.ก็ตาม หาทำให้โจทก์หมดสิทธิฟ้องร้องจำเลยทั้งสามแต่ประการใด
การที่บริษัท ล.ผู้ตราส่งลงชื่อสลักหลังโอนใบตราส่งให้แก่บริษัท ท.เพื่อให้บริษัท ท.นำใบตราส่งเป็นหลักฐานในการรับสินค้า มิใช่บริษัท ล.ผู้ตราส่งแสดงความตกลงชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดกับจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง ข้อยกเว้นและจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่จำเลยที่ 1อ้างว่ามีอยู่ในใบตราส่งจึงตกเป็นโมฆะ
เมื่อตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าถูกลากจูงไปถึงโกดังของบริษัท ท.ผู้รับตราส่งบริษัท ส.ได้ทำการสำรวจสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์พบว่าสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์สูญหายไปทั้งหมดกรณีจึงมิใช่บริษัท ท.ผู้รับตราส่งได้รับเอาของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อน อันจะทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623
การที่บริษัท ล.ผู้ตราส่งว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้เป็นผู้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ของจำเลยที่ 1 มายังบริษัท ล.เพื่อบรรจุสินค้าลงในตู้ เมื่อบรรจุสินค้าแล้วได้ให้จำเลยที่ 2 ลากตู้คอนเทนเนอร์ไปยังการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อส่งให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น สัญญารับขนระหว่างบริษัท ล.กับจำเลยที่ 2 เป็นคนละฉบับไม่เกี่ยวข้องกันกับสัญญารับขนระหว่างบริษัท ล.กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เป็นการขนส่งโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด
ค่าสำรวจสินค้าที่ผู้รับตราส่งเป็นผู้ว่าจ้างบริษัทผู้นำสำรวจมาทำการสำรวจสินค้ามิใช่ค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญารับขนของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในค่าสำรวจสินค้าไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสิ้นสุดเมื่อส่งมอบสินค้าให้ท่าเรือปลายทาง และความรับผิดชอบของท่าเรือในการเก็บรักษา
สินค้าตาม ฟ้องมิได้ขาดหายไปในระหว่างการขนส่งที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย แต่ หายไปในระหว่างที่เก็บอยู่ในโรงพักสินค้าของ การท่าเรือแห่งประเทศไทย หลังจากที่ผู้รับตราส่งได้ชำระค่าระวางและรับใบสั่งปล่อยสินค้าจากจำเลย อันถือ ได้ ว่าจำเลยได้ จัดส่งสินค้าถึง การท่าเรือปลายทาง และ การท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้ รับมอบสินค้าไว้จากจำเลยครบถ้วนตาม ระเบียบและการปฏิบัติในการรับสินค้าแล้ว หน้าที่การขนส่งสินค้าของจำเลยย่อมสิ้นสุดลง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อ โจทก์ โจทก์ฟ้องว่าสินค้าได้ ขาดหายไปในระหว่างการขนส่งที่จำเลยเป็นผู้รับขนจำเลยให้การว่าสินค้ามิได้ขาดหายไปในระหว่างขนส่งของจำเลย ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า "จำเลยเป็นผู้ทำการขนส่งสินค้าร่วมในทอดสุดท้ายจากประเทศ สิงคโปร์ มาประเทศ ไทย ซึ่ง จะต้อง รับผิดต่อ โจทก์ตาม ฟ้องเพียงใดหรือไม่"ดังนี้ การที่จำเลยนำสืบว่าสินค้าตาม ฟ้องได้ ขาดหายไปในระหว่างเก็บอยู่ในระหว่างเก็บอยู่ในโรงพักสินค้าของ การท่าเรือแห่งประเทศไทย นั้น จึงเป็นการนำสืบเพื่อให้เห็นว่าสินค้ามิได้ขาดหายในระหว่างขนส่งตาม ข้อต่อสู้ของจำเลยนั้นเองหาเป็นการนอกคำให้การและนอกประเด็นไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสินค้าเสียหาย: ผู้รับต้องแจ้งความเสียหายก่อนรับ หากไม่แจ้ง ถือรับสภาพเรียบร้อย ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิด
การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ผู้ซื้อสินค้ารับสินค้าไปจาก การท่าเรือแห่งประเทศไทย โดย มิได้แจ้งให้ การท่าเรือแห่งประเทศไทย และตัวแทนของบริษัทเรือที่ขนส่งมาร่วมทำการสำรวจความเสียหายเสียก่อน ทั้งที่ปรากฏว่าลังไม้บรรจุสินค้าแตก ย่อมถือได้ว่าเป็นการรับสินค้าไปในสภาพที่เรียบร้อยแล้ว และเป็นการรับสินค้าไว้โดย มิได้อิดเอื้อน จำเลยผู้ขนส่งร่วมจึงไม่ต้องรับผิดต่อ ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623 วรรคแรก แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623 วรรคแรกจะมิใช่กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลที่จะต้อง ใช้ บังคับแก่คดีนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสอง แต่ โดย ที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วย การรับขนของทางทะเลบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้อง นำมาตรา 623 วรรคแรกดังกล่าว ซึ่ง เป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้ บังคับตาม ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 ได้ กำหนดไว้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสินค้าเสียหายจากการขนส่งทางทะเล: ผู้รับสินค้าต้องสำรวจความเสียหายก่อนรับ หากรับไปแล้วถือว่ารับในสภาพเรียบร้อย
การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ผู้ซื้อสินค้ารับสินค้าไปจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยมิได้แจ้งให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยและตัวแทนของบริษัทเรือที่ขนส่งมาร่วมทำการสำรวจความเสียหายเสียก่อน ทั้งที่ปรากฏว่าลังไม้บรรจุสินค้าแตก ย่อมถือได้ว่าเป็นการรับสินค้าไปในสภาพที่เรียบร้อยแล้ว และเป็นการรับสินค้าไว้โดยมิได้อิดเอื้อน จำเลยผู้ขนส่งร่วมจึงไม่ต้องรับผิดต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 623 วรรคแรก แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623 วรรคแรกจะมิใช่กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลที่จะต้องใช้บังคับแก่คดีนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสอง แต่โดยที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำมาตรา 623 วรรคแรกดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 ได้กำหนดไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสินค้าเสียหายจากการขนส่งทางทะเล: การตรวจสอบสภาพสินค้าเป็นสำคัญ
การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ผู้ซื้อสินค้ารับสินค้าไปจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยมิได้แจ้งให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย และตัวแทนของบริษัทเรือที่ขนส่งมาร่วมทำการสำรวจความเสียหายเสียก่อน ทั้งที่ปรากฏว่าลังไม้บรรจุสินค้าแตก ย่อมถือได้ว่าเป็นการรับสินค้าไปในสภาพที่เรียบร้อยแล้ว และเป็นการรับสินค้าไว้โดยมิได้อิดเอื้อน จำเลยผู้ขนส่งร่วมจึงไม่ต้องรับผิดต่อ ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623 วรรคแรก
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623 วรรคแรกจะมิใช่กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลที่จะต้อง ใช้บังคับแก่คดีนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสอง แต่โดยที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำมาตรา 623 วรรคแรกดังกล่าว ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 ได้กำหนดไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสิ้นสุดลงเมื่อผู้รับของไม่แจ้งความเสียหายภายใน 8 วัน และได้ชำระค่าระวางครบถ้วน
ความรับผิดของผู้ขนส่งจะสิ้นสุดลงเพราะเหตุที่ไม่ได้บอกกล่าวความสูญหายให้ผู้ขนส่งทราบภายใน 8 วันนับแต่วันส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623วรรค2 นั้นจะต้องปรากฏว่าผู้รับตราส่งได้รับของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อนและใช้ค่าระวางพาหนะกับทั้งอุปกรณ์เสร็จแล้วตามความในมาตรา 623วรรคแรกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่ง: การแจ้งความเสียหายและหลักฐานการชำระค่าระวาง
ความรับผิดของผู้ขนส่งจะสิ้นสุดลงเพราะเหตุที่ไม่ได้บอกกล่าวความสูญหายให้ผู้ขนส่งทาบภายใน 8 วันนับแต่วันส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623 วรรค 2 นั้น จะต้องปรากฏว่าผู้รับตราส่งได้รับของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อนและใช้ค่าระวางพาหนะกับทั้งอุปกรณ์เสร็จแล้วตามความในมาตรา 623 วรรคแรกด้วย
of 3