คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 108

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15157/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขความเห็นคำขอรับชำระหนี้หลังศาลมีคำสั่งยกคำขอแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจแก้ไขได้
คดีนี้ในชั้นตรวจคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายที่ 1 มีลูกหนี้ที่ 2 โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าว ต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจคำขอรับชำระหนี้และคำคัดค้านของลูกหนี้ที่ 2 แล้ว เห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้จึงมีคำสั่งงดสอบสวนพยานฝ่ายเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 2 แล้วทำความเห็นเสนอต่อศาลล้มละลายกลางให้ยกคำขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 107 (1) ต่อมาศาลล้มละลายกลางพิจารณาแล้วมีคำสั่งยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ตามความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งศาลได้มีคำสั่งแล้วดังกล่าว จึงล่วงพ้นกำหนดเวลาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจขอแก้ไขความเห็นคำขอรับชำระหนี้ได้แล้ว ทั้งกรณีดังกล่าวไม่ใช่กรณีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 108 (เดิม) ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขอให้ศาลมีคำสั่งแก้ไขคำขอรับชำระหนี้ได้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องเพื่อขอแก้ไขความเห็นคำขอรับชำระหนี้จึงมิอาจกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้สวมสิทธิเจ้าหนี้และการใช้สิทธิคัดค้าน
คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้เป็นการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งกฎหมายให้สิทธิบุคคลที่ได้รับความเสียหายยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 และศาลมีอำนาจสั่งยืนตาม กลับ หรือแก้ไข หรือสั่งประการใดตามที่เห็นสมควร ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งที่ผู้ได้รับความเสียหายจะใช้สิทธิเยียวยาแก้ไขความเสียหายของตนทางศาลได้ แต่ไม่ใช่บทบังคับ การที่ผู้บริหารแผนไม่เลือกใช้สิทธิทางศาลตามมาตรา 146 ทำให้ผู้บริหารแผนไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลเมื่อพ้นเวลาที่กำหนดเท่านั้น และคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คงมีผลอยู่ต่อไป
ผู้บริหารแผนเลือกใช้ช่องทางยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาทบทวนคำสั่งของตนที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ เป็นการขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กระทำการหรือมีคำวินิจฉัยอื่นใดในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องดำเนินการพิจารณาใหม่ และคำสั่งที่อนุญาตให้ผู้ร้องสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ไม่ใช่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องนำ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 108 มาเทียบเคียงปรับใช้เพราะมิใช่คำสั่งยกคำขอรับชำระหนี้หรือลดจำนวนหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้สั่งอนุญาตไปแล้วตามมาตรา 90/26 ประกอบด้วยมาตรา 108 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้ จึงมีอำนาจที่จะกระทำได้และไม่ขัดต่อมาตรา 108 และ 146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5198/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจแก้ไขคำสั่งศาลในคดีล้มละลายตามมาตรา 108 พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ต้องผ่านเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 108 ได้ให้อำนาจศาลในการแก้ไขคำสั่งของศาลที่อนุญาตคำขอชำระหนี้ของเจ้าหนี้ได้แม้คำสั่งศาลจะถึงที่สุดแล้วก็ตาม ถ้าต่อมาปรากฏว่าศาลได้สั่งไปโดยหลงผิดตามจำนวนที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ โดยความจริงลูกหนี้ไม่ได้เป็นหนี้ หรือเป็นหนี้ไม่ถึงจำนวนตามที่อนุญาตไปแล้ว แต่ทั้งนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาล คดีนี้จำเลยยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คัดค้านบัญชีส่วนแบ่งของเจ้าหนี้รายหนึ่ง อ้างว่า คำขอรับชำระหนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งที่กรรมการของจำเลยเคยให้การยอมรับว่าเป็นหนี้จริงโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้มา เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ซึ่งย่อมหมายความรวมถึงการพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าหนี้ที่จำเลยคัดค้านซึ่งศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้แล้วนั้นเป็นคำสั่งที่ศาลสั่งไปโดยหลงผิด จึงไม่ใช้อำนาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้แก้ไขคำสั่งตามมาตรา 108 ดังนี้ จำเลยจึงไม่อาจยื่นคำร้องต่อศาลได้ด้วยตนเอง ทั้งมิใช่กรณีที่จำเลยจะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลแก้ไขคำสั่งที่สั่งไปโดยหลงผิดด้วยเช่นกัน เพราะหากให้จำเลยยื่นคำร้องขอเช่นว่านั้นได้ ก็เท่ากับว่าศาลต้องพิจารณาคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ซ้ำในปัญหาเดียวกันอีก โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้เห็นเป็นอย่างอื่นและมิใช่เป็นผู้ยื่นคำร้องดังกล่าวขึ้นมาเอง และก็มิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำวินิจฉัยโดยมิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายตามมาตรา 146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3960/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้และผลกระทบต่อการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ น. เข้าสวมสิทธิเป็นโจทก์แทนโจทก์เดิมเป็นเวลาภายหลังจากที่ศาลล้มละลายกลางสั่งรับฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คดีจึงอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลาย จึงเป็นอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายที่จะสั่งคำร้องของ น. ที่จะเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ ศาลล้มละลายกลางไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ น. เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์
มูลหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้เป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินและสัญญาขายลดตั๋วเงินซึ่งอาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระเงินตามสิทธิที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มีอยู่ตามตราสารและสัญญาตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2532 แต่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์กลับนำหนี้ที่มีอยู่มาฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2543 จึงขาดอายุความฟ้องร้องในมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีกำหนดเวลา 3 ปีและมูลหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินที่มีกำหนดเวลา 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 และมาตรา 193/30 แล้ว แม้ศาลล้มละลายกลางจะได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดโดยมิได้มีการยกเหตุเรื่องอายุความขึ้นมาพิจารณาวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ก็ตาม ก็หาใช่ว่าศาลล้มละลายกลางได้วินิจฉัยยอมรับรองว่าเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ไม่ อีกทั้งกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 27 ในส่วนของการขอรับชำระหนี้เป็นกระบวนพิจารณาที่แยกต่างหากจากกระบวนพิจารณาคดีและมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เมื่อบทบัญญัติในมาตรา 91,94,106,107 และ 108 ได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และศาลที่จะต้องพิจารณาในชั้นขอรับชำระหนี้อีกครั้งหนึ่งด้วยว่าหนี้ที่เจ้าหนี้แต่ละรายยื่นคำขอรับชำระหนี้ เป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ได้หรือไม่ แม้หนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้มานั้นจะเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้นำมากล่าวอ้างฟ้องเป็นคดีล้มละลายจนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วก็ตาม แต่ก็หาผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลให้จำต้องถือตามไม่ เมื่อหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระเป็นหนี้ที่ขาดอายุความ จึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอเพิกถอนคำสั่งอนุญาตชำระหนี้ที่ศาลสั่งโดยผิดหลงในคดีล้มละลาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 108 บัญญัติว่า "คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งศาลสั่งอนุญาตแล้วนั้น ถ้าต่อมาปรากฏว่าศาลได้สั่งไปโดยผิดหลง เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ศาลมีอำนาจยกคำขอรับชำระหนี้หรือลดจำนวนหนี้ที่ได้สั่งอนุญาตไปแล้วได้" จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติมาตรานี้ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ยกคำขอรับชำระหนี้หรือลดจำนวนหนี้ที่ศาลได้สั่งอนุญาตไปแล้วได้ แม้คำสั่งศาลดังกล่าวจะถึงที่สุดก็ตาม ถ้าปรากฏว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตคำขอรับชำระหนี้โดยผิดหลงว่าลูกหนี้เป็นหนี้ตามจำนวนที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ ความจริงลูกหนี้มิได้เป็นหนี้หรือเป็นหนี้ไม่ถึงจำนวนที่อนุญาตให้รับชำระหนี้ ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งใหม่ให้ยกคำขอรับชำระหนี้หรือลดจำนวนหนี้ที่ได้สั่งอนุญาตไปแล้วได้ ทั้งนี้เพื่อความเป็นธรรมแก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายที่ขอรับชำระหนี้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีนี้เห็นว่ามูลหนี้ที่ผู้คัดค้านยื่นคำขอรับชำระหนี้มีข้อพิรุธสงสัยน่าเชื่อว่าจะไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริง ที่ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้ผู้คัดค้านได้รับชำระหนี้น่าจะเป็นการสั่งไปโดยผิดหลง ดังนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลยกคำขอรับชำระหนี้ที่ศาลได้สั่งอนุญาตไปแล้วได้
อย่างไรก็ดี เมื่อศาลพิจารณาจากพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงในสำนวนแล้วพบว่าลูกหนี้เป็นหนี้ผู้คัดค้านจริง ที่ศาลมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นไม่ได้สั่งโดยผิดหลง ศาลก็ชอบที่จะยกคำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ยกคำขอรับชำระหนี้ แม้ศาลสั่งอนุญาตถึงที่สุดแล้ว หากมีเหตุผลเชื่อได้ว่าเป็นการสั่งโดยผิดหลง
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 108 ให้อำนาจ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ยกคำขอรับชำระหนี้หรือลดจำนวนหนี้ที่ศาลได้สั่งอนุญาตไปแล้วได้ แม้คำสั่งศาลดังกล่าวจะถึงที่สุดก็ตาม ถ้าปรากฏว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตคำขอรับชำระหนี้โดยหลงผิดว่าลูกหนี้เป็นหนี้ตามจำนวนที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ความจริงลูกหนี้มิได้เป็นหนี้หรือเป็นหนี้ไม่ถึงจำนวนที่อนุญาตให้รับชำระหนี้ ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งใหม่ให้ยกคำขอรับชำระหนี้ลดจำนวนหนี้ที่ได้สั่งอนุญาตไปแล้วได้ ทั้งนี้เพื่อความเป็นธรรมแก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายที่ขอรับชำระหนี้ คดีนี้ปรากฏว่าผู้ร้องตรวจสอบพยานหลักฐานที่ผู้คัดค้านอ้างต่อผู้ร้องในชั้นสอบสวน และเห็นว่าใบกำกับสินค้าอันเกี่ยวกับหนี้ที่ผู้คัดค้านขอรับชำระหนี้ไม่มีลายมือชื่อของลูกหนี้ ทั้งแถบบันทึกเสียงการสนทนาระหว่าง อ.กับลูกหนี้และท. ที่เมืองฮ่องกง นั้นลูกหนี้ก็ได้อ้างหนังสือเดินทางของตนเป็นพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่าในวันดังกล่าวลูกหนี้ไม่ได้เดินทางออกจากประเทศไทย อันแสดงให้เห็นว่ามูลหนี้ที่ผู้คัดค้านยื่นคำขอรับชำระหนี้มีข้อพิรุธสงสัยน่าเชื่อว่าจะไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริงผู้ร้องจึงชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลยกคำขอรับชำระหนี้ที่ศาลได้สั่งอนุญาตไปแล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1684/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์หนี้ในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ต้องเสนอหลักฐาน, เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจสอบสวนแต่ไม่ผูกพัน
แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจสอบสวนในเรื่องหนี้สินเมื่อยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยกล่าวอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้หน้าที่ในการพิสูจน์ตามข้ออ้างย่อมตกเป็นของเจ้าหนี้ที่จะต้องนำพยานหลักฐานมาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเพื่อแสดงถึงมูลหนี้ตามที่กล่าวอ้าง เมื่อเจ้าหนี้มิได้ส่งหลักฐานการซื้อขายที่ดินตามที่อ้างโดยแถลงอ้างพยานบุคคลเพียงผู้เดียว ดังนี้ เป็นเรื่องอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าหนี้ในการเสนอพยานหลักฐานมิใช่หน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะต้องมีหมายเรียกพยานหลักฐานดังกล่าวมาด้วยตนเอง การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย เจ้าหนี้ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจสอบสวนในเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระ แล้วทำความเห็นเสนอศาลและศาลมีอำนาจพิจารณาสั่งตามกฎหมายต่อไป ดังนั้น แม้หนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือหนี้ที่เป็นมูลให้ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ก็ไม่ผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลให้จำต้องถือตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3491/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำขอรับชำระหนี้เจ้าหนี้มีประกัน แม้คำสั่งถึงที่สุดได้ หากเกิดจากความพลั้งเผลอ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 97
พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 97 บัญญัติว่า แม้เจ้าหนี้มีประกันขอรับชำระหนี้โดยไม่แจ้งว่าเป็น เจ้าหนี้มีประกัน ศาลก็อาจอนุญาตให้แก้ไขข้อความในรายการขอรับชำระหนี้ได้ หากเจ้าหนี้แสดงต่อศาลได้ว่าการละเว้นนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ และตามมาตรา108 นั้นถ้าปรากฏว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตคำขอรับชำระหนี้ โดยผิดหลงว่าลูกหนี้เป็นหนี้ตามจำนวนที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ ความจริงลูกหนี้มิได้เป็นหนี้ หรือเป็นหนี้ไม่ถึงจำนวนที่อนุญาตให้รับชำระหนี้ ศาลอาจมีคำสั่งใหม่ให้ ยกคำขอ หรือลดจำนวนหนี้ที่อนุญาตไปแล้วได้ ทั้งตามมาตรา108 นี้ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งใหม่ได้เสมอ แม้คำสั่งเรื่องคำขอรับชำระหนี้จะถึงที่สุดแล้วก็ตาม ทั้งนี้เพราะกฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายพิเศษมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ให้ได้รับชำระหนี้หรือได้รับส่วนแบ่งอย่างเป็นธรรม ฉะนั้นโดยนัยเดียวกันศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้แก้ไขข้อความในรายการขอรับชำระหนี้ได้แม้คำสั่งศาลเรื่องคำขอรับชำระหนี้จะถึงที่สุดแล้วก็ตาม หากผู้ขอรับชำระหนี้แสดงได้ว่า การละเว้นไม่แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันเกิดขึ้นโดยความพลั้งเผลอ
ความในตอนท้ายของมาตรา 97 ที่ว่า "โดยกำหนดให้คืนส่วนแบ่ง หรือกำหนดอย่างอื่นตามที่เห็นสมควร" นั้นแสดงว่าแม้จะมีการขายและแบ่งทรัพย์สินไปบ้างแล้วแต่ตราบใดที่ยังมิได้มีการแบ่งครั้งที่สุดตาม มาตรา 131 ศาลย่อมมีอำนาจที่จะอนุญาตให้แก้ไขข้อความในรายการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 97ได้เพราะฉะนั้นแม้คำสั่งศาลเรื่องขอรับชำระหนี้จะถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องก็อาจจะร้องขอแก้ไขข้อความในคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 97 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3491/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำขอรับชำระหนี้เจ้าหนี้มีประกัน แม้คำสั่งถึงที่สุดได้ หากเกิดจากความพลั้งเผลอ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 97บัญญัติว่า แม้เจ้าหนี้มีประกันขอรับชำระหนี้โดยไม่แจ้งว่าเป็น เจ้าหนี้มีประกัน ศาลก็อาจอนุญาตให้แก้ไขข้อความใน รายการขอรับชำระหนี้ได้ หากเจ้าหนี้แสดงต่อศาลได้ว่าการ ละเว้นนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ และตามมาตรา108 นั้น ถ้าปรากฏว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตคำขอรับชำระหนี้ โดยผิดหลงว่า ลูกหนี้เป็นหนี้ตามจำนวนที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ ความจริงลูกหนี้มิได้เป็นหนี้หรือเป็นหนี้ไม่ถึงจำนวนที่อนุญาตให้รับชำระหนี้ ศาลอาจมีคำสั่งใหม่ให้ ยกคำขอหรือลดจำนวนหนี้ที่อนุญาตไปแล้วได้ ทั้งตามมาตรา108 นี้ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งใหม่ได้เสมอแม้คำสั่ง เรื่องคำขอรับชำระหนี้จะถึงที่สุดแล้วก็ตามทั้งนี้เพราะกฎหมายล้มละลาย เป็นกฎหมายพิเศษมีวัตถุประสงค์ที่ จะคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ให้ ได้รับชำระหนี้หรือได้รับส่วนแบ่งอย่างเป็นธรรมฉะนั้นโดยนัยเดียวกัน ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้แก้ไขข้อความในรายการขอรับชำระหนี้ได้แม้คำสั่งศาลเรื่องคำขอรับชำระหนี้จะถึงที่สุดแล้วก็ตามหากผู้ขอรับชำระหนี้ แสดงได้ว่าการละเว้นไม่แจ้งว่าเป็น เจ้าหนี้มีประกันเกิดขึ้นโดยความพลั้งเผลอ ความในตอนท้ายของมาตรา 97 ที่ว่า 'โดยกำหนดให้คืนส่วนแบ่ง หรือกำหนดอย่างอื่นตามที่เห็นสมควร' นั้นแสดงว่าแม้จะมีการขายและ แบ่งทรัพย์สินไปบ้างแล้วแต่ ตราบใดที่ยังมิได้มีการแบ่งครั้งที่สุดตาม มาตรา 131 ศาลย่อมมีอำนาจที่จะอนุญาตให้แก้ไขข้อความในรายการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา97ได้เพราะฉะนั้นแม้คำสั่งศาล เรื่องขอรับชำระหนี้จะถึงที่สุดแล้วผู้ร้องก็อาจจะร้องขอแก้ไขข้อความ ในคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 97 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 917/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนหนี้ในคดีล้มละลาย แม้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาอื่น คำพิพากษาเดิมไม่ผูกพัน
เมื่อมีผู้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้ผู้ขอจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่น หรือเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ในคดีล้มละลายนั้นเองก็ตาม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจสอบสวนในเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระนั้นว่าเป็นหนี้ที่จะขอรับชำระได้หรือไม่ แล้วทำความเห็นเสนอศาลและศาลมีอำนาจสั่งตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 106,107,108
เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งให้จำเลย (ลูกหนี้) เสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ (เจ้าหนี้) โดยวิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคาร ตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ดังนี้ คำพิพากษาดังกล่าวไม่ผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาล (ในคดีล้มละลาย)เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นเสนอศาลและศาลมีคำสั่งตามความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจะคิดดอกเบี้ยทบต้นหลังจากวันฟ้องไม่ได้ ก็ย่อมมีอำนาจที่จะทำความเห็นและมีคำสั่งเช่นนั้น
of 2