พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15189/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิรูปที่ดินและสภาพป่าสงวน: การเพิกถอนสภาพป่าสงวนต้องเกิดหลังการจัดสรรที่ดิน
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 บัญญัติว่า "เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินใช้บังคับในท้องที่ใดแล้ว (4) ถ้าเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติส่วนใดแล้ว เมื่อ ส.ป.ก. จะนำที่ดินแปลงใดในส่วนนั้นไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตปฏิรูปที่ดินมีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในที่ดินแปลงนั้น..." แม้ปรากฏว่ามี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในท้องที่อำเภอบ้านแพง อำเภอท่าอุเทน และกิ่งอำเภอโพนสวรรค์ อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ.2534 ก็ตาม แต่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตปฏิรูปที่ดินดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดขอบเขตของที่ดินที่จะทำการปฏิรูปที่ดินเท่านั้น ไม่ได้มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในทันที พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติยังคงเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติอยู่เช่นเดิม จนกว่าจะได้มีการส่งมอบพื้นที่ให้แก่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อดำเนินการจัดสรรที่ดินให้แก่ผู้ได้รับอนุญาตตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดต่อไป หากจะถือว่าการประกาศ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินแปลงใด มีผลเป็นการเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติในทันที ก็จะเป็นการส่งเสริมให้บุคคลใด ๆ บุกรุกเข้ามาทำประโยชน์หรือเข้าครอบครองที่ป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 อันจะเป็นช่องว่างของกฎหมาย บทบัญญัตินี้จึงมุ่งหมายให้ ส.ป.ก. เข้าไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรกรรมในพื้นที่ป่านั้นและจัดสรรให้ผู้ได้รับอนุญาตก่อน จึงจะถือเป็นการเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและที่ดินของรัฐ เมื่อคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครพนมได้ออกประกาศให้เกษตรกรยื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเกิดเหตุหลังจากที่ผู้ร้องถูกดำเนินคดีนี้แล้ว ดังนั้น ในขณะที่ผู้ร้องกระทำความผิดคดีนี้ ผู้ร้องจึงยังไม่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินเกิดเหตุ การจัดสรรที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดินยังไม่เสร็จสิ้น ที่ดินเกิดเหตุจึงยังมีสภาพเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติอยู่ การกระทำของผู้ร้องจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง แม้ต่อมาผู้ร้องจะได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งรวมถึงที่ดินเกิดเหตุ ก็เป็นเพียงทำให้การครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินของผู้ร้องนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตไม่เป็นความผิดต่อกฎหมาย แต่ไม่มีผลเป็นการลบล้างการกระทำความผิดก่อนหน้าที่ผู้ร้องจะได้รับอนุญาต กรณีหาใช่เป็นเรื่องมีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังทำให้การกระทำของผู้ร้องไม่เป็นความผิดต่อไปตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6883/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อฟื้นคดีอาญา: การพิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดี, ดุลพินิจศาล, และอำนาจศาลอุทธรณ์
พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 16 ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา มาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาคดีโดยอนุโลมด้วย การพิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดีจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 40 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ว่ามีเหตุจำเป็นและสมควรอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่
ในวันนัดไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง ทนายความของผู้ร้องมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าผู้ร้องป่วยไม่สามารถมาศาลได้ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วอนุญาต แต่เมื่อถึงวันนัดที่เลื่อนไป ทนายความของผู้ร้องมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดี อ้างเหตุว่าผู้ร้องป่วยไม่สามารถเดินได้และระบุในคำร้องว่าหากนัดต่อไปผู้ร้องยังมีอาการป่วยมาศาลไม่ได้ก็จะขอถอนคำร้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนไปนัดไต่สวนคำร้องและกำชับให้ผู้ร้องนำพยานมาสืบในนัดหน้า แต่เมื่อถึงวันนัดทนายความของผู้ร้องกลับยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีก อ้างว่าผู้ร้องป่วยเนื่องจากกระดูกต้นคองอกทับเส้นประสาทพึ่งได้รับการผ่าตัด มีอาการมึนงงไม่สามารถตอบคำถามได้และไม่สามารถลุกนั่งได้ด้วยตนเอง และรับรองว่าหากนัดต่อไปผู้ร้องยังไม่สามารถมาศาลได้ขอให้ถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบและยกคำร้องของผู้ร้องเสีย ศาลชั้นต้นอนุญาต เมื่อรวมระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนคดีเป็นเวลาถึง 6 เดือนเศษ การที่ผู้ร้องกลับยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุผลอย่างเดิมอีก พฤติการณ์แห่งคดีแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องมิได้ให้ความสนใจต่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนคดีตามที่ร้องขอ
กระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนคำร้องของผู้ร้องว่ามีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่หรือไม่ พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526มาตรา 9 วรรคสาม บัญญัติไว้ชัดเจนว่า เมื่อได้ไต่สวนคำร้องแล้ว ให้ศาลที่ไต่สวนคำร้องส่งสำนวนการไต่สวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์โดยไม่ชักช้า ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของผู้ร้องได้
พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ มาตรา 13(2) ใช้บังคับสำหรับในชั้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ บทบัญญัติดังกล่าวหาได้นำมาใช้ในชั้นไต่สวนคำร้องว่าคดีมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ด้วยไม่
ในวันนัดไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง ทนายความของผู้ร้องมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าผู้ร้องป่วยไม่สามารถมาศาลได้ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วอนุญาต แต่เมื่อถึงวันนัดที่เลื่อนไป ทนายความของผู้ร้องมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดี อ้างเหตุว่าผู้ร้องป่วยไม่สามารถเดินได้และระบุในคำร้องว่าหากนัดต่อไปผู้ร้องยังมีอาการป่วยมาศาลไม่ได้ก็จะขอถอนคำร้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนไปนัดไต่สวนคำร้องและกำชับให้ผู้ร้องนำพยานมาสืบในนัดหน้า แต่เมื่อถึงวันนัดทนายความของผู้ร้องกลับยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีก อ้างว่าผู้ร้องป่วยเนื่องจากกระดูกต้นคองอกทับเส้นประสาทพึ่งได้รับการผ่าตัด มีอาการมึนงงไม่สามารถตอบคำถามได้และไม่สามารถลุกนั่งได้ด้วยตนเอง และรับรองว่าหากนัดต่อไปผู้ร้องยังไม่สามารถมาศาลได้ขอให้ถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบและยกคำร้องของผู้ร้องเสีย ศาลชั้นต้นอนุญาต เมื่อรวมระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนคดีเป็นเวลาถึง 6 เดือนเศษ การที่ผู้ร้องกลับยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุผลอย่างเดิมอีก พฤติการณ์แห่งคดีแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องมิได้ให้ความสนใจต่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนคดีตามที่ร้องขอ
กระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนคำร้องของผู้ร้องว่ามีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่หรือไม่ พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526มาตรา 9 วรรคสาม บัญญัติไว้ชัดเจนว่า เมื่อได้ไต่สวนคำร้องแล้ว ให้ศาลที่ไต่สวนคำร้องส่งสำนวนการไต่สวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์โดยไม่ชักช้า ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของผู้ร้องได้
พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ มาตรา 13(2) ใช้บังคับสำหรับในชั้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ บทบัญญัติดังกล่าวหาได้นำมาใช้ในชั้นไต่สวนคำร้องว่าคดีมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6883/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีรื้อฟื้นคดีอาญาซ้ำๆ และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526มาตรา 16 ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา มาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาคดีโดยอนุโลมด้วย การพิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดีจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 40 แห่ง ป.วิ.พ. ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15ว่ามีเหตุจำเป็นและสมควรอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่
ในวันนัดไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง ทนายความของผู้ร้องมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าผู้ร้องป่วยไม่สามารถมาศาลได้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วอนุญาต แต่เมื่อถึงวันนัดที่เลื่อนไป ทนายความของผู้ร้องมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดี อ้างเหตุว่าผู้ร้องป่วยไม่สามารถเดินได้และระบุในคำร้องว่าหากนัดต่อไปผู้ร้องยังมีอาการป่วยมาศาลไม่ได้ก็จะขอถอนคำร้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนไปนัดไต่สวนคำร้องและกำชับให้ผู้ร้องนำพยานมาสืบในนัดหน้า แต่เมื่อถึงวันนัดทนายความของผู้ร้องกลับยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีก อ้างว่าผู้ร้องป่วยเนื่องจากกระดูกต้นคองอกทับเส้นประสาทพึ่งได้รับการผ่าตัด มีอาการมึนงงไม่สามารถตอบคำถามได้และไม่สามารถลุกนั่งได้ด้วยตนเอง และรับรองว่าหากนัดต่อไปผู้ร้องยังไม่สามารถมาศาลได้ ขอให้ถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบและยกคำร้องของผู้ร้องเสีย ศาลชั้นต้นอนุญาต เมื่อรวมระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนคดีเป็นเวลาถึง 6 เดือนเศษ การที่ผู้ร้องกลับยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุผลอย่างเดิมอีกพฤติการณ์แห่งคดีแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องมิได้ให้ความสนใจต่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนคดีตามที่ร้องขอ
กระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนคำร้องของผู้ร้องว่ามีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่หรือไม่ พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526มาตรา 9 วรรคสาม บัญญัติไว้ชัดเจนว่า เมื่อได้ไต่สวนคำร้องแล้ว ให้ศาลที่ไต่สวนคำร้องส่งสำนวนการไต่สวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์โดยไม่ชักช้า ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของผู้ร้องได้
พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ มาตรา 13 (2)ใช้บังคับสำหรับในชั้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ บทบัญญัติดังกล่าวหาได้นำมาใช้ในชั้นไต่สวนคำร้องว่าคดีมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ด้วยไม่
ในวันนัดไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง ทนายความของผู้ร้องมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าผู้ร้องป่วยไม่สามารถมาศาลได้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วอนุญาต แต่เมื่อถึงวันนัดที่เลื่อนไป ทนายความของผู้ร้องมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดี อ้างเหตุว่าผู้ร้องป่วยไม่สามารถเดินได้และระบุในคำร้องว่าหากนัดต่อไปผู้ร้องยังมีอาการป่วยมาศาลไม่ได้ก็จะขอถอนคำร้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนไปนัดไต่สวนคำร้องและกำชับให้ผู้ร้องนำพยานมาสืบในนัดหน้า แต่เมื่อถึงวันนัดทนายความของผู้ร้องกลับยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีก อ้างว่าผู้ร้องป่วยเนื่องจากกระดูกต้นคองอกทับเส้นประสาทพึ่งได้รับการผ่าตัด มีอาการมึนงงไม่สามารถตอบคำถามได้และไม่สามารถลุกนั่งได้ด้วยตนเอง และรับรองว่าหากนัดต่อไปผู้ร้องยังไม่สามารถมาศาลได้ ขอให้ถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบและยกคำร้องของผู้ร้องเสีย ศาลชั้นต้นอนุญาต เมื่อรวมระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนคดีเป็นเวลาถึง 6 เดือนเศษ การที่ผู้ร้องกลับยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุผลอย่างเดิมอีกพฤติการณ์แห่งคดีแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องมิได้ให้ความสนใจต่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนคดีตามที่ร้องขอ
กระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนคำร้องของผู้ร้องว่ามีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่หรือไม่ พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526มาตรา 9 วรรคสาม บัญญัติไว้ชัดเจนว่า เมื่อได้ไต่สวนคำร้องแล้ว ให้ศาลที่ไต่สวนคำร้องส่งสำนวนการไต่สวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์โดยไม่ชักช้า ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของผู้ร้องได้
พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ มาตรา 13 (2)ใช้บังคับสำหรับในชั้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ บทบัญญัติดังกล่าวหาได้นำมาใช้ในชั้นไต่สวนคำร้องว่าคดีมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ด้วยไม่