พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5844/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดเกี่ยวข้องจัดการงานห้างหุ้นส่วน ความรับผิดต่อหนี้ของห้างฯ
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างสองข้อว่าโจทก์จำเลยได้ตกลงกันประกอบกิจการและจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยโจทก์เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนขอให้บังคับให้จำเลยร่วมรับผิดต่อเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน จำเลยให้การรับว่าเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดแต่ปฎิเสธว่าไม่เคยสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าหนี้ของห้างหุ้นส่วนตามฟ้องผูกพันจำเลยหรือไม่เพียงใดซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เห็นว่า แม้จำเลยจะสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดชอบอย่างไม่จำกัดจำนวน เพราะกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1088 วรรคหนึ่งเป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก แต่คดีนี้ไม่ใช่กรณีบุคคลภายนอกเรียกร้องให้จำเลยรับผิด เป็นเรื่องระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเองจึงต้องบังคับตามสัญญาหุ้นส่วนซึ่งเป็นข้ออ้างของโจทก์ข้อแรกไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 วรรคหนึ่งเป็นบทบัญญัติเพื่อป้องกันมิให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดชอบสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนเพราะหน้าที่ดังกล่าวเป็นของหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจก่อให้เกิดหนี้ระหว่างห้างหุ้นส่วนกับบุคคลภายนอกได้ หากหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนก็ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยไม่จำกัดจำนวน บุคคลภายนอกอาจไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้ใดเป็นหุ้นส่วนจำพวกใดส่วนระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเองผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ใดเป็นหุ้นส่วนจำพวกใดและมีหน้าที่อย่างใด หากยินยอมให้มีการกระทำผิดหน้าที่ ผู้ที่ให้ความยินยอมไม่มีสิทธิจะอ้างกฎหมายมาตราดังกล่าวขึ้นบังคับผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันอย่างบุคคลภายนอกได้กรณีของผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันต้องบังคับตามสัญญาห้างหุ้นส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดร่วมรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจากการทำหนังสือรับสภาพหนี้และการจัดการงาน
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์ ใช้ชื่อบัญชีว่า นาย ส. คือจำเลยที่ 4 โดยใช้เช็คเบิกเงินจากบัญชีมีเงื่อนไขในการสั่งจ่ายเงินว่า สองในสามของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ลงชื่อร่วมกัน ต่อมาจำเลยที่ 2 ที่ 3และที่ 4 ได้ร่วมกันจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. จำเลยที่ 1ขึ้นโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 3 และที่ 4เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด แล้วแจ้งโจทก์ขอเปลี่ยนชื่อบัญชีจากชื่อจำเลยที่ 4 เป็นชื่อห้างจำเลยที่ 1 เงื่อนไขในการสั่งจ่ายเงินจากบัญชีคงให้สองในสามคนของหุ้นส่วน คือจำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 4 ลงชื่อร่วมกันและประทับตราของจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ลงชื่อร่วมกันออกเช็คประทับตราของห้างจำเลยที่ 1 หลายครั้งอันเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีเรื่อยมา จนกระทั่งบัญชีของห้างจำเลยที่ 1 หยุดเคลื่อนไหว จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4ได้ร่วมกันทำหนังสือรับสภาพหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยยอมร่วมรับผิดกับห้างจำเลยที่ 1 พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมถือได้ว่า จำเลยที่ 3ซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างจำเลยที่ 1 ตลอดมา จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกันในหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน แม้การเบิกเงินเกินบัญชีของห้างจำเลยที่ 1 กับโจทก์จะหยุดเคลื่อนไหวและได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้กันไว้ก็ตาม แต่หนังสือรับสภาพหนี้ได้ระบุชัดเจนว่าจำเลยทั้งสี่จะนำเงินมาผ่อนชำระเข้าบัญชีของห้างจำเลยที่ 1 ทุก ๆ เดือน เพื่อลดต้นเงินและดอกเบี้ยไปจนกว่าจะชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีหมดสิ้น และตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไป ถือได้ว่าเป็นการตกลงให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ดังนั้นคู่สัญญาจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด และให้หักทอนบัญชีกันเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด: หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจฟ้องแทน
โจทก์ทั้งสามเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ.จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. แก่จำเลยที่ 3 และโอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแก่จำเลยที่ 2 โดยสมรู้กัน ทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดอ.เสียหาย โจทก์ทั้งสามจึงฟ้องขอให้เพิกถอนหรือระงับการโอนและเรียกค่าเสียหายดังนี้ การกระทำของโจทก์ทั้งสามเป็นการฟ้องคดีแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดหามีอำนาจกระทำไม่ โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจฟ้องแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด การจัดการกิจการเป็นอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการเท่านั้น
โจทก์ทั้งสามเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. แก่จำเลยที่ 3 และโอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแก่จำเลยที่ 2 โดยสมรู้กัน ทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดอ.เสียหาย โจทก์ทั้งสามจึงฟ้องขอให้เพิกถอนหรือระงับการโอนและเรียกค่าเสียหาย ดังนี้ การกระทำของโจทก์ทั้งสามเป็นการฟ้องคดีแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดหามีอำนาจกระทำไม่ โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกประเภทสินค้าเพื่อเสียอากร: หีบใส่เงินจัดอยู่ในพิกัดอัตราอากรใด และความรับผิดของหุ้นส่วน
พ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า ตอนที่ 83 ประเภทพิกัดที่ 83.03 ระบุว่าตู้นิรภัยกำปั่นห้องนิรภัย ที่หุ้มหรือเสริมให้มั่นคง ผนังด้านต่าง ๆ ที่ใช้บุห้องนิรภัยและประตูห้องนิรภัย หีบใส่เงินและหีบเก็บเอกสารและสิ่งที่คล้ายกันทำด้วยโลหะสามัญ ลักษณะของตามประเภทพิกัดนี้เห็นได้ว่าล้วนแต่เป็นของที่มีลักษณะมั่นคงแข็งแรงทั้งสิ้น ดังนั้นหีบใส่เงินที่จะจัดเข้าพิกัดประเภทนี้ได้ต้องมีลักษณะมั่นคงแข็งแรงขนาดใหญ่น้ำหนักมากการขนย้ายเคลื่อนที่จะกระทำได้ยากลำบากทั้งจะต้องกันไฟหรือกันโจรกรรมได้ด้วย หีบใส่เงินที่จำเลยนำเข้ามีลักษณะไม่มั่นคงแข็งแรง ไม่อาจป้องกันไฟหรือการโจรกรรมได้เลยไม่เหมือนกับของต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในประเภทพิกัดดังกล่าวแต่จัดเป็นของใช้ในบ้านเรือนทำด้วยเหล็กตามประเภทพิกัดที่ 73.38ข. แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด แต่ปรากฏจากใบขนสินค้าขาเข้าว่า จำเลยที่ 2 ลงชื่อในช่องผู้นำเข้าแทนจำเลยที่ 1 และระบุไว้ด้วยว่าเป็นผู้จัดการ ถือได้ว่าเป็นการสอดเข้าไปจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย พ.ร.บ.ศุลกากรและ ป.รัษฎากรบัญญัติให้เรียกเงินเพิ่มของค่าอากรขาเข้าและของเงินภาษีที่ต้องชำระ แต่มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระตามลำดับซึ่งเป็นทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่ค้างไว้โดยเฉพาะและโจทก์ได้คำนวณเงินเพิ่มดังกล่าวจนครบถ้วนมาในฟ้องแล้ว จึงจะนำ ป.พ.พ. มาตรา 224ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับจำเลยอีกหาได้ไม่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยของเงินอากรขาเข้า ภาษีการค้าภาษีบำรุงเทศบาลและเงินเพิ่ม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดเข้าทำสัญญาแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด และการรับผิดในหนี้สินตามมาตรา 1088
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 3หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดเข้าทำสัญญาว่าจ้างโจทก์แทนจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้ตัดสินใจต่อรองราคาได้เอง รวมทั้งเพิ่มงานบางส่วนเองโดยจำเลยที่ 3 ไม่มีหน้าที่ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3สอดเข้าเกี่ยวข้องกับการจัดการงานของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 3ต้องรับผิดในบรรดาหนี้สินของจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2341/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขาย, ค่าปรับ, อายุความ, ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัด
จำเลยส่งของให้โจทก์ไม่ถูกต้องตามสัญญา โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันอันเป็นการใช้สิทธิตามข้อสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าปรับรายวันจากจำเลยได้อีก
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยข้อหนึ่งกำหนดว่า ถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของภายในกำหนด3 เดือน นับแต่วันบอกเลิกสัญญา ผู้ขายต้องยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญาเมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ผู้ซื้อได้บอกเลิกสัญญา ประกาศประกวดราคาใหม่ และประกาศผลการประกวดราคาภายในกำหนด 3 เดือนแล้ว แม้สัญญาซื้อขายจะกระทำกันเมื่อเกินกำหนด 3 เดือนก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดซื้อภายในกำหนด 3 เดือน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกราคาเพิ่มขึ้นจากจำเลยได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบของให้โจทก์ถูกต้องและเรียกเบี้ยปรับตามสัญญา เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มีอายุความ 10 ปี
การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1สอดเข้าไปจัดการงานของห้างจำเลยที่ 1 โดยกระทำตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ทำให้บุคคลภายนอกเข้าใจว่าจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยข้อหนึ่งกำหนดว่า ถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของภายในกำหนด3 เดือน นับแต่วันบอกเลิกสัญญา ผู้ขายต้องยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญาเมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ผู้ซื้อได้บอกเลิกสัญญา ประกาศประกวดราคาใหม่ และประกาศผลการประกวดราคาภายในกำหนด 3 เดือนแล้ว แม้สัญญาซื้อขายจะกระทำกันเมื่อเกินกำหนด 3 เดือนก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดซื้อภายในกำหนด 3 เดือน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกราคาเพิ่มขึ้นจากจำเลยได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบของให้โจทก์ถูกต้องและเรียกเบี้ยปรับตามสัญญา เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มีอายุความ 10 ปี
การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1สอดเข้าไปจัดการงานของห้างจำเลยที่ 1 โดยกระทำตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ทำให้บุคคลภายนอกเข้าใจว่าจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2341/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขาย, การบอกเลิกสัญญา, ค่าปรับ, ความรับผิดของหุ้นส่วน, อายุความฟ้องคดี
จำเลยส่งของให้โจทก์ไม่ถูกต้องตามสัญญา โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันอันเป็นการใช้สิทธิตามข้อสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าปรับรายวันจากจำเลยได้อีก สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยข้อหนึ่งกำหนดว่า ถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันบอกเลิกสัญญา ผู้ขายต้องยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ผู้ซื้อได้บอกเลิกสัญญา ประกาศประกวดราคาใหม่ และประกาศผลการประกวดราคาภายในกำหนด 3 เดือนแล้ว แม้สัญญาซื้อขายจะกระทำกันเมื่อเกินกำหนด 3 เดือน ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดซื้อภายในกำหนด 3 เดือน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกราคาเพิ่มขึ้นจากจำเลยได้ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบของให้โจทก์ถูกต้องและเรียกเบี้ยปรับตามสัญญา เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มีอายุความ 10 ปี การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 สอดเข้าไปจัดการงานของห้างจำเลยที่ 1 โดยกระทำตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ทำให้บุคคลภายนอกเข้าใจว่าจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องหลังรับฟ้อง & ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดในสัญญาเช่าซื้อ
ในชั้นยื่นคำฟ้อง แม้ทนายความ ซึ่ง อ. เป็นผู้แต่ง ตั้งให้เป็นทนายความของโจทก์จะได้ลงชื่อในคำฟ้องในฐานะโจทก์ โดยโจทก์มิได้มอบอำนาจให้ อ. ฟ้องจำเลยและดำเนินคดีแทนโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้ตรวจและมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้ และจำเลยได้ยื่นคำให้การแล้ว ซึ่งเป็นกรณีล่วงเลยชั้นตรวจรับฟ้อง จึงนำป.วิ.พ. มาตรา 18 มาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อไม่มีการชี้ สองสถานโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานโจทก์เป็นว่ามอบอำนาจให้ อ. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ ซึ่งมีผลทำให้ฟ้องที่ไม่สมบูรณ์กลับเป็นฟ้องที่สมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ทั้งนี้อาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 66ซึ่งให้อำนาจศาลไว้ว่า ถ้า มีผู้อ้างว่าเป็นผู้แทนของนิติบุคคลเมื่อศาลเห็นสมควรก็สอบสวนได้เป็นอำนาจที่กฎหมายให้ไว้แก่ศาลโดยกว้างขวาง เมื่อใดศาลเห็นว่าผู้นั้นไม่มีอำนาจดัง ที่อ้างหรืออำนาจบกพร่อง ศาลย่อมมีอำนาจยกฟ้อง หรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้เข้าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ในนามของห้างจำเลยที่ 1 โดยลงชื่อตนเองและประทับตราของห้างจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 แล้ว ส่วนห้างจำเลยที่ 1 นั้นได้ยอมชำระเงินค่าเช่าซื้อให้โจทก์ถึง 4 งวด โดยมิได้ท้วงติงแต่ประการใด จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์เมื่อห้างจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัวตามป.พ.พ. มาตรา 1088.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องหลังรับฟ้อง และความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดในสัญญาเช่าซื้อ
ในชั้นยื่นคำฟ้อง แม้ทนายความ ซึ่ง อ.เป็นผู้แต่งตั้งให้เป็นทนายความของโจทก์จะได้ลงชื่อในคำฟ้องในฐานะโจทก์ โดยโจทก์มิได้มอบอำนาจให้ อ.ฟ้องจำเลยและดำเนินคดีแทนโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้ตรวจและมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้ และจำเลยได้ยื่นคำให้การแล้ว ซึ่งเป็นกรณีล่วงเลยชั้นตรวจรับฟ้อง จึงนำ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 มาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อไม่มีการชี้สองสถาน โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนสืบวันพยานโจทก์เป็นว่ามอบอำนาจให้ อ.เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ ซึ่งมีผลทำให้ฟ้องที่ไม่สมบูรณ์กลับเป็นฟ้องที่สมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ทั้งนี้อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66 ซึ่งให้อำนาจศาลไว้ว่าถ้ามีผู้อ้างว่าเป็นผู้แทนของนิติบุคคลเมื่อศาลเห็นสมควรก็สอบสวนได้เป็นอำนาจที่กฎหมายให้ไว้แก่ศาลโดยกว้างขวางเมื่อใดศาลเห็นว่าผู้นั้นไม่มีอำนาจดังที่อ้างหรืออำนาจบกพร่อง ศาลย่อมมีอำนาจยกฟ้อง หรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้เข้าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ในนามของห้างจำเลยที่ 1 โดยลงชื่อตนเองและประทับตราของห้างจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 แล้ว ส่วนห้างจำเลยที่ 1 นั้น ได้ยอมชำระเงินค่าเช่าซื้อให้โจทก์ถึง 4 งวดโดยมิได้ท้วงติงแต่ประการใด จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์ เมื่อห้างจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัวตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้เข้าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ในนามของห้างจำเลยที่ 1 โดยลงชื่อตนเองและประทับตราของห้างจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 แล้ว ส่วนห้างจำเลยที่ 1 นั้น ได้ยอมชำระเงินค่าเช่าซื้อให้โจทก์ถึง 4 งวดโดยมิได้ท้วงติงแต่ประการใด จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์ เมื่อห้างจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัวตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)